1. ปรัชญาคืออะไร..?


  ปรัชญาคืออะไร..? (What  is  Philosophy ?)

บรรณาธิการโดย... Alburey  Castell  and  Donald  M.  Borchert

แปลโดย...อุทัย  เอกสะพัง

    หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นมาเพื่อแนะนำว่าปรัชญานั้นคืออะไรกันแน่  ด้วยเหตุเช่นนี้สิ่งเหล่านี้จึงถูกเขียนขึ้นมาโดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ผู้เรียนที่ต้องการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับวิชาปรัชญาอยู่ในใจอย่างกระตือรือร้น  ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นที่จะเรียนรู้ร่วมกัน  เราจึงต้องหยุดพูดตั้งแต่แรกเพื่อพูดอะไรบางคำที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของคำว่า  “ปรัชญา”

        คำว่า "ปรัชญา" มาจากคำภาษากรีกสองคำ: คือคำว่า philein ซึ่งแปลว่า "รัก" และคำว่าโซเฟีย (  Sophia )หมายถึง "ปัญญา" ปรัชญาคือ“ ความรักแห่งปัญญา” และนักปรัชญาคือ“ ผู้รักปัญญา”

         การเกิดขึ้นมาของบุรุษคนหนึ่งชื่อ  พิธากอรัส  (Pythagoras) ซึ่งเขาเป็นนักคิดชาวกรีกโบราณที่มีวิถีชีวิตอาศัยอยู่ในคริสตศักราชศตวรรษที่หกดูเหมือนว่าเขาจะเป็นคนแรกที่เรียกตัวเองว่า "คนรักแห่งปัญญา"หรือ "นักปรัชญา" ( Pythagoras,  the  ancient  Greek  thinker  who  lived  in  the  sixth  century  B.C.,  seems  to  have  been  the  first  person  to  call  himself  “a  lover  of  wisdom,” “a  philosopher.”)

         แน่นอนที่สุดคำถามต่อไปที่จะเกิดขึ้นในทันทีคือ“ คำว่าปัญญาเช่นนี้ที่นักปราชญ์หรือนักปรัชญากำลังดำเนินการอยู่ด้วยความรักด้วยใจนั้นคืออะไร?” สิ่งหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการตอบคำถามอย่างนี้คือการแสดงตัวตนออกมาทางความคิดและการกระทำของนักปราชญ์หรือนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงที่ได้รับการยกย่องว่ามีปรัชญาอยู่ในตัวตนนั้น  โดยการสังเกตเป้าหมายในการใช้ชีวิตที่ถูกแสวงหาและวิธีการที่ใช้ชีวิตในแต่ละวันโดยตัวของนักปรัชญาเองนั้นเราอาจจะสามารถสร้างภาพของภูมิปัญญาที่นักปรัชญาค้นหาได้

         นักปรัชญาที่เราเลือกที่จะนำมาศึกษาเป็นกรณีพิเศษคือโสคราติสซึ่งอยู่ในกลุ่มนักปรัชญตะวันตกยุคกรีกโบราณ  โดยที่เขาได้แสดงบทบาทสมมุติการมีตัวตนออกมาผ่านแนวคิดทางปรัชญาในขณะยังมีชีวิตอยู่และอาศัยอยู่ในกรุงเอเธนส์ประเทศกรีกระหว่างช่วงเวลาเกือบสองพันห้าร้อยปีล่วงมาแล้ว  สิ่งเหล่านี้อาจจะฟังดูแปลก  ๆ สักหน่อยสำหรับเราที่จะเริ่มต้นการแนะนำการศึกษาในเรื่องปรัชญาสมัยใหม่ด้วยการอภิปรายของนักคิดกรีกโบราณดังกล่าวนั้น 

        แต่ขั้นตอนดังกล่าวดูเหมือนจะไม่แปลกนักเมื่อเราได้ชื่นชมตามความเป็นจริงที่ว่าโสคราตีสนั้นไม่เพียงแต่มีชีวิตอาศัยอยู่ในช่วงแห่งการเริ่มต้นอันเปรียบเสมือนเป็นรุ่งอรุณของปรัชญาตะวันตกเท่านั้น  แต่เขายังได้แสดงบทบาทของความเป็นนักปรัชญาโดยให้เหตุผลและใช้ชีวิตของตนเองเป็นเดิมพันในการรักษาสัจธรรมแนวคิดทางปรัชญาของเขา  ด้วยเหตุดังกล่าวที่เป็นลักษณะตัวตนของเขาอย่างนี้จึงทำให้โสคราตีสได้รับการยกย่องจากบรรดานักปรัชญาคนรุ่นต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน

        ดังนั้น  เมื่อเราพยายามที่จะเข้าใจว่าการกระทำทางปรัชญาเป็นอย่างไรเราจึงมีความสนใจในคุณสมบัติที่น่ายกย่องของนักปรัชญานามว่าโสคราตีส.

................................................

ขอขอบคุณเจ้าของความคิดนี้  ด้วยความปรารถนาดี

หมายเลขบันทึก: 677226เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2020 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2020 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท