892. เรียน Positive Psychology จากหนังดัง "The Two Popes"


ผมติดตามความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ เนื่องจากเป็นอาจารย์ยิ่งได้ Kindle มายิ่งง่ายซื้อตรงจาก Amazon อ่านที่ Kindle ได้โดยตรง เป็น e-book เลยสนุกครับ ล่าสุดอ่านหนังสือเรื่อง Joy of Leadership ซึ่งแต่งโดยอาจารย์เบน ชาฮา แห่งฮาวาร์ด เจ้าพ่อ Positive Psychology แห่งยุคสมัย เป็นสาขาที่ผมสนใจ  อาจารย์ได้ศึกษาผู้นำที่สามารถสร้างผลงานได้ล้ำกว่าคนอื่น 10 เท่าขึ้นไป เรียกว่า 10x ... พวกนี้ล้ำกว่า ไกลกว่า แรงกว่า... เขาต่างจากคนอื่นอย่างไร อาจารย์บอกว่ามันมีองค์กรประกอบห้าอย่างคือ 

1.Strengths (S) ผู้นำรู้จักจุดแข็งของตนเอง และจุดแข็งของคนอื่น แล้วนำมาใช้สร้างโอกาสได้อย่างถูกที่ถูกทาง 

2.Health (H) ผู้นำบริหารพลัง มากกว่าเวลา ไม่ใช่ทำงานไปจนตาโหล พวกนี้พักผ่อนนอนดีมากๆ ไม่ปล่อยให้ร่างกายและจิตใจพังง่ายๆ 

3.Absorption (A) แปลว่าดื่มด่ำ ผู้นำกลุ่มนี้ทำงานแบบลืมวันเวลา รู้ว่าอะไรคือความท้าทาย มีทักษะในการเผชิญกับความท้าทาย ถ้าไม่มีก็ไปยืมมือคนอื่นที่มีทักษะ หรือจุดแข็งมาใช้ ทำให้ไม่กังวล มีสติ ทำงาน ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ 

4.Relationship (R) พวกนี้บริหารความสัมพันธ์ได้ดีมากๆทั้งที่บ้านที่ทำงาน ทั้งลูกค้าปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลองจินตนาการสิ ว่าผู้นำที่ประสบความสำเร็จ แต่ที่บ้านมีปัญหา ก็คงไม่ดีนัก หรือบริษัทไปได้ไกล แต่ชุมชนเดินขบวนขับไล่ ก็คงไปไม่ถึงไหน  

5. Purpose (P) เป็นคนมีจุดประสงค์ ก็คือเป็นคนที่มุ่งมั่นทำเพื่อยกระดับความสุขของคนในสังคม คือทำเพื่อคนอื่นไม่ใช่เพื่อตนเองหรือพวกพ้องเท่านั้น 

ถ้าดูจากคำย่อก็คือ SHARP Model นั่นเอง ... ผู้นำ 10x

ส่วนตัว ดูแล้ว Model นี้จะเข้าท่า ทันกับยุคสมัยโดยเฉพาะยุค Disruption ยุกมสมัยโรคป่วน ยุคสมัยที่ OKRs เข้ามามีอิทธิพล ยุคสมัครที่องค์กรคาดหวังให้คนคิดต่าง ในขณะเดียวกันก็ต้องไปเร็วและไกลกว่าคนอื่น 10 เท่า 100 เท่า...ผมว่า Model นี้คือคำตอบ สามารถเอามาเป็นกรอบในการมองผู้นำ และพัฒนาคน/องค์กรได้เลย...

ยังไงครับ ... 

ผมนึกถึงหนังเรื่องหนึ่งคือ The Two Popes ที่ผมได้ดูทาง Netflix

หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องของโป๊ปเบเนดิกซ์กับโป๊ปฟรานซิส หนังไม่มีอะไรมาก ว่าด้วยความพยายามของโป๊ปเบเนดิก สันตปาปาองค์ใหม่ที่ครองตำแหน่งมาสักระยะ แต่ต้องการลาออกและต้องการให้พระคาร์ดินาลรูปหนึ่งชื่อ Bergoglio จากอาร์เจนติน่า ที่ปัจจุบันคือโป๊ปฟราซิส ขึ้นมาเป็นโป๊ปคนใหม่แทน ...แต่โป๊ปฟรานซิสไม่แน่ใจ คือจริงๆ ท่านมาลาออก ไม่ได้ตั้งใจมาเป็นโป๊ป ...โป๊ปเบเนดิกซ์ก็เลยต้องพยายามโน้มน้าว...จริงๆ มันคือการโน้มน้าวทั้งเรื่อง จนกระทั่งสำเร็จ แต่บทพูด ข้อคิดสวยงามมากๆ ... และทำให้เห็นเลยว่าโป๊บสองท่านเป็นผู้นำตาม SHARP Model นี่เลย เป็นอย่างไร

S = Strengths  โป๊ปเบเนดิกซ์ ท่านสืบประวัติหมดว่าใครสมควรมาแทนท่าน ... ท่านมองว่าพระคาร์ดินาลรูปนี้ มีศักยภาพ เพราะไปกับคนรุ่นใหม่ได้ 

H = Health โป๊ปเบเนดิกซ์  ท่านบอกว่า “พลัง” ของท่านไม่ค่อยดีแล้ว เนื่องจากตาซ้ายก็มองไม่ค่อยเห็น ท่านคิดว่าเริ่มแบกภาระไม่ไหว ท่านต้องการคนที่มีพลังมากกว่า 

A = Absorption ทั้งสองท่านเป็น เป็นตัวอย่างที่ดีของการดื่มด่ำ กับงานที่ทำ ดูมุ่งมั่น พยายามแก้ปัญหา ถ้าในมุมศานาพุทธ ก็มีอิทธิบาท 4 ก็คือฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อยู่ตลอดเวลา   ประมาณมีสติอยู่กับงาน 

R= Relationship ทั้งสองท่านบริหารความสัมพันธ์กับคนรอบตัวได้ยอดเยี่ยมมากๆ จะเห็นว่า โป๊ปฟรานซิสเองก็เชื่อมโยงกับคนรุ่นใหม่ได้อย่างน่าทึ่ง ในขณะเดียวกันว่าเมื่อไหร่โป๊ปฟรานซิสก็จะไปเยี่ยมโป๊ปเบเนดิกซ์ ซึ่งดูเหมือนคุณพ่อของท่าน  

สุดท้านตัวนี้สำคัญคือ Purpose ที่ผมว่า ครอบคลุมทุกเรื่อง สองท่านมีจุดประสงค์อย่างเดียวคือทำทุกอย่างเพื่อศาสนาของท่าน...   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะโป๊ปเบเนดิกซ์อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีเกิดขึ้น ซึ่งท่านทำเองไม่ไหว ท่านก็หาคนมาทำแทน...ท่านไม่ยึดติดอำนาจ ... ชอบคำพูดที่ท่านบอกกับโป๊ปฟรานซิสว่า...คนเป็นโป๊ปไม่ใช่พระเจ้า 

สรุปแล้วใครเป็นผู้นำ ต้องดูเรื่องนี้เลย จะเห็นชัดมากๆ   ผมเองขนาดเป็นพุทธยังอดนับถือท่านไม่ได้เลย  เป็นอะไรที่สุดยอดมากๆครับ

แล้วเราจะมี SHARP อย่างไร

  1. Strenghts  กลับไปค้นหาจุดแข็งตัวเอง และคนรอบตัว ตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับ Purpose แล้วเอาไปใช้
  2. Health ปรับการนอนให้นอนเต็มอิ่ม ดูพลังงาน ไม่ไหวก็พัก
  3. Absoption อะไรที่กังวล หาทักษะเพิ่ม  อะไรที่ดีให้ตั้งเป้าหมาย แล้วพัฒนาทักษะ ไม่ทันก็ร่วมงานกับคนเก่ง ถามคนเก่ง 
  4. Relationship พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ฟัง เพื่อหาจุดแข็ง เปิดโอกาสให้คนอื่นคุย มากกว่าจะพยายามคุย ให้เกียรติมองเห็นคุณค่าของคนทุกคน
  5. Purpose  ตัวนี้ต้องค้นหา ว่าเราเกิดมาเพื่ออยากทำอะไรสักเรื่องในโลกให้ดีขึ้นก่อนตาย นี่คือการมี Purpose  แน่นอน ถ้าคุณต้องการให้ประเทศไทยเขียวขึ้น มีป่ามากขึ้น ... คุณก็ต้องไปค้นหาคนที่มีจุดแข็งจะมาทำงานร่วมกับคุณ   ต้องบริหารความสัมพันธ์ และชีวิตให้สอดคล้องกับ Purpose นี้ 


สนใจเรื่อง SHARP Model ไปดูหนังสือเรื่อง Joy of Leadership ได้นะครับ ดีมากๆ  ผมลองใช้แล้วหลายครั้งปรากฏได้ผลที่ Magic เลย ผมว่มันสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ 10 เท่า 100 เท่าจริงๆ .. ทำให้เราวางแผน ประเมินสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญมีพลังมากกว่าเดิม หลายสถานการณ์ทำให้ไม่ใช่วางแผนอย่างเดียว ทำให้ต้องค้นหาจุดแข็ง และคิดเรื่องบริหารความสัมพันธ์ไปในตัว และการมี Purpose ทำให้ได้การมีส่วนร่วมมากกว่า  ...  


ในยุกสมัย Disruption และ OKRs ผมว่าต้องเรียนเรื่องนี้ไปพร้อมๆกันครับ บางทีเจ้าของมุ่งแต่เป้าหมาย แต่ไม่ค้นหาจุดแข็งและดึงมาใช้อย่างเป็นระบบ ส่วนใหญ่ไม่ค้นหา Purpose มีแต่เป้าหมาย ทำให้มองข้ามจุดแข็งของบางทีม หรือมีแต่การเมือง  ที่ไม่มีการบ่มเพาะจุดแข็งและความสัมพันธ์ขงอคนในองค์กรมานาน ก็ไปครับ  เอาเป็นว่าต่อให้บริษัทเติบโต แต่ก็ไม่สร้างประโยชน์อะไรให้สังคมในภาพรวม ป่าหมด อากาศพัง ชีวิตพัง.. อาจถึงเวลาที่องค์กร/ผู้นำ ต้อง SHARP แล้ว ไม่งั๊นตกโลกแน่ๆ

คุณล่ะคิดอย่างไร


 วันนี้พอเท่านี้นะครับ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

หมายเลขบันทึก: 675771เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2020 07:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2020 07:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท