TF Intl HEAL [1] การเดินทางเริ่มต้นสู่การเรียนรู้


Day1

ฉันออกเดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พร้อมทีมนักวิจัย เป็นการเดินทางที่ไม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึกตื่นเต้นหรือแปลกใหม่อะไรสำหรับฉันมากนัก ก็เพียงมีแค่ว่าฉันร้างลาการเดินทางเช่นนี้เว้นวรรคช่วงเวลานานหลายปีเท่านั้นเองแต่ทักษะและประสบการณ์เดิมๆ ก็ยังคงมีอยู่ สิ่งที่น่าสนใจที่เพิ่มขึ้นคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มมากขึ้นและทันสมัยมากขึ้นลดการใช้คนน้อยลงตามสนามบินต่างๆ 

เมื่อไปถึงสิงคโปร์ ดูเหมือนจะคลาดกันกับคนที่มารับ อาจเนื่องด้วยการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษสำเนียงไทยและภาษาอังกฤษสำเนียงจีน และความเข้าใจผิดของฉันเองกับการนัดหมาย แต่ก็รอไม่นานก็ได้เจอกัน สิ่งหนึ่งที่น่าตื่นเต้นสำหรับฉันคือ การได้เจอคนอีสานทำงานอยู่ที่สนามบิน และคนลาวที่พูดภาษาลาวพอสอบถามแล้วคือ เป็นนักธุรกิจลาวที่เดินทางไปมาระหว่างประเทศลาวและสิงคโปร์

การเดินทางไปครั้งนี้ต้องชื่นชมน้องแอนในการจัดการเรื่องตั๋วเครื่องบินได้ในราคาถูกของการบินไทยทำให้ได้รับบริการที่ดีมาก และนั่งสบายๆ ระยะเวลาก็ไม่นานมาก อ่านหนังสือจบไปหนึ่งเล่ม กระบวนการตรวจคนเข้าเมืองใช้เวลาไม่นาน ที่นี่ไม่ได้ใช้วีซ่า แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบรวดเร็วก็คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้โดยเฉพาะในเรื่องการสแกนใบหน้าและลายนิ้วมือ ทำให้ลดขั้นตอนหลายๆ อย่างไปได้มาก

รถที่มารับ และสถานที่ที่ทาง TEMASEK Foundation รับรองค่อนข้างดี เป็นระดับห้าดาวพักสะดวกสบาย เลือกได้ว่าจะพักคู่หรือพักเดี่ยว ส่วนใหญ่ก็พักเดี่ยว เมื่อมาวิเคราะห์ cost ที่ใช้ไปสำหรับแต่ละบุคคลก็ค่อนข้างมีมูลค่าสูงมาก สะท้อนให้เห็นว่าเขาให้ความสำคัญต่อการสร้างคน สร้างงาน สร้างปัญญา 

มาถึงวันแรกกว่าจะเข้าที่พักก็มืด

การปรับตัวมีไม่มากเพราะเวลาต่างๆ กันกับประเทศไทยเพียงแค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้นเอง

รุ่งเช้า

ตามกำหนดนัดหมายเขามารับเช้ามาก และพิธีเปิดตลอดจนการเติมองค์ความรู้และแนวคิดต่างๆ ดำเนินไปอย่างเข้มข้น ยิ่งได้ฟังแนวคิดแล้วสำหรับฉันชอบมาก ทำให้ได้เห็นภาพการจัดการเรียนรู้ ฉันได้เขียนอนุทินเป็นระยะรวบรวมไว้

[1]

This morning we have a workshop.

Temasek Foundation aside from being interested in our research Also supports our learning as well.

เป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ดีมาก 

สิ่งที่ได้สัมผัสคือ ที่นี่มีศูนย์สำหรับการทำวิจัยทางด้านสุขภาพชัดเจน และใช้วิจัยเป็นฐานในการพัฒนาระบบและองค์กร 

จากที่ได้ดูโปรแกรมการเรียนรู้แล้ว

เป็นการจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ แล้วให้ลงมือปฏิบัติผ่านการทำวิจัย และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ฉันได้สะท้อนคิดถึงการมาครั้งนี้ว่า

นี่คือวาสนาที่อยู่ๆ เราก็ได้ทุนมาเรียนหนังสือในระดับ international ซึ่ง

เป็นการศึกษาที่น่าสนใจมากสำหรับฉัน

[2]

Temasek Foundation Healthcare Executives in Asia Leardership(HEAL) Innovation Programme

ฟังในสิ่งที่เขานำเสนอ

แล้วเกิดแรงบันดาลใจ Inspiration เพราะทุกอย่างเต็มไปด้วยสายตาแห่งการพัฒนาและมองทุกอย่างเป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

สิ่งที่ได้สะท้อนคิดคือ

การทำวิจัยของเขาไม่ใช่คือ ความก้าวหน้าทางตำแหน่งหากแต่คือ หัวใจของการพัฒนาอย่างแท้จริง

[3]

Transformative Shifts in Health Care

::

Dr. Eugene Fidelif Soh

Chief Executive Officer

Tan Tock Seng Hospital

...ขณะที่นั่งเรียนฉันตั้งคำถามต่อตนเองว่า

บ้านเราก็สามารถทำได้ และเราก็เริ่มทำสิ่งต่างๆ ตามมุมพื้นที่ของแต่ละองค์กร แต่เป็นการทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มเล็กๆ 

ปัญหาและอุปสรรคของบ้านเราคืออะไร

ทำไมกระบวนการพัฒนาจึงเกิดขึ้นได้ยาก

อยู่ที่องค์กร

นโยบาย...หรือตัวบุคคล

อะไรจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ผ่านกระบวนการพัฒนาด้วยพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ของมนุษย์...

"สายตาแห่งการเปลี่ยนแปลง"

[4]

Introduction of Project Teams and their Project

: Yasothon Hospital by Maneerat Santadkha

I am happy to participate in TF Intl – Healthcare Executives in Asia Leadership (TF Intl HEAL) Innovation Programme

[5]

ช่วงบ่ายวันนี้

เป็นการเรียนรู้ในเรื่อง Innovating Through Lean and Service Disign

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก

ที่นี่ในเรื่องของ Innovation และการทำ Research เขาทำกันอย่างจริงๆ จังๆ และผลลัพธ์ที่ได้ออกมานำมาสู่การปรับปรุงพัฒนาในงาน

สิ่งที่น่าสนใจคือ การนำมาสู่ Implement

ปรังปรุงและพัฒนางาน

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า ที่นี่จึงเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ Learning Organization และเป็นที่น่าสนใจที่น่ามาเรียนรู้ร่วมด้วย

นวัตกรรมที่เขาพัฒนาขึ้นมันถูกตั้งคำถาม

และนำมาซึ่งการเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดหลักการ ที่มาที่ไป (GAP) นำมาสู่ Design Thinking , Design Innovation

[6]

Relationship Time

Share & Leaning

: ได้เดินทางด้วย Cable Car ไปกับทีมนักวิจัยจากประเทศกัมพูชา

บทสนทนาระหว่างทางคือเรื่องเกี่ยวกับการทำงานและการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศกัมพูชา

ทุกคนน่ารักและอัธยาศัยดี

พร้อมต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Open Mind

[7]

ตอนนี้ที่สิงคโปร์สี่ทุ่ม

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเลี้ยงต้อนรับเพิ่งเลิก ชื่นชมทางผู้จัด TEMASEK Foundation ที่ให้คุณค่าและความสำคัญ ต่อการสร้างความรู้ของบุคคล

กิจกรรมจัดให้แต่ละทีมวิจัยนั่งคละกันเพื่อจะได้คุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมองและความคิด เป็นบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สนุกสนาน ที่โต๊ะฉันนั่งมีทีมวิจัยจากกัมพูชา ซึ่งคุยเก่งมากและอัธยาศัยดี 

21.46

[8]

วันแรกผ่านไป

Temasek Foundation Healthcare Executives in Asia Leardership(HEAL) Innovation Programme

เป็นการจัดโปรแกรมการเรียนรู้ที่เต็มที่และสุดยอดมาก ทาง TF สนับสนุนทุนออกค่าใช้จ่ายให้ยกเว้นการเดินทาง ซึ่งผู้บริหารองค์กรท่าน นพ.สมศักดิ์ เชาว์ศิริกุลให้ความกรุณาต่อการมอบคุณค่าในการสนับสนุนทีมวิจัย NICU มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้

สิ่งที่ได้ตกผลึกในตนเองคือ

- องค์กรที่มีการนำผลงานวิจัยมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

- การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยความสำคัญของบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมศักยภาพแห่งการเรียนรู้ได้เต็มที่

- การให้คุณค่าต่อการพัฒนาวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยียังเป็นเรื่องที่ประเทศไทยให้การสนับสนุนน้อยอยู่ถ้าสามารถพัฒนาให้มีทุกอณูขององค์กรทั่วประเทศจะช่วยทำให้ลดความขัดแย้งให้เบาบางลงได้

-การจัดการความรู้ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะนำไปสู่วงรอบแห่งการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง 

...

วันนี้ทั้งวัน

ฉันนั่งถอนหายใจอยู่หลายครั้ง

กับความรู้สึกหลายๆ อย่าง แต่ความรู้สึกที่เกิดปรากฏมากก็คือ ฉันโชคดีที่ได้มีโอกาสพาทีมวิจัยเล็กๆ เดินทางมาถึงวันนี้

กาลเวลาเป็นดั่งตระแกรงร่อน

และงวดเข้าทุกที ท้ายที่สุดจะตกผลึกให้เหลือสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่

07-08/10/62

คำสำคัญ (Tags): #TF Intl HEAL#km#r2r#TEMASEK Foundation
หมายเลขบันทึก: 671003เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2019 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2019 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท