รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อขอครูดีไม่มีอบายมุข : สร้างเครือข่ายผู้ปกครอง


สร้างเครือข่ายผู้ัปกครอง สอดส่องร่วมกันดูแล เด็กหนึ่งคนมีหลายพ่อแม่...เพื่อนลูกก็เหมือนลูกเรา
  1. ชื่อผลงาน : สร้างเครือข่ายผู้ัปกครอง สอดส่องร่วมกันดูแล เด็กหนึ่งคนมีหลายพ่อแม่...เพื่อนลูกก็เหมือนลูกเรา
  2. แรงบันดาลใจที่ทำเรื่องนี้  : ข้าพเจ้า่เป็นครูที่ปรึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนหลายคนมีสภาพแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดยาเสพติด  เหล้า  เบียร์ บุหรี่  หากมีผู้ปกครองช่วยกันสอดส่องดูแล ทั้งลูกตนเอง และเพื่อน ๆ ของลูก ก็อาจทำให้ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวลดน้อยลงได้
  3. ระยะเวลาในการดำเนินงาน : ตั้งแต่  พฤษภาคม 2562  ถึง มีนาคม 2563
  4. กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้พ้นจากอบายมุขคือใคร (เน้นเหล้า เบียร์ บุหรี่ การพนัน)  : นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 25 คน 
  5. บทบาทหน้าที่ของท่านต่องานนี้ : ประสานผู้ปกครอง  ปลุกจิตสำนึกให้หันมาเอาใจใส่ลูกหลานในปกครองของตนเอง และเผื่อแผ่นไปถึงเพื่อนของลูกด้วย
  6. สภาพปัญหา ก่อนดำเนินการ(ระบุให้ครบถ้วน ชัดเจน) และเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้น : ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เอาใจใส่ต่อเด็กในปกครองของตน  ไม่มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน  คิดอะไรที่เข้าข้างตนเอง  เมื่อเด็กติดยาเสพติด เช่น สูบบุหรี่  ดื่มเหล้าเบียร์  หรือเล่นการพนัน  หรือติดเกม  ก็มักจะพูดว่า ลูกตนเองเป็นคนดี เรียบร้อย ที่ทำไปนั้นเป็นเพราะเพื่อน 
  7. วิธีการดำเนินงาน (ระบุให้ครบถ้วน ชัดเจน /ทำอะไรบ้าง และทำอย่างไร) : ข้าพเจ้าเริ่มจาก ศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล เรียงลำดับปัญหา นักเรียนคนใดที่มีปัญหา ก็จะเข้าเยี่ยมบ้านก่อนคนอื่น ๆ เพื่อพูดคุยกันผู้ปกครอง  เมื่อข้าพเจ้าทำความรู้จักกับผู้ปกครอง จนได้รับความเป็นกันเอง ความไว้ใจ  ผู้ปกครองก็จะกล้าพูดกล้าคุย จากนั้นข้าพเจ้าก็เชิญผู้ปกครองมาประชุมพร้อมกัน ถามผู้ปกครองว่า ถ้าลูกเราดีคนเดียว แต่เพื่อน ๆ เป็นคนไม่ดี ลูกเราจะเป็นอย่างไร  ถ้าเราพบเพื่อน ๆ ของลูกทำตัวไม่ดีเราควรทำอย่างไร ฯลฯ  จากนั้นก็ชักชวน ให้สร้างเครือข่ายผู้ปกครอง  โดยตั้งคำถามว่า จะดีมั้ย ถ้าลูก ๆ ของเรา มีผู้คอยสอดส่องดูแลเพิ่มขึ้นโดย 25 ครอบครัว ถือเสมือนครอบครัวเดียวกัน วันหยุดเด็ก ๆ อาจรวมกลุ่มกันที่บ้านคนใดคนหนึ่ง บ้านนั้นก็ต้องดูแลเด็กเหล่านั้น  หมุนเวียนกันไป  ซึ่งผู้ปกครองทุกคนเห็นด้วยและยินดีให้ความร่วมมือ   
  8. ผลสำเร็จที่ได้รับและปรากฏเป็นเชิงประจักษ์(ไม่เน้นรางวัลแต่เน้นที่กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร) : นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 จำนวน 25 คน ที่มีข้าพเจ้าเป็นที่ปรึกษา ทุกคนเป็นนักเรียนดีไม่มีอบายมุข  วันหยุดนักเรียนรวมกลุ่มกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย โดยมีผู้ปกครองให้ความร่วมมือดูแล 
  9. มีการพัฒนาต่อหรือไม่ ถ้ามีทำอย่างไร ผลเป็นอย่างไร (ตามสภาพจริง) :  เนื่องจากข้าพเจ้าต้องตามนักเรียนกลุ่มเดิมขึ้นไปเป็นที่ปรึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จึงทำโครงการนี้ต่อไป  พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในระดับดีมาก และพร้อมให้ความร่วมมือในทุก ๆ เรื่อง 
  10. ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานนี้ ที่ส่งผลต่อการลด ละ เลิก อบายมุข มาจากอะไรบ้าง : ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการนี้สำเร็จ คือ ความร่วมมือของผู้ปกครอง นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  เพราะได้ไปรวมตัวกันในวันหยุด ได้ทำในสิ่งที่อยากทำในกลุ่มเพื่อน ไม่ต้องอยูบ้านคนเดียว ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน  อีกทั้งผู้ปกครองมีความรักและเอาใจใส่ลูกและเพื่อน ๆ ของลูกมากขึ้น
  11. ความรู้สึก และความคิดเห็นของท่านต่องานชิ้นนี้ : ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจ  และดีใจมาก นอกจากจะเกิดผลดีกับนักเรียนแล้ว ยังเกิดผลดีต่อข้าพเจ้าเองอีกด้วย  ได้มีผู้ปกครองนักเรียนเป็นกัลยาณมิตรที่ดี  ผู้ปกครองชื่นชม และไว้วางใจ ให้ข้าพเจ้าได้ดูแลลูกหลานของเขา

(กำหนดให้ใส่ภาพ 4 ภาพ  เราสามารถรวม 2 ภาพ หรือ 3 หรือ 4 ภาพให้อยู่ในภาพเดียว  นับเป็น 1 ภาพได้ค่ะ ที่เห็นนี้เท่ากับ 2 ภาพนะะคะ)

หมายเลขบันทึก: 665433เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2019 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2019 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท