CBMC(Community Business Model CANVAS)พื้นที่รูปธรรมทำแล้ว“ผื้อ“


กระบี่ 10-110863 (:)คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ลงพื้นที่ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและทุุนชุมชนภาคใต้ และร่วมประชุมคณะทำงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนภาคใต้ ณ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ผู้เข้าร่วมเวทีประกอบด้วย คณะทำงานฯ แกนนำจากกลุ่มองค์กรชุมชนที่จัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน พี่เลี้ยงนักจัดกระบวนการเรียนรู้ cbmc ของภาคใต้ และเจ้าหน้าที่ พอช.รวม 35 คน (Jumbooka agree)(Jumbooka agree)สาระในเวทีวันนี้ แกนนำได้นำเสนอผลของการนำแผนธุรกิจเพื่อชุมชนไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม/ตำบลของตนเอง เช่น (Jumbooka agree) ตำบลนาขา ชุมพร นำไปพัฒนาต่อยอดเรื่องเกษตรอินทรีย์ พัฒนาช่องทางการตลาดทั้งขายหน้าฟาร์มและขายออนไลน์ เชื่อมภาคีในการพัฒนามาตรฐานการรับรองแปลง (Jumbooka agree) ตำบลกะโล๊ะการ์โบว์ ปัตตานี พัฒนาต่อยอดการท่องเที่ยวโดยชุมชน "บูนาดารา" ที่ใช้ทุนทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน สร้างอาชีพกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน ภายใต้แนวคิด "60:40 ต้องทำให้ครอบครัวเข้มแข็ง (60 เปอร์เซ็นต์) และชุมชน ตำบลจะเข้มแข็งตาม (40 เปอร์เซ็นต์)" (Jumbooka agree) ตำบลเขื่อนบางลาง ปัตตานี วิเคราะห์ทุนภายในชุมชนต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ที่โยงกลุ่มอาชีพกว่า 10 กลุ่มในชุมชนเข้ามาร่วม เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารอย่างหลากหลาย และยังเชื่อมกับ กศน. จัดหลักสูตรพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เคยกลุ่มที่มีปัญหา ให้มารู้คุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยงานในชุมชน และเชื่อมงานกับโครงการปิดทองหลังพระด้วย (Jumbooka agree)ตำบลโบ๊ะยีไร ปัตตานี ที่ต่อยอดผลไม้ที่มีในชุมชนเป็นจำนวนมาก มาเป็นผลไม้แปรรูป เช่น มะละกอขายสุกอย่างเดียว ก็หันมาทำมะละกอทอดกรอบ สร้างมูลค่าทางการเงินได้มากขึ้น (Jumbooka agree)ตำบลอ่าวลึกใต้ กระบี่ ที่จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและธุรกิจไมซ์ ที่ไม่ใช่แค่การขายการท่องเที่ยว แต่ขายประวัติศาสตร์ของชุมชน ที่เชื่อมโยงจากรากเหง้าบรรพบุรุษสู่การเป็นแผ่นดินคนอ่าวลึก ด้วยการสร้าง Mean Story ให้เกิดขึ้นในใจ มีความเชื่อ และเดินหน้าให้ถึงเป้าหมาย สร้างฐานการเรียนรู้เร็มพื้นที่ ทุกตารางนิ้วมีเรื่องเล่า มีอาชีพ มีรายได้ เป็นเครือข่ายเพื่อนไม่ใช่คู่แข่ง ไม่แย่งพื้นที่ แต่ โยงจากจุดเล็กๆ กลุ่มเล็กๆ อย่างเป็นธรรมชาติไปสู่กลุ่มที่ใหญ่ๆ ผูกสายเส้นทางการท่องเที่ยวจากอ่าวลึกใต้ ล่องคลองมะรุยไปหาเครือข่ายที่ปากอ่าวพังงา ...และอีกหลายๆ พื้นที่ที่ยังเล่าไม่หมด...(Jumbooka agree)(Jumbooka agree)(Jumbooka agree) จากรูปธรรมของพื้นที่ที่ทำในปี 63 ภาคใต้ 4 รุ่น กว่า 100 คน มีทีมพี่เลี้ยงคอยติดตามเสริมพลังกว่า 27 คน ถึงแม้จะยังมีพี่เลี้ยงไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด แต่ภาคใต้ก็ได้พยายามที่วางจังหวะก้าวเพื่อเดินหน้า ให้ CBMC เป็นเครื่องมือหนึ่งในการต่อยอดงาน ต่อยอดผลิตภัณฑ์ของพื้นที่ให้ได้ ซึ่งได้วางไว้ทั้งในเรื่อง...การพัฒนาคน ที่จะใช้กระบวนการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือ ให้คน/สมาชิกมีขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นทั้ง Mindset และ Skillset...การพัฒนาองค์กร โดยใช้การจัดการข้อมูล การสร้างธรรมาภิบาล การใช้ทุนที่ไม่ใช่ตัวเงิน และที่เป็นตัวเงิน...การเชื่อมโยงเครือข่าย และการประสานนโยบายทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ (Jumbooka agree)(Jumbooka agree)(Jumbooka agree)จังหวะก้าวนี้ภาคใต้จะใช้วิธีการ ค้นหาทุนภายในให้มากที่สุด ออกแบบกระบวนการที่เหมาะสม พัฒนาเพิ่มเติม ทดสอบทดลองทำ และปรับใช้ให้เกิดผล (Jumbooka agree)(Jumbooka agree)(Jumbooka agree)โดยหวังให้เกิดผลิตมี CBMC เต็มพื้นที่ภาคใต้ (พื้นที่ไหนพร้อมทำก่อน สภาองค์กรชุมชนไหนพร้อมเกินหน้าก่อน) ให้เกิดผลลัพธ์คนในพื้นที่มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่พอเพียง และเพิ่มขึ้น เกิดผลกระทบที่ดีในระยะยาวในพื้นที่ ไม่ส่าจะเป็นการดูแลกันและกันของคนในชุมชน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อต่อกัน ดูแลทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้ดี มอบคุณค่าที่เป็นมูลค่าส่วนเกินให้กับคนรุ่นต่อไปของพื้นที่.(ร่างเรื่องเล่า อิรวดี สมสุข เพิ่มเติมเนื้อหา เสาวลักษณ์ ปรปักษ์พ่าย) (Miedie Happy)(Miedie Happy)(Miedie Happy)

หมายเลขบันทึก: 680342เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2020 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2020 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หวัดดีจ้ะลุงวอ….ทำงานตลอด พักบ้างจ้ะ อย่าลืม…ทำอีกแค่ 2 ปี พอนะจ๊ะ ที่เหลือไว้ให้พี่สาวกับครอบครัวจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท