การเผยแพร่นวัตกรรม (Diffusion of Innovation)


ความหมายของการเผยแพร่นวัตกรรม (Diffusion of Innovation)

การแพร่กระจายหรือการเผยแพร่นวัตกรรม (Diffusion of Innovation) เป็นกระบวนการในการถ่ายเทความคิด การปฏิบัติ ข่าวสาร หรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่การวิจัยทางด้านการเผยแพร่นวัตกรรมจะเป็นการศึกษาปัจจัย 5 ประการนี้ว่า มีผลอย่างไรและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร ในการส่งเสริมให้มีการยอมรับและใช้ผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษา

1. Innovation หมายถึง ความคิดใหม่เทคนิควิธีการใหม่หรือสิ่งใหม่ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นวัตกรรมนั้นเป็นสิ่งที่สร้างความรู้เป็นของใหม่สำหรับกลุ่มผู้มีศักยภาพในการยอมรับนวัตกรรม กฤษมันต์ (2536, หน้า 104)

       2. Communication channels หมายถึง ช่องทางในการสื่อสาร ที่ใช้มากคือ การใช้สื่อสารมวลชน แต่การสื่อสารระหว่างบุคคลแบบปากต่อปากยังเป็นที่ยอมรับและใช้ได้ดีอยู่ ปัญหาคือการประเมินผลการใช้ช่องหรือสื่อเพื่อการเผยแพร่นั้น ยังไม่มีการศึกษาผลของการใช้อย่างมีระบบมากนัก ส่วนมากยังใช้การสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้อยู่

 3. Time หมายถึง เวลาหรือเงื่อนไขของเวลา ในแต่ละขั้นตอนของการเผยแพร่และยอมรับอาจมีช่วงของเวลาในแต่ละขั้นแตกต่างกัน จำเป็นต้องมีการศึกษาและคาดการณ์ไว้สำหรับงานการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

 4. Social System หมายถึง เป็นระบบสังคมที่มีธรรมชาติ วัฒนธรรมของคนในสังคม

ที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ ฐานะทางเศรษฐกิจของคนในสังคมโดยรวม และกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกัน สามารถยอมรับนวัตกรรมได้แตกต่างกัน การเมือง การปกครอง มีอำนาจต่อการยอมรับนวัตกรรมเป็นอย่างมาก การศึกษาถึงอิทธิพลของระบบสังคมจะช่วยให้เข้าใจและหาวิธีการที่เหมะสมในการเผยแพร่นวัตกรรมได้

5. Adaption หมายถึง เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในการยอมรับ (หรือปฎิเสธ) นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยมีพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา เป็นองค์ความรู้สำคัญในการอธิบายกระบวนการในการยอมรับ (หรือไม่ยอมรับ)

ความหมายของการเผยแพร่นวัตกรรม (Diffusion of Innovation)

การแพร่กระจายหรือการเผยแพร่นวัตกรรม (Diffusion of Innovation) เป็นกระบวนการในการถ่ายเทความคิด การปฏิบัติ ข่าวสาร หรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่น โดยกว้างขวาง จนเป็นผลให้เกิดการยอมรับความคิดและการปฏิบัติเหล่านั้น อันมีผลต่อโครงสร้างและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด

Everette M. Rogers (1983) ได้อธิบายส่วนประกอบของการเผยแพร่ นวัตกรรมไว้ 4 ประการ (ภาพที่ 1) คือ

1. มีนวัตกรรมเกิดขึ้น

2. ใช้สื่อเป็นช่องทางในการส่งผ่านนวัตกรรมนั้น

3. ช่วงระยะเวลาที่เกิดแพร่กระจาย

4. ผ่านไปยังสมาชิกในระบบสังคมหนึ่ง

สาเหตุในการศึกษาทฤษฎีการเผยแพร่

การศึกษาถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในการเผยแพร่นวัตกรรมในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษานั้น มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1.นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องการทราบว่า“ทำไมผลผลิตของพวกเขาจึงเป็นที่ยอมรับ หรือไม่เป็นที่ยอมรับ”

2. เทคโนโลยีทางการศึกษาที่มาจากการเป็นนวัตกรรมมาก่อน ผลผลิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาโดยนักเทคโนโลยีการศึกษา เป็นการสืบสานทางนวัตกรรมในกระบวนการของการสอนทั้งในด้านของรูปแบบการจัดการขั้นตอนและการนำเสนอ นักเทคโนโลยีการศึกษาที่เข้าใจในตัวของนวัตกรรมเอง และทฤษฏีที่ใช้ในการเผยแพร่นวัตกรรมจะทำให้สามารถเตรียมตัวและเตรียมงานการเผยแพร่ให้กับกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Schiffiman, 1991)

3. การศึกษาทฤษฏีการเผยแพร่วัตกรรม จะนำไปสู่การเผยแพร่นวัตกรรมอย่างเป็นระบบสร้างรูปแบบของการเผยแพร่ และรูปแบบของการยอมรับนวัตกรรมขึ้น นักเทคโนโลยีการศึกษายอมรับกระบวนการของการนำเข้าสู่ระบบ (System Approach) และมีรูปแบบของระบบที่ได้จากทฤษฏีการเผยแพร่นวัตกรรมมากมายที่ใช้เป็นแนวทางของกระบวนการในการพัฒนาการสอน (Instructional Development หรือ ID) รูปแบบของกระบวนการพัฒนาการสอนได้ใช้ในการออกแบบและพัฒนาวิธีการเรียนรู้โดยการนำเข้าสู่ระบบอย่างมีประสิทธิภาพมากมายเหล่านั้น เป็นที่มาของการเกิดเป็นวัตกรรมศึกษาขึ้น รูปแบบเชิงระบบของการเผยแพร่นวัตกรรมก็จะช่วยเป็นแนวทางของกระบวนการเผยแพร่นวัตกรรมการศึกษา และสร้างการยอมรับนวัตกรรมศึกษาและผลผลิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษากับผู้ใช้เช่นเดียวกัน และหวังว่ารูปแบบเชิงระบบในการผลิตผลงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะทำให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันด้วย

ทฤษฏีการเผยแพร่ (Diffusion Theories)

ต้นกำเนิดของการศึกษาวิจัยเรื่องการเผยแพร่และการยอมรับนวัตกรรมมีมานาน ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งที่การถ่ายทอดความรู้และยอมรับนวัตกรรมจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งมาโดยตลอด แต่การศึกษาเรื่องการเผยแพร่อย่างเป็นระบบนั้นพอสรุปได้ ดังนี้

ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษ 19 (1900s) Gabriel trade เป็นนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสมีอาชีพเป็นผู้พิพากษา ถึงแม้ว่าเขาไม่ได้รับการศึกษาจากระบบโรงเรียน เขาก็เป็นนักวัตกรรมและมีหัวก้าวหน้าในสมัยนั้น เขาได้สังเกตการถ่ายทอดและการเผยแพร่วัตกรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งเขาเรียกว่า กฎของการเลียนแบบ (Law of Lmitation) ซึ่งปัจจุบันแล้วเรียกว่า การยอมรับนวัตกรรม (The Adoption of Innovation) ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎี หลักการและความรู้ ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้น ๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการ วิธีการ ทฤษฎีและการเผยแพร่ของศาสตร์ต่าง ๆ นำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้นและเป็นทฤษฎีที่ไม่บ่งชี้เฉพาะว่า ใช้สำหรับการเผยแพร่นวัตกรรรมของสาขาวิชาหรือศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งโดยเฉพาะ เหตุผลที่ว่าทำไมทฤษฎีการเผยแพร่ถึงไม่มีความเฉพาะ เนื่องจากการเผยแพร่นวัตกรรมนั้นมีในทุกสาขาวิชาและทุกศาสตร์ Rogers (1995) ได้อ้างผลการศึกษาในปี ค.ศ. 1943 โดย Ryan และ Gross ที่มหาวิทยาลัย Lowa State (Lowa State University) ที่ได้ให้ต้นกำเนิดของการวิจัยด้านการเผยแพร่แนวใหม่ Ryan และ Gross (1943) ได้ทำการศึกษาจากสาขาวิชาด้านสังคมชนบท โดยการใช้การสัมภาษณ์ผู้ยอมรับและการใช้นวัตกรรมและทำการตรวจสอบกับปัจจัยที่ทำให้เกิดการยอมรับและใช้นวัตกรรมศึกษา กระบวนการสัมภาษณ์ที่ Ryan และ Gross ใช้ในการศึกษา จึงเป็นแบบแผนที่ใช้เป็นแบบอย่างของการศึกษาวิจัยเรื่องการเผยแพร่นวัตกรรมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (Rogers, 1995)นักวิจัยอื่นๆ ก็ใช้วิธีการนี้ในการศึกษาและสร้างเป็นทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมกันต่อ ๆ มา

 นักวิจัยที่ทำการศึกษาและสังเคราะห์ผลการวิจัยต่าง ๆ แล้วนำมาสร้างเป็นทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับคือ ในหนังสือของเขาชื่อ Diffusion of Innovations ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1960 และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003 ได้มีการพิมพ์เป็นครั้งที่ 5 การพิมพ์ครั้งนี้ได้จัดพิมพ์เล่มและอยู่ในรูปของ Digital ที่เป็น E-Book แล้ว สามารถสั่งซื้อจาก Website โดยการ Down Load มาได้เลยเมื่อจ่ายค่าหนังสือแล้ว หนังสือของ Rogers ได้เสนอทฤษฎีที่เริ่มมีความชัดเจนขึ้นสำหรับงานการเผยแพร่นวัตกรรมมากที่สุด และเป็นรากฐานของการพัฒนาทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรม

หมายเลขบันทึก: 675843เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2020 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2020 01:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท