ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๕๘ : เล่าด้วยภาพ เยี่ยมโครงการบ้านวิทย์น้อย โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี


วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ไปร่วมสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ  ในโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ที่โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี  มาเล่าด้วยภาพ เก็บไว้ในความทรงจำ ที่เราได้ทำสิ่งดี ๆ ให้กับเด็ก ๆ ร่วมกันครับ

ขอแจ้งท่านผู้ปกครองหรือท่านใดที่อยู่ในเขตเทศบาลมหาสารคามทราบนะครับ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม มีความพร้อมด้านการจัดการเรียนรู้ดูแลนักเรียนอนุบาลมาก ๆ   ทั้งด้านสถานที่และสิ่งเอื้อต่อการเรียนรู้ อาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียน คุณครูก็พร้อมมาก  นี่คือการเป็นที่พึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง หากผู้ปกครองจะช่วยกัน สามัคคีกัน ด้วยการให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เด็ก ๆ จะเติบโตไปสู่ระดับต่อไปยอย่างมีคุณภาพและความสุขได้ไม่ยาก


  • ก่อนเริ่มเรียน คุณครูจะมีกิจกรรมตามรูปแบบและจังหวะ นำนักเรียนเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มเรียน 

  • ชั้นเรียนอนุบาล ๓ ของครูภาวนา สมควรเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) ในการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา (Solving Problem Skill) ให้กับเด็ก ซึ่งเป็นทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ที่สำคัญประการหนึ่ง 
  • เทคนิคการสอนแบบที่ครูภาวนาใช้กับเด็ก ๆ นี้ ก็คือ การจัดการเรียนรู้บนฐานปัญหา หรือ Problem-based Learning  ในชั้นเรียนนั่นเอง  วิธีการที่ครูภาวนาพาเด็ก ๆ เรียนรู้ คือ กำหนดสถานการณ์ปัญหาให้ โดยมอบอุปกรณ์ให้คนละกระจาด ได้แก่ แผ่นซีดี กระดาษ สีชอร์ค ดินน้ำมัน และลูกแก้ว แล้วตั้งคำถามว่า ทำอย่างไร จะทำให้ซีดีหมุนได้นาน ๆ  โดยไม่รีบให้ดูตัวอย่าง และค่อย ๆ ใบ้ให้เห็นภายหลังจากที่เด็กค่อย ๆ ใช้ความพยายามของตน 
  • จากการสังเกตพบว่า เด็ก ๆ คิดได้เอง และทำได้เองจริง ๆ  และที่น่าสนใจมากคือ เด็กที่คิดได้เองก่อนคือเด็กที่ไม่ค่อยพูดตอบกับครูด้วย 

  • สองคนนี้กำลังครุ่นคิดว่า จะทำอย่างไรดี ครู "ประวิง" เวลาให้เด็กครุ่นคิดแก้ปัญหาพอสมควร ไม่เร่งรีบ ....ผมคิดว่ากระบวนการนี้สำคัญ

  • ครูศิริลักษณ์ กับเด็ก ๆ กำลังสังเกตปรากฎการณ์ "จม หรือ ลอย" ของไข่ต้ม เมื่อค่อย ๆ เติมเกลือลงในน้ำ ... เด็ก ๆ สนใจมาก 
  • การทดลองนี้ เหมาะสมต่อการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการกำหนดตัวแปรเชิงปฏิบัติการมาก  (กำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม)  
    • ตัวแปรต้นคือ ปริมาณเกลือที่เติมลงในน้ำ 
    • ตัวแปรอิสระ หรือ ตัวแปรตาม คือ ระดับความสูงของไข่ที่ลอยจากก้นขวดโหล 
    • ตัวแปรควบคุม คือ ปริมาณน้ำ ชนิดของไข่ ขนาดของไข่ (น้ำหนักของไข่)
    • ฯลฯ 

  • ห้องครูละมัย เด็กอนุบาล ๑ กำลังเล่นลูกโป่ง กับการทดลองเกี่ยวกับ "แรงดันอากาศ"  ความยากอยู่ที่ศัพท์วิทยศาสตร์ว่า "แรงดัน"  ซึ่งเรื่องนี้สอนกันอย่างละเอียดตั้งแต่มัธยมถึงมหาวิทยาลัย  จึงไม่ใช่องค์ความรู้ที่ครูจะต้องมากังวล   เด็ก ๆ อาจจะรู้จักคำว่า "แรงดันอากาศ" ก่อนจะรู้จักคำว่า "แรงดัน" ก็ไม่แปลกอะไร เพราะเด็ก ๆ จะสัมผัสจากแรงดันจากลูกโป่งจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น  
    • มือบีบลูกโป่ง ลูกโป่งจะคืนรูปเหมือนเดิม 
    • สัมผัสลมที่ปล่อยจากลูกโป่ง พัดใส่หน้าหรืแขนขา เย็นสบาย
    • หรือด้วยการเล่นจรวดลม แล้วค่อย ๆ สรุปกันว่า ลูกโป่งลอยเพราะ "แรงดันอากาศ" นั่นเอง 
    • ฯลฯ 
  • โจทย์สำคัญสำหรับคุณครูอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการทดลองนี้คือ  จะทำอย่างไรให้เด็ก ๆ เข้าใจว่า อากาศในลูกโป่งจะออกแรงดันไปในทุกทิศทาง 

  • ท่าน ผอ.วีระศักดิ์ มาอยู่กับเด็ก ๆ ตลอดช่วงเวลาที่เราไปเยี่ยมเลยครับ เด็ก ๆ เจอ ผอ. จะเดินเข้าไปกอด ...  เป็นการ "Contact" ที่นำมาสู่การ "Connect"  คนที่เข้าใจจิตปัญญาเท่านั้นที่จะมีศรัทธาและให้ความสำคัญกับสิ่งนามธรรมที่เรียกว่า "รักและอบอุ่น" นี้ครับ 

  • วง PLC ง่าย ๆ ของเรา สรุปว่า ปัญหาเดียวที่เราควรจะพิจารณาพัฒนาต่อไปคือ การสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองให้มาส่งนักเรียนให้ทันเวลา ความสามัคคีระหว่างโรงเรียนและชุมชนจะทำให้โรงเรียนโพธิ์ศรี ซึ่งขณะนี้มีอาคารอนุบาลใหม่แล้ว เป็นโรงเรียนที่พึ่งที่ผู้ปกครองภูมิใจยิ่ง 

หมายเลขบันทึก: 664823เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2019 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2019 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท