การประท้วงต่อต้านรัฐบาลปรากฏขึ้นอีกครั้งในประเทศไทย


หลังจากหยุดในช่วงการป้องกันโควิด การประท้วงรอบใหม่ๆ ที่มุ่งตรงไปยังระบอบการสนับสนุนโดยทหารก่อให้เกิดความไม่สบายของประชาธิปไตยที่มีอาวุธหนุนำ

ในวันที่ 18 เดือนกรกฎาคม ผู้ประท้วงคนไทยราว 2,500 คน ที่ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แสดงถึงความไม่พอใจต่อรัฐบาลทหารและนายกฯประยุทธ์ จันทโอชา

จันทร์โอชาเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารปี 2014  และปกครองประเทศโดยไม่มีการเลือกตั้ง จนกระทั่งถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดปี 2019 เมื่อพลลังประชารัฐที่มีทหารหนุนหลังได้เข้ามาครอบคลุมอำนาจ คณะทหารได้ผ่านรัฐธรรมนูญ ปี 2017 ซึ่งอำนาจทหารในการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก การแต่งตั้งคือการทำให้ความเป็นผู้นำปลอดภัย

ตามการประท้วงในกรุงเทพฯ เมืองเล็กๆ เช่น เชียงใหม่ และอุบลราชธานีก็จัดให้มีการประท้วงในวันต่อมา คลื่นของการประท้วงที่ใหม่ที่สุดเกิดขึ้นเพราะคนไทยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะพวกวัยเยาว์ เริ่มรู้สึกแล้วว่าประเทศยังไม่มีประชาธิปไตย

ผู้ประท้วงมีจุดมุ่งหมายอยู่ 3 ประการ ได้แก่ แก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ยุบสภา ที่ผู้ประท้วงเห็นว่ามีทหารปลอดปนอยู่เยอะ และห้ามทำร้ายผู้วิจารณ์หรือผู้เห็นต่าง

หลายปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์หลายประการที่เกี่ยวข้องกับนักกิจกรรมที่ต่อต้านรัฐบาล ซึ่งควรเป็นความสนใจระดับชาติ เช่น การทำร้ายจ่านิว และการหายไปแบบถูกจำยอมของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ในกัมพูชา เมื่อต้นเดือนมิถุนายน

ตำรวจพยายามปัดเป่าการประท้วงเหล่านี้ โดยการเตือนว่าการประท้วงจะทำลายข้อตกลงของรัฐบาลในเรื่องการรวมตัน เพราะวิกฤตการณ์โควิด

ในฐานะที่เป็นการรับมือกับโควิด 19 จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรีของเขาประกาศภาวะฉุกเฉิน เขาออกกฎอัยการศึก และห้ามการรวมกลุ่ม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการจัดการการติดเชื้อโคโรนาไวรัสได้ดีเป็นที่ยิ่ง แต่มีข้อกังวลว่า พรรคแกนนำจะใช้ไวรัสคงไว้ซึ่งการรวมกลุ่มกันเกินกว่าจำเป็น

ผู้ใช้โซเชี่ยม มีเดียชาวไทยกำลังส่งเสียงของผู้เห็นต่าง

ระหว่างการประท้วงในวันหยุด แฮชเเท็กทวีตไทยได้เขียนข้อความว่า เยาวชนปลดแอก ซึ่งหมายถึงกลุ่มเยาวชนที่ต่อต้านทหาร และเป็นผู้นำในครั้งนี้ ได้รับทวีตอย่างน้อย 3.5 ล้านครั้ง  และแฮชแท็กในทำนองเดียวกันคือ #เคารพประชาธิปไตยไทย ได้ทวีต 1.2 ล้านครั้ง ระหว่างประท้วง

ในขณะท่คนใช้โชเชี่ยลมีเดียยังคงไม่แน่ใจ และไม่แสดงออกว่าจะเป็นตัวแทนผู้สนับสนุนครั้งนี้ แต่คนใช้ออนไลน์ที่มีต่อขบวนการประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนทำให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ทหน้าชาไปเหมือนกัน

เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทยทำให้ผู้เห็นต่างเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่เกี่ยวข้องกับเสาหลักในสังคมไทย ซึ่งก็คือทหาร และกษัตริย์

การเชื่อมโยงอย่างเปิดเผยกับทหารและองค์กษัตริย์ ทำให้ผู้ประท้วงอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะต้องระวังตัวเป็นอย่างมาก

เมื่อไม่นานมานี้ ประเทศไทยได้ฟ้องร้องการดูหมิ่นกษัตริย์ ที่เรียกกันว่ากฎหมายหมิ่นองค์กษัตริย์ แต่รัฐบาลได้เปลี่ยนวิธีการ โดยการแจ้งดำเนินคดีทางออนไลน์แทน

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ปี 2017 มีการลงโทษถึง 10 ปีในคุก และปรับประมาณหนึ่งแสนบาท ตาม Human Rights Watch กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจกับรัฐบาลในการควบคุม, เซ็นเซอร์, และตอบโต้ต่อนักวิจารณ์รัฐบาล

ในขณะที่มีความไม่ชัดเจนว่ามีกี่คนแล้วที่ถูกลงโทษด้วยกฎหมายฉบับนี้ แต่เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลกำลังใช้กฎหมายนี้ในการเอาผิดผู้เห็นต่างทางออนไลน์

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักกิจกรรม Thanet Anantawong ได้ถูกปล่อยตัว หลังจากต้องอยู่ในคุกเกือบถึง 4 ปีเพราะกฎหมายคอมพิวเตอร์ ในปี 2015 เขาได้โพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์รัฐบาลทหาร และกองทัพที่ใช้อำนาจมากเกินไป

การประท้วงมีแนวโน้มว่าจะมีต่อไป หากประชาธิปไตยที่เสถียรจะไม่มีในประเทศ

ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะได้รับเสียงชื่นชมในการจัดการกับโคโรน่าไวรัสเมื่อต้นปี แต่ภาคเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นอาจทำให้รัฐบาลอยู่ไม่สุข

กิจกรรมเพื่อโปรโมตประชาธิปไตย, ความเหลื่อมล้ำ, และการไม่เป็นประชาธิปไตยอาจเป็นตัวช่วยให้การประท้วงยังคงมีต่อไป

ในตอนเที่ยงคืนวันที่ 19 กรกฎาคม ผู้นำ 2 คน ก็คือ Tattep และ Juthathip ได้อ่านข้อตกลงเพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลใส่ใจกับการปฏิรูปตนเอง

หากรัฐบาลยังไม่ทำข้อตกลงตามสัญญาใน 2 สัปดาห์ พวกเขาบอกว่าขบวนการประชาธิปไตยจะเร่งขยายออก

ในขณะที่รัฐบาลมีโอกาสน้อยมากๆที่จะใส่ใจต่อคำแนะนำของผู้ประท้วงเยาวชน แต่ขบวนการประชาธิปไตยไม่มีแนวโน้มว่าจะหยุดลง ตราบใดที่กระบวนการประชาธิปไตยยังไม่มีการตั้งมั่นในประเทศ

 พวกผู้รักษาเก่าๆมักมองว่าการที่ทหารเข้ามาอยู่ในอำนาจจะทำให้การคงไว้ซึ่งสถานภาพทั้งระบบการเมืองสังคมเป็นไปอย่างราบลื่น เพื่อเห็นแก่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่สำหรับผู้ประท้วงเยาวชนเหล่านั้น มันยังไม่เพียงพอ

แปลและเรียบเรียงจาก

Zachary Frye. Anti-government protests reemerge in Thailand.

https://www.aseantoday.com/2020/07/anti-government-protests-reemerge-in-thailand/

หมายเลขบันทึก: 679862เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2020 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2020 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท