คปอ(คณะประสานงานขบวนองค์กรชุมชน)ภาคใต้


คปอจะเป็นร่มกลางเป็ยที่ยอมรับสร้างปรากฎการณ์ใหม่ลบนเนื้ินหาใหม่ในการผลักดันชุมชน

สรุปคร่าวๆช่วงเช้า

เวที ^สัมมนา คปอ.ภาคใต้^

24-25 สิงหาคม 2563

ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นแอร์พอร์ตลิ้งค์ หาดใหญ่

……………………………………………………..

ความคาดหวังของผู้เข้าร่วม

* ได้พบเจอเพื่อน เครือข่าย

* เรียนรู้ สถานการณ์ ความเป็นไปของสังคมจากวิทยากร และเพื่อนพี่น้องเครือข่ายองค์กรชุมชน

* ได้ระดมความคิด หาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม

* ได้เห็นกลไก การขับเคลื่อน จังหวะก้าวและเรื่องที่จะดำเนินการร่วมกัน

* ฯลฯ

………………………………………………………

ที่มา หลักคิด อุดมการณ์คณะประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชน (คปอ.)

โดย คุณเจษฎา มิ่งสมร | คุณปาลิน ธำรงรัตนศิลป์ : คณะทำงาน คปอ.

คปอ. เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของแกนำนำเครือข่ายองค์กรชุมชนต่างๆ เมื่อ 12 -13 ปีที่แล้ว

เป้าหมาย : • ยึดโยงเครือข่ายองค์กรชุมชนทั่วประเทศ สร้างพลัง

• ยกสถานะขององค์กรชุมชน

• ผลักดันนโยบาย เช่น พรบ.สภาองค์กรชุมชน

• เสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อรัฐบาลและหน่วยงาน เช่น การฟื้นฟูเยียวยาชุมชน

จากวิกฤติโควิด-19

ห่างหายกันไปช่วงหนึ่ง จากการที่ต่างคนต่างขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงประเด็น ส่วนหนึ่งในระดับพื้นที่ก็อาจมีความแข็งตัวในบางพื้นที่ ความเป็น คปอ.จึงแผ่วๆลง เน้นไปทำงานขบวนเชิงพื้นที่มากขึ้น

ระยะที่ผ่านมา ขบวนองค์กรชุมชนแม้ว่าจะมีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น แต่พลังดูเหมือนจะลดลง ถูกลิดรอนจากฝ่ายนโยบายทั้งการให้ความสำคัญกับชุมชน รวมทั้งแผนงานงบประมาณที่เสนอผ่าน พอช.รวมถึงหน่วยงานสนับสนุนอื่นที่เป็นกลไกเครื่องมือของชาวบ้าน อาทิ สสส. สช. ที่ถูกกีดกันจากฝ่ายการเมือง เป็นต้น

คณะทำงานฯ หารือกัน และคาดหวังว่า กลไก คปอ.ในระดับภูมิภาคน่าจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อเป็นจุดคานงัดของสังคม เกี่ยวร้อยพี่น้ององค์กรชุมชน และสร้างพลังยันกับทิศทางการพัฒนาที่ไม่อาจสอดคล้องกับพื้นที่

#ภารกิจปีนี้

1. การพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อสนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง

2. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด / ภาค

3. การพัฒนาที่เติมช่องว่างในการทำงานในระดับกลุ่มจังหวัด (หนุนเสริมงาน พอช. ด้วย)

4. การประสานงานกับระดับนโยบาย

#แผนการขับเคลื่อน 2 ปี

1. สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรชุมชนในพื้นที่

• พัฒนาขีดความสามารถผู้นำองค์กรชุมชน

• ยกระดับ ต่อยอดแผนยุทธศาสตร์ของตำบล

• สร้างรูปธรรมพื้นที่ในการแก้ปัญหาและสื่อสารกับสังคมได้

2. การเคลื่อนเชิงนโยบายที่มุ่งสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง

3. การบริหารเครือข่ายองค์องค์กรชุมชน

4. การจัดความสัมพันธ์กับหน่วยงานสนับสนุน

………………………………………………………………

คุณสมสุข บุญญะบัญชา

* สถานการณ์ เราเผชิญกับโควิดซึ่งยังไม่จบ ประเทศเพื่อนบ้านกำลังเริ่มระบาดระลอกสอง ผลพวงของแพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่สำคัญคือทำให้โครงสร้างระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยเองคาดว่า GDP จะติดลบ 12% ซึ่งแม้ว่าโรคระบาดจะเป็นภัยคุกคามของโลก แต่อีกด้านหนึ่งสังคมได้ตระหนักถึงความเป็นจริงที่เป็น True มากขึ้น ความเป็นจริงกับการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ ประเทศที่ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการรับมือโรคระบาดและการดูแลสุขภาพคน สังคมมีคนตกงานจำนวนมาก การกลับไปสู่วิถีธรรมชาติ ทำให้ได้เห็นการพึ่งพาระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ที่เราต้องเป็นส่วนสำคัญในการนำเสนอรูปแบบระบบเศรษฐกิจใหม่

* การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างขนาดใหญ่นั้นทำไม่ง่าย แม้ว่าจะถูกพูดถึงอย่างมากในคราวการร่างรัฐธรรมนูญ(ฉบับอาจารย์บวรศักดิ์) แต่สุดท้ายก็อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราเห็นปัญหาสังคมค่อนข้างเยอะโดยเฉพาะที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำ อาทิ การถือครองที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ สภาพการอยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้แม้ส่วนหนึ่งต้องแก้เชิงโครงสร้าง แต่หลายเรื่องที่เราสามาถแก้ปัญหากันในระดับพื้นที่ได้ มีรูปธรรมค่อนข้างเยอะในการจัดการของชุมชนที่ดีกว่าการจัดการโดยกลไกรัฐ หลายเมืองหลายตำบลที่มีระบบความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างภาคส่วนต่างๆในท้องถิ่น ร่วมไม้ร่วมมือกัน เป็นโมเดลที่ดีของการพัฒนา ซึ่งเรื่องเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระดับพื้นที่

เราจะขยายผลเรื่องนี้ให้กว้างขวางได้อย่างไร ?

จะ Design ขบวนกันอย่างไร ในโลกสมัยใหม่ ?

* การจัดกลไกขบวนชาวบ้าน ขอคุยตรงๆว่าเห็นหลายพื้นที่ที่เป็นกลไกนิ่ง กลไกที่รับเหมาทำงานจาก พอช. ไม่มี Action หรือ Dinamic ที่มุ่งสู่การสร้างพลังเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ขบวนจังหวัดสมัยใหม่ควรจะเป็นอย่างไร ? ต้องคิด และขยับ สร้างการเมืองภาคชาวบ้านที่ไม่ใช่การเมืองที่ถูกกระทำ ต้องมีอะไรบ้าง(ข้อมูล เครื่องมือ ทักษะ ฯลฯ) ต้องทำอะไรกันบ้าง ?

ต้องใช้โครงการ งบประมาณเป็นเครื่องมือสร้างผลลัพท์ ไม่ใช่ทำกิจกรรมเพื่อกิจกิจกรรม

* พอช.ซึ่งเป็นองค์การของรัฐแนวใหม่ รูปแบบใหม่ เจตนาให้เป็นกลไกเครื่องมือของชาวบ้านที่พอมีงบประมาณสนับสนุนการขับเคลื่อนด้วย แต่ตั้งแต่ยุค คสช.เข้ามาจัดแถวซึ่งให้ทุกหน่วยงานขึ้นตรงกับรัฐบาลในยุคนั้น จากที่มีความเป็นอิสระระดับหนึ่งตามเจตนารมณ์ กลายเป็นต้องไปขึ้นกับกระทรวงฯ มีระบบกำกับติดตาม ตรวจราชการ ทำตัวชี้วัด จนเสียความเป็นตัวตนตามเจตนารมณ์ ขาดสมดุลย์ระหว่างความเป็นเครื่องมือชาวบ้านหรือจะเป็นระบบราชการ

หากแต่ คปอ.ซึ่งมีความเป็นอิสระ เป็นองค์กรชาวบ้าน ต้องจัดตัว ถ่วงดุล และดึง พอช.กลับมา แต่ต้องไม่ใช่เป็นกลไกที่ไปทำงานเหมือน พอช. เราจะทำกันอย่างไร ?

• ต้องมีวิธีคิด ตระหนัก แม่นในยุทธศาสตร์ กุมให้มั่นว่าทำอะไรและจะนำไปสู่อะไร ?

• คปอ.จะเป็นร่มกลางที่เป็นที่ยอมรับ สร้างปรากฎการณ์ใหม่ บนเนื้อหาใหม่ๆ ได้อย่างไร ?

เหล่านี้คื

อโจทย์ของการสัมมนาของ คปอ.❗️สรุปเวทีจากทีมงานคปอภาคใต้

โรงแรมเซ้าเทรินแอร์พอร์ทหาดใหญ่

25สค63เวลา03น

คำสำคัญ (Tags): #คปอภาคใต้
หมายเลขบันทึก: 681112เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2020 03:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2020 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท