105 คุณภาพผู้เรียน (สำหรับเด็กปฐมวัย) ตาม ว ๒๑/๒๕๖๐ คิดอย่างไร?


          มีครูหลานท่านได้สอบถามเกี่ยวกับการหา “ค่าร้อยละผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด” หาอย่างไร จึงได้เสนอข้อมูลและรายละเอียดให้ทราบเพื่อและเปลี่ยนเรียนรู้กันดังนี้

  ตามหลักเกณฑ์การประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ.๐๒๐๖.๓/ว ๒๑ ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ได้กำหนดการประเมินคุณภาพผู้เรียน ตามตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๔ ของด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนการสอน ไว้ว่า “ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๔ คุณภาพผู้เรียน หมายถึง  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของสาระการเรียนรู้ มีสมรรถนะที่สำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร” โดยมีรายละเอียดการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่  ตำแหน่งครู จำแนกตามระดับคุณภาพ โดยได้กำหนดระดับคุณภาพไว้ดังนี้คือ

          ระดับ ๑ หรือยังไม่มีวิทยฐานะ จำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๕ มีผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

          ระดับ ๒ หรือชำนาญการ จำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ มีผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

          ระดับ ๓ หรือชำนาญการพิเศษ จำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๕ มีผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

          ระดับ ๔ หรือเชี่ยวชาญ จำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ มีผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

          ระดับ ๕ หรือเชี่ยวชาญพิเศษ จำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ มีผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

ประเด็นพิจารณาคือ “ผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด” สถานศึกษากำหนดค่าเป้าหมายไว้ที่ไหน อย่างไร

         

          ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑ ข้อ ๓ กำหนเดให้ “สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด........” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อธิบายว่า  “มาตรฐานการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง......การกำหนดมาตรฐานยังเป็นการกำหนดความคาดหวังที่ชัดเจนให้กับครู ผู้บริหาร พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานต่าง  ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา.....มาตรฐานการศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทุนมนุษย์และเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกคนต้องรับรู้และปฏิบัติงานในหน้าที่ให้บรรลุถึงเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดและร่วมรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้น (accountability)”

          ส่วนสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) (องค์การมหาชน) ได้กำหนดแนวทางในการพิจารณาและตัดสินระดับคุณภาพในมาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ไว้ประการหนึ่งคือ “ความเหมาะสม เป็นไปได้” โดยพิจารณาจากการกำหนดค่าเป้าหมาย/เกณฑ์ในการพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพจริงของผู้เรียน” และได้ให้คำนิยามศัพท์ของคำว่า  “ความเหมาะสม เป็นไปได้” (Propriety/Feasibility) ว่าหมายถึง “การกำหนดเป้าหมาย/เกณฑ์ความสำเร็จของผู้เรียนที่มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง ประหยัดและคุ้มค่า”

          ดังนั้น จึงพอจะพอนุมานได้ว่าสถานศึกษากำหนดได้เป้าหมายผลการพัฒนาคุณภาพ ไว้ในการกำหนดค่าเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามที่ประกาศไว้กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๑ และสามารถนำค่าเป้าหมายนั้นมาใช้เพื่อการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงได้เสนอแนวทางการประยุกต์ค่าเป้าหมายและมาตรฐานตามกฏกระทรวงการประกันคุณภาพ พ.ศ.๒๕๖๑ มาใช้เพื่อการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะสำหรับครูปฐมวัยได้ดังนี้

  • ๑. ครูนำรายละเอียดของประเด็นพิจารณาและประเด็นการประเมิน พร้อมข้อมูลฐาน (Based Line) ค่าเป้าหมายตามที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ในมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามาบันทึกลงในแบบนี้
  • ๒. ครูบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับชั้นที่สอน จำนวนเด็กที่สอน ผลผลิตที่ได้ในแต่ละประเด็นการประเมิน
  • ๓. นำผลผลผลิตที่ได้ในแต่ละประเด็นการประเมินไปเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด แล้วนำมาหาค่า “ร้อยละ”
  • ๔. นำค่าร้อยละที่ได้ในแต่ละประเด็นการประเมินมาหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ของประเด็นพิจารณา
  • ๕. นำค่าเฉลี่ยร้อยละที่ได้ของ ๔ ประเด็นพิจารณามาหาค่าเฉลี่ยร้อยละ เพื่อหาค่าเฉลี่ยร้อยละของมาตรฐานคุณภาพเด็ก
  • ๖. ควรทำเป็นหนังสือรับรองเพื่อให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาลงนามรับรองตามความเหมาะสม

ข้อสังเกต  สิ่งสำคัญก็คือ “คุณภาพของเด็ก” หรือ “คุณภาพผู้เรียน” เวลาคิดคำนวณต้องคิดเป็น “จำนวนคน”

ตารางนี้คุณครูสามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนได้ตามความเหมาะสม

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ประกอบกับด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนการสอน “ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๔ คุณภาพผู้เรียน”

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก  ค่าเป้าหมายระดับ..................

ประเด็นพิจารณา/ประเด็นการประเมิน

Based Line

ค่าเป้าหมาย

ชั้นที่สอน

จำนวนเด็ก

ผลผลิตที่ได้/คน

ร้อยละ

ค่าเฉลี่ยร้อยละ

๑.๑ มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

ค่าเฉลี่ยร้อยละ......

จำนวนผู้เรียน

ร้อยละ.................

มีผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด

ระดับ ๑ = ๕๕%

ระดับ ๒ = ๖๐%

ระดับ ๓ = ๖๕%

ระดับ ๔ = ๗๐%

ระดับ ๕ = ๗๕%

๑) เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

๒) เด็กมีส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

๓) เด็กเคลื่อนไหว ร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี

๔) เด็กใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี

๕) เด็กดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย

๖) เด็กปฏิบัติตนตามข้อตกลง เกี่ยวกับความปลอดภัย

๗) เด็กหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด

๘) เด็กระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย

ประเด็นพิจารณา/ประเด็นการประเมิน

Based Line

ค่าเป้าหมาย

ชั้นที่สอน

จำนวนเด็ก

ผลผลิตที่ได้/คน

ร้อยละ

ค่าเฉลี่ยร้อยละ

๑.๒ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้

   ๑) เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม 

   ๒) รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย

   ๓) เด็กยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น

   ๔) เด็กมีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี

   ๕) เด็กมีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก

   ๖) เด็กช่วยเหลือแบ่งปัน

   ๗) เด็กเคารพสิทธิ รู้หน้าที่รับผิดชอบ

   ๘) เด็กอดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต

   ๙) เด็กชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

๑.๓ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

   ๑) เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 

   ๒) เด็กมีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง

   ๓) เด็กมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน

   ๔.)เด็กมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม ทักทาย และมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่


ประเด็นพิจารณา/ประเด็นการประเมิน

Based Line

ค่าเป้าหมาย

ชั้นที่สอน

จำนวนเด็ก

ผลผลิตที่ได้/คน

ร้อยละ

ค่าเฉลี่ยร้อยละ

   ๕) เด็กยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม พื้นฐานครอบครัว เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม

   ๖) เด็กเล่น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แก้ไขข้อขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง

๑.๔ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

   ๑) เด็กสนทนาโต้ตอบ และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ

   ๒) เด็กตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ

   ๓) เด็กอ่านนิทาน และเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย

   ๔) เด็กมีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

   ๕) เด็กคิดแก้ปัญหา และสามารถตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้

   ๖) เด็กสร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ เช่น งานศิลปะ การเคลื่อนไหวท่าทาง การเล่นอิสระ เป็นต้น

   ๗) เด็กใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก กล้องดิจิตอล เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ได้

หมายเลขบันทึก: 676068เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2020 06:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2020 06:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท