๑,๑๒๐ ต้านทุจริตกับต้านภัยโควิด ๑๙


"ผมจึงแนะนำให้สพฐ.ทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่าและสำคัญกว่า “การศึกษาทางไกล”เถอะ..ดูแลแค่อินเตอร์เน็ตอย่างเดียว มันจะคลอบคลุมได้ทุกเรื่องราว..."

         ตอนนี้..กระทรวงศึกษาธิการกับสพฐ.กำลังเป็นห่วงเรื่องการเปิดเรียน..ปีการศึกษาใหม่ ๒๕๖๓ น่าจะไม่ง่าย..

    ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร..ถึงอย่างไรสุขภาพต้องมาก่อน รักษาชีวิตไว้ ยังไงความรู้ก็ย่อมเรียนทันกันหมดอย่างที่ไม่น่าจะมีปัญหา

        สพฐ.กังวลโรงเรียนขนาดเล็ก เกี่ยวกับการเรียนการสอนทางไกล ระบบเทคโนโลยีอาจทำให้รู้ไม่เท่าทันโควิด ๑๙ เพราะการเรียนทางไกลต้องผ่าน “ครูตู้” ดูเหมือนสพฐ.จะเข้าไม่ถึงการเรียนการสอนในระดับรากหญ้าเอาเสียเลย...?

        ประการแรก..ถ้ายังเปิดเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ..หากยังทำไม่ได้ก็ให้ชะลอไปก่อน..พอถึงเวลาอันควร สถานการณ์คลี่คลาย..ก็มาว่ากันตามบริบทของ..เขตพื้นที่..

        ไม่จำเป็นต้องเปิดเรียนพร้อมกันก็ได้....

        สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก..ตอนนี้เล็กไม่เท่ากัน ครูจึงมีไม่เท่ากัน แต่สพฐ.ได้ปรับปรุงและพัฒนาสื่อและอุปกรณ์การเรียนทางไกลให้ครบครัน ตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา..

        อย่าลืมว่า..ได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อการนี้ ดูแลเป็นอย่างดี จึงอย่าได้คิดใช้งบประมาณแจกจ่ายลงมาอีก..ควรจะนำไปใช้เพื่อการสาธารณสุข...จะดีกว่า

        สพฐ.เป็นห่วงโรงเรียนขนาดเล็ก(บางพื้นที่) จะจัดการเรียนการสอนความรู้เรื่องโควิด ๑๙ ไม่มีประสิทธิภาพ อันเนื่องมาจาก..สัญญาณภาพ..ทางไกลผ่านดาวเทียม..

        คิดเยอะไปหรือเปล่า..?เมื่อมีโรงเรียนก็ต้องมีครู มีมากมีน้อยก็ยังมีครูตัวเป็นๆ และครูทุกท่านเข้าใจและเข้าถึงพิษภัยของโควิดแบบที่มากพอ..อย่าโยงไปที่ครูตู้ทั้งหมดก็ได้..ครูที่มีชีวิต..ก็ให้ความรู้ได้อย่างที่ไม่ยากลำบากแต่ประการใด...

        สพฐ.เอาเวลาและความคิดไปบอกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเถอะ..ให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ระบบอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนจะดีกว่า..

        ถ้าอินเตอร์เน็ตเร็วและแรง..ข่าวสาร ความเคลื่อนไหว..การเข้าถึงมาตรการและการจัดการเรียนรู้เรื่องราว “โควิด ๑๙”จะมีประสิทธิภาพในทุกโรงเรียนและทุกขนาด..

        ทุกวันนี้..อินเตอร์เน็ต..ก็ดีอยู่แล้วทั้งระบบ..โดยเฉพาะงบประมาณและสร้างความพึงพอใจให้โรงเรียนมิใช่น้อย...แต่จะเบิกจ่ายได้ถึงเดือน..เมษายนนี้เท่านั้น..

        อินเตอร์เน็ตที่เคยกระจายอำนาจ..โดยยึดประโยชน์โรงเรียนเป็นที่ตั้ง..ตอนนี้ไม่รู้ว่าใครจะรวบอำนาจการการเบิกจ่าย..เลือกค่ายส่งสัญญาณ..เริ่มต้นสัญญากันใหม่หมด..

        พยายามจะทำให้มันยุ่งและยากมากขึ้น..ซึ่งไม่สอดคล้องในช่วงเวลาที่บ้านเมืองวิกฤติในทุกด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและการศึกษา...

        ผมจึงแนะนำให้สพฐ.ทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่าและสำคัญกว่า “การศึกษาทางไกล”เถอะ..ดูแลแค่อินเตอร์เน็ตอย่างเดียว มันจะคลอบคลุมได้ทุกเรื่องราว...

        ในส่วนที่อยากแนะนำเพิ่มเติม ก็อยากขอร้องให้เพลาๆเรื่อง..หลักสูตร..ต้านทุจริตกันหน่อยได้ไหม?..ใช้งบประมาณหลายร้อยล้านเพื่อผลิตสื่อ..แต่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง..

        เอาแค่ทุจริตเรื่องหน้ากากอนามัยเรื่องเดียว..ที่ผู้ใหญ่ในกระทรวงฯทุจริตกันเอง ยังจับมือใครดมไม่ได้เลย..ก็แค่..ไม่อยากให้เสียเวลาและเสียเงินในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้..

        สพฐ.ควรใช้โอกาสนี้ ส่งเสริมเขตฯและโรงเรียนให้ทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร ให้ครูและนักเรียนป้องกันระวังมหันตภัยร้าย...ระดับโลก..และทำอย่างจริงจัง

        เหมือนที่ครั้งหนึ่ง..เคยเน้นค่านิยม ๑๒ ประการ ..โรงเรียนตอบสนองการงานและกิจกรรมกันอย่างเข้มข้น..แต่โควิด ๑๙ สำคัญกว่านั้นเยอะ...ก็คิดกันว่าต้องทำอะไร?

        “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ระดมพลังสมองกันมาแล้ว แต่เปิดเทอมนี้..จับเข่าคุยกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องได้เลย ว่าเราจะต้านภัยโควิดกันอย่างไร..?

        PLC...ดีที่สุด..อย่าพูดแต่เรื่องวิชาการ..ว่าทำอย่างไร?จะได้คะแนนโอเน็ตสูง หันมาดูแลคนรอบข้าง..ห่วงใยชุมชนและสังคมบ้างก็น่าจะดีนะ

        ประเมินภายนอกรอบ ๔ คณะกรรมการประเมินฯก็อย่าได้จำเพาะเจาะจงเอาแต่หัวข้อมาตรฐานและตัวชี้วัด เพราะในสภาพจริงนั้นการศึกษากำลังสั่นคลอน

        ผมแนะนำให้กลับไปคิดทบทวนและบูรณาการ ประเมินและให้ความรู้ควบคู่กันไปด้วย..เพื่อองค์รวมที่เป็นสากลและตอบสนองมนุษชาติ..

        ให้งานประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก..ตอบโจทย์โควิด ๑๙ ด้วย..จึงจะเรียกว่า..เป็นการศึกษาเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๓๐  มีนาคม  ๒๕๖๓


หมายเลขบันทึก: 676444เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2020 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2020 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท