ชีวิตที่พอเพียง 3564. มายาคติเรื่องผู้สูงอายุและสังคมสูงอายุ



วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ผมไปร่วมประชุมกลุ่มสามพราน    มีการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะเรื่อง รับมือสังคมสูงวัย จัดการได้โดยชุมชน นำเสนอโดยคุณกรรณิการ์ บันเทิงจิตร อดีตรองเลขาธิการ สช.  และ อ. กาญจนา ทองทั่ว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  

สาระสำคัญคือการปฏิรูประบบเพื่อสุขภาวะ รองรับสังคมสูงวัย    เน้นปัจจัยสี่ คือ สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะ    เน้นกลไกการทำงานในพื้นที่ ๖ กลไก คือ  (๑) สภาองค์กรชุมชนและสวัสดิการชุมชน  (๒) จตุพลัง ได้แก่ อปท., ท้องที่, หน่วยงาน, ชุมชน  (๓) สมัชชาสุขภาพจังหวัด  (๔) พชอ.  (๕) กขป.  (๖) สถาบันการศึกษา    เน้นการจัดการโดยชุมชน 

ผู้นำเสนอย้ำว่า ประเด็นผู้สูงอายุ กับสังคมสูงวัยเป็นคนละเรื่องกัน    ผมตีความว่า เป็นเรื่อง micro   กับเรื่อง macro   

มายาคติเรื่องผู้สูงอายุที่กล่าวกันในที่ประชุม  เริ่มโดย นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ คือ   ความผิดพลาดในการเหมารวม ว่าผู้สูงอายุ (ประเทศไทยหมายถึงอายุเกิน ๖๐   ในหลายประเทศหมายถึงอายุเกิน ๖๕) ทั้งหมดเป็นภาระต่อสังคม    เป็นคนที่ทำประโยชน์ไม่ได้    เป็นภาระอย่างเดียว    ซึ่งไม่จริง    

นพ. วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย  บอกว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยมีประมาณ ๑๑ ล้านคน    เพียงประมาณร้อยละ ๑๐ ที่ติดบ้านติดเตียง อีกร้อยละ ๙๐ ยังช่วยตัวเองได้    และส่วนหนึ่งยังหารายได้  หรือทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้ 

นพ. สุวิทย์ บอกว่า คำกล่าวเกี่ยวกับผู้สูงอายุในที่ต่างๆ มีไม่น้อยที่เป็นการ discriminate และสร้าง stigma แก่ผู้สูงอายุ    ว่าเป็นภาระแก่สังคม    ซึ่งมีส่วนจริง แต่ไม่มาก     และเป็นการละเลยส่วนที่ผู้สูงอายุทำประโยชน์แก่สังคมได้  

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๒  


หมายเลขบันทึก: 673086เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2019 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2019 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

An anecdote to light up another area of aged care:

สุดรันทด ตา-ยาย ยากจนไม่มีจะกิน ยังใจบุญเก็บหมา แมว ถูกทิ้ง มาเลี้ยงจำนวนมาก – https://www.thaipost.net/main/detail/50095

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท