การพยากรณ์


การพยากรณ์ หมายถึง การคาดคะเนหรือประมาณการเหตุการณ์หรือสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลในอดีตหรือปัจจุบันตลอดจนวิจารณญาณ ความรู้ ประสบการณ์ของบุคคล เพื่อประโยชน์ในการช่วยให้การตัดสินใจมีความถูกต้อง โดยเริ่มจากการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในอดีตมาเข้ากระบวนการพยากรณ์ด้วยเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสม จะทำให้ได้ผลจากการพยากรณ์ที่น่าเชื่อถือ สามารถใช้ในการวางแผนต่างๆ ตั้งแต่ การจัดทำงบประมาณ จัดสรรทรัพยากรให้ทุกส่วนขององค์การอย่างทั่วถึงและเหมาะสม โดยเฉพาะด้านต่างๆ ทางธุรกิจ เช่น ด้านการตลาด การกำหนดเป้าหมายของแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกันทั้งระบบ ตั้งแต่ วัตถุดิบ การผลิต การบริหารสิ้นค้าคงคลังและการจัดซื้อ การบริหารแรงงาน กระบวนการการผลิตและการจัดตารางการผลิต การกำหนดกำลังการผลิต การเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับการผลิต คลังเก็บสินค้า ศูนย์กระจายสิ้นค้า ด้านการเงิน รวมถึงด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อใช้ในการควบคุมกิจกรรมของฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด ตัวอย่างเช่น การพยากรณ์ยอดขาย จะต้องประมาณการจำนวน หรือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่บริษัทจะขายได้ โดยมีหลักการคาดการณ์หรือคาดคะเน เช่น คำนวณจากผลการสำรวจตลาด จำนวนประชากรที่เป็นเป้าหมายของสินค้าและบริการของบริษัท ความ คิดเห็นของบุคคลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกบริษัท ดังนั้นการพยากรณ์จึงมีประโยชน์ต่อองค์กรในทุกระดับ อาจจะสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้1. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณเพื่อจัดสรรทรัพยากรให้ทุกส่วนขององค์การ อย่างทั่วถึงและเหมาะสม ช่วยในการกำหนดตารางการใช้ทรัพยากรให้ปัจจุบันและทันต่อสภาวการณ์2. ทำให้องค์การสามารถเสาะแสวงหาทรัพยากรอื่นๆมาเพิ่มเติมจากพื้นฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน3. ทำให้ทราบความต้องการขององค์กรเพื่อประโยชน์ในการวางแผนดำเนินงานเชิงรุก สอดคล้องกับความต้องการในอนาคตเพื่อการวางแผน สามารถจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ กำลังคน และ ทรัพยากร ได้อย่างเหมาะสม4. ช่วยในการควบคุมคุณภาพการดำเนินงานให้มีความต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ 5. ใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน6. ใช้บริหารและกำหนดทรัพยากรบุคคล เพื่อช่วยในการควบคุมกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร การพยากรณ์ที่ดีต้องเป็นการพยากรณ์ที่รวดเร็ว แม่นยำ และสามารถทราบทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้ จะทำให้การดำเนินการต่างๆ สามารถแก้ไขสถานการณ์ หรือ เพิ่มโอกาสที่ดีในอนาคตได้ จึงควรพิจารณาองค์ประกอบที่ดีส่งผลให้การพยากรณ์มีความแม่นยำ ประกอบไปด้วย 1. ระบุวัตถุประสงค์ในการนำผลการพยากรณ์ไปใช้อย่างชัดเจน และช่วงเวลาที่ต้องการในการพยากรณ์ เพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในการพยากรณ์ 2. การรวบรวมข้อมูลควรดำเนินการอย่างมีระบบ สามารถจำแนกชนิดและลักษณะของข้อมูลได้อย่างชัดเจน เพียงพอ และ ถูกต้องตามความเป็นจริงอย่างต่อเนื่อง เพราะข้อมูลเปรียบเสมือนปัจจัยหลักในการวิเคราะห์ตามวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะข้อมูลนั้น 3. การกำหนดนิยามเฉพาะของตัวแปรที่ใช้หรือเกี่ยวข้องในการพยากรณ์ รวมถึงข้อจำกัด ผลกระทบที่มีต่อการพยากรณ์ 4. การตรวจสอบความแม่นยำในการพยากรณ์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาวการณืในช่วงเวลาต่างๆ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง การตรวจสอบความแม่นยำในการพยากรณ์เป็นระยะจะเป็นตัวชี้วัดถึงวิธีการที่เหมาะสม 5. การพยากรณ์ที่ดีจะต้องง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้ สร้างความเข้าใจที่ตรงกันทั่วทั้งองค์กร การพยากรณ์มีเป้าหมายที่แตกต่างกันตามลักษณะและการนำไปใช้ อาจจะแบ่งรูปแบบการพยากรณ์โดยพิจารณาจากหลักการต่อไปนี้ 1. แบ่งตามระยะเวลาที่ใช้ในการพยากรณ์ (Forecasting time horizons)
1.1 การพยากรณ์ 1 หน่วยเวลาล่วงหน้า (Immediate – Term Forecasting) เป็นการพยากรณ์ที่มีช่วงเวลาน้อยกว่า 1 เดือน โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับกลางและระดับต่ำ เป้าหมายของการพยากรณ์จะมุ่งเพื่อการปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นมากกว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีการพยากรณ์ที่มีช่วงเวลาน้อยกว่า 1 เดือน เพื่อใช้วางแผนปฏิบัติงาน เป็นการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน 1.2) การพยากรณ์ระยะสั้น (short – range forecasting) เป็นพยากรณ์ที่มีช่วงอยู่ระหว่าง 1-3 เดือน ใช้สำหรับการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดตารางการผลิตสายการประกอบหรือการใช้แรงงาน เหมาะกับสินค้ารายชนิด ใช้เพื่อการวางแผนจัดซื้อ จัดตารางการผลิต จัดการสต็อค มอบหมายงาน เพื่อใช้วางแผนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล หรือสินค้าแฟชั่น ใช้พยากรณ์แต่ละสินค้าแยกเฉพาะ เพื่อใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดตารางการผลิตสายการประกอบหรือการใช้แรงงาน ในช่วงเวลาแต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน หรือแต่ละไตรมาส หรืออีกนับหนึ่งคือการพยากรณ์ระยะสั้นใช้ในการวางแผนระยะสั้น นิยมใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลา

 		1.3) การพยากรณ์ระยะปานกลาง (medium – range forecasting)	เป็นการพยากรณ์ช่วงเวลาระหว่าง 3 เดือนถึง 2 ปี ใช้พยากรณ์ทั้งกลุ่มของสิ้นค้าหรือยอดขายรวมขององค์การ เพื่อใช้ในการวางแผนด้านบุคลากร การวางแผนการผลิต การจัดตารางการผลิตรวม การจัดซื้อและการกระจายสินค้า ระยะเวลาที่นิยมพยากรณ์คือ 1 ปี เพราะเป็นหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี 3 เดือน – 2 ปี เหมาะกับการพยากรณ์สินค้าทั้งกลุ่ม วางแผนการขาย แผนกระจายสินค้า แผนการผลิตครึ่งปี – ทั้งปี และการจัดวางงบประมาณ พยากรณ์อยู่ในช่วง 3 เดือน - 2 ปี เพื่อใช้ในการทำแผนการผลิตหลัก จัดหาทรัพยากรต่าง ๆ  1.4) การพยากรณ์ระยะยาว (long – range forecasting) เป็นการพยากรณ์อยู่ในช่วง 2 ปีขึ้นไป เพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ กำหนดทิศทางขององค์กร มักใช้สำหรับการพยากรณ์ภาพรวมทั้งบริษัท เช่น การออกสินค้าใหม่  การวางแผนกลยุทธ์การผลิต หรือวางแผนธุรกิจใหม่ การวางแผนกำลังการผลิตและการจัดการกระบวนการผลิตในระยะยาว การพยากรณ์ระยะยาวใช้ในการวางแผนระยะยาวควรใช้การวิเคราะห์ถดถอย  2. แบ่งตามลักษณะสภาพแวดล้อมภายนอก  	การพยากรณ์ทางเทคโนโลยี (technological forecasting) 	การพยากรณ์ทางเศรษฐกิจ (Economic forecasting) 	การพยากรณ์ความต้องการซื้อ (demand forecasting) 3. แบ่งตามเทคนิคการพยากรณ์ 	 การพยากรณ์แบบไม่มีหลักการ (informal forecasting technique) 	 การพยากรณ์แบบมีหลักการ (formal forecasting technique) 	แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ1. การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (qualitative forecasting)2. การพยากรณ์เชิงปริมาณ (quantitative forecasting)
หมายเลขบันทึก: 673931เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2019 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2019 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท