สหกรณ์ไทยอยู่ในระดับจุลภาค


ทำไมสหกรณ์ไทยไม่มีอำนาจ
ต่อรองเท่าที่ควร ส่วนใหญ่ทั้ง
ด้านเศรษฐกิจและสังคม สหกรณ์
ไม่ค่อยมีโอกาสเป็นต่อมีแต่จะเป็นรอง
และหลายคนมองว่าสหกรณ์ไม่สามารถ
นำไปเป็นเศรษฐกิจกระแสหลักของ
ชุมชนได้...ปัจจัยหนึ่งคือ ผู้ส่งเสริมก็ดี
ผู้บริหารและจัดการสหกรณ์ก็ดี มองและ
ให้คำนิยามความหมายสหกรณ์ในมุมแคบ
ว่าสหกรณ์เป็นเพียงองค์กรธุรกิจเท่านั้น
ไม่ได้มองในมุมกว้างต่างกับนักสังคม
ศาสตร์ ที่คิดการสหกรณ์ขึ้นมาเขามอง
และปรารถนาให้สหกรณ์เป็นองค์การ
ขนาดใหญ่ ที่เป็นโครงสร้างหนึ่งทาง
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ
ที่สามารถรวมกันแล้วมีพลังอำนาจ
ต่อรองและแทนที่เศรษฐกิจกระแสหลัก 
ดังนั้นการตั้งสหกรณ์ขึ้น
เป็นเพียงหน่วยองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก
โดยความร่วมมือของคนในชุมชนหรือ
หน่วยงานทำธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ของ
กลุ่มคน หรือเพื่อเป็นสวัสดิการของคน
ในหน่วยงาน และไม่ได้เชื่อมโยงหรือ
ดำเนินการตามหลักการสหกรณ์อย่างจริงจัง
ซึ่งจุดมุ่งหมายโดยแท้ของสหกรณ์ คือ
การทำให้ชาวโลกได้ประโยชน์จาก
สหกรณ์ ในฐานะสถาบันทางเศรษฐกิจ
(กินดีอยู่ดี)และสถาบันทางสังคม(มีสันติสุข)
โดยการร่วมมือร่วมใจด้วยความสมัครใจ
ของคนที่เห็นทุกข์และปัญหาของ
เศรษฐกิจกระแสหลักที่มีการแข่งขัน
แก่งแย่งชิงดี กดขี่ เอาลัดเอาเปรียบกัน
จนขาดความยุติธรรม เริ่มจากการรวมกลุ่ม
คนมีการกระทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ
สังคมภายใต้บรรทัดฐาน กฎเกณฑ์
ข้อบังคับและระเบียบที่จะอยู่ร่วมกันกับ
ผู้อื่น ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตทางเศรษฐกิจ
และสังคมสหกรณ์ โดยมีแนวทาง(หลักการ)
ให้เกิดการช่วยเหลือกันระหว่างสหกรณ์
ระดับองค์กร เพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อกัน
สืบทอดยืดนานจนก่อรูปแบบที่ถาวร
กลายเป็นสถาบันเศรษฐกิจและสังคม
ถึงจะมีพลังอำนาจอย่างแท้จริง
ปัจจุบัน สหกรณ์ในประเทศไทยเป็นได้
เพียง องค์กรทางธุรกิจ ไม่ได้ก้าวสู่
องค์การหรือสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคม
สหกรณ์แต่ละสหกรณ์มุ่งทำธุรกิจกับ
กลุ่มคนที่เป็นสมาชิก และบางสหกรณ์
ยังมุ่งทำธุรกิจกับคนภายนอกด้วย
แยกกันทำแบบตัวใครตัวมันเสียส่วนใหญ่ 
ซึ่่งแต่ละสหกรณ์ต่างก็เป็นอิสระต่อกัน 
แต่หาได้เป็นอิสระจากการถูกครอบงำ
ภายใต้อกรอบ ของผลประโยชน์และกำไร 
เพื่อสนองความต้องการและตอบแทน
ต่อสมาชิกรายใหญ่ ที่มีเงินทุนหนา 
มากกว่าตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสมาชิก
รายย่อยที่มีเป็นจำนวนมากความเหลื่อมล้ำ
และความอยุติธรรมระหว่างสมาชิก
รายใหญ่กับสมาชิกรายย่อย ที่เห็นจึงไม่
แตกต่างจากเศรษฐกิจและสังคมกระแส
หลัก ได้อย่างชัดเจนเท่าที่ควรจะเป็น
และยังคงวนเวียนอยู่กับผลประโยชน์
และกำไรขององค์กรธุรกิจมาแบ่งปันกัน
และเป็นจุดอ่อนของสหกรณ์ไทยและเป็น
บอนไซต่อไปจนกว่าจะมีคนเข้าใจ
และแก้ไขให้เป็นไปตามแนวความคิด 
หลักการสหกรณ์ที่แท้จริง....

คำสำคัญ (Tags): #สหกรณ์ไทย
หมายเลขบันทึก: 666449เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2019 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2019 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท