วิชาการสนองนโยบาย กับ วิชาการเสนอทางเลือกใหม่



ในการประชุมคณะกรรมการ think tank ของสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๒    มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรื่องการ transform มหาวิทยาลัยกันอย่างกว้างขวาง    โดยผมมีความเห็นว่า ต้องเปลี่ยนจากการทำงานวิชาการแนว diffusion   ไปเป็นแนว engagement    ตามที่เสนอไว้ในหนังสือ มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต (๑)

มีการเสวนากันว่า แนวทางหนึ่งคือ engage กับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับกระทรวง อว.    และกับแผนพัฒนาประเทศ ๒๐ ปี ที่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย   

ในการเสวนามีการยกตัวอย่าง ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ และคณะเศรษฐศาสตร์ มอ. เข้าไปดำเนินการวิชาการ หนุนชาวสวนยางให้ปลูกพืชเสริมในสวนยางเพื่อเพิ่มรายได้   

ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ เสนอว่า การทำงานวิชาการตั้งมีทั้งเพื่อผลระยะสั้น และระยะยาว     ผมเสนอเพิ่มว่า ต้องทั้งทำงานวิชาการหนุนการบรรลุนโยบายของรัฐบาล และเพื่อเสนอทางเลือกใหม่เป็นมาตรการระยะยาว     เพราะในหลายกรณีนโยบายรัฐบาลมุ่งเพียงผลระยะสั้น   

อย่างกรณีเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะที่ผมเป็นลูกชาวสวน    ผมรู้ว่าชาวสวนจำนวนมากมีคำถามในใจว่า จะยังมีอาชีพทำสวนยางดี หรือหันไปทำการเกษตรอย่างอื่นดีกว่า    พูดง่ายๆ ว่าเลิกทำสวนยางดีกว่าไหม    นั่นคือคำถามวิจัยที่นักวิชาการของ มอ. ในฐานะมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ควรพิจารณาทำวิจัยหาคำตอบ  

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ก.ย. ๖๒

บนรถยนต์เดินทางไปสถานีโทรทัศน์ NBT


หมายเลขบันทึก: 670257เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2019 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2019 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท