ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๕๕ : เล่าด้วยภาพ เยี่ยมโครงการบ้านวิทย์น้อย โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์


วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒ มาสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระเทพฯ ผ่านโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ที่โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์

  • คุณครูเริ่มกระบวนการด้วยการสาธิต โดยจัดให้นักเรียนนั่งล้อมเป็นรูปตัวยู่  นักเรียนแต่ละคนจะมีตำแหน่งประจำของตน มีสติ๊กเกอร์ติดชื่อไว้ชัด ซึ่งผมเห็นทุกโรงเรียนระดับอนุบาลก็ทำลักษณะนี้ ... น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ครูเห็นเด็กทุกคน เด็กทุกคนเห็นครูและรู้ว่าครูกำลังทำอะไรอยู่ ไม่มีหน้า ไม่มีหลัง ไม่มีบัง ....  
  • การนั่งแบบตัวยูนี้ นอกจากจะทำให้เด็กดูครูครูดูเด็กแล้ว น่าจะมีเหตุผลตรงที่การเว้นระยะห่างระหว่างเด็กกันเองด้วย เพราะสังเกตว่า เมื่อไหร่เด็กหันหน้าหากันและใกล้กัน จะเกิดการชุลมุนกันขึ้นทันที ...  แต่ถ้าหาวิธีไม่ให้เกิดชุลมุนได้แต่ให้เด็กเข้าไปมุ่งดูการสาธิตอยู่ใกล้ ๆ ได้ จะดีที่สุด  

  • การทดลองเรื่อง "น้ำเดินได้"  เมื่อใส่สีผสมอาหารในน้ำจะสร้างความสนใจได้ดีครับ เพราะเห็นชัด แต่มีข้อเสียคือ น้ำจะ "เดิน" ช้ามาก  ไม่ทันใจหรือสร้างความสงสัยให้เด็ก  คุณครูอาจออกแบบกิจกรรมระหว่างรอ จะดีที่สุดครับ 


  • กิจกรรมลูกข่างหลากสี ก็ได้ผลดีเสมอครับ ... ความยากอยู่ตรงที่ ทำอย่างไรให้เด็กสังเกตเห็นการผสมของสี 

  • ผักกาดเปลี่ยนสี  เป็นการทดลองของนักเรียนมัธยมต้นเลยนะครับ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับท่อลำเลียง  แต่ก็ให้ผลสร้างความสนใจให้เด็ก ๆ สงสัยได้ดี  ...  ไม่ต้องพะวงกับความรู้นะครับ 

  • "ผักกาดเปลี่ยนสี" จะคล้ายกับ "น้ำเดินได้" คือ การเปลี่ยแปลงเกิดขึ้นช้ามาก  คุณครูอาจต้องออแบบกิจกรรมเข้ามาแทรกระหว่างรอ เช่น ให้วาดรูปและระบายสีตามที่เห็น เป็นต้น 
  • กิจกรรมบอลลูนลูกโป่ง ...  ผมว่ากิจกรรมนี้น่าจะสนุกและสร้างความสงสัยและสนใจได้มาก ...  ขอไปลองกับน้องข้าวหอมกับน้องขวัญ ก่อนจะมารายงานนะครับ 

  • ถ้าเรามุ่งไปที่การสังเกต และให้เด็กหาทางอธิบายว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเอา "ผงอะไรไม่รู้" ผสมกับ "น้ำอะไรไม่รู้" แล้วทำให้เกิดบอลลูนลูกโป่งขึ้น ....   ถ้าเด็กตั้งคำถามว่า "นั่นอะไรอะ" ... ก็ถือว่า คุณครูทำสำเร็จแล้ว ... ใช่ครับ ความสงสัยที่เกิดขึ้นเอง คือสิ่งที่เราต้องการ

  • การทดลองเรื่อง "เมล็ดพืชเต้นระบำ" ก็ทำกันทั่วไป เป็นที่นิยมกับทุกโรงเรียนในโครงการบ้านวิทย์น้อยครับ ...  

  • ต้องเลือกเมล็ดพืชที่มีจมน้ำและมีน้ำหนักไม่มากเกินไป เบาพอที่ฟองจะพา "เต้นระบำ" ได้ 
  • การใส่สีในน้ำ น่าจะทำให้เด็กสังเกตการเคลื่อนที่ของเมล็ดพืชได้ยากขึ้นนะครับ ... หรืออาจารย์มีวัตถุประสงค์อย่างอื่น...

  • วง PLC สั้น ๆ สะท้อนจุดสำคัญ โดยหวังจะคลายความกังวลของคุณครู คล้ายกับที่โรงเรียนเทศบาลบูรพาฯ  คือ...
    • ไม่ต้องห่วงเรื่อง "ความรู้" การสรุปความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์อะไรมากดอกครับ ถ้าคุณครูเรียนรู้ไป ทำไป จะค่อย ๆ เข้าใจความคิดรวบยอดของแตะละการทดลองได้เอง   เราไม่จำเป็นต้องสรุปเป็นความรู้ให้เด็ก ๆ ท่องจำใด ๆ  ... 
    • สิ่งที่เราเน้นคือ การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เด็ก ๆ ครับ  โดยเฉพาะ การสังเกต การจำแนกประเภท พยายามให้เด็กอธิบายสิ่งที่เห็นด้วยคำของตนเอง โดยไม่ใช่ให้จำไปพูด 
    • สำคัญมาก ๆ คือการส่งเสริมหรือสนับสนุน ให้เกิด ความสงสัยที่เกิดขึ้นเอง 
    • และที่สำคัญที่สุดคือ  ความเป็นธรรมชาติ สุข สนุก ที่ได้เรียน ได้สอน 
ผมชอบและเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ท่าน ศน.ไสว ท่าน บอกว่า "เล่นอย่างมีความหมาย" .... 
หมายเลขบันทึก: 663703เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2019 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2019 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมทำเรื่องนี้กับฝรั่งที่ภูเก็ตครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท