พลังของ Reflective Learning



สองสามวันมานี้ (ช่วงกลางเดือนกรหฎาคม ๒๕๖๓) ผมได้สัมผัส reflective learning ให้หลากหลายบริบท    เกิดความรู้สึกว่า ในโลกยุคใหม่ที่การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วมาก    การเรียนรู้จากการครุ่นคิดพินิจนึกยิ่งมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ

และช่วยให้ผมได้เข้าใจว่าผมเข้าใจการ “ครุ่นคิดพินิจนึก” ผิดมาตลอด    โดยที่คำนี้เป็นของ ศ. ดร. เจตนา นาควัชระ    ที่ผมได้ยินมากว่า ๒๐ ปี    และเข้าใจผิดว่า เป็นการครุ่นคิดจากภายในตน    คิดเมื่อจิตว่าง   

มาถึงตอนนี้ผมเข้าใจใหม่ว่า “ครุ่นคิดพินิจนึก” คือ critical reflection   และผมมีประสบการณ์ว่า มีประโยชน์มากเมื่อจิตวุ่น    โดยคนเราต้องฝึกทักษะ “จิตวุ่นอย่างเป็นระบบ”    คือจิตวุ่นแบบไม่วุ่นวาย ไม่สับสน    และวุ่นอยู่กับเรื่องที่เป็นเรื่อง หรือเรื่องที่มีความสำคัญ     เป็นจิตวุ่นอยู่กับการครุ่นคิดพินิจนึกในเรื่องที่มีความสำคัญ

และในเรื่องที่เรามีข้อมูล    ซึ่งก็คือประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้น   

ทักษะ “ครุ่นคิดพินิจนึก” จากประสบการณ์ตรงในการทำกิจการหรือประกอบอาชีพ    คือทักษะการเรียนรู้จากการทำงาน หรือการดำรงชีวิต    กล่าวใหม่ว่า คือ ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต    

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ก.ค. ๖๓

  

  

หมายเลขบันทึก: 680582เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2020 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2020 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I have to add this:

==Reflective learning involves students thinking about what they have read, done, or learned, relating the lesson at hand to their own lives and making meaning out of the material. It’s more than just memorizing some facts, formulas, or dates.==From ประมวลศัพท์พุทธศาสตร์(ป.อ. ปยุตฺโต)โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ: การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี; เทียบ อโยนิโสมนสิการ

From พุทธศาสตร์ ไทย-Enโยนิโสมนสิการ

(yonisomanasikāra) proper attention; systematic attention; having thorough method in one’s thought; proper consideration; wise consideration; thorough attention; critical reflection; genetical reflection; analytical reflection.

From Royal Institute Dictionary (2542 Th-Th)โยนิโสมนสิการ

[-มะนะสิกาน] น. การพิจารณาโดยแยบคาย. ก. เข้าใจตั้งแต่ต้น, เข้าใจโดยตลอด. ( ป. ).

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท