คำถาม จากผู้แทนสหกรณ์ที่เข้ารับการอบรมทางไกล ในเรื่อง แนวทางการปฏิบัติของสหกรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทำให้ได้คิด ได้ทราบ


คำถาม จากผู้แทนสหกรณ์ที่เข้ารับการอบรมทางไกล ในเรื่อง แนวทางการปฏิบัติของสหกรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทำให้ได้คิด ได้ทราบ และสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับการสหกรณ์ในประเทศไทยในตอนนี้ เดินไปถูกทิศทางหรือไม่ 

จากการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่าง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (อักษรย่อ: ปปง.)) และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์) ซึ่ง ถ่ายทอดจาก กรมส่งเสริมสหกรณ์ สู่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทั่วประเทศ และ สำนักงานส่งเสริสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร

พร้อม Facebook live 

https://www.facebook.com/35027...

 มีคำถามจากผู้เทนของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ถามว่า 


ในกรณีที่สมาชิกสหกรณ์ ใช้บริการกู้ยืมเงินจาก สหกรณ์ที่เค้าเป็นเจ้าของ
จำนวนตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป

กรณีที่ 1 ใช้บัญชีเงินฝากของตัวเองที่มีอยู่ในสหกรณ์ค้ำประกัน 
กรณีที่ 2 ใช้หุ้นของสมาชิกผู้นั้นค้ำประกัน

ต้องรายงานธุรกรรม แก่ ปปง. หรือไม่

คำตอบ คือ การรายงานการทำธุรกรรมของสถาบันการเงิน
ธุรกรรมที่ใช้เงินสด       ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน   ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย      ไม่กำหนดวงเงิน

คำตอบคือ ในกรณีที่ 1 ต้องรายงาน เพราะเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย  

เหตุอันควรสงสัย (อธิบายตามหลักวิชาการสหกรณ์)
อธิบายความ

กรณีที่ 1  ใช้บัญชีเงินฝากของตัวเองที่มีอยู่ในสหกรณ์ค้ำประกัน 
โดยปกติ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก จะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้  (ในปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายโดย กนง. ร้อยละ 0.50 บาทต่อปี ) เหตุใดสมาชิกรายนี้จึงไม่ถอนเงินฝากออกไปใช้จ่าย จะไปใช้บริการเงินกู้ของสหกรณ์ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าทำไม จึงเป็นเหตุอันควรสงสัย ว่าเงินฝากนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร


กรณีที่ 2 ใช้หุ้นของสมาชิกผู้นั้นค้ำประกัน   
(อธิบายตามหลักวิชาการสหกรณ์)

ตามปรัชญาของการสหกรณ์ “ช่วยตน ช่วยกัน  self help mutual “

ตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 2
หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดยมวลสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อมวลสมาชิก ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

2nd Principle: Democratic Member Control

Co-operatives are democratic organisations controlled by their members, who actively participate in setting their policies and making decisions. Men and women serving as elected representatives are accountable to the membership. In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote) and co-operatives at other levels are also organised in a democratic manner.


เมื่อสมาชิกมีความเดือดร้อน ต้องการเงินไปใช้จ่าย แทนที่ต้องกู้สหกรณ์ ก็ใช้การถอนหุ้นบางส่วนไปใช้ก่อน เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาของการสหกรณ์  “ช่วยตน” (self help) ก่อนเพราะ หุ้นในสหกรณ์เป็นเงินของสมาชิกสหกรณ์ที่สะสมไว้ และในทางหลักวิชาการสหกรณ์ แล้วพบว่าตามหลักสหกรณ์สากลที่ 2 แล้ว แม้สมาชิกสหกรณ์จะมีหุ้นมากเพียงใด ก็มีสิทธิในการเลือกตั้งเพียง 1 เสียง เช่นเดียวกับ สมาชิกสหกรณ์ที่มีหุ้นเพียง 1 หุ้น ในสหกรณ์ขั้นปฐม (In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote))
หากสมาชิกยังต้องช่วยตนเองอยู่ ก็ยังไม่ต้องไปช่วยคนอื่น จะเป็นการใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุผล ประกอบกับ เงินปันผลตามหุ้นของสหกรณ์ จะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้  

ทุกวันนี้ติดอยู่ที่ข้อบังคับของสหกรณ์ที่ไม่ให้ถอนหุ้นไปใช้จ่าย ทำให้สมาชิกสหกรณ์ต้องกู้เงินสหกรณ์โดยใช้หุ้นค้ำประกัน
ในสถานการณ์ New normal สหกรณ์ควรพิจารณาข้อบังคับดังกล่าวเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สมาชิก ให้สมาชิกสหกรณ์สามารถถอนคืนหุ้นได้บางส่วนแต่เหลือไว้ไม่ต่ำกว่า 1หุ้น เพื่อคงสิทธิความเป็นสมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) ไว้

การสหกรณ์เป็นการรวมคนที่ช่วยตนเองได้ เพื่อมาช่วยเหลือแบ่งปันกัน หุ้นของสมาชิกเมื่อมีความจำเป็นควรถอนคืนได้บางส่วน เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ สามารถดำรงชีวิตอย่างพอเพียงได้ สมควรปลดล๊อคให้สมาชิกสหกรณ์ถอนคืนหุ้นบางส่วนได้ใน New normal

จึงขอตอบคำถามในกรณีที่ 2 ว่าต้องรายงานธุรกรรม  
เมื่อเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด                       ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
และธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน                ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
แต่มิได้เป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย  เมื่อข้อบังคับของสหกรณ์ยังมิได้กำหนดให้ถอนหุ้นคืนได้บางส่วน
หากสหกรณ์แก้ไขข้อบังคับให้สมาชิกสหกรณ์ถอนคืนหุ้นได้บางส่วนก็จะเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยทันที
เพราะว่า เงินปันผลตามหุ้น  จะมีอัตราต่ำกว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์นั้น

พีระพงศ์ วาระเสน (บ๊อบบี้)
นักวิชาการสหกรณ์ด้วยหัวใจ ❤️
14 กรกฏาคม 2563

(ในการนี้ ขออธิบายด้วยความคิดเห็นส่วนตัวตามที่สหกรณ์ควรจะเป็น ไปในทิศทางของความเป็นสหกรณ์ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง 

วิธีการสหกรณ์ optimize surplus เพื่อ maximize utility ของสมาชิกโดยรวม


 https://www.gotoknow.org/posts...

วิธีการสหกรณ์ optimize surplus เพื่อ maximize utility ของสมาชิกโดยรวม

หมายเลขบันทึก: 678715เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2020 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2020 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท