ความหมายของ Education,innovation,technology


ความหมายของ E-Education (การเรียน/การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์)

E-Education (การศึกษา/การเรียนอิเล็กทรอนิกส์) คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีสติปัญญา และความเอื้ออาทร เพื่อรองรับการพัฒนาและการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในเศรษฐกิจแห่ง ความรู้  
e-Education (การเรียน/การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) คือ การพัฒนาและความรู้ (Knowledge) และประยุกต์ใช้สารสนเทศ (Information) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

E-Education (การเรียน/การ ศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) คือ การส่งเสริมให้มีการพัฒนา การประยุกต์ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการสร้าง ต่อยอดจากเดิม และเผยแพร่ความรู้ต่างๆ

ในส่วนของการให้บริการ E-Education (การศึกษา/การเรียนอิเล็กทรอนิกส์) คือ เครื่องมือที่ช่วย สถาบันการศึกษา องค์การจัดการศึกษา ตลอดจนผู้ศึกษาหรือผู้เรียน ลดค่าใช้จ่าย จากการใช้บริการผ่านเครือข่าย ช่วยให้ข้อมูลและการบริการที่ทันสมัย รวดเร็ว อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา

ในแง่การสื่อสาร E-Education (การเรียน/การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) คือ การส่งข้อมูลสื่อการศึกษา และการ
บริการ เช่น e-Courseware (บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์) , ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และการชำระลงทะเบียนเรียนผ่าน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ (Computer) โดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)

ระบบและกระบวนการ E-Education (การศึกษา/การเรียนอิเล็กทรอนิกส์) คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการจัดระบบการศึกษา (Education System) เป็นไปอย่างอัตโนมัติจนเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย เป็นการทำงานตามขั้นตอนของ (Workflow)  
E-Education (การศึกษา/การเรียนอิเล็กทรอนิกส์) เปลี่ยนแปลงโลกการศึกษา ได้แก่

E-Education (การเรียน/การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) สร้างรูปแบบของความร่วมมือทางการศึกษาหรือเครือข่ายการศึกษาที่หลากหลายขึ้น

E-Education (การเรียน/การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) ทำให้เกิดแรงผลักดันในการจัดการศึกษารูปแบบแปลกใหม่มากขึ้น

E-Education (การศึกษา/การเรียนอิเล็กทรอนิกส์) ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร

สร้างช่องทางการขยายการศึกษามากขึ้น

เกิดการทำงานภายใต้ Concept (คอนเซปต์) มหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมทางการศึกษาตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ลดช่องว่างการแข่งขันระหว่างองค์กรหรือสถาบันการศึกษาทั่งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

ทำให้องค์กรสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ต้องปรับตัวทั้งในด้านการบริหาร

การจัดการองค์กร รวมไปถึงวิธีการดำเนิน

ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจการศึกษามากขึ้น

สร้างรูปแบบของความร่วมมือทางการศึกษาหรือเครือข่ายการศึกษาที่หลากหลายขึ้น

ทำให้เกิดแรงผลักดันในการจัดการศึกษารูปแบบแปลกใหม่มากขึ้น

E-Education (การเรียน/การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) เอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียน

E-Education (การเรียน/การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) สามารถ รับข้อมูลการศึกษาที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจหลากหลายแง่มุม เช่น รายละเอียดของหลักสูตร ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน รวมถึงยังสามารถให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษานั้นๆได้โดยตรงอีกด้วย

E-Education (การเรียน/การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) สามารถคัดเลือกและเปรียบเทียบคุณภาพราคา และยังประหยัดเวลาเนื่องจากไม่ต้องเดินทาง

E-Education (การศึกษา/การเรียนอิเล็กทรอนิกส์) ได้รับความสะดวกในการศึกษา เพราะสามารถศึกษาอยู่ที่บ้านหรือที่ใดๆทั่วโลกที่มีอินเตอร์เน็ต (Internet)

                    E-Education (การศึกษา/การเรียนอิเล็กทรอนิกส์) เป็นตลาดการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเลือกซื้อสินค้าความรู้และบริการการศึกษาจากแหล่งต่างๆทั่วโลก

ความหมายของ Innovation(นวัตกรรม)

           นวัตกรรม”  หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

          “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย

        Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)

ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้

                    1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย

                    2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่

                    3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

               กิดานันท์  มลิทอง (2540 : 245)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

    โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา

                ราตรี สายเส็น  นวัตกรรมหมายถึง    การกระทำต่างๆ ที่นำเอาทรัพยากรต่างๆ มาทำให้เกิดขีดความสามารถใหม่ๆ ในทางที่ดีขึ้น

ความหมายของ technology (เทคโนโลยีสารสนเทศ )

เทคโนโลยี

            เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology และมีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ย่อว่า IT 

            สุชาดา กีระนันท์ (2541) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้าร่วมกัน ในกระบวนการจัดเก็บสร้าง และสื่อสารสนเทศ 

            ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญสองสาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 

            โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะครอบคลุมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผลสืบค้น ส่งและรับข้อมูลในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกและค้นคืน เครือข่ายสื่อสาร ข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม รวมทั้งระบบที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

            ปัจจุบันคำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” หรือ เรียกสั้นๆว่า “ไอที”(IT) นั้นมักนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางเกือบทุกวงการล้วนเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเกือบทั้งสิ้น หรืออาจเรียกว่าโลกแห่งยุคไอทีนั้นเอง   ในความเป็นจริง คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น ประกอบด้วยคำว่า “เทคโนโลยี” และคำว่า “สารสนเทศ” มารวมกัน โดยแต่ละคำมีความหมายดังต่อไปนี้

             เทคโนโลยี (Technology)

            คือการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ไห้เกิดประโยชน์ที่ข้องเกี่ยวกับการผลิต การสร้าง วิธีการคำนวณ และรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ได้มีในตามธรรมชาติ โลกแห่งเทคโนโลยีในยุคนี้ ทำให้มนุษย์ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันมากมายนับไม่ถ้วน

            สารสนเทศ (Information)

            คือผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบ (raw data) ด้วยการรวบรวมผลข้อมูลดิบจากแหล่งต่างๆและนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มข้อมูล การเรียงลำดับ ข้อมูล การคำนวณ และสรุปผล จากนั้นก็นำมาเสนอในรูปแบบของรายงานที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านของชีวิตประจำวันข่าวสาร ความรู้ด้านวิชาการ และธุรกิจ

             ดังนั้นเมื่อนำคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศมารวมกัน จึงได้ความหมายที่กว้างมากเพราะเมื่อนำมารวมกันเป็นคำว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็จะหมายถึงเทคโนโลยีเพื่อใช้กับการจัดการสารสนเทศซึ่งหมายรวมถึงเทคโนโลยีการผลิต การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์และเผยแพร่ การสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุน การปฏิบัติงานด้านสารสนเทศอื่นๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ ประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวโดยสรุปว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่สำคัญๆ อยู่ 2 สาขาด้วยกัน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม

ความสำคัญของเทคโนโลยี

            ครรชิต มาลัยวงศ์ (2541) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญ ดังนี้

                 1. สามารถจัดเก็บข้อมูลจากจุดเกิดได้อย่างรวดเร็ว

                 2. สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมากๆไว้ใช้งานหรือไว้อ้างอิงการดำเนินงานหรือการตัดสินใจใดๆ

                 3. สามารถคำนวณผลลัพธ์ต่างๆได้รวดเร็ว

                 4. สามารถสร้างผลลัพธ์ได้หลากหลายรูปแบบ

อ้างอิง

http://www.uplus-solution.com/...

http://benjamas22.212cafe.com/...
https://sites.google.com/site/tiktucksiriporn/khwam-hmay-laea-khwam-sakhay-khxng-thekhnoloyi


หมายเลขบันทึก: 673932เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2019 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2019 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท