อภิปรัชญา คือ อะไร..?


อภิปรัชญา  คือ  อะไร..?

โดย...อุทัย  เอกสะพัง

    วิชาปรัชญาแยกเป็น 3 สาขาใหญ่  คือ

1.อภิปรัชญา  หรือ  ภววิทยา  ( Metaphysics  or  Ontology  )

2.ญาณวิทยา  หรือ  ทฤษฎีแห่งความรู้  ( Epistemology  or  Knowledge )

3.จริยศาสตร์  หรือ  คุณวิทยา  ( Ethics  or  Axiology  )

อภิปรัชญา  คือ  ปรัชญาบริสุทธิ์ ,  ปรัชญาชั้นสูง  นักปรัชญาชื่ออริสโตเติลเรียกอภิปรัชญาว่า  First  Philosophy  ต่อมา นายนิโคลาอุส ( Nicola-us )  แห่งกรุงดามัสกัส  เรียก First  Philosophy  ว่า  Metaphysics เป็นภาษากรีก  Meta  แปลว่า  หลัง  Physics  แปลว่า  วิชาว่าด้วยเรื่องฟิสิคส์ หลังจากนั้น  นายโบเอธิอุส  ( Boethi-us )  ชาวโรมัน  ได้ใช้ภาษาละติน คือ Metaphysics  และคำนี้เป็นที่นิยมมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18

ความหมายของอภิปรัชญา

1.ความรู้อันประเสริฐที่ยิ่งใหญ่ ( อภิ+ปรฺ+ชญา )

2.ความรู้ที่มีเนื้อหาลึกซึ้งอย่างยิ่ง

3.เรียนรู้สิ่งอยู่หลังปรากฏการณ์ทางวัตถุ

4.วิชาว่าด้วยการล่วงเลยวัตถุไป / เลยประสาทสัมผัสทั้ง 5

5.วิชาค้นหาความจริงขั้นสูงสุด ( Ultimate  Reality )

6.วิชาศึกษาความจริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ

ความจริงแบ่งออกเป็น  3 ขั้น  คือ

1.ความจริงขั้นสมมุติ  เช่น  น้ำ

2.ความจริงขั้นวัตถุ  เช่น  ของเหลว  (  H2O )

3.ความจริงขั้นปรมัตถ์  เช่น  ความว่างเปล่า

นักปรัชญาตะวันตก  แบ่งวัตถุในโลก  เป็น  2 อย่างคือ

1.สิ่งที่ปรากฎ  Appearance

2.สิ่งที่เป็นจริง  Reality

ตัวอย่าง  คนเห็นเชือกเป็นงู  เชือกคือสิ่งจริง  งูคือสิ่งปรากฏ

ความเชื่อเรื่องราหูอมจันทร์  สิ่งจริงคือเงาโลกบนดวงจันทร์

รุ้งกินน้ำ  สิ่งจริงคือละอองน้ำบนอากาศสะท้อนแสง

ทฤษฎีดวงตา  5 ดวง  คือ

1.การมองเห็นด้วยตาเนื้อ  เช่นเห็นตามรูปวัตถุ

2.การมองเห็นด้วยตาทิพย์  เช่นเห็นเซลล์ต่าง ๆ

3.การมองเห็นด้วยตาปัญญา เช่น เห็นปรมาณู  อะตอม

4.การมองเห็นด้วยตาธรรม  เช่นเห็นเค้าโครงร่าง  โครงกระดูก

5.การมองเห็นด้วยดวงตาแห่งการตรัสรู้  เช่นเห็นความว่างเปล่า

What  is  Reality..?

ความแท้จริงคืออะไร..?  ปัญหานี้อภิปรัชญาเป็นผู้ตอบ

1.ความจริงของโลก/จักรวาล Cosmology เป็นเช่นใด..?

ตอบว่า  โลกเป็นจิตนิยม  ( Idealism  )  โลกเป็นสสารนิยม  (Meterialism  )  โลกเป็นธรรมชาตินิยม  ( Naturalism )

2.ความจริงของจิต/ วิญญาณ ( Mind  or  Spirit )

3.ความจริงของพระเจ้า

คำว่า  จิตนิยม  คืออะไร..?

ทัศนะอภิปรัชญา  เรียกว่า  จิตนิยม  ( Idealism )  ในจริยศาสตร์เรียกว่า อุดมคตินิยม  ( Idealist )  หมายถึงผู้เห็นจุดหมายสูงสุดของชีวิตและพยายามเข้าถึงจุดหมายนั้น  แต่อภิปรัชญา  มอง  Idealist  หมายถึง  ผู้เรียนรู้ว่าความจริงคืออะไร..?  กกกอสิ่งนั้นเข้ากันได้กับความคิดมนุษย์หรือไม่..?

บรัดเลย์  ( P.H. Bradley ) ว่า  นอกจากจิตแล้วไม่มีความจริงอื่น.  นักจิตนิยมว่า  ทุกสิ่งในจักรวาลนี้  เมื่อค้นหาความจริงสูงสุดแล้วมีสภาพเป็นจิต  จิตจับต้องไม่ได้.  จิตมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ  จิตไม่เป็นสสาร  จิตรับรู้ทางประสาททั้ง 5 ไม่ได้

จิตปรากฏอยู่ในโลกนี้ในฐานะเป็นนามธรรม

คำว่าพระเจ้าคือใคร..?

ปัญหาว่า  พระเจ้ามีหรือไม่  ? 

        สำหรับชาวฮินดูหรือชาวคริสต์นั้น  พวกเขาไม่สงสัยดอก  เพราะพระเจ้าเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่งในจักรวาล  เพราะพระเจ้าเป็นผู้สร้างจักรวาล  สร้างโลกและสร้างทุกสิ่ง

ตามความเชื่อชาวคริสต์ว่า  พระเจ้าเป็นพระวิญญาณอันบริสุทธิ์  พระเจ้ามีอำนาจยิ่งใหญ่  พระเจ้ารอบรู้ทุกสิ่ง  พระเจ้าเห็นการกระทำทุกคน  พระเจ้าสงสารมนุษย์  พระเจ้าส่งพระเยซูลงมาไถ่บาปให้มนุษย์  ข้อปฏิบัติสำคัญของศาสนาคริสต์คือ เขาต้องการให้คนเชื่อมั่นในพระเจ้า  คนดีในศาสนาคริสต์คือคนที่เกรงกลัวต่ออำนาจพระเจ้า  ( God  Fearing  Man )  ผู้ได้พึ่งพระเจ้าทำให้เขามีความหวัง  อบอุ่นใจ

        ตามความเชื่อของชาวฮินดู  ว่า  พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก ( Creator )  รักษาโลก  (Sustainor  )  ทำลายโลก  ( Destroyer  )  ชาวฮินดูเชื่อว่า  เขาอาบน้ำในแม่น้ำคงคาทุกวัน  เพราะว่าน้ำในแม่น้ำคงคาชำละบาปได้  เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์  เป็นน้ำไหลผ่านศีรษะพระศิวะ

เรื่องชนชั้นวรรณะนั้น  ชาวฮินดูเชื่อว่า  พระพรหมสร้างคนออกเป็น  4 วรรณะ  คือ

1.พราหมณ์สร้างมาจากปากของพรหม.

2.กษัตริย์สร้างมาจากแขนของพรหม

3.แพศย์สร้างมาจากท้องของพรหม

4.ศูทรสร้างมาจากเท้าของพระพรหม

        คำว่า  สสารนิยม  คืออะไร..?

ทัศนะทางอภิปรัชญาเรียกว่า  สสารนิยม (Materialism  )  ในทางจริยศาสตร์เรียกว่า  วัตถุนิยม  ด้วยสสารหรือพลังงานเท่านั้นที่มีอยู่จริง  สสารนิยมแบ่งเป็น 3  ประการ

1.สิ่งทั้งหมด เป็นผลของพลังงานทั้งนั้น  รวม( Consciousness  Mind ).

2.สิ่งทั้งหมดมีชีวิตและไม่มีชีวิต  ล้วนเป็นกฎทางวัตถุ (Mechanics)

3.ไม่มีพระเจ้าหรือภาวะ เหนือธรรมชาติ ๆ มาอธิบายความมีอยู่ของโลกและอื่น ๆ   สสารนิยมนั้นเราใช้กายสัมผัสได้    สสารนิยมด้านความคิดใช้แนวทางจิตนิยม  เพราะจิตคือมันสมองหรือระบบประสาท  ร่างกายทุกคนเคลื่อนไหวเพราะสมองมันสั่งงาน  การฉีดยาชาส่วนไหน  ส่วนนั้นไร้ความรู้สึก  สรุปว่า  คนตายแล้วหมดเรื่อง  ไม่มีอะไรไปเกิดอีก  ระบบประสาทก็เน่าหมดแล้ว

สสารนิยมอธิบายสมองว่า สมองคือศูนย์กลางการควบคุม  สมองคือห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุด  สมองบันทึกทุกสิ่งและมันละเอียดรอบคอบที่สุดของคน

3.ธรรมชาตินิยม  (Naturalism)  หรือ  ปรัชญาสัจจนิยม ( Realism) ธรรมชาตินิยมหมายถึง  สิ่งที่เกิดมีขึ้นและดับลงตามเหตุผลนั้นล้วนเป็นไปตามธรรมชาติทั้งสิ้น.

หมายเลขบันทึก: 680052เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2020 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2020 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท