เมื่อวานผมทราบข้อมูลจากทีมวิจัยกะหรอว่าเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนได้
เข้ามาเชื่อมงานด้วย วันนี้ได้อ่านแผนสุขภาพชุมชนของน้องชายขอบ ทำให้เกิดภาพเชื่อมโยงต่อจากที่ผมตั้งประเด็นค้างไว้เรื่องบูรณาการหน่วยงานภาครัฐร่วมพัฒนาชุมชนช่วงกลางทางเมื่อวาน
การปะทะสังสรรค์ (การพัฒนา)ในระดับตำบลเท่าที่เห็น คือ
ก)กองกำลังจากราชการส่วนภูมิภาค 1)สธ.ดังที่น้องชายขอบเล่าเรื่องการเคลื่อนแผนสุขภาพ ชุมชนปากพยูน 2)พช.ผมเล่าเมื่อวานการเคลื่อนมชช.นำร่อง 3โซน เพื่อให้จนท.ไปทำทุกอำเภอ 3)กษ.กำลังทำโรงเรียนมังคุด ชาวนา ทุเรียน 4)กศน.เสริมการเรียนรู้กลุ่มอาชีพ ที่นครศรีธรรมราชเน้นเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น
ข)กองกำลังราชการรูปแบบใหม่ 1)พอช.ขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายชุมชน 1.1)เครือข่ายสวัสดิการชุมชนสมทบ1แสนบาทตามเกณฑ์ ต้องมีอปท.ร่วมด้วย 1.2)เครือข่ายแผนแม่บทชุมชน ลงมาที่ กะหรอข้างต้น 1.3)... 2)สกว.เครือข่ายชุมชนรอบเขาหลวง ทำวิจัยท้องถิ่นร่วมกับอปท.รอบเขาหลวง ลุ่มน้ำปากพนังอีกชุดหนึ่ง 3)สสส.โครงการดับบ้านดับเมืองลงไปทำงานร่วมกับเครือข่าย ชุมชนหลายรูปแบบ 4)ศูนย์คุณธรรมทำแผนที่คนดีที่เกาะลันตา เป็นต้น
ค)กองกำลังของอปท.ตามบทบาทหน้าที่ทั้งที่ถ่ายโอนจากส่วนภูมิภาคและถ่ายฝากของพมจ. เป็นต้น
ทั้งหมดนี้นับเป็นกองกำลัง(คน)และงบประมาณมหาศาล จะทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็งและช่วยแก้ปัญหาความยากจน
กุญแจสำคัญเท่าที่นึกได้คือ
1)การบริหารจัดการ โดยการประสานเชื่อมโยงการทำงานอย่างมีเป้าหมาย และเครื่องมือในการทำงานด้วยการจัดการความรู้
2)ประเด็น กลุ่มเป้าหมายสำคัญ (ตัวคลิกแรก) น่าจะหลากหลายตามสภาพที่เป็นจริง
สำหรับทีมวิจัยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนก็ต้องประเมินสถานะการณ์ต่างๆประกอบการทำงานซึ่งให้น้ำหนักที่การพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเรื่องอื่นๆในชุมชน
การจัดการความรู้น่าจะมีทั้ง1)การลงลึกเพื่อนำเทคนิควิธีที่ได้ผลจากตัวอย่างหรูมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลตามเป้าหมายที่วางไว้ และ2)ความเข้าใจความสัมพันธ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อจัดวางตำแหน่งและขั้นตอนการทำงานให้สอดคล้องเหมาะสมกับกาละและเทศะที่เป็นอยู่
น่าจะมีอีก หรือไม่น่าจะใช่?