รู้เรื่องวันเป็งปุ๊ดหรือ ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนตอนที่1กับสุภัชชา.แกมนาค


รู้เรื่องวันเป็งปุ๊ดหรือ ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนตอนที่1กับสุภัชชา.แกมนาค

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน และ กำลังนั่ง


ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนหรือวันเป็งปุ๊ดเป็นประเพณีเก่าแก่ตามความเชื่อของชาวล้านนาดั้งเดิมคะมีความเป็นมาเป็นร้อยกว่าปีแล้ว เป็นวัฒนธรรมล้านนาที่เป็นการผสมผสานระหว่างขนบธรรมเนียมของไทยลื้อ ที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า และไทยลื้อจีนใต้ ผนวกกับวัฒนธรรมชาวไทยใหญ่ ในรัฐฉานของพม่า จึงทำให้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันค

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังยืน


วันเป็งป๊ดจะตรงกับคืนวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธเวลาเที่ยงคืนคะ ซึ่งประชาชนจะจัดเตรียมอาหารแห้งไปทำบุญที่วัดเวลาหลังเทียงคืนของวันอังคาร คือ 0.00 นาฬิกาถือว่าเป็นวันใหม่คือวันพุธชาวเชียงรายจะมายืนรอใส่บาตรตั้งแต่หน้าวั
ดมิ่งเมืองแถวหอนาฬิกาเพื่อรอพระสงฆ์ออกมาบิณฑบาตรแล้วใส่บาตรกันทั้งสองฝากฝั่งทางเรียงรายตามแนวที่พระสงฆ์บิณฑบาตรเดินผ่านคะ ซึ่งถือเป็นการระลึกถึงพระมหาอุปคุต ซึ่งบางปีอาจมีหลายวัน แต่ต้องตรง วันเพ็ญ วันพุธ
เป็งพุธ หรือ เป็งปุ๊ด ทางล้านนาจะออกเสียง พ.พาน เป็น ป.ปลา จึงเรียกว่า เป็งปุ๊ด คำว่า เป็ง มีความหมายถึงพระจันทร์เต็มดวง เดือนเพ็ญ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันศีลหรือ
วันพระ วันเดือน ปีใดที่วันขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันพุธ นั่นคือ วันเป็งปุ๊ด
ชาวพุทธเชื่อกันว่าจะมีพระอรหันต์ที่ชื่อพ
ระอุปคุต ออกมาบิณฑบาตรโปรดสัตว์ เมื่อเริ่มเข้าเวลาของวันพุธ คือตั้งแต่เวลา 00.00 น. ไปจนถึงก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น ผู้คนจะพากันใส่บาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล ผู้ใดที่ได้ใส่บาตรท่านจะได้บุญและโชคดีสูงสุด เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า พระมหาอุปคุตเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งที่มีมหาอิทธิฤทธิ์ สามารถ ดลบันดาลโชคลาภวาสนา ได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติใต้สะดือทะเล แล้วแปลงกายเป็น สามเณรน้อยออกมาโปรดสัตว์โลก หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระมหาอุปคุต บุคคลนั้นถือว่าเป็นผู้มีบุญ จะมีโชคลาภวาสนาร่ำรวย และบังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตคะ

ในภาพอาจจะมี Ganesh Noi Ganesh, กำลังยืน, กลางคืน และ สถานที่กลางแจ้ง
ในภาพอาจจะมี 2 คน, รวมถึง สุภัชชา แกมนาค, คนที่ยิ้ม, สถานที่ในร่ม
ในภาพอาจจะมี 3 คน, รวมถึง สุภัชชา แกมนาค, ผู้คนกำลังยืน
หมายเลขบันทึก: 673733เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2019 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2019 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท