เทคนิคการให้คำปรึกษาแก่นิสิต


เทคนิคการให้คำปรึกษาแก่นิสิต  

     การให้คำแนะนำ  (Advising)  เป็นวิธีที่อาจารย์ที่ปรึกษาให้การช่วยเหลือนิสิต/นักศึกษา  สิ่งที่อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำนิสิต  ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกฎ  ระเบียบ  หรือวิธีปฎิบัติที่ใช้กันอยู่เป็นประจำ  เช่น  การนลงทะเบียนเรียน  การเพิ่มหรือลดรายวิชา  หรือบางกรณีที่อาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะและประสบการณ์มากกว่านิสิตอาจให้คำแนะนำเพื่อมุ่งเน้นให้นิสิตคิดเป็น  ทำเป็น  และสามารถแก้ปัญหาได้  การให้คำแนะนำให้เหมาะสมกับปัญหาที่เกี่ยวกับอารมณ์รุนแรง  ปัญหาบุคลิกภาพ  หรือปัญหาที่ต้องตัดสินใจเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  การเลือกอาชีพ  การเลือกสาขาวิชาเอก  วิชาโท  เป็นต้น

     การให้คำปรึกษา  (Counseling)  เป็นกระบวนการช่วยเหลือให้นิสิตเข้าใจตนเอง  สภาพแวดล้อม  และปัญหาที่เผชิญอยู่  และสามารถใช้ความเข้าใจดังกล่าวในการแก้ปัญหา  หรือตัดสินใจเลือกเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อการปรับตัวที่ดีในอนาคต

     เทคนิคการให้คำแนะนำ  และคำปรึกษาที่สำคัญที่อาจารย์ที่ปรึกษาควรทราบ  มีดังนี้

          1. การฟัง  (Listening)  หมายถึงการฟังที่แสดงความสนใจต่อนิสิต  เป็นการตั้งใจฟังด้วยหูต่อคำพูด  ต้องมีการใส่ใจ  มีการสบสายตา  การวางท่าทางอย่างสบาย  การใช้มือประกอบการพูดที่แสดงถึงความสนใจต่อนิสิต  บางครั้งอาจสะท้อนข้อความ  หรือตีความให้กระจ่างชัด  หรือถามคำถามเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของนิสิต

          2. การนำ  (Leading)  เป็นการกระตุ้นให้นิสิตซึ่งบางครั้งไม่กล้าพูด  ได้พูดออกมา  การนำจึงเป็นการกระตุ้นให้นิสิตสำรวจ  หรือแสดงออกถึงความรู้สึกทางด้านทัศนคติ  ค่านิยม  หรือพฤติกรรมของตน

          3. การสะท้อนกลับ  (Reflecting)  เป็นการช่วยให้นิสิตเข้าใจตนเอง  เกี่ยวกับความรู้สึก  ประสบการณ์  หรือปัญหาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น

          4. การเผชิญหน้า  (Confrontation)  ใช้ในกรณีที่นิสิตมีความขัดแย้งกันในทางความคิด  ความรู้สึก  และพฤติกรรม  โดยการนำความขัดแย้งมานำเสนิในรูปประโยคบอกเล่า  และจะใช้คำว่า  "และ"  เชื่อมระหว่างความขัดแย้ง 2 ประเด็น  โดยห้ามใช้คำว่า  "แต่"  เชื่อม  เพราะจะเป็นการตำหนิ

          5. การตั้งคำถาม  (Questioning)  ใช้คำถามที่เหมาะสมเพื่อให้ได้คำตอบที่แน่ชัด  โดยมีจุดมุ่งหมายจะสร้างความเข้าใจในแง่มุมต่างๆ ของนิสิต

          6. การตีความ  (Interpretation)  เป็นกระบวนการอธิบายความหมายของเหตุการณ์ให้นิสิตได้เข้าใจปัญหาของตนเองในด้านอื่นที่อาจไม่ได้มองมาก่อน  และช่วยให้นิสิตได้เข้าใจถึงปัญหาของตนเองกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

          7.การสรุป  (Summarization)  คือการที่อาจารย์ที่ปรึกษารวบรวมความคิดและความรุ้สึกที่สำคัญๆ ที่นิสิตแสดงออก  การสรุปจึงเป็นการให้นิสิตสำรวจความคิดและความรู้สึกของตนเองให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
          8. การให้ข้อมูล  (Informing)  เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้นิสิตเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น  ข้อมูลที่จำเป็นในการปรึกษา  ได้แก่  ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา  อาชีพ  สภาพแวดล้อมของสังคม  จะช่วยให้นิสิตสามารถตัดสินใจ  หรือเห็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา

          9. การให้กำลังใจ  (Encouragement)  เมื่อมีปัญหา  นิสิตส่่วนใหญ่ที่มาพบอาจารย์ที่ปรึกษามักมีความรู้สึกท้อแท้  ขาดความมั่นใจ  จึงควรกระตุ้นให้กำลังใจแก่นิสิตสู้ปัญหา  เกิดความมั่นใจและพร้อมที่จะแก้ปัญหา

          10. การเสนอแนะ  (Suggestion)  ในบางกรณีอาจเสนอความคิดเห็นมราเหมาะสมเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาให้แก่นิสิต  การเสนอแนะดังกล่าวควรเปิดโอกาสให้นิสิตได้ใช้เหตุผลของตนเองให้มาก  เพื่อให้นิสิตสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง  


หมายเลขบันทึก: 675770เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2020 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2020 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท