Collimator


ในการใช้งาน ควรเปิดลำรังสีให้เหมาะสม นอกจากจะช่วยลดปริมาณรังสีในการตรวจแล้ว ยังช่วยให้มองเห็นรายละเอียดต่างๆในภาพได้ชัดเจน

ตลอดสัปดาห์นี้
ทำสิ่งดีๆ เดินตามรอยเท้าพ่อมอบสาระความรู้...สู่ชุมชนรังสี
นิยาม คำศัพท์ ทางรังสี วันละ

คำนำไปใช้ นำไปปฏิบัติเพื่อสร้างโอกาสพัฒนาในหน่วยงานเพื่อเกิดประโยชน์กับผู้รับบริการ ครับ

ขอเสนอ คำว่า... Collimator


คอลลิเมเตอร์ (collimator) ในเครื่องมือทางรังสีวิทยา หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการปรับขนาดของลำรังสีเอกซ์

อุปกรณ์นี้ โดยส่วนใหญที่ด้วย ตะกั่ว (Lead : Pb) เลขอะตอม 82
เนื่องจาก ตะกั่ว มีคุณสมบัติในการกำบังรังสี


ในหลอดเอกซเรย์ จึงมีการติดตั้งแผ่น ตะกั่ว เรียงเป็นแนวยาว บริเวณทางออกของลำรังสี มีการออกแบบให้แผ่นตะกั่ว สามารถเคลื่อนที่ ทำให้สามารถปรับขนาดรูปร่างของลำรังสีได้ตามขนาดหรือพื้นที่ที่ต้องการ



ในการใช้งาน...

เพื่อใช้รังสีให้เหมาะสมและลดความเสี่ยงภัย ผู้ปฏิบัติงานจะเลือกควบคุมลำรังสีให้เหมาะสมกับอวัยวะที่ทำการตรวจ


จากตัวอย่าง การถ่ายภาพรังสีบริเวณหัวเข่าในหุ่นจำลอง

ภาพ A เปิดพื้นที่ฉายรังสีกว้าง มากกว่า ภาพ B

ในวงกลมสีแดง แสดงค่า s-value ภาพ A มี ค่า น้อยกว่า ภาพ B

หมายถึง ค่าปริมาณรังสีที่แผ่นรับภาพได้รับใน ภาพ A สูงมากกว่า ภาพ B ซึ่งแสดงให้เห็นว่า...

การใช้พื้นที่รับรังสีกว้าง มีปริมาณรังสีที่ตกกระทบอวัยวะและแผ่นภาพ มาก

รังสีที่มีปริมาณ มาก ก็... เกิดความเสี่ยงภัยจากรังสี ต่อผู้รับบริการ มากขึ้นได้ 




จากการทดลอง เมื่อใช้แบบจำลอง

เพื่อประเมินคุณภาพของภาพ จากการใช้พื้นที่ฉายรังสีที่แตกต่างกัน พบว่า...

ภาพ A เปิดพื้นที่ฉายรังสีกว้าง มากกว่า ภาพ B

เมื่อประเมินคุณภาพ เกี่ยวกับ High and Low contrast resolution พบว่า...

ภาพ B มี High and Low contrast resolution ที่ดีกว่า ภาพ A

ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากรังสีกระเจิง (scatter radiation) ในภาพ A มีมากกว่า ภาพ B รังสีกระเจิงที่เกิดขึ้นในภาพ A ไปรบกวนการมองเห็นข้อมูลต่างๆในแบบจำลอง จึงทำให้ภาพสูญเสียรายละเอียดบางส่วนไป



สำหรับ ในเครื่อง Fluoroscopy

การเปิดใช้งานด้วย Collimator ขนาดที่แตกต่างกัน

ทำให้เกิดพื้นที่แสดงภาพที่แตกต่างกัน

จะเกิดปริมาณรังสีที่ออกมาจากหลอดเอกซเรย์ได้แตกต่างกัน

(ดังตัวอย่างข้อมูลในตาราง)

FOV กว้าง ปริมาณรังสี ที่ออกมาจะมาก ดูจากค่า DAP ที่ปรากฎ

ดังนั้น...

ในการใช้งาน ควรเปิดลำรังสีให้เหมาะสม นอกจากจะช่วยลดปริมาณรังสีในการตรวจแล้ว ยังช่วยให้มองเห็นรายละเอียดต่างๆในภาพได้ชัดเจน



สำหรับ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

มีการออกแบบให้ collimator มีการติดตั้ง 2 ตำแหน่ง คือ

(1) ตำแหน่งที่หนึ่ง จะอยู่ระหว่างหลอดเอกซเรย์กับผู้ป่วย หรือ คอลลิเมเตอร์ที่อยู่ก่อนที่รังสีจะไปสู่ผู้ป่วย  (pre-patient collimators) เมื่อรังสีออกจากหลอดเอกซเรย์ คอลลิเมเตอร์ส่วนนี้จะควบคุมให้ลำรังสี มีลักษณะบานกว้างคล้ายๆพัด (fan beam) ลำรังสีชุดนี้จะเป็นส่วนที่ผ่านผู้ป่วย(ผู้รับบริการ) ไปกระทบอุปกรณ์รับรังสี พื้นที่ลำรังสีที่ใช้จะสอดคล้องกับความกว้างของพื้นที่การตรวจที่กำหนดหรือต้องการ

สำหรับในเครื่องซีทีชนิดสแกนได้ครั้งละไสลด์ (single slice) คอลลิเมเตอร์จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำหน้าที่ควบคุมลำรังสีให้สอดคล้องกับความหนาของชั้นที่ตัด (slice thickness)

 (2) ตำแหน่งที่สอง จะอยู่ระหว่างผู้ป่วยกับอุปกรณ์รับรังสี หรือ คอลลิเมเตอร์หลังผู้ป่วย (post-patient collimators) คอลลิเมเตอร์ส่วนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมลำรังสีให้ตกกระทบในพื้นที่ของอุปกรณ์รับรังสีที่กำหนด รวมถึงช่วยตัดลำรังสีกระเจิง (scatter radiation) ด้วย


Collimator มีประโยชน์ ในการควบคุมลำรังสี ลดรังสีกระเจิง ช่วยลดปริมาณรังสีในการตรวจแล้ว ยังช่วยให้มองเห็นรายละเอียดต่างๆในภาพได้ชัดเจน

ดังนั้น... ผู้ใช้งาน ผู้ควบคุมเครื่อง ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการสร้างภาพที่ดี มีคุณภาพ และลดความเสี่ยงภัยในการที่ได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น





หมายเลขบันทึก: 670439เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2019 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2019 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท