บทความวิจัย (หลักสุจริต 3)


บทความวิจัย

ชื่อรายงานการวิจัย :การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต๓ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยาผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์คนอง วังฝายแก้วส่วนงาน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยาปีงบประมาณ : ๒๕๖๐ทุนอุดหนุนการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยบทคัดย่อการวิจัยเรื่องการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต๓ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ นโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ของนักการเมืองท้องถิ่น และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้แก่พระภิกษุจำนวน๕รูป ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๙ คน คือ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งหมด ๑๔รูป/คน ที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา และอำเภอแม่ใจโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆมาจัดหมวดหมู่แยกประเด็นและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ผลการวิจัยพบว่า๑.นโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ของนักการเมืองท้องถิ่นนโยบายการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของภาครัฐ ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินนโยบายเพื่อให้บริการสาธารณะตามพันธกิจ ๕ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาความมั่นคงและรักษาความสงบเรียบร้อย และการบริหารจัดการ ส่วนกลไกในการขับเคลื่อนในการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย แผนพัฒนา ๓ปี แผนพัฒนา ๔ ปี หรือแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีโครงการเป็นตัวขับเคลื่อนตามพันธกิจทั้ง ๕ด้าน การจัดทำโครงการ การดำเนินงานตามโครงการ การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานดำเนินโครงการโดยบุคลากรขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่ายภาคประชาชน สถาบันทางสังคมทุกภาคส่วน ดำเนินกิจกรรมผ่านวัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลต่อการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต๒. นโยบาย กลไก และการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นกับความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริตการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓การดำเนินนโยบายภายใต้กลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินการโดยบุคลากรขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตามพันธกิจขององค์กร ๕ด้าน ด้วยการกำหนดนโยบายเชิงจริยธรรม จัดทำแผนพัฒนาตามนโยบายที่กำหนด ตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และหน้าทีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่ายภาคประชาชน และสถาบันทางสังคม ผ่านกระบวนการทำประชาสังคม การดำเนินงานกิจกรรมหรือโครงการบนพื้นฐานของวัฒนธรรมองค์กรและวัฒนธรรมท้องถิ่น๓. ปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของกนักการเมืองท้องถิ่นแยกออกเป็น ๓กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ ๑ กลุ่มสภาพปัญหาด้านกายสุจริต ประกอบด้วยลักษณะจำนวน ๘ประการ ได้แก่ แหล่งบันเทิงมากขาดงบประมาณในการส่งเสริมสนับสนุนด้านจริยธรรมความไม่โปร่งใสไม่ปฏิบัติตามกติกา การใช้เงินในการเข้าสู่อำนาจ การทุจริตคอร์รัปชั่น ขาดการกลั่นกรองบุคลากร และนายกเทศมนตรีมีอำนาจมากเกินไป กลุ่มที่๒กลุ่มสภาพปัญหาวจีสุจริต ประกอบด้วยลักษณะจำนวน ๖ ประการ ได้แก่ ขาดความร่วมมือในองค์กร ไม่สามารถดำเนินการตามพันธะกิจ ขาดต้นแบบของภาวะผู้นำทางจริยธรรมการซื้อสิทธิขายเสียงในท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์นักการเมืองไม่เป็นแบบที่ดี และนักการเมืองไม่เป็นแบบอย่างที่ดี และกลุ่มที่๓กลุ่มสภาพปัญหาด้านมโนสุจริต ประกอบด้วยลักษณะจำนวน ๙ ประการ ได้แก่ ปัญหาไม่ให้ความสำคัญต่อจริยธรรม ขาดระบบในการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์ขาดจิตสำนึกต่อหน้าที่ วัฒนธรรมพวกพ้อง ปัญหาความเห็นแก่ประโยชน์ตนขาดการส่งเสริมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมขาดความรู้ด้านจริยธรรมและขาดภาวะผู้นำที่ดีResearch title :Strengthening the Social Responsibility of Local Politicians based on the principle ofSucarita(Uprightness) in Phayao provinceResearcher :Asst. Prof. KanongWanphaikaewAffiliation :Mahachulalongkornrajavidyalaya University, PhayaoCampusBudget year : ๒๐๑๗Research funding source :Mahachulalongkornrajavidyalaya UniversityAbstractThe research entitled “Strengthening Social Responsibility of Local Politicians based on the Principle of Sucarita (Uprightness) in Phayao Province” aimed to study and analyze policies, mechanisms and processes to strengthen social responsibility based on the Sucarita principle of local politicians and to study problems and barriers in strengthening social responsibility of local politicians based on the Sucarita principle.The research was conducted in the form of qualitative research by studying relevant documents and research and data gathered from in-depth interviews from the key informants and interview data from the expert group numbering ๑๔, including ๕ monks, ๕ local administrative organizations, namely the mayor, ๙ members, in the area of MuangPhayao district and Mae Chai District. Qualitative data collected from various data collection methods were taken to be categorized and classified according to issues and content analysis. The findings were as follows:๑. For policy, mechanism,and process to promote social responsibility based on the principle of Sucarita of local politicians, policies to strengthen social responsibility of the public sector, focusing on good country management result in local administrative organizations to implement policies in order to provide public services in accordance with ๕ missions, namely economics and infrastructure, social development, education and culture, natural resources and the environment, maintaining security and peace, and management. With regard to driving mechanism for enhancing the responsibility of local politicians, it consists of a ๓-year development plan, a ๔-year development plan or a local development plan along with a project to be geared by the five mission areas, project preparation, project implementation, perfotmance analysis, and monitoring and evaluating performance, run by local administrative personnel with the participation of public sector, people network, and social institutions in all sectors. The activities are carried out through local culture, organizational culture and affect the social responsibility of local politicians according to Sucarita principle.๒.For the policy, mechanisms, and duty of local politicians related to social responsibility based on the Sucarita principle, strengthening the social responsibility of the local politicians based on the Sucarita principle is carried out to implement policies under the mechanism to move the strengthening process of social responsibility. It is conducted by the personnel of the local administrative organization according to ๕ missions based on ethical policies, a policy-based development plan design, according to the authority of the local administration organization, and corporate social responsibility, focusing on the participation of people, public network, and social institutions through social operations, activities or projects based on organizational culture and local culture.๓. With regard to problems and obstacles to strengthening the social responsibility of local politicians based on the Sucarita principle, problem and obstacles in strengthening the social responsibility of local politicians are divided into three groups: Group ๑, Kayasucarita, physical uprightness consisting of ๘ aspects ; lots of entertainment areas, lack of budget to promote ethical support, non-transparency, no comply with the rules, the use of money for power, corruption, lack of screening personnel and the mayor has too much power, Group ๒Vacisucarita, verbal uprightness consisting of six aspects , including a lack of cooperation in the organization, impossibility to accomplish mission, the absence of ethical leadership, selling votes, patronage system, without a good model politicians, and group ๓, Manosucarita, mental uprightness consisting of ๙ characteristics: ignoring ethical importance, lack of development system, the transformation of globalization, lack of consciousness in performing duty, the culture of group, self-interests, lack of promotion in the development of ethical virtue, lack of ethics, and absence of good leadership.บทนำนักการเมืองท้องถิ่นในฐานะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรต้องให้ความสำคัญกับการดำรงบทบาทการเป็นผู้นำกระบวนการ (Process Leadership) ที่มีความต่อเนื่องเป็นกิจจะลักษณะมากกว่าบทบาทการเป็นผู้นำกิจกรรม (EventLeadership) ที่จัดเป็นครั้งๆตามโอกาสในเชิงสัญลักษณ์สิ่งสำคัญถัดมาคือการให้ความสำคัญกับเรื่อง CSR โดยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมได้การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นไม่ใช่การทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรให้ถูกกฎหมายหรือถูกต้องแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นการลงทุนในมนุษย์ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งทั้งหมดนำไปสู่ความอยู่รอดโดยรวมและรายได้ที่มั่นคงนั่นเองดังนั้นวิธีมองความรับผิดชอบต่อสังคมจึงคล้ายกับการมองการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาซึ่งไม่สามารถลงทุนอย่างไร้ทิศทางได้และยังต้องใช้เวลาพอสมควรก่อนที่จะผลิดอกออกผลได้เป็นการลงทุนระยะกลางถึงระยะยาวการแสดงความรับผิดชอบของนักการเมืองท้องถิ่นด้วยวิถีพุทธ เป็นการนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นกรรมในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น การดำเนินการโดยใช้หลักพละ หรือหลักทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ ๔ ราชสังคหวัตถุ ๔ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความสงบสุขอย่างยั่งยืน คุณภาพชีวิตที่ดีการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นการดำเนินที่เกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติการบริหารงานในองค์กรของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น การบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต บริสุทธิ์ใจ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีเมตตาพื้นที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ประกอบด้วย ๙ แห่ง ได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ใส องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย เทศบาลตำบลแม่สุก เทศบาลตำบลศรีถ้อย เทศบาลตำบลแม่ใจ เทศบาลตำบลบ้านเหล่า และเทศบาลตำบลป่าแฝก ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่จะต้องให้ความสำคัญแก่การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ และจะต้องจัดทำประมวลคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อสร้างเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ทั้งข้าราชการประจำและข้าราชการฝ่ายการเมืองในเทศบาลทุกระดับให้เกิดการบริการประชาชนและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด ฉะนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใคร่ที่จะศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉพาะที่มีรูปแบบเทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อจะบูรณาการหลักพุทธธรรม กับแนวคิด ทฤษฎีคุณธรรมและจริยธรรม ศึกษาสภาพปัญหาทั่วไปที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมรวมทั้งสร้างแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมโดยการนำเอาหลักพุทธธรรมมาปรับประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเพื่อนำความสุข ความเจริญของสังคมต่อไปดังนั้นในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓ ในจังหวัดพะเยา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือประชาชนในเขตพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพวัตถุประสงค์ของการวิจัย๒.๑ เพื่อศึกษานโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ของนักการเมืองท้องถิ่น๒.๒ เพื่อวิเคราะห์นโยบาย กลไก และการปฎิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นกับความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๒.๓ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓ขอบเขตของการวิจัย๔.๑ ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ ๑) ศึกษานโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ของนักการเมืองท้องถิ่น๒) วิเคราะห์นโยบาย กลไก และการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นกับความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓๔.๒ ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตผู้ให้ข้อมูล โดยศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศึกษาเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพะเยาจำนวน ๙แห่ง โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการสัมภาษณ์เจาะลึก (Indepth Interview)จากกลุ่มประชากรเป้าหมายได้แก่ พระภิกษุจำนวน๕รูป ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๕ คน คือ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดเทศบาลตำบล และสมาชิกสภาเทศบาลตำบล สมาชิกสภาบริหารส่วนตำบล จำนวน ๑๐ คน รวมทั้งหมด ๒๐ คน ที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา และอำเภอแม่ใจ๔.๓ขอบเขตด้านเวลา๑ปีงบประมาณ๔.๔ ขอบเขตด้านพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา๔.๕ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ใส องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย เทศบาลตำบลแม่สุกเทศบาลตำบลศรีถ้อย เทศบาลตำบลแม่ใจ เทศบาลตำบลบ้านเหล่า และเทศบาลตำบลป่าแฝก บทสรุป ๑.นโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต ๓ของนักการเมืองท้องถิ่นองค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่น ถือว่าเป็นองค์กร CSR ที่ใกล้ชิดกับประชาชนและสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างทันท่วงทีและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตรงเป้าหมายและความต้องการของประชาชน ดังนั้นการที่จะนำหลัก CSR หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจนั้น มาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรและการบริหารงานขององค์กรจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง แนวทางของ CSR หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ ก็มีความคล้ายคลึงกับหลักธรรมาภิบาล หรือ การบริหารจัดการที่ดีในระดับของชุมชนและสภาพแวดล้อม ได้แก่ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ การส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นให้มีโอกาสในตำแหน่งงานต่างๆในองค์กร การสนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เป็นต้น ในระดับของประชาสังคมได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเครือข่ายอื่นๆ ในการพัฒนาสังคม การตรวจตราดูแลมิให้กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การรับฟังข้อมูลหรือทำประชาพิจารณ์ต่อการดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และการทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้นจากการศึกษา พบว่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้าใจในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ในระดับน้อย การดำเนินงานโครงการจะดำเนินงานไปตามนโยบายและแผนพัฒนาเป็นด้านหลัก อย่างไรก็ตามการดำเนินงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการดำเนินงานบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยเหตุที่องค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่น ถือว่าเป็นองค์กร CSR ที่ใกล้ชิดกับประชาชนและสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างทันท่วงทีและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตรงเป้าหมายและความต้องการของประชาชน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การกำหนดนโยบายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นไปตามพันธกิจ ๕ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน จากการศึกษาพบว่า การดำเนินการในด้านนี้มีนโยบายที่เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓ยกตัวอย่าง เช่น เน้นการส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้จากการประกอบอาชีพและมีการพัฒนาความรู้และทักษะฝีมือแรงงานมองหาลู่ทางการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับการตลาดลดปัญหาการว่างงานยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเป็นแบบอย่างรวมไปถึงความต้องการให้มีการพัฒนาด้านแหล่งท่องเที่ยวสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทางเศรษฐกิจระดับบุคคลครอบครัวและชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตรและการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรให้มีความสามารถและทักษะในการพัฒนาฝีมือในการผลิตเพิ่มมูลค่าของสินค้าและสามารถขยายการตลาดไปสู่ตลาดกลางซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและยุทธศาสตร์สร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจนการพัฒนาองค์ความรู้ระบบการผลิตแบบครบวงจรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรและเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพรวมทั้งด้านการตลาดอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล เป็นต้น ด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม จากการศึกษาพบว่า การดำเนินการในด้านนี้มีนโยบายที่เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓ยกตัวอย่าง เช่น ส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความสามัคคีและเป็นพลัง ในการพัฒนาชุมชน สังคมให้เข้มแข็งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในตำบลมีความรู้ ความเข้าใจ การเรียนภาษาต่างประเทศ เพื่อรองรับความเจริญสู่ประชาคมอาเซียนส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ภาคเอกชน กับองค์การบริหารส่วนตำบลในการพัฒนาชุมชน การศึกษา อาชีพ สาธารณสุขของตำบลแม่นาเรืออย่างยั่งยืนส่งเสริมและบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นสนับสนุนงานประเพณีบวงสรวงพ่อขุนงาเมืองงานรัฐพิธีต่างๆและประเพณีต่างๆ ในตำบลแม่ใสสนับสนุนและพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ใสส่งเสริมสนับสนุนศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการเรียนรู้นอกระบบส่งเสริมและเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นๆเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับในการจัดระบบบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่นตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่นและปฏิบัติงานตามแนวนโยบายของรัฐบาลปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานในการจัดระบบบริการสาธารณะตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกระจายอำนาจกำหนดและส่งเสริมกิจกรรมศาสนาวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง ที่มีบุตรหลานของประชาชนในเขตเทศบาลไปใช้บริการ โดยการทำข้อตกลงความร่วมมือกันระหว่างเทศบาลกับสถานศึกษาเพื่อให้แนวทางในการพัฒนาการศึกษานั้นไปในทิศทางเดียวกัน และสนับสนุนซึ้งกันและกันเป็นต้นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า การดำเนินการในด้านนี้มีนโยบายที่เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓ยกตัวอย่าง เช่นมุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับหลักการจัดการระบบผังเมืองในอนาคตที่จะส่งผลให้สิ่งแวดล้อมมีปัญหาในภายหลังโดยมีแนวทางการดำเนินงานใช้มาตรการส่งเสริมบังคับและป้องกันใช้บทลงโทษตลอดจนให้ความรู้เทคนิคการป้องกันผลกระทบต่อธรรมชาติตลอดจนนโยบายการส่งเสริมการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ามุ่งเน้นการอนุรักษ์พัฒนาดูแลแหล่งน้าธรรมชาติภายในตำบลแม่ใสส่งเสริมบำบัดมลพิษอันเกิดจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลโดยการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและปลูกต้นไม้ทดแทนเพื่อเสริมสร้างปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนได้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้นด้านการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยจากการศึกษาพบว่า การดำเนินการในด้านนี้มีนโยบายที่เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓ยกตัวอย่าง เช่นเน้นการส่งเสริมให้ชุมชนเฝ้าระวังและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดการแพร่ระบาดของยาเสพติดปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรส่งเสริมกิจกรรมของชุมชนโดยให้การสนับสนุนกลุ่มต่างๆในชุมชนมุ่งเน้นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีสาหรับประชาชนตำบลทั้งเด็กเยาวชนผู้พิการผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงส่งเสริมงานด้านสาธารณสุขให้ตำบล เป็นตำบลที่สะอาดไร้มลพิษปลอดยาเสพติดสนับสนุนให้เด็กเยาวชนและประชาชนให้มีสุขภาพที่แข็งแรงโดยการออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอส่งเสริมสนับสนุนการศาสนาและวัฒนธรรมส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้กับโรงเรียนในเขตรับผิดชอบเพื่อปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับในการจัดระบบบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่นตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่นและปฏิบัติงานตามแนวนโยบายของรัฐบาลปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานในการจัดระบบบริการสาธารณะตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกระจายอำนาจกำหนด ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเครือข่ายองค์กรประชาชนในพื้นที่เช่น เครือข่ายป้องกันยาเสพติดเครือข่ายต้านการค้ามนุษย์การทำรุนแรงต่อเด็กและสตรีองค์กรสภาชุมชนสภาเด็กและเยาวชนเป็นต้นด้านการบริหารจัดการจากการศึกษาพบว่า การดำเนินการในด้านนี้มีนโยบายที่เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓ยกตัวอย่าง เช่น ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้นำและพนักงานส่วนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถในการพัฒนาการทางานได้ดียิ่งขึ้นตลอดจนพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและเสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กรด้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆตลอดจนพัฒนาการกระจายข้อมูลข่าวสารให้ราษฎรได้รับรู้ข่าวสารได้ดียิ่งขึ้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในการกำหนดนโยบายการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเมืองการปกครองการทำประชาพิจารณ์หรือการประชามติในกรณีที่เรื่องต่างๆมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและให้บรรลุแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดตามยุทธศาสตร์การบริหารราชการให้เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเวทีเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชารัฐ พัฒนาสมรรถนะขององค์กร และบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการ การทำงานและพัฒนาศักยภาพขององค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่นคณะผู้บริหารจะดำเนินงานการบริหารองค์กรตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีโดยใช้หลักคุณธรรมและหลักธรรมาภิบาล เป็นต้น ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของนโยบายการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของภาครัฐ ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินนโยบายเพื่อให้บริการสาธารณะตามพันธกิจ ๕ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาความมั่นคงและรักษาความสงบเรียบร้อย และการบริหารจัดการ ส่วนกลไกในการขับเคลื่อนในการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย แผนพัฒนา ๓ปี แผนพัฒนา ๔ ปี หรือแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีโครงการเป็นตัวขับเคลื่อนตามพันธกิจทั้ง ๕ด้าน ดำเนินโครงการโดยบุคลากรขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่ายภาคประชาชน สถาบันทางสังคมทุกภาคส่วน ดำเนินกิจกรรมผ่านวัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลต่อการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริตจะเห็นได้ว่า การนำพาประเทศชาติบ้านเมืองให้มีความมั่นคง คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ที่จะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง การจะนำมาซึ่งความซื่อสัตย์ได้นั้น ย่อมอยู่ที่การใช้จ่ายอย่างพอเพียง ไม่นิยมวัตถุ ยึดถือคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่มาว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งตามแนวคิดนี้ได้สอดคล้องกับพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชที่ทรงมองการณ์ไกล เสมือนหนึ่งเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าที่อาจจะเกิดขึ้นกับผืนแผ่นดินไทย พระองค์ท่านได้พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว และดูเหมือนว่าสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ถ้าแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่ถูกละเลยและเป็นที่ยึดถือปฏิบัติอยู่ในจิตสำนึกของประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ผู้นำประเทศและดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หากประชาชนทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ยึดถือปรัชญานี้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต และปฏิบัติตน มีสำนึกในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรู้เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา มีความรอบคอบ ประเทศไทยจะมั่นคง สงบสุข ร่มเย็น ด้วยความสามารถและความร่วมมือของคนไทยด้วยกันเองการปลูกฝังผ่านพระบรมราโชวาทล้วนมีการสอดแทรกเรื่องการปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตทั้งสิ้น จึงถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างหาที่สุดมิได้หลักสุจริต๓เป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลได้พยายามเน้นในเรื่องของการโปร่งใสในการบริหารบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองสะอาด นั้นก็หมายความว่าบ้านเมืองจะต้องปราศจากการทุจริตคดโกง มีสินบน โดยการพยายามออกกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ ออกมาใช้ หลักธรรมข้อนี้ประกอบด้วยกายสุจริต เมื่อผู้นำมีการกระทำที่มีความสุจริตไม่โกงกิน บ้านเมืองก็มีความเจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาตามศักยภาพ เงินงบประมาณก็ถูกใช้ให้เกิดความคุ้มค่ามีการพัฒนาอย่างทั่วถึงเต็มเม็ดเต็มหน่วยเมื่อผู้นำไม่ทุจริตคดโกง ลูกน้องก็ไม่กล้า ถ้าผู้นำทุจริตลูกน้องก็ทำตาม ซึ่งธรรมะข้อนี้มีความสำคัญต่อบ้านเมืองเป็นอย่างมากวจีสุจริต แม้วาจาจะดูแล้วไม่น่าจะมีความสำคัญต่อการบริหารปกครองแต่โดยความเป็นจริงแล้วมีความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องของการใช้คำพูด เช่น การพูดโน้มน้าวจิตใจคนการพูดประสานคนการเจรจาต่อรอง งานด้านการทูตเป็นต้น และมโนสุจริตมีคนกล่าวว่าจิตคิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น คนพูดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น เป็นการแสดงออกมาทางความคิดเห็นที่ผู้นำสูงสุดในองค์กรแสดงให้ผู้ใต้ปกครองและชุมชนได้เห็น ซึ่งเป็นการแสดงวิสัยทัศน์นั่นเอง๒.นโยบาย กลไก และการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นกับความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริตในการดำเนินนโยบาย กลไก ในการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นกับความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต จากการศึกษาพบว่า การดำเนินการภายใต้พันธกิจ ๕ด้าน ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน นักการเมืองท้องถิ่นควรมุ่งเน้นนโยบายในด้านกายสุจริต ได้แก่ การประกอบสัมมาชีพปลอดยาเสพติดจัดบริการโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำรงชีพและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดี ด้านวจีสุจริต ได้แก่ กระจายข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึงการจัดการด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่ดีการทำประชาพิจารณ์/ประชามติด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานการรับฟังความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานและการประชาสัมพันธ์การบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน และด้านมโนสุจริต ได้แก่ การสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสภาพแวดล้อมการตระหนักในการช่วยกันดูแลรักษาสิ่งที่เป็นสาธารณะ และสาธารณะสถานการตระหนักในความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินการตระหนักในการมีส่วนร่วมในด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม นักการเมืองท้องถิ่นควรมุ่งเน้นนโยบายในด้านกายสุจริต ได้แก่ พัฒนาศักยภาพทุนทางสังคมครอบครัวเข้มแข็งส่งเสริมคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาสังคมส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษาทุกระดับส่งเสริมสนับสนุนด้านการเล่นกีฬาในระดับตำบลและอนุรักษ์ ส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านวจีสุจริต ได้แก่ ข้อมูลสาระสนเทศด้านการสร้างอาชีพและการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาข้อมูลสารสนเทศด้านการกีฬาข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพอนามัยและข้อมูลสารสนเทศด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านมโนสุจริต ได้แก่ ปลุกจิตสำนักด้านการดำเนินชีวิตและการดำรงชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงการตระหนักในความจำเป็นของการศึกษาตลอดชีวิตการตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยด้วยการเล่นกีฬาการตระหนักในการอนุรักษา ส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักการเมืองท้องถิ่นควรมุ่งเน้นนโยบายในด้านกายสุจริต ได้แก่การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเกษตรอินทรีย์ด้านวจีสุจริต ได้แก่ ข้อมูลสาระสนเทศด้านการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการรณรงค์ด้านการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมและการรณรงค์ด้านการเกษตรอินทรีย์ และด้านมโนสุจริต ได้แก่ ปลุกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการตระหนักในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการสร้างความตระหนักในการดำรงชีพด้วยเกษตรอินทรีย์ ด้านการรักษาความมั่นคงและรักษาความสงบเรียบร้อย นักการเมืองท้องถิ่นควรมุ่งเน้นนโยบายในด้านกายสุจริต ได้แก่ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์การปฏิบัติตนตามหลักศีล ๕การปฏิบัติตนตามหลักพุทธธรรม (สังคหวัตถุ ๔ทิศ ๖สาราณียธรรม๖ฯลฯ)การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในและเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน ด้านวจีสุจริต ได้แก่ การรณรงค์ด้านการสร้างความปรองดองสมานฉันท์รณรงค์หมู่บ้านศีล ๕รณรงค์ธนาคารความดีและรณรงค์การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน และด้านมโนสุจริต ได้แก่ การสร้างความตระหนักในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์การสร้างความตระหนักในการรักษาศีล ๕การสร้างความตระหนักในการทำความดีและการปลูกจิตสำนึกในการเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน ด้านการบริหารจัดการ นักการเมืองท้องถิ่นควรมุ่งเน้นนโยบายในด้านกายสุจริต ได้แก่ การบริหารองค์กรตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีบริหารองค์กรตามหลักคุณธรรมการบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลการสร้างนโยบายจริยธรรมและการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีส่วนร่วม ด้านวจีสุจริต ได้แก่ ข้อมูลสารสนเทศการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีการประชาสัมพันธ์หรือการสื่อการการบริหารจัดการขององค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่นการประกาศนโยบายการบริหารจัดการที่ดีการประกาศนโยบายจริยธรรมและการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กร และด้านมโนสุจริต ได้แก่ การปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักในการบริการสาธารณะการปลูกจิตสำนึกแลสร้างความตระหนักในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและการสร้างความตระหนักในการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓การดำเนินนโยบายภายใต้กลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินการโดยบุคลากรขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตามพันธกิจขององค์กร ๕ด้าน ด้วยการกำหนดนโยบายเชิงจริยธรรม จัดทำแผนพัฒนาตามนโยบายที่กำหนด โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่ายภาคประชาชน และสถาบันทางสังคม ผ่านกระบวนการทำประชาสังคม การดำเนินงานกิจกรรมหรือโครงการบนพื้นฐานของวัฒนธรรมองค์กรและวัฒนธรรมท้องถิ่นระบบความสัมพันธ์ของกลไก และการปฏิบัติของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ในการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคม เริ่มจากนักการเมืองท้องถิ่น ดำเนินการอย่างจริงจังกับพฤติกรรมที่ไม่ดีทั้งของผู้นำซึ่งอาจจะใช้การประเมินจากประชาชน รวมทั้งการตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง สำหรับบุคลากรในองค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่นจะต้องใช้วิธีการกำหนดนโยบาย และมาตรการทางการบริหารกันมากขึ้นแต่อย่างน้อยต้องทำให้เห็นว่าผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีความตั้งใจที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ให้มีการปฏิบัติงานด้วยความไว้ใจ การปฏิบัติงานด้วยความสุข การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บุคลากรโอกาสได้เติบโตทางตำแหน่งหน้าที่การงาน การเพิ่มเงินเดือนที่อาจจะกระทำได้ด้วยการกำหนดเงื่อนไข นอกจากนี้การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้ประสิทธิภาพการให้ความสะดวก รวดเร็วแก่ประชานมากขึ้น นอกจากการนี้การบริหารเทศบาลที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงสถาบันทางสังคมที่มีอยู่ให้เกิดความเข้มแข็งโดยเฉพาะสถาบันทางศาสนาเพราะเป็นแหล่งการรวบรวมประชาชนและองค์ความรู้ทางการดำเนินชีวิตของประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการสั่งสอนคุณงามความดีต่าง ๆ และเชื่อมโยงไปให้สถาบันทางสังคมอื่นๆ ได้ช่วยกันกระตุ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบทั้งสถาบันทางครอบครัว สถาบันทางการศึกษา สถาบันเหล่านี้ย่อมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมแทบทั้งสิ้น โดยฝ่ายองค์การบริหารบริหารส่วนท้องถิ่นจะต้องเข้าประสานการดำเนินการในรูปแบบการบูรณาการทำงานร่วมกันทั้งหมดโดยมุ่งเน้นด้านศาสนาและวัฒนธรรมเป็นจุดเชื่อมโยงให้เกิดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น๓.ปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต ๓ปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของกนักการเมืองท้องถิ่นแยกออกเป็น ๓กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ ๑ กลุ่มสภาพปัญหาด้านกายสุจริต ประกอบด้วยลักษณะจำนวน ๘ประการ ได้แก่ แหล่งบันเทิงมากขาดงบประมาณในการส่งเสริมสนับสนุนด้านจริยธรรมความไม่โปร่งใสไม่ปฏิบัติตามกติกา การใช้เงินในการเข้าสู่อำนาจ การทุจริตคอร์รัปชั่น ขาดการกลั่นกรองบุคลากร และนายกเทศมนตรีมีอำนาจมากเกินไป กลุ่มที่๒กลุ่มสภาพปัญหาวจีสุจริต ประกอบด้วยลักษณะจำนวน ๖ ประการ ได้แก่ ขาดความร่วมมือในองค์กร ไม่สามารถดำเนินการตามพันธกิจ ขาดต้นแบบของภาวะผู้นำทางจริยธรรมการซื้อสิทธิขายเสียงในท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์ นักการเมืองไม่เป็นแบบที่ดี และนักการเมืองไม่เป็นแบบอย่างที่ดี และกลุ่มที่๓กลุ่มสภาพปัญหาด้านมโนสุจริต ประกอบด้วยลักษณะจำนวน ๙ ประการ ได้แก่ ปัญหาไม่ให้ความสำคัญต่อจริยธรรม ขาดระบบในการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์ ขาดจิตสำนึกต่อหน้าที่วัฒนธรรมพวกพ้อง ปัญหาความเห็นแก่ประโยชน์ตนขาดการส่งเสริมในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมขาดความรู้ด้านจริยธรรม และขาดภาวะผู้นำที่ดี

บรรณานุกรมโกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ ๗.กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๕๒.ชูวงศ์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๓๙.ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๑๘.นภัทร์ แก้วนาค, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Analysis Techic).บูฆอรี ยีหมะ. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐.ป.อ. ปยุตฺโต. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์, ๒๕๔๓.พระมหาสุทิตย์อาภากโร,ดร. และคณะ. .CSR เชิงพุทธ. นนทบุรี: ดีไซน์ ดีไลท์, ๒๕๕๗.พระสมพงษ์สนฺตจิตฺโต. “กระบวนการสร้างความรับผิดชอบสากล (ยูอาร์) ขององค์กรภาคธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์) ด้วยการเปลี่ยนแปลงภายใน” รวมบทความสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ (ภาษาไทย) เนื่องในงานประชุมวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๘.อยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล,ความรู้สึกเชิงจริยธรรม ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกรัฐสภาไทย, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมวิทยา), บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,๒๕๔๗.ลิขิต ธีรเวคิน. การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๕.ลิขิต ธีรเวคิน. การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น : อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, ๒๕๒๘.และพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ., ๒๕๕๓.วิญญู อังคณารักษ์. แนวความคิดในการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น. เอกสารประกอบการบรรยาย, ๒๕๑๘.วิรัช วิรัชนิภาวรรณ,หลักรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ ๒,กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์,๒๕๕๑.วีรวัฒน์ ปันนิตามัย. แนวทางการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate SocialResponsibility : CSR) ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัย.ศันสนีย์ ชุมพลบัญชร,พัฒนาการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมองทางพระพุทธศาสนา, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.” แนวปฏิบัติ CSR : ในการดำเนินธุรกิจ” เอกสารประกอบการสัมมนาความสอดคล้องมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO๒๖๐๐๐) กับแนวคิด CSR. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยพัฒน์, ๒๕๕๓.สุดารัตน์ แผลวมัจฉะ และจำลอง โพธิ์บุญ.“ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม: กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทอูเบะ (ประเทศไทย)”วารสารร่มพฤกษ์. (ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๒ กุมภาพันธ์-พฤษภาคม ๒๕๕๓.โสภณ พรโชคชัย. CSR ที่แท้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิประเมินค่าทรัทพย์สินแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๒.อนันต์ อนันตกุล. การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : พิฆเนศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์, ๒๕๒๑.อนันตชัย ยูรประถม. CSR: พลังบริหารธุรกิจยุคใหม่หนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างมีคุณธรรม. กรุงเทพฯ: กองบรรณาธิการประชาชาติธุรกิจ สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๕๐.อุทัย หิรัญโต. การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บารมีการพิมพ์, ๒๕๒๓.เว็ปไซต์ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร.แหล่งที่มา: http://www.govt101.blogspot.com/๒๐๐๘/๐๘/blog-post_2237.html, เมื่อวันที่๒๕พฤษภาคม ๒๕๕๘.บันได ๓ ขั้น ในการสร้างธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม. แหล่งที่มา: http://www.anandp.in.th, เมื่อวันที่๒๕พฤษภาคม ๒๕๕๘.CSR คือ ? แหล่งที่มา: http://www.csrcom.com, เมื่อวันที่ ๑๖มกราคม ๒๕๕๘.

หมายเลขบันทึก: 667918เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2019 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2019 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท