ปัจจัยด้านอายุในการเรียนรู้ทางภาษา


โพสต์อันนี้มาจากบทที่ 5 ในหนังสือคู่มือที่สุดยอด ของ Jack C. Richards ในหนังสือ Language Teaching (2015) ฉันต้องการที่จะสรุปสิ่งที่ Richards เขียนเกี่ยวกับปัจจัยด้านอายุในการเรียนรู้ภาษาต่อมาฉันจะให้ความคิดเห็นว่าสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อการสอนในชั้นเรียนอย่างไร

มักมีคำกล่าวว่าเด็กๆน่าจะเรียนภาษาได้อย่างรวดเร็วและทรงประสิทธิภาพมากกว่าผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามผู้ใหญ่ก็มีข้อได้เปรียบดังที่เราจะเห็นต่อไป

ในยุค 1970 มีทฤษฎีว่าความสำเร็จของเด็กเกิดขึ้นมาจากแนวคิดเรื่องช่วยเวลาวิกฤต (critical period) สำหรับการเรียนรู้ภาษา (ก่อนวัยหนุ่มสาว pre-puberty) เมื่อผู้เรียนผ่านช่วงนี้ไป การเปลี่ยนแปลงในสมอง ย่อมทำให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่ยากขึ้น หนังสือหลายเล่มจึงมีทฤษฎีว่าเด็กๆสมควรจะได้รับการเรียนรู้ภาษาอื่นๆในทันที (ข้ออ้างนี้ตอนยังใช้อยู่โดยผู้บริหารที่ให้เรียนตั้งแต่วัยเด็ก)

แต่โชคร้ายเป็นอย่างยิ่ง มีงานวิจัยจำนวนมากที่ใช้ทฤษฎีนี้เป็นฐานกลับไม่สามารถยืนยันมันได้ นั่นคือ เราไม่สามารถยืนยันว่าเด็กๆจะเรียนได้ดีกว่าผู้ใหญ่ แน่นอนว่าเด็กๆสามารถออกเสียงได้ดี ในขณะที่ผู้ใหญ่จะมีสำเนียงภาษาของตนเอง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกที่อธิบายว่าเหตุใดเด็กๆจึงเรียนรู้ภาษาได้อย่างง่ายๆ ในสภาพจริง เด็กๆมีแนวโน้มในเรื่องแรงจูงใจที่จะเรียนในระดับสูง พวกเขาได้รับตัวป้อน (input) ระดับเดียวกันหรือสูงกว่า และยังมีการฝึกฝนอีกด้วย การเรียนรู้ภาษาในระดับนี้ย่อมได้รับการยอมรับจากเพื่อน และความพึงพอใจจที่ได้สื่อสารในระดับที่ตนเองรู้เรื่อง สำหรับเด็กที่โตกว่านี้หรือผู้ใหญ่ ปัจจัยอย่างเดียวย่อมไม่ได้รับเลย ดังที่ Dornyei (2009) ได้ชี้ มีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการได้รับภาษาที่สองที่ประสบผลสำเร็จ (second language acquisition) อายุอาจไม่ใช่หนึ่งเดียวที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างที่ได้รับการบันทึกไว้ถึงการเรียนรู้ภาษาของเด็กที่ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่มีผู้ใหญ่ที่ประสบผลสำเร็จได้

ผู้ใหญ่ก็มีข้อดีในหลายๆแง่ เช่น นักเรียนที่เป็นผู้ใหญ่มีความสามารถในการเรียนคำศัพท์ และมีทักษะทางสติปัญญาดีกว่าเด็กๆ ผู้ใหญ่สามารถเรียนเรื่องการวิเคราะห์และการสะท้อนตัวตน (reflectively) พวกเขาสามารถเรียนด้วยตนเองได้ พวกเขาสามารถเรียนรู้และการประยุกต์ใช้กฎและกระสวน (pattern) (และอาจมีความต้องการเฉพาะในเป็นแรงจูงใจ เช่น การเรียนรู้เพื่อความต้องการทางอาชีพ)

ประเด็นเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อการสอนในชั้นของเรา?

มีแนวโน้มที่ฉันจะเป็นนักปฏิบัตินิยมในเรื่องวิธีสอน และเดินทางสายกลาง ประสบการณ์ส่วนตัวในการสอนโรเรียนมัธยมในประเทศอังกฤษสอนฉันว่าเราควรเอาข้อดีของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ระดับเบื้องต้น คืออายุ 11 ปีหรือต่ำกว่าสามารถที่จะเรียนเรื่องการออกเสียงได้อย่างถูกต้อง นี่คือเป็นโชคของคุณครู ประสบการณ์ในการสอนผู้ใหญ่พบว่าการออกเสียงค่อนข้างยาก

ถึงแม้ว่ามีงานวิจัยเสนอว่าเราไม่ควรสอนไวยากรณ์ เพราะผู้เรียนรับรู้กระสวนไวยากรณ์ด้วยตัวของพวกเขาเอง และมีบางกฎเป็นลำดับที่พยากรณ์ได้ และพวกเขาอาจพัฒนาการใช้ไวยากรณ์ภาษาที่ 1 มาใช้ในภาษาที่ 2 (interlanguage) แต่ฉันต้องการจะพูดว่าในบริบทที่ไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ที่เด็กๆเห็นภาษาที่ 2 น้อยมากนอกห้องเรียน ดังนั้นฉันเลยไม่ได้บังคับให้เด็กต้องดำเนินหรือใช้ภาษาให้ถูกหลักไวยากรณ์ ฉันไม่มีความเชื่อว่านักเรียนมัธยมจะรับรู้ไวยากรณ์ได้ดีเหมือนเด็กๆ หลังจากที่ค้นคว้ามาหลายปี ลางสังหรณ์ของฉันคือสมองโต้ตอบกับตัวป้อนอันหลายหลายแบบซับซ้อน ที่มีบางตัวป้อนเห็นได้ชัดเจน และบางตัวป้อนก็ซับซ้อน และต้องไปเจอด้วยตนเอง (exposure)

ในความเป็นจริง เส้นทางเดินของตัวป้อนที่ยกระดับภาษา (comprehensive input) จะครอบคลุมผู้เรียนตลอดหลายปี แต่อย่าหวังผู้เรียนจะส่งผลลัพธ์ที่รวดเร็วให้กับครู ความรู้สึกของฉันคือ เมื่อนักเรียนเข้าถึงระดับกลางและสูง การใช้ภาษาหรือสภาวะจุ่มตัว (immersion) ในตัวป้อนที่ยกระดับภาษาจะมาถึงพวกเขาด้วยตนเอง (มีครูบางคนอาจคิดตรงกันข้าม) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยไม่สนับสนุนความคิดอันนี้ หากเธอต้องการให้ลูกศิษย์ใช้ภาษาได้ถูกต้อง เธอก็ต้อนเน้นไปที่ภาษาเฉพาะอย่างในรูปของงฟอร์มของภาษา เช่นการสอนกฎทางไวยากรณ์ หรือให้ตัวป้อนอย่างกับน้ำไหล ที่มีตัวอย่างที่เป็นกระสวน (patterned examples) และอนุญาตให้นักเรียนสังเกตกระสวนและสรุปกฎได้ด้วยตนเอง

ดังนั้นหากต้องสอนเด็กที่อายุต่ำกว่า 11 ฉันจะสอนที่เน้นเรื่องรูปแบบของภาษาเป็นหลัก แต่ก็เสริมด้วยตัวป้อนที่เป็นกระสวนไปด้วย แต่มีจำนวนน้อยกว่ารูปแบบของภาษา บ่อยครั้งที่นักเรียนต้องการจะรู้ว่าภาษาทำงานอย่างไร และมีหลักฐานที่เพียงพอสำหรับวรรณกรรมที่นักเรียนใช้ภาษาแบบโจ่งแจ้ง (explicit knowledge) กับภาษากำกวม (language input) กล่าวในอีกแง่หนึ่ง พวกเขาสามารถเรียนรู้กระสวน และฝึกปฏิบัติภาษาที่ใช้ได้จริง ความรู้เชิงประจักษ์ (declarative knowledge) สามารถที่จะเป็นความรู้เชิงกระบวนการได้ (procedural)

สมควรพิจารณาบริบทด้วย (context) จุดมุ่งหมายของชั้นเรียนคืออะไร? การทดสอบแบบใดที่เธอกำลังเตรียม? วัฒนธรรมของโรงเรียนคืออะไร? จุดแข็งในฐานะที่เป็นครูของเธอคืออะไร? (ครูหลายคนขาดทักษะทางภาษาศาสตร์ จนทำให้ไม่สามารถเสนอสิ่งที่ถูกต้อง หรือตัวป้อนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในการออกเสียงได้) นักเรียนของเธอมีลักษณะอย่างไร? อะไรคือเจตคติในการเรียนรู้ภาษาที่สอง?

โดยสรุป ทั้งเด็กเล็กๆ และผู้ใหญ่มีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาที่เป็นธรรมชาติแบบเดียวกัน แต่ในแต่ละกลุ่มมีข้อดีที่แตกต่างกัน ในชั้นมัธยมศึกษา เราสามารถจะใช้ข้อดีที่มีอยู่เพื่อทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จได้

แปลและเรียบเรียงจาก

Language Teacher Toolkit. The age factor in language learning.

https://frenchteachernet.blogspot.com/2018/11/the-age-factor-in-language-learning.html

หมายเลขบันทึก: 671783เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2019 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม 2019 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท