วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด : ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษาและแนวทางการวัดประเมินผล ครั้งที่ 2


การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด : ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษาและแนวทางการวัดประเมินผล

  1. าควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช โดย อ.อายุพร  กัยวิกัยโกศล

      นำการสะท้อนคิดไปใช้ในวิชาปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช และได้ทำวิจัยควบคู่ไปด้วยเรื่อง "ผลของการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยใช้การสะท้อนคิดต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช " จัดกิจกรรมโดยนักศึกษาฝึก 4 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่ 1-2 ฝึกในรพ.สวนปรุง และ 3-4 ฝึกในชุมชน มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างและจัดให้มีลักษณะกลุ่มคล้ายคลึงกัน วัดผลก่อนฝึกปฏิบัติ กลุ่มทดลอง B และกลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่ม A ใช้ทดสอบเครื่องมือวิจัย เพื่อน feedback เพื่อน ใช้ทฤษฎีโจหันรี่ และใช้ Gibbs ให้นักศึกษาสะท้อนคิดและบันทึกทั้ง 2 กลุ่ม

วัตถุประสงค์การวิจัย

1) เปรียบเทียบคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

2) เปรียบเทียบคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมหลังการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

รูปแบบการวิจัย

การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi - experimental research) แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง (two group pre-test, post-test design)

กลุ่มตัวอย่าง

นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มทดลอง 16 คน และกลุ่มควบคุม 16 คน 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

แบบสอบถามความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของ Rogers Rubin’ s Self-  Esteem Scale จำนวน 62 ข้อ

ผลการวิจัย

คะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมหลังการฝึกประสบการณ์ภาคสนามเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างคำพูดที่แสดงถึงการรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษา

“ไม่คิดว่าจะใช้เทคนิคการสนทนาได้ พออาจารย์บอกว่าถูกต้อง หนูดีใจมาก มั่นใจมากขึ้น กล้าพูดกับคนไข้มากขึ้น”

“หนูเป็นคนพูดน้อยได้รับหน้าที่เตรียมอุปกรณ์กลุ่มซึ่งหนูถนัดมากและมีส่วนทำให้กลุ่มสำเร็จ”

การแลกเปลี่ยนในที่ประชุม

1) กระบวนการวิจัยโดยการวัดการมีคุณค่าในตนเอง น่าจะเพิ่มการนำเสนอรายงานผลระดับคะแนนการเห็น

    ค่าในตนเอง และพิจารณาความแตกต่างระดับการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนการทดลอง เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างใกล้เคียงกัน

    2) กระบวนการสะท้อนคิดในการนำไปใช้ในวิชาปฏิบัติมีขั้นตอนอย่างไร

      ตอบ ในสัปดาห์ที่ 1 กลุ่มทดลอง ใช้เวลา 15 นาทีขณะ post=conference เริ่มทำวันอังคารโดยการสำรวจตนเองและบรรยายโดยการพูด ข้อดีในตนเอง และอาจารย์จด ทำทุกสัปดาห์ จนครบ 4 สัปดาห์ ทำให้เห็นพัฒนาการ ส่วนวันพุธ/พฤหัส/ศุกร์ ให้นักศึกษาใช้สะท้อน 6 ขั้นตอน อย่างน้อยคนละ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ พูดทั้งสิ่งที่รู้สึก บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความคิดเห็น วิเคราะห์ตนเองและเสนอการวางแผนแก้ไข สัปดาห์ที่ 2 เน้นการพยาบาล interaction ในการดูแลผู้ป่วย

      3) การใช้กระบวนการสะท้อนคิดของผู้สอนแต่ละคนทำเหมือนกันหรือไม่ ตอบกลุ่มทดลองทำโดยอ.อายุพร ส่วนกลุ่มควบคุมอาจารย์ท่านอื่น

      4) ระยะเวลามีผล ดังนั้นในแต่ละรายวิจัย จะต้องปรับกระบวนการเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ แต่ละรายวิชาที่จะนำไปใช้ ควรปรับกิจรรมให้เหมาะสมหรือเข้มข้นกับความจำเพาะของแต่ละรายวิชาโดยเฉพาะในรายวิชาที่มีระยะเวลา 2 สัปดาห์  

      5) ควรจะใช้ศตวรรษที่ 21 มาใช้ร่วมกับการสะท้อนคิดด้วย

      6)  หากนักศึกษาจำเป็นต้องเปลี่ยนผู้ป่วย ควรปรับอย่างไร ตอบใช้ประเด็นหลัก ใช้ความรู้ในการสะท้อนคิดอย่างต่อเนื่อง และใช้อาจารย์ประจำกลุ่มต่อเนื่องไปตามนักศึกษาจนครบทุก area หากมีข้อจำกัดต้องปรับให้ชัดว่าในแต่ละ area จะเน้นเนื้อหา process หรือปรับทัศนคติของผู้ป่วย ดังนั้นการเปลี่ยนอาจารย์หรือผู้ป่วยไม่น่าเป็นปัญหา แต่กระบวนการสะท้อนคิดและการเรียนรู้ของนักศึกษาควรต่อเนื่อง แต่ควรเขียนกระบวนการการสะท้อนคิดในรายวิชาที่มีหลาย area เช่น การฝึกทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน ซึ่งสามารถเขียนตีพิมพ์เผยแพร่ได้

        2. ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน โดย อ.นิดา  มีทิพย์ 

            นำการสะท้อนคิดไปใช้ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัชุมชน 1 สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาตร์ชั้นปีที่ 3 เพื่อวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านคุณธรรม LO 1.3 สามารถใช้ดุลพินิจในการจัดการประเด็นหรือปัญหาทางจริยธรรม และ 1.4 แสดงออกถึงการเคารพสิทธิ คุณค่า ความแตกต่าง และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นและตนเอง ใช้เทคนิคการสะท้อนคิดของ Gibbs วัดผลโดยใช้แบบประเมิน TQF 1.3 และ 1.4 จำนวน 8 ข้อ

        กิจกรรมการฝึกปฏิบัติ

            มอบหมายให้นักศึกษาเลือกสถานการณ์ด้านคุณธรรม จริยธรรม สิทธิมนุษยชน และความปลอดภัยของผู้รับบริการที่นักศึกษาพบเจอจากการฝึกภาคปฏิบัติทั้งในการให้บริการในศูนย์สุขภาพชุมชนหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล การเยี่ยมบ้าน การให้อนามัยโรงเรียน และการประเมินสถานประกอบการมาสะท้อนคิดตามขั้นตอนการสะท้อนคิดของ Gibbs ทั้ง 6 ขั้นตอน ดังนี้

              1) บรรยายเหตุการณ์/ประสบการณ์ (Description) ด้านคุณธรรม จริยธรรม สิทธิมนุษยชน และความปลอดภัยของผู้รับบริการที่นักศึกษาพบเจอจากการฝึกปฏิบัติ: เกิดอะไรขึ้น บทบาทของนักศึกษาตอนนั้นคืออะไร

                  2) จากสถานการณ์นักศึกษารู้สึกอย่างไร (Feelings) อธิบายความคิดความรู้สึกที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ และอธิบายเหตุผลประกอบอย่างสมเหตุสมผล

                  3) จากสิ่งที่นักศึกษาเล่ามาข้างบน จุดเด่นในตัวนักศึกษาคืออะไร และจุดที่ควรปรับปรุงในตัวนักศึกษาคืออะไร (Evaluation) : (จุดที่ควรปรับปรุงจะเป็นสิ่งที่นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่ม)

                  4) อะไรที่นักศึกษาได้เรียนรู้จากเพื่อนร่วมกลุ่ม/อาจารย์ (Analysis) : เช่น สิ่งที่อาจารย์ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมคืออะไร หรือ สิ่งที่ได้รับการสะท้อนจากตัวผู้ป่วย

                  5) จากการสะท้อนของตัวนักศึกษาเองและข้อเสนอแนะจากผู้อื่น นักศึกษาคิดว่านักศึกษาต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม (Conclusions)

                  6)  การวางแผนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในอนาคต (Action plans) อธิบายแผนการนำความรู้ไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งบอกสถานการณ์ วิธีการ เหตุผลของการประยุกต์ใช้อย่างชัดเจน

                  7) ภายหลังจากการสะท้อนคิดกับครูและเพื่อนในกลุ่มแล้วให้นักศึกษาเขียนบันทึกการสะท้อนคิด (One page) ส่งอาจารย์ประจำกลุ่ม (1 ฉบับต่อนักศึกษา 1 คน) 

        ผลการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาได้สะท้อนคิดในประเด็นเกี่ยวกับการจัดลำดับรายเยี่ยม การใช้โพวีดีนในการทำแผลเบาหวาน ฯลฯ 

        การแลกเปลี่ยน

                  1) การเลือกผู้ป่วย การจัดลำดับการเยี่ยมของนักศึกษา เนื่องจากอาจเกิดอันตรายในสภาพอาการผู้ป่วยนั้นควรให้อาจารย์ตัดสินใจให้อีกที ตอบ อาจารย์ได้ไประเมินผู้ป่วยไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นพอดี และควรใช้ข้อมูลผู้ป่วยร่วมกับภาพในการตัดสินใจเรียงลำดับการเยี่ยมบ้าน จะทำให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายกับผู้ป่วย ควรให้อาจารย์ชี้แนะและช่วยตัดสินใจเลือกลำดับความสำคัญในการเยี่ยมบ้าน

                  2) ปรับคำพูดเพื่อการเจรจาต่อลองหรือและบอกพี่พยาบาลหรือผู้บังคับบัญชา ได้แก่ การเลือกเคสผู้ป่วยควรเลือกเคสไหนก่อน เพราะเหตุใดจึงเลือกเคสนั้นก่อนไปเยี่ยมบ้าน แล้วให้มาสะท้อนคิดอีกครั้งหลังไปเยี่ยมและ refer ผู้ป่วยอีกครั้ง experience ครั้งแรกนั้นสำคัญต่อความรู้สึกและความภาคภูมิใจของนักศึกษา ดังนั้นอาจารย์ควรชี้แนะลำดับการเลือกเคสที่เยี่ยมบ้าน

        3. ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น โดย อ.ดร.ทับทิม  ปัตตะพงศ์ 

                  วิชาการปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 1 ฝึกทั้งในรพ. และ รร.อนุบาล โดยจัดการสะท้อนคิดเป็นกิจกรรมเสริมที่ไม่คิดคะแนน เพื่อให้เกิดการปรับตัวในการให้การพยาบาลเด็ก และสะท้อนปัญหาระหว่างเรียน มีใบงานเกี่ยวกับประเด็นในการสะท้อนคิดให้เขียนบรรยายสะท้อนคิดส่งทุกวันศุกร์ ความรู้สึก ปัจจัยที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของนักศึกษา ผลการนำไปใช้ในสัปดาห์แรกนักศึกษาจะสะท้อนคิดไม่ค่อยได้ ส่วนใหญ่สะท้อนเรื่องพี่พยาบาลน่ารัก ผู้ป่วยให้ความร่วมมือดี เมื่อนักศึกษาเขียนไม่ค่อยได้ อาจารย์จะแนะนำวิธีการเขียนสะท้อนคิด หลังจากนั้นนักศึกมีการสะท้อนคิดได้ดีขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้น การเขียนสะท้อนคิดทำให้นักศึกษามองว่าเป็นงานที่ต้องส่ง อาจารย์จึงอธิบายวัตถุประสงค์ในการเขียนสะท้อนคิด ส่งผลให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิดเหตุการณ์ได้ดีขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เช่น ผู้ป่วยเด็กที่ต้องล้างไตช่วงดึก ผู้ป่วยไม่ตื่นมาล้างไต นักศึกษาสามารถสะท้อนวิธีการแก้ไขปัญหาได้สามารถกลับไปคุยและให้การพยาบาลเด็กได้ เป็นต้น ภาพรวมการทำสะท้อนคิดไปใช้ สามารทำได้ดีในขั้น 1-2 การะเมินผลนักศึกษาเขียนมาและอาจารย์สะท้อนกลับ

        วิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 2 นักศึกษาสามารถเขียนและให้การพยาบาลเด็กได้ดีขึ้น

        ปัญหาที่พบในการนำการสะท้อนคิดไปใช้

                  1) การเขียนบรรยายสะท้อนคิด เขียนได้ยากและน้อยกว่าพูดบรรยาย

                  2) ความเชี่ยวชาญในการนำการสะท้อนคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น

        ผลการนำไปใช้ : ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้การเตรียมตัวการในการภาคปฏิบัติ แก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น ทำให้อาจารย์ทราบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดการเชื่อมความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ และนักศึกษามีการปรับพฤติกรรมการเรียนดีขึ้น นักศึกษามีความสนใจในการค้นคว้าความรู้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย เกิดพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

        ข้อเสนอแนะ

                 1) เตรียมความพร้อมให้อาจารย์และนักศึกษา

                 2) มีนโยบาลของวิทยาลัยฯเกี่ยวกับการนำการสะท้อนคิดไปใช้ในการเรียนการสอน

                 3) มุมมองของอาจารย์ควรเป็นในเชิงบวก จะทำให้การนำการสะท้อนคิดไปใช้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

        การแลกเปลี่ยน

                1) นักศึกษาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยมักจะมีปัญหาเรื่องการปรับตัว ควรนำการสะท้อนคิดไปใช้ในการปรับตัวของนักศึกษา เพื่อให้การปรับตัวดีขึ้น เพิ่มรายละเอียดการพัฒนาและวิธีการสะท้อนคิดในแต่ละสัปดาห์ให้ชัดเจนมากขึ้น จะสามารถช่วยนักศึกได้ดีขึ้น

                2) สนับสนุนการมีนโยบายการนำการสะท้อนคิดไปใช้ตั้งแต่การปฐมนิเทศ แนะนำให้ขยายความการเขียนบรรยายเหตุการณ์ให้กับนักศึกษา เพื่อการชี้แนะความเฉพาะในการสะท้อนคิดได้ตรงและเขียนได้ดีขึ้น ซึ่งในภาควิชาฯได้มีการชี้แนะการเขียนสะท้อนคิดทั้งการบอกและเขียนกลับคืนให้นักศึกษา ซึ่งการทำการสะท้อนคิดสัปดาห์ละครั้งอาจต้องปรับให้เพิ่มการทำการสะท้อนคิดทุกวันเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการสะท้อนคิดเหตุการณ์ และควรพิจารณา keyword ที่นักศึกษาสะท้อนคิดออกมา

                3) การเลือกใช้ระดับขั้นของกระบวนการสะท้อนคิดไปใช้ในแต่ละรายวิชา ควรพิจารณาการนำไปใช้เพื่อความเหมาะสมกับสภาพนักศึกษาในแต่ละวิชา

                4) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในนักศึกษาในการเรียนในแต่ละ area ทำให้สามารถนำมาพัฒนาได้ การเขียนสะท้อนคิดนั้นอาจารย์ควรอ่านแบบจับประเด็นสำคัญเพื่อนำมาสะท้อนคิดรายบุคคลกับอาจารย์

                5) กลุ่มงานวิชาการ ควรจัดการเตรียมอาจารย์และนักศึกษาในการนำการสะท้อนคิดไปใช้อย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งงานวิชาการแนะนำให้อภิปรายขั้นตอนที่จะนำไปใช้ให้ชัดเจนในวันนี้ เพื่อให้ได้ความชัดเจน

               6)  การเตรียมนักศึกษา เสนอมีการจัดเตรียมให้นักศึกษาในวันปฐมนิเทศรายวิชาเช่น ภาคการพยาบาลอนามัยชุมชนนำไปเตรียมนักศึกษา

        4. ภาคการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดย อ.ดร.กรวิกา  พรมจวง

            การนำสะท้อนคิดโดย ไปใช้ในรายวิชา

               1) วิชาปฏิบัติการพยาบาลเทคนิคและหลักการพยาบาล (BCPN)

               2) วิชาทฤษฎี หลักการและเทคนิคทางการพยาบาล

               3) วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1

               4) วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2

               ในวิชาการปฏิบัติการพยาบาลฯ อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้ใช้หลักการของ Gibbs แต่มีอาจารย์ดร.กรวิการใช้หลักการของ  Discroll และจะทำในช่วยเวลา post-conference ตัวอย่าง เช่น เป็นกลุ่ม พูดทีละคน เป็นช่วงปฏิบัติวันแรกๆ ให้สะท้อนคิด รู้สึกอย่างไร ทำไมรู้สึกอย่างไร ทำให้ดีได้อย่างไร ในวันแรกมีปัญหาอะไร รู้สึกอย่างไร โดยอาจมีความวิตกกังวลกับการหาข้อมูลไม่ครบถ้วนและหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกัน ให้สะท้อนความคิดในการปฏิบัติงาน  ใช้แบบประเมินอะไร โดยให้ทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

                 บางกลุ่มใช้วิธีการแบ่ง 2 กลุ่ม ให้นักศึกษา สะท้อนและพูด ลองสะท้อนออกมาซิว่าทำหัตถการออกมาเป็นอย่างไร และสะท้อนถึงจุดเด่น จุดดี ข้อแก้ไข อาจารย์สะท้อนถึงแล้วเราจะแก้ไขอย่างไร นักศึกษา จะบอกว่าแก้ไขอย่างไร ให้นักศึกษา ที่สะท้อนเพื่อนแล้วบอกเพื่อน มี 3 step : การบรรยายสิ่งที่เค้าทำ สำหรับการสะท้อนเพื่อนมาผลต่อคนที่ถูกสะท้อนโดยให้สะท้อนในด้านดี จุดผิดพลาด แก้ไขอย่างไร สะท้อนในสิ่งที่เห็นและเปิดใจยอมรับ  เพื่อนที่พูดออกมาว่าอาจไม่ดี แนะนำนักศึกษาคิดว่าญาติสะท้อนเพื่อน

        ผลการนำไปใช้  นักศึกษาสามารถพูดบรรยายได้ดีกว่าการเขียน นักศึกษากล้าที่จะแสดงความรู้สึกออกมา และเข้าใจความรู้สึกของตนเองมากขึ้น สามารถสะท้อนคิดข้อดี ข้อเสีย หรือจุดอ่อน จุดแข็ง และสามารถบอกแนวทางในการปรับปรุงและการแก้ไขนั้นๆได้ สามารถเสนอแนวทางแก้ไขการทำหัตถการที่ผิดพลาดได้

        ปัญหาอุปสรรค

                1) แบบประเมิน TQF เช่น LO3 ไม่สัมพันธ์กับการสะท้อนคิด ควรมีแบบประเมินที่สามารถใช้ได้เฉพาะกับการสะท้อนคิด

                2)  ในภาคปฏิบัติมีเวลาจำกัดในการสะท้อนคิด

        ข้อเสนอแนะ

                1) มีการเตรียมครู นักเรียน เช่น การปฐมนิเทศรายวิชา เน้นการเรียนการสอนแบบ reflective thinking คืออะไร ข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูหน้าที่เป็นอะไร และเมื่อไรครูจะสะท้อน และให้กลับมาเช็คความเข้าใจของนักศึกษา ขั้นตอนในวิชา BCPN เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง นำมาใช้ในวิชา BCPN ตกลง ถ้าใช้การพูดและการเขียนบางหัตถการ เช่น 1-2 วิธี เช่น NG และ Catheter 

                2) การบรรยายการสะท้อนคิดควรมีทั้งสนทนาและแบบเขียน

                3) ควรมีครบทุกขั้นตอน แต่ สามารถทำไปเรื่อยๆ เช่น ครั้งแรกทำความรู้จัก และครั้งต่อไปใช้การกระตุ้นเลย และควรเริ่มจากสถานการณ์แรกๆไป ก่อน และหาแนวทางแก้ไข

                4) การทำสะท้อนตามขั้นตอนครบทุกขั้นตอนอาจจะทำไม่ครบถ้วน ไม่จำเป็นต้องมาบอก feeling ทุกครั้งก็ได้ แต่ให้บอกว่าเค้าทำอะไรมาบ้าง ให้วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย และจะพัฒนาอย่างไร อาจแบ่ง 2 มุมมอง จากตัวเค้าเองและเพื่อนสะท้อน

                5)  การให้นักศึกษาสะท้อนคิดเพื่อนนั้นควรมีการตั้งเงื่อนไข หรือข้อตกลงให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อการพัฒนาและความเข้าใจ ต้องระวังเรื่องการสะท้อนเพื่อน นักศึกษามักเข้าใจครูมากกว่าเพื่อน มีการให้สะท้อนเพื่อน บางคนอาจรับไม่ได้ อาจารย์จะสังเกตสีหน้าท่าทางขณะพูด อาจารย์ต้องอธิบายให้ดี soft ลง เพื่อให้ลดการรู้สึกไม่ดีกับเพื่อน

                6)  ควรมีการสะท้อนคิดแบบเป็นรูปธรรม และขั้นตอนเต็มรูปแบบ เพื่อลดภาระงาน 

                7) สะท้อนใน 3 มุมมอง คือ ตัวเอง เพื่อน ครู ควรระวังในการประเมินเพื่อนประเมินเพื่อน

                8) สรุปส่วนใหญ่ทำได้แต่ไม่ครบทุกขั้นตอน ภาควิชาเสนอแนะควรปรับ step 3 ขั้นตอน เพื่อการนำมาใช้ดังนี้

        Gib’s Reflective Cycle

        Discroll

        ตัวคำถาม

        Descriptive + feeling 

        what

        เกิดอะไรขึ้น

        Evaluation+ Analysis  

        so what

        มีข้อดีอย่างไร ข้อเสียอย่างไร

        Conclusion + Action plans

        now what

        และจะทำอย่างไร และจะพัฒนาอย่างไร

        5. ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ โดย อ.ดร.จิตตระการ  ศุกร์ดี

            5.1 การส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา

        ครั้งที่ ๑

            1) ครูถามนักศึกษา 1-2 คน ในเรื่อง เคยเห็น หรือมีส่วนเกี่ยวข้องการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา

            2) ครูอธิบายการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา กายวิภาคของเต้านม

            3) ครูบรรยายพร้อมทั้งยกตัวอย่างเรื่อง กลไกการดูดนม ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะตั้งครรภ์

            4) ครูและนักศึกษาช่วยกันสรุปสาระสำคัญ

            5) มอบหมายงาน นศ. ไปสัมภาษณ์บุคคลใกล้ชิดที่มีประสบการณ์การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา

        ครั้งที่ ๒

        ครูให้นักศึกษาสะท้อนคิดเกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา โดยการตอบคำถามประเด็นคำถามต่อไปนี้

          1) เล่ากรณีศึกษาที่แต่ละคนได้ไปสัมภาษณ์

          2) ความรู้สึกเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางลบอย่างไร

          3) ได้เรียนรู้อะไรจาก ประสบการณ์ที่ได้ไปสัมภาษณ์

          4) มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคหรืออะไรบ้างที่จะพยายามทำให้ ดีขึ้น

          5) สรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้และชี้ให้เห็นประเด็น ของความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

        5.1 การพยาบาลมารดา ทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด จัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL และใช้เทคนิคการสะท้อนคิดของ Gibbs ดังนี้ 

             1) ให้ใบความรู้ นศ. ไปศึกษาล่วงหน้า
             2) มอบหมายงานกลุ่ม : คัดเลือกสมาชิกแสดงการพยาบาลโดยใช้ Simulations, กลุ่ม Obs
             3) สอนโดยวิธี SBL: Pre-brief, Scenario, Debrief                                                                                                                         4) เทคนิคสะท้อนคิดถูกนำมาใช้ในขั้น Debrief ทำการสะท้อนคิดเป็นกลุ่ม 

        ปัจจัยแห่งความสำเร็จ : หากอาจารย์และนศ. มีประสบการณ์ในเรื่องที่เรียน/ Reflect อยู่ในขณะเกิดเหตุการณ์ด้วยกัน จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่อนข้างดี
        ปัญหาและอุปสรรค : 

            1) หัวข้อ/ ประเด็นที่นำมาเรียนรู้: หากเป็นเนื้อหาเยอะ ประเด็นกว้างเกินไป อาจทำให้การสะท้อนคิดไม่บรรลุวัตถุประสงค์ หรือใช้เวลาค่อนข้างนานในการสนทนากลุ่มแต่ละครั้ง
            2) อาจารย์บางท่าน คุ้นชินกับการสอนแบบเดิม ต้องการให้ นศ.มีความรู้ เข้าใจในเนื้อหา อาจรีบสรุปประเด็น
            3) ทักษะ ประสบการณ์อาจารย์ในการ Reflect โดยเฉพาะการตั้งคำถามกับ นักศึกษา

        การแลกเปลี่ยน

             1) วิธีการสะท้อนคิดในนักศึกษาลุ่มใหญ่ จะมีวิธีการอย่างไรให้นักศึกษาสนใจสะท้อนคิดครบถ้วน วิธีการที่จะยืนยันว่านักศึกษาสามารถสรุปหลักการได้จากประสบการณ์มากว่าได้จากอาจารย์สรุป ตอบการสะท้อนคิดในกลุ่มนักศึกษาจำนวนมาก โดยให้นักศึกษาเล่า และตั้งคำถามให้นักศึกษาคนที่มีประสบการณ์เหมือนเพื่อนสะท้อนคิดกัน และอีกวิธีให้นักศึกษาที่เรียนโดยใช้หุ่น Sim และกลุ่ม observe มาสะท้อนคิดร่วมกัน แต่ยังไม่มีการประเมินความแตกต่างเรื่องความรู้ที่ได้ว่าได้จากอาจารย์หรือได้จากการเรียนรู้ของนักศึกษา

            2) บทบาทของครูที่มีประสบการณ์เห็นเหตุการณ์ร่วมกับนักศึกษา จะทำให้การสะท้อนคิดได้ดีขึ้น

            3) การสะท้อนคิดประสบการณ์จริงในการสัมภาษณ์แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้ได้ประโยชน์มากทั้งนักศึกษา อาจารย์และองค์ความรู้ ควรทำการสะท้อนคิดต่อไป เช่น การทำสัมภาษณ์แม่และนำการสะท้อนคิดไปใช้อาจทำเป็น focus group เป็นต้น

        6. ภาควิชาการบริหารการพยาบาล โดย อ.ดร.อัศนี  วันชัย 

             การนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล  บทที่ 4 เรื่องจริยธรรมกับวิชาชีพพยาบาล 

        จุดเน้นของครูในการใช้การสะท้อนคิดในการจัดการเรียนการสอน

            1) Content Reflection เน้นเนื้อหาสาระ
            2) Process Reflection เน้นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
            3) Premise Reflection เน้นการคาดการณ์ล่วงหน้าก่อนปัญหาเกิด และการให้คุณค่ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้น (เน้นด้านทัศนคติ)
        กรอบแนวคิดที่นำมาใช้ กระบวนการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดของ Gibbs

        Description บรรยายจุดสำคัญของสถานการณ์ว่าอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนคิด
        Feelings รู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
        Evaluation วิเคราะห์ว่าความรู้สึกเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางลบอย่างไร
        Analysis มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคหรืออะไรบ้างที่จะทำให้สถานการณ์นั้นดีขึ้น
        Conclusions สรุปแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้ประสบการณ์เดิม
        Action plans การวางแผนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในอนาคต
        กิจกรรมการเรียนการสอน

        กิจกรรมที่ 1 

        1. ครูให้นักสึกษาดูวิดีโอ “ฆาตกรต่อเนื่อง กรณีนายสมคิด พุ่มพวง” สะท้อนคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิดีโอ ตามประเด็นคำถาม

             1) ได้เรียนรู้อะไรจากสถานการณ์ในวีดีโอ

             2) รู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

             3) ความรู้สึกเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางลบอย่างไร

             4) มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคหรืออะไรบ้างที่จะทำให้สถานการณ์นั้นดีขึ้น

             5) แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้ปัญหาในสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นควรเป็นอย่างไร

         2. ครูให้นักศึกษา 1-2 คนสะท้อนคิดในประเด็นคำถามดังกล่าวเพื่อการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน

         3. ครูสรุปประเด็นสำคัญของระดับจริยธรรมของบุคคล

        กิจกรรมที่ 2 

        โจทย์ : พยาบาลสาวในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ โพสเฟสบุ๊คว่า “คนจังหวัดบุรีรัมย์มีแต่คนเป็นเอดส์ นอกจากจะเป็นเอดส์และยังเป็นจิตเวชเยอะอีกด้วย เจอหน้าผู้ชายตัวดำๆหรือดำแดงวินิจฉัยได้เลยว่าเป็นเอดส์แน่ๆ คุณภาพชีวิตแย่” หลังจากนั้นก็มีเพื่อนๆพยาบาลในโรงพยาบาลดังกล่าวเข้าไปแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วยพร้อมทั้งถ่ายรูปผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลที่ตนดูแลโพสลงในกล่องข้อความ จากการสอบสวนเบื้องต้นพยาบาลสาวรับผิดว่าตนเป็นคนโพสจริงเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่คิดว่าจะกระทบจิตใจคนบุรีรัมย์ หลังจากนั้นพยาบาลสาวจึงโพสวิดีโอคลิปขอโทษชาวบุรีรัมย์และบอกว่าตอนนี้ได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิตแล้ว และต่อไปก่อนโพสอะไรจะคิดให้ละเอียดถี่ถ้วนกว่านี้

        ประเด็นคำถาม

           1) จากสถานการณ์ นักศึกษาคิดว่าประเด็นจริยธรรมสำคัญของเรื่องนี้คือ   อะไร

           2) ทำไมนักศึกษาจึงคิดถึงประเด็นจริยธรรมดังกล่าว มีข้อมูลใดสนับสนุน

           3) มีประเด็นจริยธรรมอื่นอีกหรือไม่ที่นักศึกษาคิดว่าเกี่ยวข้อง

           4) นักศึกษารู้สึกอย่างไรต่อสถานการณ์นี้คำถามที่ 5: นักศึกษาจะใช้ประสบการณ์และความรู้ที่เรียนมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร

        ผลลัพธ์ : นักศึกษามุ่งเป้าการตอบคำถามไปที่เนื้อหาเป็นหลักว่าถูก ผิด และไม่เข้าใจว่าครูต้องการถามอะไร เพราะภาษาเข้าใจยาก

        การประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562

            1) ปรับคำถามเพื่อให้นักศึกษาแยกความรู้สึกกับความคิดออกจากกัน

            2) การตั้งประเด็นคำถามโดยการประยุกต์หลัก SWOT มาใช้ให้คำนึงถึงโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นมากกว่าการหาจุดอ่อนจากสถานการณ์

        Kolb’s Experiential Learning Cycle

           1) Concrete Experience (Act) : สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียน - อ่านหนังสือ ดูวีดีทัศน์ ทดลอง
           2) Reflective Observation (Reflect): สะท้อนการเรียนรู้/ทบทวนการเรียนรู้ - เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ บันทึกการเรียนรู้ ทำการบ้าน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน                                                                                                                                                             3) Abstract Conceptualization (Conceptualize): การสรุปองค์ความรู้ที่ได้ - เขียน Mapping สรุปเป็นModel/Framework (ผนวกทฤษฎี)
           4) Active Experimentation (Apply): ประยุกต์ใช้ความรู้ เช่น สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ต่อไป แนวทางในการพัฒนาตนเอง
        วิธีการที่นำมาใช้

           1) นักศึกษาอ่านกรณีศึกษาตามประเด็นจริยธรรมทั้ง 6 ประเด็นแล้วสะท้อนคิดตามประเด็นคำถามในใบงาน 1-2-4 - All
           2) นักศึกษาที่ได้รับกรณีศึกษาเดียวกันเข้ากลุ่มเพื่อร่วมกันอภิปรายสะท้อนคิดในประเด็นคำถามเดิม
           3) นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานำเสนอผลการสะท้อนคิดของกลุ่ม
           4) ครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

        โจทย์ : สภาการพยาบาลได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับตำรวจว่าขณะที่เดินทางกลับบ้านที่จังหวัดอุบลราชธานีโดยรถไฟตู้นอนพัดลม ในช่วงกลางดึก ถูกล่วงล้ำทางเพศจากเจ้าหน้าที่รถไฟ และขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รถไฟ หนังสือพิมพ์ได้แพร่ข่าว ดังกล่าวอย่างกว้างขวาง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งตัวผู้เสียหาย ไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลเพื่อประกอบคดี เมื่อผู้เสียหายส่งเอกสารให้พยาบาลที่เคาน์เตอร์ พยาบาลอ่านเอกสารและซักถามประวัติและเหตุการณ์อีกครั้ง เพื่อทำแฟ้มประวัติ และให้ผู้เสียหายนั่งคอย ระหว่างนั่งคอยผู้เสียหายพบว่า พยาบาลได้นำแฟ้มประวัติออกมาให้พยาบาลอีก 2-3 คน ดูแฟ้มประวัติของเธอพูดคุยการและส่งสายตาทุกคู่มามองที่เธอ และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า กรณีนี้ไงที่เป็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ ผู้เสียหายต้องอดทนทั้งสายตาและและคำพูดที่สะเทือนความรู้สึกในการพูดถึงเรื่องราวของเธอ รู้สึกอับอายและรู้สึกผิดหวังกับท่าทีของพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือกับเธอ

        คำถามการสะท้อนคิด

        1) จากสถานการณ์ นักศึกษารู้สึกอย่างไร (โดยใช้สัญลักษณ์ Emoji)
        2) ประเด็นจริยธรรมอันดับแรกที่นักศึกษานึกถึงคืออะไร มีข้อมูลใดสนับสนุน
        3) จากประสบการณ์เดิมและความรู้ที่เรียนมาในวันนี้ นักศึกษาคิดว่ามีโอกาสที่จะทำให้สถานการณ์นี้คลี่คลายไปในทางที่ดีกว่านี้หรือไม่ อย่างไร

        ผลลัพธ์

        1) นักศึกษานึกถึงความรู้สึกของตนเองต่อเหตุการณ์ที่พบง่ายขึ้น เพราะนักศึกษาเป็นคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับ Emoji 
        2) การประยุกต์คำถามโดยใช้หลัก SWOT ค่อนข้างยากสำหรับนักศึกษา เนื่องจากนักศึกษายังไม่เคยมีประสบการณ์จริงบนหอผู้ป่วย

        ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำ Reflective มาใช้ในการสอนทฤษฎี

        1) สื่อต้องเข้ายุคเข้าสมัยเพื่อให้นักศึกษา get เรื่องราวง่ายขึ้น เช่น กรณี นายสมคิด พุ่มพวง
        2) คำถามต้องง่าย เป็นภาษาที่ไม่ต้องตีความมาก
        3) ห้องเรียนขนาดใหญ่ – ปรับใช้ 1-2-4-All/การเขียน

        ระดับการสะท้อนคิดของผู้สอนตามแนวคิดของ Larrivee (2008) 

        Pre-reflection: ผู้สอนตอบสนองต่อนักศึกษาและบทเรียนโดยอัตโนมัติ โดยปราศจากการพิจารณาอย่างละเอียดลึกซึ้ง
        Surface reflection
        : ผู้สอนมุ่งสะท้อนเกี่ยวกับกลวิธีที่จะทำให้เป้าหมายบรรลุผล
        Pedagogical reflection
        : ผู้สอนมุ่งสะท้อนไปที่เป้าหมายทางการศึกษา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
        Critical reflection
        :  การสะท้อนคิดโดยมีการเกี่ยวโยงเรื่องคุณธรรม จริยธรรมและผลของการกระทำเข้ามาเกี่ยวข้องด้ว


        รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการสะท้อนคิดในชั้นเรียนใหญ่ 

        1 - ตอบคำถามกับตัวเองอาจใช้การเขียนตอบสั้นๆ 1 – 2 นาที

        2 - จับคู่แล้วแบ่งปันความคิด  (2 – 5 นาที)

        4 – รวมกลุ่ม 4 คน เสนอความคิดเพื่อให้เกิดความคิดที่หลากหลายที่สุด  (2 - 5 นาที) 

        All – รวมความคิดสี่คนเสนอกลุ่มใหญ่

        การประเมินระดับการสะท้อนคิด  (Kember, et al., 2000)
        •Habitual Action การปฏิบัติจนเป็นนิสัย
        •Understanding or “Thoughtful action” การเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่ เหมือนกับ “Book learning”
        •Reflection ขั้นการสะท้อนคิด คือการเรียนรู้ที่เกิดจากการตรวจสอบและค้นหาประเด็นที่เกิดขึ้น โดยอาศัยประสบการณ์
        •Critical reflection or “Premise reflection” ขั้นการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ

        สิ่งที่ได้จากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิดควบคู่ไปกับการทำวิจัย

        1) แบบวัดพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลวพบ. พุทธชินราช (ซื่อสัตย์ สามัคคี มีความรับผิดชอบ)
        2) เครื่องมือระดับการสะท้อนคิดที่แปลเป็นภาษาไทย

        การแลกเปลี่ยน

                  1) การใช้จำนวนรูปภาพอิโมจิ สามารถปรับใช้ทางเน็ตได้ แต่ควรระวังปัญหาสัญญาณเน็ตหลุด

                  2) การใช้คำถามในการเขียนแตกต่างจากการเขียนบรรยายการสะท้อนคิดอย่างไร ตอบ การใช้คำถามขึ้นกับสถานการณ์ ไม่ชี้นำผิดถูก ใช้เป็นคำถามปลายเปิด ไม่บอกตัวเลือกหรือชี้นำการเลือกตอบ เป็นต้น

                  3) การใช้แนวคิดสะท้อนคิด อาจเลือกใช้แนวคิดอื่นที่ไม่ใช่ Gibbs อย่างเดียว เช่น ใช้ discroll


            หมายเลขบันทึก: 677588เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2020 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2020 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


            ความเห็น (46)

            เกิดการเรียนรู้การประยุกค์ใช้แต่ละรายวิชา เป็นองค์ความรู้ในวิธีการที่เฉพาะแต่ละรายวิชา และพัฒนาต่อไปสู่การดูแลผู้ป่วย

            ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันแต่ละรายวิชา

            ขอบคุณเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้วิธี แนวทางในการนำวิธีการสอนโดยการสะท้อนคิดไปปรับใช้ในการสอนนศ. รวมทั้งการให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยด้วยค่ะ

            เป็นการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และคิดการนำวิธีการสอนแบบสะท้อนคิดไปใช้ในบริบทของแต่ละภาควิชาที่แตกต่างกัน​ ทำให้ได้องค์ความรู้มากขึ้น​ รวมถึงแนวทางการนำไปใช้และอุปสรรคที่พบ​ และยังทำให้เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาที่พบ​ ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทรายวิชาและนศ.มากขึ้น

            เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนำวิธีสะท้อนคิดจากภาควิชาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการ ปัญหาอุปสรรค มาเป็นไอเดียในการปรับใช้กับรายวิชา ฯของภาควิชา สูติศาสตร์

            การสะท้อนคิดเป็นเทคนิคที่ดีและง่ายในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัวผู้สอน ทำให้เข้าใจในความคิด ความรู้สึก และความรู้ในเนื้อหา ของนักศึกษาคล้ายกับหลักการทำงานที่ว่าเข้าใจ เข้าถึง และนำไปสู่การพัฒนา ซึ่งถ้าผู้สอนใช้เป็นประจำ จะทำให้เกิดความชำนาญในการใช้คำถาม การแสดงออกที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัย และกล้าแสดงความรู้สึก และความคิดเห็น แสดงตัวตนที่แท้จริงกับอาจารย์ผู้สอน ทำให้ผู้สอนสามารถวางแผนการพัมนาผู้เรียนได้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน

            กิจกรรมนี้ดีมากที่สามารถสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในองค์กร คือการนำการสะท้อนคิดมาใช้ในทุกภาควิชา เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการร่วมกัน จากประสบการณ์ของตัวเองได้มีโอกาสนำมาใช้กับนักศึกษาบ้างแล้วแต่ยังไม่ได้ทำเป็นรูปธรรมครบตามขั้นตอนของ Gibbs ซึ่งจะพัฒนาการใช้ทักษะการสะท้อนคิดนี้กับนักศึกษาเพื่อช่วยพัฒนากระบวนการคิดในการเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติรวมทุังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมต่อไปค่ะ

            ได้นำการสะท้อนคิดไปใช้ในการเรียนภาคปฏิบัติพร้อมท้ังวิจัยเพื่อยืนยันผลการสะท้อนคิดในการพัฒนาน.ศ.ซึ่งทำให้เห็นการกระตือรือร้นในการเรียนและความสุขของน.ศ.ในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

            การใช้เทคนิคการสะท้อนคิดเป็นวิธีที่ดีมาก ทำให้นักศึกษาได้เกิดการคิดวิเคราะห์ การรับรู้ความรู้สึกของตนเอง และสำหรับการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นสิ่งที่ดีมากได้เป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

            เป็นการแลกเปลี่ยนเทคนิคการสะท้อนคิดที่ดีมากๆค่ะ ทำให้รู้ว่าในแต่ละภาควิชามีเทคนิคและวิธีการอย่างไร ซึ่งจะมีวิธีการสะท้อนคิดที่มีความเหมือนและแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำวิธีสะท้อนคิดที่แตกต่างกันมาปรับใช้กับนักศึกษาได้ ทำให้นักศึกษามีความกล้าที่จะสะท้อนคิดออกมาได้มากขึ้นค่ะ

            ช่วยให้เข้าใจวิธีการสอนโดยใช้เทคนิคสะท้อนคิดมากขึ้น

            เป็นการแลกเปลี่ยนที่เห็นพัฒนาการของการจัดการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิดของแต่ละภาควิชาที่ดีมากๆ และมีข้อเสนอแนะจากที่ประชุมให้ต่อยอดการสะท้อนคิดในแต่ละภาควิชา ทำให้เห็นความโดดเด่นของการสอนแบบสะท้อนคิดของพุทธชินราช และผลจากการทำKMครั้งนี้คงส่งผลให้กลุ่มงานวิชาการได้ดำเนินการต่อไปเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย แนวทางการปฐมนิเทศเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา อาจารย์ และการจัดทำเป็น modelของการสอนแบบสะท้อนคิด การวิจัยสถาบัน ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาควิชาและอาจารย์ทุกคนโดยเร็ววันคะ

            การแลกเปลี่ยนเรื่องการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด ช่วยทำให้เกิดผู้เรียน แบบ active learner เป็นการเรียนที่ดีมากๆ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีเหตุ มีผล ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

            วิธีการสะท้อนคิดเป็นเทคนิคที่ดีและมีความน่าสนใจในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัวผู้สอนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรได้ สมาภรณ์

            ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของอาจารย์ทุกภาควิชา รู้สึกดีมาก เป็นบรรยากาศการแลกเปลี่ยนที่ดีมากคะสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ 1) การค้นหาประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้นั้นสำคัญมากว่าจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทางบวกหรือทางลบ 2) คำถามที่ครูจะใช้ต้องเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้คิด 3) การสะท้อนคิดในสถานการณ์การเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติมีแนวคิดและเทคนิคบางอย่างที่แตกต่างกัน 4) การใช้การสะท้อนคิดในการเรียนการสอนต้องมีเป้าหมายให้ชัดเจนว่าครูต้องการให้ผู้เรียนเกิดอะไร พฤติกรรมการสะท้อนคิดที่พัฒนาขึ้น หรือผลลัพธ์การเรียนรู้อื่นๆ

            การเรียนการสอนที่นำวิธีสะท้อนคิด มาใช้ เป็นเรื่องที่ดี ได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้แนวคิดการสะท้อนคิดที่เป็นทฤษฎี และมองเห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต เป็นประโยชน์ทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียนทำให้ได้ผลลัพธ์ทางการเรียนตามเป้าหมายของหลักสูตร

            สามารถนำหลักการสะท้อนคิดไปจัดการเรียนกาคสอนได้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ. ฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์. เพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา

            สามารถนำหลักการสะท้อนคิดไปจัดการเรียนกาคสอนได้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ. ฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์. เพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา

            ทำให้ได้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้สอนในแต่ละภาควิชาที่ใช้เทคนิคการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดที่แตกต่างกันแต่มีผลลัพธ์คือเป้าหมายเดียวกัน ตอนเป็นนักศึกษารู้สึกว่าการสะท้อนความคิดก็เป็นสิ่งที่ดี ได้ฝึกทักษะการวิเคราะห์เชื่อมโยงเนื้อหาต่างๆสู่การปฏิบัติและเกิดกระบวนการคิดอย่างต่อเนื่องค่ะ

            ได้เรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคนิคการสอนแบบสะท้อนคิดของแต่ละภาควิชา รู้สึกดีมาก และคิดว่าจะนำไปใช้ในการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับ 1) การค้นหาประสบการณ์ของผู้เรียนที่ได้เรียนรู้รวมทั้งความรู้สึกต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2) การใช้วิธีสะท้อนคิดผู้สอนควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนการสอน 3) คำถามที่ใช้เพื่อส่งเสริมการสะท้อนคิดของนักศึกษาควรเป็นคำถามปลายเปิด และผู้สอนควรมีการฝึกการตั้งคำถามอย่างต่อเนื่อง

            เป็นกิจกรรมที่ดีได้เรียนรู้จากภาควิชาอื่นที่มีเทคนิคที่แตกต่างกันได้มุมมองใหม่ๆ และเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดทักษะทางปัญญา

            การสะท้อนคิดเป็นการจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายสาขาวิชา ฝึกให้นศ.มีการการวิเคราะห์เชื่อมโยงเนื้อหาต่างๆสู่การปฏิบัติและเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

            ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีเรียนแบบการสะท้อนคิดมากขึ้น

            การสะท้อนคิดเป็นการช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจตนเองและผู้รับบริการ

            การแลกเปลี่ยนการสะท้อนคิดครั้งนี้ดีมากทำให้ได้มุมมองในการประยุกต์ใช้การสะท้อนคิดในการจัดการสอนในรายวิชาปฏิบัติเพิ่มขึ้น ตลอดจนการพัฒนาสู่งานวิจัยต่อไป

            การเเลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้เป็นประโยชน์อย่างมาก ทำให้ได้ทราบแนวทางและเทคนิคการสอนแบบสะท้อนคิดจากหลายๆภาควิชา เพื่อเอาไปใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนใน วิชาต่างๆหรือประเด็นอื่นๆต่อไป

            ทำให้เห็นแนวทางที่แต่ละวิชานำไปใช้ ทั้งเทคนิกวิธีการ ข้อดี ข้อจำกัดต่างๆ ปัญหาอุปสรรค และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เมาะสมกับลักษณะการจัดการเรียนการสอนของแต่ละวิชา

            การสะท้อนคิดเป็นเทคนิคที่ดี สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัวผู้สอน การสะท้อนคิดที่ดีต้องเป็นสถานการณ์ที่ผู้สอนและผู้เรียนมีประสบการรณืร่วมกัน หรือเคยพบประสบการณ์มาลักษณะเดียวกัน จะทำให้ผู้เรียนมองภาพออกง่ายขึ้นและสามารถสะท้อนคิดได่ง่ายขึ้น ซึ่งถ้าผู้สอนใช้เป็นประจำ จะทำให้เกิดความชำนาญในการใช้คำถาม การแสดงออกที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัย และกล้าแสดงความรู้สึก และความคิดเห็น แสดงตัวตนที่แท้จริงกับอาจารย์ผู้สอน ทำให้ผู้สอนสามารถวางแผนการพัมนาผู้เรียนได้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน

            ได้รับความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดมากขึ้น

            ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ไม่เพียงแต่เรื่องการเรียนแต่รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆของการเรียน ครูภาคปฏิบัติสามารถเป็นผู้สร้างบรรยากาศที่ดี ผ่อนคลาย ซึ่งสามารถกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการสะท้อนคิดได้ดี

            ได้เรียนรู้การนำแนวคิดการสะท้อนคิดในมุมมองต่างๆของแต่ละภาควิชา มีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้

            เป็นการเติมเต็มความรู้ในการจัดการเรียนการสอนที่ดีมากครับ ได้รายละเอียดที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการสอนแบบการสะท้อนคิด

            เป็นวิธีการที่ทำให้นักศึกษาสะท้อนความรู้สึกออกมาได้ดี แต่โดยส่วนตัวอาจจะติดปัญหาตอนการนำไปใช้จริง โดยเฉพาะบนหอผู้ป่วยเนื่องจากมีระยะเวลาที่จำกัด และมีอื่นที่เข้ามาแทรก อาจจะทำให้ใช้วิธีการนี้ได้ไม่เต็มที่ แต่เชื่อว่าถ้าสามารถนำไปใช้ขณะฝึกปฏิบัติได้สม่ำเสมอน่าจะเกิดผลดีกับนักศึกษามากที่สุดค่ะ

            เทคนิคการสะท้อนคิด เป็นเทคนิคที่ดี ช่วยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและสะท้อนตนเอง ช่วยส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการเรียนต่อไป

            การเเลกเปลี่ยนครั้งนี้ทำให้เห็นเเนวทางในการสะท้อนคิดเเละนำไปใช้ได้

            ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดของแต่ละรายวิชา ซึ่งล้วนเป็นผลดีต่อการพัฒนาผู้เรียน

            การสะท้อนคิดเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ดีจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวนักศึกษาเอง ทั้งความรู้ การปฏิบัติ และการแสดงออกทางความคิดและความรู้สึก ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้คำถามและเทคนิคการสะท้อนคิดของครูที่จะช่วยกระตุ้น และส่งเสริมการเรียนให้มากขึ้น

            ได้ทราบถึงตัวอย่างของวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดของแต่ละภาควิชานำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนในทางปฏิบัติได้จริง

            ได้รับความรู้มากจากการที่ร่วมรับฟังการนำการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปใช้กับหลากหลายวิชา แต่ละวิชามีจุดเด่นที่แตกต่างกัน มองเห็นแนวทางในการนำไปพัฒนาให้เป็นโมเดลของสถาบันต่อไป

            เห็นบรรยากาศของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้เรียนรู้ถึงวิธีการนำการสะท้อนคิดไปใช้ในรายวิชาที่ต่างกัน ด้วยวิธีการ และผลลัพธ์ที่ต่างกัน

            เป็นเวทีที่ดี ได้เห็นการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนของแต่ละสาขาวิชาซึ่งมีทั้งความเหมือนและแตกต่างกัน มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนมากคะ

            เป็นเวทีที่ทำเห็นวิธีการการสะท้อนคิดของแต่ละรายวิชาที่ทำให้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน และเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ในรายวิชาของตนเองต่อไป

            การถ่ายทอดวิธีการสอนสะท้อนคิดเข้าใจง่าย สอดแทรกเทคนิคในการสอน ทำให้นำไปใช้ได้จริง และมีวิจัยรองรับเป็นการประเมินกระบวนการสอนที่มีคุณภาพ

            เป็นวิธีการที่ช่วยกระตุ้นให้เป็น active learner

            เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการสะท้อนคิดที่ดีมาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันได้ดีมากค่ะ มีประโยชน์มากในด้านการจัดการเรียนการสอน ขอชื่นชมทีมงานผู้จัดการประชุมทุกท่านค่ะ

            เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทำให้อาจารย์นำมาใช่ในการจัดการเรียนการสอน

            พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
            ClassStart
            ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
            ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
            ClassStart Books
            โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท