บทความวิจัย


บทความวิจัยชื่อรายงานการวิจัย :การเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาค ลุ่มน้ำโขงผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักรแก้ว นามเมือง, ผศ.คนอง วังฝายแก้ว วุฒิกร พิทักษ์รัตนพงศ์, บุรพิมพ์ พึ่งศรัทธาธรรมส่วนงาน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ปีงบประมาณ : ๒๕๖๑ทุนอุดหนุนการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยบทคัดย่อการศึกษาวิจัยการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ กระบวนการ และเสนอแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษา ของพระสงฆ์และชุมชนในกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์ และผู้นำชุมชนในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ได้แก่ ในประเทศไทย ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ และต่างประเทศ ประกอบด้วย เชียงตุง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เชียงรุ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และเชียงทอง ประเทศสาธารณรับประชาธิปไตยประชาชนลาว ตัวแทนกลุ่มอารยธรรมละ ๑๐รูป/คน รวม ๕๐รูป/คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง และบันทึกข้อตกลง (MOU.)การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า๑. ลักษณะการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงประกอบด้วย วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของเครือข่าย กลุ่มเครือข่าย กิจกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระบบการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน องค์ประกอบเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ๒. กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีกระบวนการดำเนินงาน ๕ ขั้น ได้แก่ การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างโดยการวิจัยการก่อตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมรวมทั่งการทำข้อตกลง (MOU) การจัดระบบบริหารและการจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการประเมินศักยภาพของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม๓. แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย การดำเนินงานเครือข่าย โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เป็นองค์กรหลักในการดำเนินการก่อตั้งและประสานงาน เทคนิควิธีการในการจัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ การดำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ การดำเนินกิจกรรมร่วมกัน การสร้างพันธะสัญญา และการระดมทรัพยากรมาใช้ได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามเครือข่ายการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จได้ต้องประกอบไปด้วย องค์ประกอบ ๑๐ ประการ ตั้งแต่การมีแกนนำสมาชิกที่เข้มแข็ง จนถึงมีระบบการติดตามและประเมินงานของเครือข่าย

คำสำคัญ:ชุมชน, เครือข่ายการเรียนรู้,การข้ามวัฒนธรรม,กลุ่มอารยธรรม 5 เชียง, ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง,ความเป็นพลเมือง

Research Title : Strengthening a Network of cross – cultural Learning Civilization of 5 Chiang with Strenthening Citizenship in the Mekong Sub - Region.Researcher : Assistant Professor Chakkaew Nammuang, Assistant Professor Kanong wangfaikaew,
Wuttikorn Pitagrattanapong Buiapim PeungsattaatamSection/Department : Mahachulalongkornrajavidyalaya Phayao Campus.Year : 2018Research Grant : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.AbstractThe purposes of this research were to study characters, process and strengthening cross-cultural learning network guidelines in Buddhism, cultures, community and monksknowledges in 5 Chiang Civilization Group. Data were given by monks and community leaders in 5 Chiang Civilization Group both in Thailand and foreign countries. Chiangrai, Chiangmai Thailand, Chiantung Republic of the Union of Myanmar,ChiangThong (Luang Prabang ) Lao People’s Democratic Republic, and Chiangrung Xishuangbanna Autonomous Region Yunnan People’s Republic of China. The sampling groups were 10 from each of 5 Chiang Civilization Group both monks and people. The total numbers were 50. The instrument used in this research were structural interviews and Memorandum of Understanding (MOU). Data analysis used were qualitative and content analysis. The results of the research were as follows :-1. Strengthening cross-cultural learning network characters of monks and community in 5 Chiang Civilization Group and citizenship in the Mekong Sub - Region. To consist of : objects or goal, network group, cross-cultural learning network activities, communication system and Cooperation, cross-cultural learning network elements and cross-cultural learning network model.2. Strengthening cross-cultural learning network process of monks and community in 5 Chiang Civilization Group and citizenship in the Mekong Sub - Region. Were shown 5 steps of working process as : the study of using research in strengthening, founding and doing MOU of cross-cultural learning network, cross-cultural learning network management system, cross-cultural learning network assessment3. Strengthening cross-cultural learning network guidelines of monks and community in 5 Chiang Civilization Group and citizenship in the Mekong Sub – Region were operated by Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phayao campus in founding and cooperating, learning network techniques, processing the operations, establishing commitment, and gathering sufficient resources. However, learning network would be accomplished by 10 basic Element included with strong members, leadership, assessment and following up network system.บทนำกระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง ประกอบไปด้วย เชียงใหม่ และเชียงราย ประเทศไทย เชียงตุง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เชียงทอง (หลวงพระบาง) ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเชียงรุ้ง เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑล ยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้ง ๕เชียงมีความสัมพันธ์กันทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงนี้ มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีเป็นการจัดการเรียนรู้ในอันที่จะสืบทอดวัฒนธรรมความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ก่อเกิดการสืบสานอุดมการณ์และความเป็นพลเมืองที่มีพลังความคิด พลังความรัก และพลังความสามัคคี อยู่ร่วมกันระหว่างชาติบนพื้นฐานของการเคารพกติกาของสังคมของชนชาตินั้นๆ เคารพในความเป็นอยู่ และเคารพในระบอบการปกครองของชนชาตินั้นๆกระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง มุ่งการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑เกี่ยวกับความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมในการเป็นพลเมืองที่ดี ตามแนวพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติ การทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกันทั้ง ๕เชียง เช่น วันวิสาขะบูชา การตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ระหว่าง ๕ เชียง เป็นต้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมตามปัจจัย ๔ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง โดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อมประสาน ให้เกิดกิจกรรมดังกล่าว นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการศึกษาสงฆ์ เช่น การศึกษาระดับโรงเรียนปริยัติธรรม การศึกษาบาลี การศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยผ่านมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมทั้งการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกันโดยผ่านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีแนวคิดเกี่ยวกับเครือข่าย (Network) เป็นแนวคิดและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร ตลอดจนชุมชนให้เกื้อกูลเชื่อมโยงกันโดยที่แต่ละฝ่ายต้องมีความเท่าเทียมกัน มีอิสระต่อกันสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง และพร้อมที่จะปฏิบัติงานร่วมกันของสมาชิกเครือข่ายบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน การมีความสัมพันธ์จะเป็นแบบเพื่อนร่วมงาน ประสานความช่วยเหลือกันและเป็นความสัมพันธ์เชิงแนวราบมากกว่าที่จะเป็นแนวดิ่งดังนั้นเครือข่ายจึงเป็นสัมพันธภาพของมนุษย์กับมนุษย์ที่ครอบคลุมทั้งการให้และการรับและการเอื้ออาทรต่อกันดังนั้นคณะผู้วิจัย จึงมุ่งศึกษาการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕เชียงกับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมุ่งเน้นศึกษาการเสริมสร้างเครือข่ายเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม การศึกษาสงฆ์ และความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม จากพระสงฆ์และชุมชน รวมทั้งแนวทางในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีในกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง เพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างชนชาติอย่างสันติสุข การมีกิจกรรมร่วมกันโดยผ่านเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมดังที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นนอกจากนั้นผลของการดำเนินกิจกรรมยังส่งเสริมในด้านธุรกิจการท่องเที่ยว สินค้า OTOP หรือ SME ของประเทศอีกด้านหนึ่งด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย๑. เพื่อศึกษาลักษณะการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษา ของพระสงฆ์และชุมชนในกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง ๒.เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง๓.เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงขอบเขตของการวิจัย๑. ขอบเขตด้านเนื้อหาศึกษาเนื้อหาจากเอกสาร ตำราทางวิชาการ โดยมุ่งประเด็นที่จะศึกษา ดังนี้๑) ลักษณะการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม การศึกษาสงฆ์ และความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม จากพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง๒) กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม การศึกษาสงฆ์ และความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม จากพระสงฆ์และชุมชน รวมทั้งแนวทางในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีในกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง๓) แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม การศึกษาสงฆ์ และความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม จากพระสงฆ์และชุมชน รวมทั้งแนวทางในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีในกลุ่มอารยธรรม ๕เชียงของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม 5 เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง๒. ขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ตัวแทนคณะสงฆ์ ตัวแทนวัฒนธรรม และปราชญ์ท้องถิ่น ของ ๕เชียงๆ ละ ๑๐รูป/คน รวม ๕๐รูป/คนบทสรุป๕.๒.๑ ลักษณะการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษา ของพระสงฆ์และชุมชนในกลุ่มอารยธรรม ๕เชียง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ โดยมีลักษณะเหมือนกับตาข่าย หรือใยแมงมุมสมาชิกของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม มีลักษณะบางประการร่วมกัน เช่น อาศัยอยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีแม่น้ำโขงเป็นตัวเชื่อมโยงและใช้สายน้ำร่วมกัน ส่วนใหญ่มีการนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก มีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน มีลักษณะของการใช้ภาษาที่ใกล้เคียงกัน และสามารถสื่อสารทางภาษาได้อย่างเข้าใจและรู้เรื่องซึ่งจากลักษณะร่วมกันดังกล่าว สามารถที่จะดำเนินการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ได้ สมาชิกของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม มีลักษณะบางประการที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา เผ่าพันธุ์ ฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้ทำให้เครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมมีความหลากหลายและมีพลังโดยเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายแนวคิด การมีลักษณะหลายมิติ นั่นคือเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเป็นระบบความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ที่มีหลายลักษณะได้แก่ มีความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ ในลักษณะของการมี แม่น้ำโขงเป็นสายน้ำที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน การคมนาคมที่สารถติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วทางทางบก ทางเรือ และทางอากาศ การมีเขตแดนติดต่อเชื่อมโยงกันทุกประเทศ ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนา ความสัมพันธ์ทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาสงฆ์ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการศึกษาพบว่า การศึกษาปริยัติธรรมของเชียงรุ้งใช้หลักสูตรพระปริยัติธรรมของไทย โดยแปลเป็นภาษาไทลื้อโบราณ รวมทั้งพระสงฆ์จากเชียงทอง (หลวงพระบาง) เชียงตุง และเชียงรุ้งเข้ามาศึกษาในประเทศไทย ความสัมพันธ์ในด้านวัฒนธรรมที่ความคล้ายคลึงกันทั้งพิธีกรรและความเชื่อ มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน เช่น มีความเชื่อในพระพุทธศาสนาควบคู่กับความเชื่อเรื่องผี เป็นต้น ความสัมพันธ์ในลักษณะเหล่านี้สามารถสร้างเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีพลังการมีลักษณะเป็นการรวมพลังหรือศักยภาพของสมาชิกของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเข้าด้วยกันโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในด้านพุทธศาสนา การศึกษา และวัฒนธรรม โดยนำศักยภาพของผู้นำฝ่ายสงฆ์และผู้นำชุมชนของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกิจกรรมที่สำคัญๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๕ เชียง เทศมหาชาติ ๕ เชียง สลากภัตต์ ๕ เชียง การจัดการศึกษาสงฆ์และชุมชน ๕ เชียง และการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมมารวมกันด้วยความสมัครใจ มองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเป็นแบบกัลยาณมิตร คือ มีความสมานฉันท์ สามัคคีมีความเอื้ออาทร สนับสนุนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ขัดแย้ง ไม่ชิงดีชิงเด่นกันสมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง มีพระพุทธศาสนา การศึกษา และวัฒนธรรมเป็นสายใยสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และพร้อมที่จะร่วมกิจกรรมอยู่เสมอสมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน กิจกรรมของเครือข่ายมีหลายกิจกรรมก็ได้ ได้แก่ การเยี่ยมเยียนกัน การประชุมสัมมนาร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กัน การจัดเวลาสรุปบทเรียนร่วมกัน การปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาบางอย่างร่วมกัน และการสนับสนุนช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่สมาชิกร่วมกันดำเนินการเป็นครั้งคราวหรืออย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมีความสัมพันธ์เท่าเทียมกัน สมาชิกของเครือข่ายเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมมีโครงสร้างความสัมพันธ์ที่เสมอภาคกันแบบแนวราบ คือไม่มีใครบังคับบัญชาแต่มีลักษณะเป็นหุ้นส่วนกัน มีอิสระในการดำเนินกิจกรรมของตนเอง การมีพันธะสัญญาร่วมกัน เครือข่ายมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างสมาชิกที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งข้อตกลงร่วมกัน (MOU) เป็นแนวทางในการดำเนินงานของเครือข่ายการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมมีลักษณะเป็นการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ระหว่างสมาชิกได้แก่ การติดสื่อสารผ่านการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ทางออนไลน์ เป็นต้น การบูรณาการเป็นการร่วมกันของสมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมในด้านต่างๆ ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมาย แผนงานและโครงการ กิจกรรม ทรัพยากร การบริหารจัดการ ผลประโยชน์ เป็นต้นอันเป็นการรวมระบบย่อยต่างๆ เข้าเป็นระบบใหม่ที่มีคุณภาพ มีพลังหรือศักยภาพที่มากกว่าเดิมเครือข่ายมีทั้งระดับบุคคล เป็นเครือข่ายในระดับพระสงฆ์หรือบุคคลในระดับชุมชนด้วยกันระหว่างกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ระดับกลุ่มเป็นความสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่มของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ระดับองค์กร เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรสงฆ์ และองค์กรระดับชุมชน ระดับสถาบัน เป็นความสัมพันธ์ของสถาบันสงฆ์ สถาบันการศึกษา และสถาบันภาครัฐ ระดับชุมชน เป็นความสัมพันธ์ในระดับชุมชนระหว่างกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ระดับจังหวัดระหว่างกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง และระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เครือข่ายเป็นเครือข่ายระดับกลุ่มกับกลุ่มขึ้นไป สมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมจะเป็นอิสระต่อกัน มารวมกันเมื่อดำเนินกิจกรรม และในการบริหารเครือข่าย การประชุมร่วมกันและจัดตั้งเป็นองค์กรร่วมกันมีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic) เครือข่ายเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม จะต้องมีระบบการทำงานที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง และเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน เครือข่ายมีลักษณะของการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกด้วยกันหรือระหว่างสมาชิกกับคนอื่นๆ เช่น ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่นอกเครือข่าย นักวิชาการสาขาต่างๆ การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสรุปบทเรียน การปรับปรุงข้อผิดพลาดที่ผ่านมา การจัดทำแผนและโครงการ/กิจกรรม กล่าวโดยสรุป เครือข่ายทุกประเภท ทุกแบบ ทุกเครือข่ายมีลักษณะร่วมกัน ๕ประการ ได้แก่ เป็นกลุ่ม องค์กร หรือบุคคลที่มาร่วมกันเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และความสนใจที่ตั้งขึ้นร่วมกันเป็นเวทีเพื่อกิจกรรมทางสังคม โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันดำรงอยู่ได้ยาวนาน ด้วยการสื่อสารแบบใดแบบหนึ่งที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่แบบเฉพาะกิจสมาชิกมีความรู้สึกผูกพันกับโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นมาร่วมกันและร่วมกันรับผิดชอบและมีฐานอยู่ที่ความเป็นเจ้าของร่วมกันและความมุ่งมั่นที่จะทำตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ร่วมกัน รวมทั้งเครื่องมือหรือวิธีการในการดำเนินการที่คิดไว้ร่วมกัน๕.๑.๒ กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมี ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ ๑ การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างโดยการวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวทางในการเสริมสร้างการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เพื่อกำหนดกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และแนวทางในการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ขั้นที่ ๒ การก่อตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมประกอบด้วย การทำข้อตกลง (MOU) ร่วมกันในการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เป็นผู้ดำเนินการและประสานงานหลัก เนื้อหาในข้อตกลงประกอบด้วยวัตถุประสงค์ในการทำข้อตกลง การจัดระบบบริหารและการจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และการลงนามข้อตกลง และสมาชิกของเครือข่าย ที่มีความพร้อมในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้วัฒนธรรม ของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ประกอบด้วย บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เป็นผู้ก่อตั้ง เป็นองค์กรหลักในการประสานงานในทุกๆ ด้าน คณะสงฆ์และชุมชนที่เป็นตัวแทนของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ลักษณะของสมาชิกเครือข่ายกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ในด้านภาษาและการสื่อสารมีภาษาที่สำคัญและนิยมใช้ในการสื่อสารและสั่งสอนธรรม ได้แก่ ภาษาล้านนา หรือตั๋วเมืองในด้านวรรณกรรมในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ทั้งด้านเนื้อหาที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาด้านค่านิยมที่มีต่อสังคมและวิถีชีวิตมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ในทางพระพุทธศาสนา กลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงมีความเชื่อในคำสอนของพุทธศาสนาเป็นหลักสำคัญ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต อีกทั้งใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงส่งผลต่อสังคมและวิถีชีวิตกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง มุ่งเน้นที่จะประกอบบุญกุศลให้ตนเองหลุดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เชื่อว่า พระพุทธศาสนายุคพระสมณโคดมจะสิ้นสุดเมื่อมีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ชาวกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงทำบุญเพื่อต่ออายุพระพุทธศาสนา โดยขณะเดียวกันก็เชื่อว่ามียุคพระศรีอริยเมตไตรยต่อเนื่องจากนั้น จึงทำบุญเพื่อขอให้ตนได้ไปเกิดเป็นพระหรือพระอรหันต์ในยุคนั้นด้านปฏิบัติ ความเชื่อ วัฒนธรรม จารีต และประเพณีมีลักษณะด้านวิถีปฏิบัติ ความเชื่อ และวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท และมีประเพณีเนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนาคล้ายคลึงกัน ประชาชนในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง มีอาชีพในการเกษตรเป็นหลัก และนับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ความสัมพันธ์และค่านิยมที่มีต่อสังคมและวิถีชีวิตของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง คล้ายคลึงกัน ก็เนื่องด้วยประชาชนส่วนใหญ่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา จึงมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนามากมาย เช่น พิธีทำบุญตานก๋วยสลาก (สลากภัตร์) พิธีทำบุญตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) พิธีทำบุญเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้นด้านสถาปัตยกรรม มีสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาคล้ายคลึงกัน ได้แก่ สถาปัตยกรรมที่เห็นเด่นชัดในอาณาจักรล้านนาในกลุ่ม ๕ เชียง คือสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ วิหารหลวง ซุ้มประตูโขง กุฏิ อุโบสถ หอกลอง หอคำ หอไตร เป็นต้น จะปรากฏตามวัดวาอารามต่าง ๆ ทั้งในเชียงใหม่ เชียงราย เชียงรุ่ง เชียงตุง และเชียงทอง ซึ่งวิถีปฏิบัติของคนในเชียงต่างๆ ที่เหมือนกัน คล้ายคลึงกันด้านการศึกษา พระสงฆ์ส่วนใหญ่ในกลุ่มอารยธรรม ๕ ได้เชียง ผ่านกระบวนการศึกษาเล่าเรียนทั้งการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี แผนกสามัญศึกษา และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผ่านมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในประเทศไทยและด้านการเมืองการปกครองซึ่งพบว่า มีระเบียบปฏิบัติในการปกครอง ดูแล รักษา ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนธรรม และศาสนกิจ คล้ายคลึงกัน ซึ่งพระพุทธศาสนาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากพระพุทธศาสนาใน ๕ เชียงเป็นนิกายเดียวกัน คือ นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยได้รับการเผยแผ่จากพระสงฆ์ล้านนาผ่านเมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง และเชียงทอง ขั้นที่ ๓ การจัดระบบบริหารและการจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม กลุ่มอารยะธรรม ๕ เชียง ยินดีและตกลงดำเนินการร่วมกันภายใต้กรอบ/แนวทางดำเนินงานใน ๑๐ ด้านได้แก่การจัดผังโครงสร้างของเครือข่าย (Network Structure) โดยจัดทำผังโครงสร้างของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงภายในเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารเครือข่าย ช่องทางการเชื่อมโยงและประสานงาน เพื่อให้สมาชิกของเครือข่ายและบุคคลภายนอกได้รู้และเข้าใจในโครงสร้างของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม บทบาทหน้าที่ของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและช่องทางในการติดต่อประสานงาน การกำหนดระเบียบของเครือข่าย (Network Organization) เป็นการให้สมาชิกมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับกฎระเบียบ กติกาหรือบรรทัดฐานทางสังคมของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง เพื่อใช้ปฏิบัติร่วมกันในเครือข่าย การกำหนดสถานภาพและบทบาทของสมาชิกเครือข่าย (Status and Rule) เป็นการจัดวางตำแหน่ง และหน้าที่รับผิดชอบให้แก่สมาชิกของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง อย่างชัดเจนตามความเหมาะสมการจัดระบบสารสนเทศ (Information System) เครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม มีระบบจัดเก็บฐานข้อมูลทั้งหมดของเครือข่าย และข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินงาน เพื่อให้สมาชิกได้เรียนรู้และนำไปใช้ปฏิบัติงาน โดยระบบสารสนเทศของเครือข่ายเป็นระบบที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เข้าถึงได้ง่ายและแพร่กระจายอย่างกว้างขวางการจัดระบบติดต่อสื่อสาร (Communication System) เครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมต้องมีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดี มีช่องทางในการแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความคิดให้แก่สมาชิก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านพระพุทธศาสนา การศึกษา และวัฒนธรรม การร่วมมือระหว่างสมาชิกและกับบุคคลทั่วไป การจัดระบบติดต่อสื่อสารของเครือข่าย ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยตรงตามกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา การศึกษา และวัฒนธรรม และการจัดตั้งองค์กรร่วม (Umbrella Organization) เพื่อเชื่อมโยงสมาชิกเข้าด้วยกัน เป็นต้นการจัดระบบการเรียนรู้ (Learning System) เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดกิจกรรมด้านพระพุทธศาสนา การศึกษา และวัฒนธรรม ระหว่างสมาชิกของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เช่น การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ การเรียนรู้จากการได้ปฏิบัติจริง การเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมร่วมกัน เป็นต้นการจัดระบบประสานงาน (Cooperation System) เครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง โดยดำเนินการจัดให้มีระบบประสานงานในรูปแบบการสื่อสารระบบเปิดและการสื่อสารแบบสองทาง การมีช่องทางในการประสานงานทุกส่วนงาน อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและต่อเนื่อง มีคณะกรรมการทำหน้าที่ประสานงาน มีการสร้างบรรยากาศการทำงานแบบสมานฉันท์และสอดคล้องกัน (Synchronize) เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างและขัดแย้งระหว่างสมาชิกเครือข่าย และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในระบบการประสานงานเครือข่ายการจัดระบบการวางแผน (Planning System) เครือข่ายการเรียนรู้ต้องมีระบบการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Participation Planning) คือ ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของเครือข่าย และมีส่วนร่วมในการนำแผนไปปฏิบัติต่อไปการจัดระบบพัฒนาสมาชิก การพัฒนาสมาชิกให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะดำเนินงานและดำรงรักษาเครือข่ายไว้ได้ โดยมีแนวทางในการดำเนินงาน เช่น จัดทำฐานข้อมูลของสมาชิกของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงและจัดให้มีส่วนงานรับผิดชอบในการพัฒนาสมาชิกของเครือข่ายโดยตรงเพื่อดำเนินการอย่างจริงจังและการจัดระบบติดตามและประเมินผลงาน (Evaluation) การติดตามและประเมินผลงานเป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม โดยประเมินผลลัพธ์บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดมีปัญหาหรืออุปสรรคปัญหาใดบ้างเครือข่ายการเรียนรู้จึงต้องจัดให้มีระบบติดตามและประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพขั้นที่ ๔ การดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของเครือข่าย การกำหนดรูปแบบของเครือข่าย การจัดทำแผนการดำเนินงานของเครือข่าย การดำเนินกิจกรรมร่วมกันของเครือข่าย การจัดหาสมาชิกของเครือข่าย เป็นต้นการดำเนินกิจกรรมของเครือข่าย เป็นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมร่วมกัน ประกอบด้วยกิจกรรมด้านพระพุทธศาสนา ได้แก่ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา เช่น ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนา มีการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้คัมภีร์โบราณ โบราณสถานและโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา ของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เป็นต้นกิจกรรมด้านวัฒนธรรมเชิงพุทธ มีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนามากมาย เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พิธีทำบุญตานก๋วยสลาก (สลากภัตร์) พิธีทำบุญตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) พิธีทำบุญเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เป็นต้น และกิจกรรมด้านการศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนทั้งการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี แผนกสามัญศึกษา และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผ่านมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในประเทศไทยและขั้นที่ ๕ การประเมินศักยภาพของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมในการประเมินศักยภาพของเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ให้พิจารณาได้ทั้งในแง่ปริมาณจำนวน หรือขนาดของเครือข่ายที่เข้าร่วม ในด้านคุณภาพ พิจารณาจากความหลากหลายของกลุ่มหรือองค์กรที่เข้าร่วม นอกจากนี้อาจพิจารณาจาก “ระบบ” ของการจัดการเครือข่ายองค์กรที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนยาวนานและ “ผลลัพธ์” ของการระดมสรรพกำลังขับเคลื่อนกิจกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนในการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดกับเครือข่าย การประเมินศักยภาพของเครือข่ายให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงปริมาณ สามารถใช้ได้กับการดำเนินงานของเครือข่าย ทำให้เกิดแนวคิดกว้างในระดับกิจกรรมของเครือข่าย กล่าวโดยสรุป การประเมินศักยภาพของเครือข่ายโดยทั่วไปอาจทำได้โดยการนำประเด็นจากองค์ประกอบความสำเร็จ และความเข้มแข็งของเครือข่าย มาสร้างหลักการ (เหตุผล) พร้อมกับกำหนดมุมมองอย่างไรก็ตามในการดำเนินงานจัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาจจะประสบปัญหาในด้านข้อจำกัดทางการเมือง ทั้งนี้เพราะเครือข่ายระดับชาติและเครือข่ายระหว่างประเทศต้องดำเนินการภายใต้ขอบเขตทางการเมืองของประเทศหรือภูมิภาคในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ที่มีลักษณะของระบบการเมืองที่ไม่เหมือนกัน ทั้งในด้านความไม่มั่นคงและการถูกควบคุม จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไปในการทำงานของเครือข่าย ในบางประเทศการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคลจะถูกมองด้วยความเคลือบแคลงสงสัย และการติดต่อกัน การแจกจ่ายจดหมายข่าว การทัศนศึกษา การร่วมประชุมเชิงปฏิบัติต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล การไม่มีความอดทนต่อการถูกกล่าวหาก็เป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน จึงเป็นเรื่องยากที่เครือข่ายจะกำหนดนโยบายของตนโดยปราศจากการขัดขวางจากรัฐบาล๕.๑.๓ แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของพระสงฆ์และชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เริ่มตั้งแต่การดำเนินงานของเครือข่ายที่ประกอบด้วย ผู้ดำเนินการจัดตั้งเครือข่าย โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยาเป็นผู้ประสานงาน และศูนย์กลางของเครือข่าย การใช้เทคนิควิธีการในการจัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ต้องใช้เทคนิควิธีการหลายประการจึงจะประสบความสำเร็จ เช่น การสร้างความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกเครือข่ายด้วยการจัดกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง อย่างต่อเนื่องการใช้แกนนำพระสงฆ์และชุมชน เป็นผู้ร่วมดำเนินการจัดตั้งเครือข่าย ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก เพื่อให้สมาชิกเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน และมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันไว้วางใจ เนื่องด้วยเกิดความแตกต่างกันในด้านระบอบการเมืองการปกครอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีต่อกันในระดับของกลุ่มภาคีเครือข่ายระดับล่างการเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมมากที่สุด ทั้งในเรื่องความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ไม่ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ผูกขาดในการเป็นผู้นำและการดำเนินกิจกรรมเพียงผู้เดียว และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อเผยแพร่ความรู้และการจัดกิจกรรมต่างๆเป็นต้น การดำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ เป็นการดำเนินงานจัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ๕ ขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของผู้ที่เกี่ยวข้อง สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และช่วงเวลาที่เหมาะสม การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐของแต่ละประเทศ การสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานเป็นสมาชิกและร่วมกันจัดตั้งเครือข่าย การจัดประชุมผู้สนใจเพื่อดำเนินการจัดตั้งเครือข่าย และการดำเนินกิจกรรมของเครือข่าย เพื่อบรรลุความสำเร็จร่วมกันการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมจะต้องดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยเสนอตัวอย่างตัวอย่างในการดำเนินการ ๕ กิจกรรม ได้แก่ (๑) พระพุทธศาสนากลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เป็นกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ในรูปของการสัมมนาชำระประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง มีการรวบรวมเป็นองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ โดยมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ ๑ เชียง เช่น เชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เป็นองค์กรรับผิดชอบหลัก เป็นต้น (๒) การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เป็นกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานร่วมกัน มีการสัมมนาและสงเคราะห์องค์ความรู้ด้านวิปัสสนากรรมฐานที่เป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง มีการรวบรวมเป็นองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ โดยมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ ๑ เชียง เช่น เชียงรุ้ง โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เป็นองค์กรหลัก(๓) การเทศมหาชาติกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เป็นกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเทศน์มหาชาติของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง มีกิจกรรมเทศน์มหาชาติของพระสงฆ์ทั้ง ๕ เชียง มีการสัมมนาองค์ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละแห่ง และมีการรวบรวมองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ โดยมีผู้รับผิดชอบ ๑ เชียง เช่น เชียงทอง (หลวงพระบาง) ซึ่งมีประเพณีเทศมหาชาติที่เรียกว่า “บุญผะเหวด” โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เป็นองค์กรหลัก (๔) การทำบุญสลากภัตกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เป็นกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำบุญสลากภัตของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง มีกิจกรรมทำบุญสลากภัตร่วมกัน มีการสัมมนาองค์ความรู้บรรณานุกรมกระมล ทองธรรมชาติ และคณะ, แบบเรียนหน้าที่พลเมือง, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิช, ๒๕๔๗.การพัฒนาชุมชน, กรม, คู่มือการบริหารกองทุนหมู่บ้าน, กรุงเทพมหานคร : ธันวาธุรกิจ, ๒๕๔๗.การศึกษานอกโรงเรียน, กรม. เอกสารเครือข่ายและการส่งเสริมเครือข่ายงานการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : กรมการศึกษานอกโรงเรียน, ๒๕๔๒.กิตติศักดิ์ ปรกติ, “ความสำคัญของพลเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตย”, เอกสารประกอบการอภิปราย,คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อัดสำเนา), มปท.), หน้า ๖.เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย, “กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สสำหรับการฝึกอบรมพนักงานในองค์การ” วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ๓ (๒) กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๙..เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, การจัดการเครือข่าย : กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย, ๒๕๔๓.กองเทพ เคลือบพานิชกุล, การใช้ภาษาไทย, กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๔๒.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. รายงานผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการระดมสรรพกำลังเพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๔๒.คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน, เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญากับการสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มและมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ณ โรงแรมรามาการ์เด้น, กรุงเทพฯ : วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๙.คณะอนุกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ด้านพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดี, ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๖๑, กรุงเทพมหานคร : สำนักนโยบายด้านพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๔.จุมพล หนิมพานิช, “สังคมและวัฒนธรรมไทย” ใน เอกสารการสอนชุดวิชามนุษย์กับสังคม หน่วยที่๑–๗, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๔.จำนง อดิวัฒนสิทธิ์, สังคมวิทยาตามแนวพุทธ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.ชัยรัตน์เจริญโอฬาร. (๒๕๔๐). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยและผลิตตำรามหาวิทยาลัยเกริก, ๒๕๔๐.ชยัอนนัต์ สมทุวณิช และ Rex Bloomfield, คู่มือการเรียนการสอนพลเมือง-พลโลก :การบูรณาการการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงตามแนวทางรัฐธรรมนญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,๒๕๔๕.ณัฐกร วิทิตานนท์, ““ห้าเชียง” ในเครื่องหมายคำถาม” ประชาไทย. วันอังคารที่ ๒๖ ธันวาคม๒๕๖๐.ดวงเดือน พันธุมนาวิน, ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล, กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.ตติยาพร จารุมณีรัตน์, “การบูรณาการการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมผ่านหลักสูตรการท่องเที่ยวในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจ กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์” วารสารการบริการและการท่องเที่ยว.๗ (๒) กรกฏาคม-ธันวาคม ๒๕๕๕. หน้า ๖๙.ถวิลวดี บุรีกุล, รัชวดี แสงมะหะหมัด, Eugenie Merieau, Michael Volpe, “ความเป็นพลเมืองใน ประเทศไทย (Citizenship in Thailand)”, สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ ๑๓เรื่อง ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย, กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๕๕.ทิพย์พาพร ตันติสุนทร, การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง, กรุงเทพมหานคร : สถาบันนโยบายศึกษา,๒๕๕๕.ธเนศวร์ เจริญเมือง, พลเมืองเข้มแข็ง, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพมหานคร : วิภาษา, ๒๕๕๑.ธีรพงษ์ แก้วหาวงษ์, กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข็มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม. ขอนแก่น :โครงการจัดตั้งมูลนิธิเสริมสร้างชุมชนเข็มแข็งชมรมนักวิชาการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ๒๕๔๔.ธีรศักดิ์ อัครบวร, กิจกรรมการศึกษา : เพื่อทรัพยากรมนุษย์และสังคมแห่งการเรียนรู้, กรุงเทพฯ :ก. พลพิมพ์, ๒๕๔๕.นงเยาว์ ชาญณรงค์, วัฒนธรรมและศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ ๔, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,๒๕๔๒.นันทิยาหุตานุวัตรและณรงค์หุตาวัตร. การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. ๒๕๔๖.นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ, รศ. ดร. มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ : บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด, ๒๕๕๐.บันเทิง พาพิจิตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สังคมวิทยา, กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๔๗.บูรพา, มหาวิทยาลัย, โครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ระยะที่ ๑, ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ๒๕๕๒.ประชิด สกุณะพัฒน์, วัฒนธรรมพื้นบ้านและประเพณีไทย, กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, ๒๕๔๖.ประเวศ วะสี, ประชาคมตำบลยุทธศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ศีลธรรมและสุขภาพ, พิมพ์ครั้งที่๒, กรุงเทพมหานคร : มติชน, ๒๕๔๑.ประสาท หลักศิลา, สังคมวิทยา, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, ๒๕๑๔.ปริญญา เทวานฤมิตรกลุ, การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง = Civic Education, กรุงเทพมหานคร:อักษรสัมพันธ์, ๒๕๕๕.ปานกิมปี, การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียนเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน.กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐.ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ, กระบวนการพัฒนาและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), ๒๕๔๓.พัฒนาสังคมและสวัสดิการและองค์กรทุนสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติ, กรม, ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง ๒๐ จังหวัด ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๕, กรุงเทพฯ : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๔๖.พระกัญจน์ กนฺตธมฺโม (แสงรุ่ง), การพัฒนาความเป็นพลเมืองดีตามหลักพระพุทธศาสนา,พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น), เครือข่าย ธรรมชาติ ความรู้และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร :สำนักงานเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.), ๒๕๔๗.พระสมุห์ชัชวาล ช่ำมะณี, บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนบริเวณชายแดนไทย-ลาวจังหวัดเลย, รายงานการวิจัย, สถาบันราชภัฏเลย, ๒๕๔๔.พัทยา สายหู, ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของสังคม, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๒๖.พิชัย ผกาทอง, มนุษย์กับสังคม, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.พิมพวัลย์บุญมงคลและคณะ, (๒๕๔๖). ศักยภาพประชาคมในการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก. นครปฐม : เจริญดีการพิมพ์, ๒๕๔๖.พิมพวัลย์ปรีดาสวัสดิ์และวาทินีบุญชะลักษี. การวิเคราะห์เครือข่ายสังคม. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๓๖.เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร, ศิลปวัฒนธรรมไทย, กรุงเทพฯ : วังอักษร, ๒๕๕๐.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, สำนึกไทยที่พึงปรารถนา, กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา, ๒๕๔๔.มงคลชาวเรือ. (๒๕๔๖). “การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อชุมชนตอนที่๑”วารสารพัฒนาชุมชน, ๔๒ (๑๐) ๒๕๔๖, หน้า ๒๘.มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ศูนย์, ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์, กรุงเทพฯ :ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗.ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๔๒. พิมพ์ครั้งที่๕. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๔๖.ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔, กรุงเทพมหานคร :บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จํากัด (มหาชน), ๒๕๕๖.ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาอังกฤษ-ไทย, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๒๔.เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงาน,พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, กรุงเทพมหานคร : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,๒๕๕๕.วรากรณ์ สามโกเศศ, “การศกึษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง”, มติชน, ฉบับวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๔.วิชาการ, กรม,คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองศีลธรรม : ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔.ศักดิ์ชัย นิรัญทวี, รายงานการวิจัยเอกสารการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี,กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีการพิมพ์, ๒๕๔๘.ศรีศักร วัลลิโภดม, พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๕.สัญญา สัญญาวิวัฒน์, ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๖.สนธยา พลศรี. เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,๒๕๕๐.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, สำนักงาน, หนังสือเรียนสาระการพัฒนาสังคม รายวิชาการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม สค๓๑๐๐๓ ระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย,กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๑.ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน,สำนัก.เอกสารแนวคิดแนวทางและกรณีตัวอย่างการดำเนินงานศูนย์ประสานของเครือข่ายองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ : เอที่เอ็นโปรดักชั่น, ๒๕๔๗.สภาพัฒนาการการเมือง, สำนักงาน, ประชาธิปไตยชุมชน กลไกขับเคลื่อนภาคพลเมืองเข้มแข็ง,กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๕๓.สมเดช นามเกตุ, การปลูกฝังทางวัฒนธรรม (Cultural Cultivation), ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานา, ๒๕๕๕.สานิตย์ หนูนิล, “การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Cross - cultural Management for Entering ASEAN Economic Community”วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,ปีที่ ๙ฉบับที่ ๒กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๘, หน้า ๑๗๘-๑๗.สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, มนุษย์กับสังคม, นนทบุรี : โรงพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๙.สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, เอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาไทย ๘ (คติชนวิทยา สำหรับครู)(Thai ๘) หน่วยที่ ๘-๑๕, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๒.เสรีพงศ์พิศ. เครือข่าย. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน, ๒๕๔๘.หอการค้าไทย, มหาวิทยาลัย, ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ๒๕๔๑.อัควรรณ์ แสงวิภาค, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. “กระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่มีความจำเป็นต่อการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี.อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์ และคณะ, การเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมระดับชุมชนในอาเซียน, รายงานการวิจัย.อเนก เหล่าธรรมทัศน์, การเมืองของพลเมือง : สู่สหัสวรรษใหม่, พิมพ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพมหานคร :โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, ๒๕๕๖.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, การเมืองภาคพลเมือง, พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๕๔.อนุชาติพวงสาลีและวีรบูรณ์วิสารทสกุล. ประชาสังคม : คำความคิดและความหมาย. พิมพ์ครั้งที่๒. กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, ๒๕๔๑.อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ รหัน แตงจวง และสุกัญญา นิมานันท์, ประสิทธิภาพของรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ด้วยสื่อบุคคล : กรณีศึกษาการเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในชุมชนชานเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ม.ป.ท., ๒๕๓๖.เอกวิทย์ ณ ถลาง, ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค : วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๐.อุดม เชยกีวงศ์, วิมล จิรโรจพันธ์ แลประชิต สกุณะพัฒน์, ศิลปะและวัฒนธรรมไทย,กรุงเทพมหานคร : แสงดาว, ๒๕๔๘.(๒) ภาษาอังกฤษ :Carter V. Good, Dictionary of Education, New York : McGrawhill Book, ๑๙๕๙.J.A. Banks, (Ed), Diversity and Citizenship Education : Global Perspectives,San Francisco, CA : John Wiley & Sons, ๒๐๐๔.J.S. Coleman, Resources for social change : Race in the United States, New York :WileyInterscience, ๑๙๗๑.Keith Faulks, Citizenship, (New York : Routledge, ๒๐๐๐.Oxford University, Oxford Advanced Learne’s Dictionary, ๔thEd, Oxford : OxfordUniversity Press, (First Edition for Thailand, ๑๙๙๔.Rogers M. Smith, Political Citizenship : Foundations of Rights in Handbook ofCitizenship Studies, edited by Engin F. Isin and Bryan S. Turner, SAGE,๒๐๐๒.Swan, W., Langford, N., & Varey, R. (๒๐๐๐). Viewing the corporate community as aknowledge network. Corporate Communication : An International Journal,๕ (๒), ๙๗-๑๐๖.Thomas, H. Marshall, Citizenship and social class, In B.S. Turner & P.Hamiton(Eds), Citizenship : Critical concept volume II, (New York : Routledge,๒๐๐๒.Van Steenbergen, (Ed), The condition of citizenship, London : Sage Publications,๑๙๙๔.Richard C. Remy, Handbook of Basic Citizenship Competencies, Virginia :Association for Supervision and Curriculum Development, ๑๙๘๐.(๓) เว็ปไซต์กระบวนการเรียนรู้”. แหล่งที่มา: https://www.novapizz.com/NovaAce/learning/learning_Process.htmสืบค้นเมื่อ ๔ เมษายน ๒๕๖๑.จินจุทา อิสริยพัช.“ประวัติศาสตร์ ๕ เชียง”.แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v= n5SmvJBeHw8ธันวาคม ๒๕๖๐.“ทฤษฎีการเรียนรู้ (Leaning Theory)”. แหล่งที่มา: https://www.novapizz.com/NovaAce/learning.htm สืบค้นเมื่อ ๔ เมษายน ๒๕๖๐.“แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้”. แหล่งที่มา:https://deep5292.wordpress.com/บทที่-2/2-5-แนวทางการบริหารจัดการ, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๔ธันวาคม ๒๕๖๐.ประเวศ วสี, “เส้นทางสู่ความเข้มแข็ง..การเมืองภาคพลเมือง”, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ,ออนไลน์, วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และสายชล ปัญญชิต, รูปแบบของเครือข่ายการเรียนรู้ทางสังคมในการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา. www.ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/viewFile/3811/3800>2013. หน้า ๑.อัควรรณ์ แสงวิภาค, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. “กระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่มีความจำเป็นต่อการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”. แหล่งที่มา:www.east.spu.ac.th/journal/booksearch/upload1347-04_cutural.pdf. สืบค้นเมื่อ ๖กันยายน ๒๕๕๙.

หมายเลขบันทึก: 667919เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2019 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2019 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท