@Moui
ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ

เหตุแผ่นดินไหวที่เชียงใหม่ กับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยแผ่นดินไหว


การเตรียมรับมือภัยแผ่นดินไหว

ได้คุยกับเพื่อนที่อยู่เชียงใหม่ช่วงเวลาหลังเกิดแผ่นดินไหวไปแล้ว 1 วัน และอ่านจากกระทู้ต่างๆ ที่รายงาน, พูดถึงแผ่นดินไหวที่เกิดที่เชียงใหม่ในช่วงสัปดาห์ที่แผ่นมา แล้วอดนึกห่วงแทนคนแถวนั้นไม่ได้

เหตุที่ห่วง ก็เพราะคนที่ประสบเหตุต่างรู้สึกตื่นเต้น (มากกว่าตกใจกลัว) กับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น (บางคนถึงกับรู้สึกสนุกด้วยซ้ำ) ความคิดแบบนี้ เป็นความคิดที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะบ่งบอกให้รู้ว่า ไม่มีความรู้ความเข้าใจกับภัยแผ่นดินไหวเอาเสียเลย และถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวที่เลวร้าย รุนแรงจริง ผู้ประสบภัยเหล่านี้ จะเอาตัวไม่รอดจริงๆ ในที่สุด

ดิฉันเคยอ่าน, เคยดูสารคดี เกี่ยวกับสาเหตุของแผ่นดินไหว, ผลพวงผลกระทบจากภัยแผ่นดินไหว รวมไปถึงการป้องกัน เตรียมรับมือเมื่อประสบเหตุด้วย การเตรียมป้องกันนี้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ให้ประชาชนต่างคนต่างเตรียมรับมือด้วยตนเอง และ รัฐบาล,ผู้ประกอบการช่วยกันสร้างสถานที่หรือใช้วิทยาศาสตร์ในการรับมือแผ่นดินไหว

ในส่วนของประชาชนนั้น ค่อนข้างง่าย นั่นคือ ให้เตรียม survivor kit, รับฟังข่าวประการอพยพ, รู้บริเวณที่เตรียมไว้สำหรับการอพยพและขอความช่วยเหลือ, การซ้อมหนีภัยแผ่นดินไหว เป็นระยะๆ

แต่ในส่วนของภาครัฐและผู้ประกอบการ มีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการเตรียม infrastructure (โครงสร้างอาคาร ถนน หนทางต่างๆ) ให้เหมาะสม, การออกแบบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุหลังแผ่นดินไหว, การฝึกซ้อมเตรียมหน่วยกู้ภัยต่างๆ, วิศวกรก็มีการออกแบบอาคารที่แข็งแรงพอจะรับมือแผ่นดินไหว (ถ้าไหวไม่รุนแรงเกินเหตุ)

แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ภัยแผ่นดินไหวนั้น เป็นภัยที่หลบเลี่ยงไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์อาจจะตรวจวัดได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหว แต่ก็จะทราบล่วงหน้าในเวลากระชั้นชิดมาก ต่างไปจากภัยพิบัติอย่างสึนามิ, หรือพายุไต้ฝุ่น ที่จะสังเกตการก่อตัวและแจ้งเหตุเตือนภัยได้ทันกว่า

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้อาคารบ้านเรือน ถนนหนทางเสียหาย มีความอันตรายอีกอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหวคือ ไฟไหม้ เนื่องจากแผ่นดินที่ไหว มักทำให้ท่อแก๊สใต้ดิน หรือถังแก๊สที่อยู่ในบ้านเรือนขาดหรือแตกหรือรั่วออกมา ซึ่งมักส่งผลให้มีไฟไหม้ตามมาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวไปแล้ว จะมีเหตุการณ์ทำนองนี้ ที่ขึ้นชื่อก็อย่างเช่นที่ แ่ผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในซานฟรานซิสโก และไฟไหม้เมือง ส่งผลให้เมืองทั้งเมืองวอดวาย จากนั้นจึงมีการสร้างเมืองขึ้นใหม่แทนเมืองเก่าที่เสียหายไป

หรือเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น แรงบ้าง ไม่แรงบ้างสลับไป ในสารคดีตอนหนึ่งที่ดิฉันดูเกี่ยวกับการเตรียมรับมือภัยแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น ต่อเรื่องการซ้อมหนีภัยแผ่นดินไหว ในสารคดี สรุปปิดท้ายว่า การซ้อมหนีภัยนั้น ในความเป็นจริง มันไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้ทุกคน แต่ทุกคนรู้ดีว่า ประเทศตนเอง อยู่ในแนวแผ่นดินไหว การได้ซ้อมหนีภัย ทำให้คนที่อยู่บนเปลือกโลกอันอ่อนไหว ได้เตรียมใจให้สู้กับภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาอย่างมีสติ กำลังใจเท่านั้น ที่ทำให้มนุษย์ยอมสู้ชีวิตต่อไป ถ้าหากคนญี่ปุ่น กลัวแผ่นดินไหวแล้วไซร้ คนญี่ปุ่นก็ย่อมทิ้งแผ่นดิน ไปหาแผ่นดินที่เปลือกโลกไม่อ่อนไหวอย่างที่เป็นอยู่

จากการค้นเล่นๆ ของดิฉัน พบเว็บน่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ชีิวิตในญีุ่ปุ่น และการรับมือภัยแผ่นดินไหว หากสนใจสามารถตามอ่านได้นะคะ

 

ขออนุญาตหยิบข้อมูลจาก link มาไว้ ณ ที่นี่นะคะ

The Tokai Earthquake and the Warning Declaration

แผ่นดินไหวโตไก เป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงและคาดว่าจะเกิดขึ้นในบริเวณนั้น ดังนั้น ถ้ามีการพยากรณ์ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวนี้ขึ้น นายกรัฐมนตรีจะประกาศเหตุฉุกเฉิน ขอให้ประชาชนเตรียมตัว ดังนี้

1. รับฟังประกาศจากแหล่งต่างๆ

วิทยุ โทรทัศน์
ประกาศจากเจ้าหน้าที่กู้ภัย
 รับฟังเสียงไซเรน
(ไซเรนดัง 45 วินาที แล้วหยุด 15 วินาที สลับไปเรื่อยๆ)

 2. เมื่อมีการประกาศแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ

  •  ให้ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ให้น้อยที่สุด หรือปิดไปเลย ถ้าเป็นไปได้
  • การใช้โทรศัพท์จะถูกจำกัดการใช้
  • การเดินทางสาธารณะจะหยุดให้บริการ รถไฟต่างๆ จะหยุดที่สถานีใกล้ที่สุด
  • เด็กจะถูกส่งกลับบ้านหรือส่งไปยังผู้ปกครอง
  • มีการปิดการจราจรทางถนน


ในหน้าดังกล่าง จะมีการแนะนำการเตรียมความพร้อมรับมือประจำวันไว้ด้วย ทุกอย่างบ่งบอกได้ว่า ประชาชนที่อยู่ในเขตแผ่นดินไหว ได้มีการตระเตรียมตัวไว้แล้ว เมื่อย้อนกลับมาคิดถึง ชาวเชียงใหม่ที่ประสบเหตุแผ่นดินไหวแล้ว ดิฉันเสียวสันหลังวาบแทนไม่ได้เลยจริงๆ

ถึงเวลาแล้วนะคะ ที่ทุกคนต้องรู้วิธีการเอาตัวรอดในเหตุภัยพิบัติแบบต่างๆ จะเริ่มลงมือกันหรือยังคะ 

 

หมายเลขบันทึก: 67702เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ คุณ minisiam

        ได้รับคำแนะนำจากคุณ Conductor ว่า ที่นี่มีบันทึกเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ จึงขอนำบันทึก

                รับมือ 'แผ่นดินไหว' อย่างไรให้ถูกหลักการ? 

        มาไว้ที่นี่ เพื่อให้ข้อมูลเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบครับ

ขอบคุณครับ - บัญชา

ขอบคุณมากค่ะ ดร. บัญชา รวมตัวกันเพื่อถ่ายทอดวิธีป้องกันตัวให้กับคนที่สนใจ เป็นกุศลกว่าสร้างพระเหรียญห้อยคอนะคะ

ขออนุญาตินำบทความบางตอนไปนะครับ  ไปต่อยอดใน  http://gotoknow.org/blog/dol3377/96630

ขอบคุณมากครับ

 

เป็นบลอคที่ดีมากเลยครับดีใจที่มีคนเล็งเห็นถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นรอบตัว

ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณminisiam หรือท่านอื่นๆสนใจร่วมด้วยช่วยกัน

คิดวิธีป้องกัน เตือนภัย เฝ้าระวัง และบรรเทาภัยเชิญได้ที่

www.pdisaster.com

www.pradio.info นะครับ

ขอบคุณค่ะทีมงาน pradio.info

ภัยธรรมชาติมันยิ่งใหญ่เกินกว่ามนุษย์ตัวเล็กๆ (ที่มีช่วงอายุขัยไม่เยอะด้วย) จะไปต่อกรด้วยได้

เราควรจะเรียนรู้ที่จะเข้าใจ ปรับตัว และเตรียมพร้อม เผื่ออาจต้องประสบเหตุที่ไม่คาดฝัน

ขอแสดงความเสียใจจริง ไปยังชาวพม่าที่โดนพายุไซโคลนนากีส และแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศจีน

เศร้านะคะ

ใช่แล้วครับเศร้ามากๆ เราจึงต้องช่วยกันคิดวิธีป้องกันและเฝ้าระวังอะครับ

ภาครัฐอย่างเดียวไม่สามารถทำอะไรได้ ภาคประชาชนต้องช่วยด้วย

ดูอย่างประเทศ จีน อเมริกา ขนาดว่ามีหน่วยงานรัฐที่เข้มแข็งมาก

แต่เวลาเกิดภัยพิบัติจริงๆก็ยังเตือนกันไม่ค่อยจะทันอ่ะครับ

วิธีที่ทำได้ตอนนี้คือให้ความรู้ประชาชนให้เกิดความตื่นตัวแตะไม่ตื่นตูม

กำลังพยายามกันต่อไปสู้ๆครับ^^

สวัสดีค่ะ ครูแอนขออนุญาตนำบันทึกนี้ไปแนะนำที่บันทึกนี้น่ะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ธนัท ธทาธีราภรรณ์

วันนี้ 3ทุ้ม17นาที ผมว่านะครับว่ามันคงประมานสัก 4.5-5.5ลิเตอร์ครับ

น้องของผมร้องให้เอิย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท