พี่เลี้ยงเด็กพิการกับการดูแลเด็กเรียนรวม


                พี่เลี้ยงเด็กพิการกับการดูแลเด็กเรียนรวม ด้วยประสบการณ์กับกาจัดการศึกษาพิเศษตั้งแต่วันแรกของการเข้าสู่ตำแน่งศึกษานิเทศก์ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบการศึกษาพิเศษมาโดยตลอด รวมเวลา ๒๒ ปีเข้าแล้วเห็นช่วงต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้พิการ โอกาสของผู้พิการ กฎหมายในด้านสิทธิโอกาศของเด็กในการรับการศึกษา ผ่านยุครุ่งเรืองของการศึกษาพิเศษ ผ่านช่วงที่ไม่ได้รับการกระตุ้นเร่งเร้าจากหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญของเด็กกลุ่มนี้เพียงไร โชคดีที่มีการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในการจัดการศึกษาจึงจัดให้มีพี่เลี้ยงเด็กพิการในการดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้และพี่เลี้ยงเด็กพิการมีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างไร 

              แนวคิดด้านการศึกษาพิเศษเข้ามาในประเทศไทยเมื่อประมาณ ๓๐ ปีที่แล้วและเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเมื่อมี พรบ การศึกษาฯ ๒๕๔๒ หมวด ๒ มาตรา ๑๐ ว่าการจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิโอกาสรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีรัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และวรรคสองกล่าวถึงบุคคลที่มีความพิการต้องได้รับการจัดการศึกษาเป็นพิเศษ วรรคสามกล่าวถึงสิทธิและความช่วยเหลือในสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับผู้พิการ วรรคสี่กล่าวถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น จะเห็นว่า การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการต้องได้รับการดูแแลอย่างเหมาะสม จัดหาสื่อ หาผู้ดูแลช่วยเหลือตามความรุนแรงในประเภทความพิการ พี่เลี้ยงเด็กพิการเป็นกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกจัดมาเพื่อดูแลเด็กพิการตาม พรบ การศึกษา ที่กำหนดไว้ เพื่อให้มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือดูแลเด็กพิการร่วมกับครู ผู้ปกครอง เป็นผู้ช่วยครู ในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการ ครูผู้สอนที่ผ่านการอบรมการคัดกรองมีหน้าที่คัดกรองความพิการ ครูประจำชั้นครูประจำวิชา ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครอง มีหน้าที่ร่วมกันในการวิเคราะห์วางแผนจัดทำแผนการจัดการศึกษาฉเพาะบุคคล(IEP) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการนักเรียน พี่เลี้ยงเด็กพิการมีหน้าที่ช่วยเหลือครูผู้สอน ผู้ช่วยเหลือดูแลเด็กพิการ จากการนิเทศติดตามพี่เลี้ยงเด็กพิการ พี่เลี้ยงเด็กพิการจะได้รับมอบหมายตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม และด้วยภาวะในสถานศึกษาขาดแคลนบุคคลากร พี่เลี้ยงเด็กพิการบางคนมีความรู้ความสามารถมีวิชาชีพครูจึงถูกจัดให้เป็นครูประจำชั้น ครูผู้สอนเพื่อสิทธิและโอกาสในความก้าวหน้าก็สามารถทำได้แต่บทบาทหน้าที่หลักคือการดูแลเด็กพิเศษก็ต้องมีความเข้มข้นตามบทบาทและหน้าที่หลัก ซึ่งสพฐ ได้สำรวจความคิดเห็นการบริหารจัดการพี่เลี้ยงเด็กพิการตามหนังสือที่ ศธ ๐๔๐๐๗/ว ๑๕๒๑ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๓ โดยเน้นให้พี่เลี้ยงเด็กพิการบฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทอย่างเคร่งครัด 

             ในห้วง ๖-๗ ปีมานี้ผมมีโอกาสได้เรียนรู้กับพี่เลี้ยงเด็กพิการได้แต่ให้กำลังใจ ส่งเสริมด้านความรู้แนวทางการสร้างความก้าวหน้าในว้ชาชีพ หลายคนมาเป็นพี่เลี้ยงเด็กพิการจากการจบ ม๖ ใช้เวลาที่มีเงินเดือนเริ่มเดือนละ ๕๐๐๐ บาทจนปรับมาเป็น ๙๐๐๐ บาทไปเรียนต่อจบปริญญาตรี สอบบรรจุเป็นครูหลายคนนั่นเป็นเรื่องที่มีความภาคภูมิใจเล็กๆในการทำงาน จะสะท้อนใจอีกครั้งเมื่อน้องๆถามว่าปีนี้จะต่อสัญญามั้ยมันตอบยากสำหรับคนทำงาน ได้แต่ให้กำลังใจว่า การรายงานผลการทำงานของพี่เลี้ยงเด็กพิการส่งผลดีต่อเด็ก ต่อผู้ปกครองและเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริงทำให้เด็กพิการได้รับการดูแลดีขึ้นแบ่งเบาภาระของครูผู้สอนได้ดีมาก จะเห็นว่าพี่เลี้ยงเด็กพิการยังมีความสำคัญและจำเป็นด้านบุคคลากรในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษอย่างยิ่ง Č

หมายเลขบันทึก: 677689เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2020 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2020 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท