System thinking กับ Systematic thinking


ลอก ตำราบริหารฝรั่งมา ก็ต้อง "วิมังสา" ด้วย

System thinking  คือ คิดเป็น ระบบ  ที่ สามารถเชื่อมโยง  สรรพสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันได้   เช่น เข้าใจ"เด็ดดอกหญ้ากระเทือนดวงดาว"   เข้าใจ " วัฏสงสารและกฏแห่งกรรม (ฝรั่ง Senge เรียกว่า Syncronicity)"  

Systematic thinking คือ คิดแบบ system + automatic  ทำจนเป็นสันดานไปแล้ว  มีข้อเสีย คือ  เกิดเป็น Loop  ที่อาจจะ นำไปสู่ ปัญหาใหม่  วนหลงในปัญหาเดิมๆ หรื ถ้าโชคดี  ก็หลุดออกไปได้   แต่ก็ยาก  เพราะ คิดในกรอบเป็นอัตโนมัติไปแล้ว

การบริหารแบบญี่ปุ่น ฝรั่ง สาวกญี่ปุ่น ฯลฯ  ที่มีแต่ PDCA  โดยไม่คำนึงถึง  เด็ดดอกหญ้ากระเทือนดวงดาว ( เอาแต่ results งกๆ เค็ม ๆ   ทำลายสุขภาพพนักงานที่เป็นคนละชาติกับพวกเขา  ทำโลกร้อน สร้างมลภาวะ  เอาสารพิษไปผลิตในประเทศโง่ ๆ  )

PDCA ที่ ขาดแนวคิดบุรณาการ   นี้จัดเป็น PDCA แบบทำลายล้าง

สังเกต ตำราบริหารญี่ปุ่น  ฝรั่ง  ที่คนไทยเอามาใช้    มักเป็นแบบ Systematic   คือ เอาของเขามา  แต่  ไม่ได้ดู  บริบทของไทย  ไม่ได้rพิจารณาความเป็นสัตว์เศรษฐกิจ  ขาดน้ำใจ ฯลฯ

การบริหารแนวใหม่  ในยุคหน้า    จากการสัมนา KM Asia  หรือ Society of Learning organization (SOL) ที่เวียนนา 

ฝรั่งนักบริหาร กูรู   ยุคใหม่มาแนว   "สังคมอุดมปัญญา"    ทุนทางสังคม  ทุนทางความร่วมมือ  และ บริหารด้วยความรัก  ฯลฯ   เป็นองค์กรสนุกสนาน  มีความสุข  พอเพียง ยั่งยืน  ฯลฯ

การบริหารแบบ มีใจ แบ่งปัน พอเพียง ฯลฯ ตอบโจทย์ให้พนักงานทุกคนว่า  "เป้าหมายองค์กร กับ เป้าหมายการเกิดมาเป็นคน"   เป็นเรื่องเดียวกันครับ

ตำราบริหาร  เปลี่ยนไปแล้วครับ  เน้น พฤติกรรมคนมากขึ้น  อย่ากอดตำราเล่มเก่า  หรือ เอาแต่อ่านไม่ลงมือทำสักที

หรือ ถ้าแน่จริง  ก็อย่า เสพตำราฝรั่งเลย   คิดเอง ทำเอง รวบรวมเอง แบบไทยๆ วิถีไทย วิถีพุทธ  ก็ว่ากันไปครับ

รีบๆ ฝึก "สติ"  ให้มากๆ ไว้นะครับ  ก่อนที่ จะเจอ Global warming --> Atlantic conveyor หยุด ---> ภัยวิบัติทางธรรมชาติ + สงครามแย่งอาหารและแผ่นดิน --> น้ำท่วมโลก + Ice age

 

 

คำสำคัญ (Tags): #systemthinking#pdca
หมายเลขบันทึก: 66329เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • แต่นักวิชาการบ้านเราลอกมาแบบไม่คิดครับอาจารย์
  • จริงๆแล้วเรามีนักคิด นักปฏิบัติอย่างเช่นครูบาสุทธินันท์ หรือภูมิปัญญาหลายๆท่านที่ดีแต่เราขาดคนส่งเสริมท่านเหล่านี้ครับ
  • อาจารย์ว่าควรทำอย่างไร...ดี
  • ขอบคุณครับ

เรียน อ.วรภัทร์

  • เห็นตัวจริงอาจารย์ในห้องคุณอำนวย มหกรรมจัดการความรู้ครั้งที่ 3 ที่ไบเทคแล้วบอกได้ว่าประทับใจอาจารย์จริงๆครับ ไร้กรอบอย่างชื่อบล็อกจริงๆ ยิ่งอ่านหนังสืออาจารย์ บันทึกบล็อกบันทึกต่างๆแล้ว ประเทืองปัญญามาก (แต่ไม่อาจโยนทิ้งตำรานะครับอาจารย์)..ถามอาจารย์นิดหนึ่งว่าถ้าคิดเป็นระบบร่องนั้นมันดีดีเป็นLoopให้เราทำต่อไป เรียกระบบคิดนี้ว่าสันดานด้วยหรือเปล่าครับอาจารย์
  • ชอบอาจารย์มากๆครับ ขอบคุณครับ ไม่เคยเห็นวิทยากรที่ไหนพูดไปด้วยแล้วกระโดดโลดเต้นไปด้วย เป็นธรรมชาติจริงๆ ถ้านาทีนั้นผมไม่ได้อยู่ในห้องคุณอำนวยผมคงต้องพลาดโอกาสดีๆแน่นอน

ขอบคุณสำหรับความหมายของทั้งสองคำค่ะ เพิ่งได้ฉุกคิดและเพิ่งได้เข้าใจความหมายที่แตกต่างกันนี่เองค่ะ

ปล. ใช่แล้วค่ะ Global warming นี่เรื่องใหญ่มากสำหรับโลกเราค่ะ Kyoto protocol

สวัสดีครับ
    มารายงานตัวว่าดึง Blog อาจารย์ เข้า Planet ผมเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ขออนุญาต เพราะไม่น่าจะต้องขอ .. ผมคิด และรู้สึกเหมือน ครูนงเมืองคอน ก็ต้องขอบคุณที่ ทำให้ผมไม่ต้องพูดซ้ำ ..
     ทำแบบอาจารย์นี่ ถ้าไม่มี ความรู้ ความคิด ความรัก เป็นฐาน ท่าจะลำบาก .. แต่ผมว่าอาจารย์มีอยู่ครบถ้วน จึงปลอดภัย และทำอย่างไร พูดอย่างไรก็ยังดูน่ารักอยู่ดี
     ดีใจที่เห็นอาจารย์นำประเด็นนี้มาตีแผ่ .. มีอีกหลายอย่างที่ เพื่อนร่วมชาติเราหลายคน จับหยิบมา ใช้โดยขาดการไตร่ตรองอย่างเพียงพอ และรอบด้าน ใช้ไปโดยขาดปัญญา .. แค่ภูมิใจที่ได้ดูเหมือนว่า " นี่ไง ข้าทำแล้ว ครบขั้นตอน ตามกระบวนการ ที่ (พ่อ) ฝรั่งว่าไว้ ทุกประการเลย เห็นมั้ย " ผลที่จีรัง ยั่งยืนเป็นอย่างไรไม่รู้ เอาให้ได้ชื่อว่า ทันสมัย เหมือนๆ คล้ายๆ ที่ ฝรั่ง ญี่ปุ่น ว่าไว้ ก็สุดยอด สุดยอด .. ขอโทษครับ ผมเคยใช้คำว่า โง่อย่างละเอียดและลึกซึ้ง

 Tangled Lights เรียนท่านอาจารย์ ไร้กรอบ

 ฝึก "สติ" สร้าง "ป่าช้า ในที่ทำงาน แทน ป่าเร็ว และ ปากเร็ว" น่าจะดีนะครับ

ผมเป็นอีกคนหนึ่งครับที่เดิมไม่ได้สนใจความแตกต่างระหว่าง system thinking และ systematic thinking ขอขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับอาจารย์

เข้ามาทักทายครับผม เห็นรูปเท่มากๆครับ

เรวัตร

เรียน อ.วรภัทร์

            ผมก็ดึงเข้าแพลนเน็ต กูรู km thailand เรียบร้อยโดยไม่ได้ขออนุญาต เช่นเดียวกับ อ.แฮนดี้ครับผม

  • ขอบคุณครับ
  • มาเรียนรู้เพิ่มจากอาจารย์ ตามปกติครับ....อิอิ ^__^
  • เรียน  อ. ขจิต .....คนดีในไทยมีเยอะ    ในการประชุม KM Asia ที่สิงคโป  ..... Guru บอกว่า  คนส่วนใหญ่  หลงใน KM แบบ Format   และ หลงไปใน Information Management (IM) แทนที่จะเป็น KM  แบบ Natural เช่น ครูบา  ฯ   ตอนนี้  ได้ข่าวท่านไปเป็นที่ปรึกษา รัฐบาลแล้วครับ

ส่วนใหญ่   นกขนเดียวกัน จะบินไปด้วยกัน   หมายความว่า  คนดีจะอยู่กับคนดี   คนร้ายจะคบกับคนร้าย คนร้ายไม่ส่งเสริมคนดี   ฯลฯ

  • เรียน ครูนง .....  คิดเป็นระบบ  ถ้าตกร่อง  เป็น"สันดาน"   ซึ่ง หากว่า ไปในทางที่กุศล  เป็นประโยชน์    ก็ดีครับ    แต่  คิดเป็นระบบแบบตกร่อง เป็น "สันดาน"   โดยไม่ เฉลียวใจ  ไม่ลองแกล้งโง่   ไม่หัดออกจาก ร่อง   ไม่หัดปฏิบ้ติแบบนำร่อง ---->  ก็จะไม่ "ค้นพบ" ครับ

ยกเว้น ตก "กระแสธรรม"   เป็นร่องที่ "ไร้ร่อง"    เป็นความคิดที่ผุดออกมาจากจิตที่ว่าง จิตโล่ง โปร่งสบาย  ไม่มี อคติ ไม่ลำเอียง (จิต กับ ความคิด  ต้องแยกแยะออกจากกันให้ได้นะครับ  ตามดู ตามรู้  ให้เท่าทัน ความคิด   อย่าให้ความคิดปรุงแต่วจิต   )

PDCA เป็น Tools   ซึ่ง Tools ต่างๆ  เป็นเหมือน กระบี่    ทำเราเจ็บได้ ทำคนอื่นเจ็บได้ด้วย    กระบี่ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนใช้

ผู้บริหารญี่ปุ่น ฝรั่ง  จีน ไทย  ฯลฯ หลายคน   ใช้ PDCA ไปในทางเห็นแก่ตัว  ไปคำนึงถึงความเป็นมนุษย์   ฯลฯ  ทำให้ เกิด Global warming   ตอนนี้วิกฤต  มากแล้ว

 

 

  • เรียน ดร จันทวรรณ   -->  ในงาน KM  ที่ Bitech วันนั้น  ผมไปหา  ดร  ถึงห้องเลยนะ  เห็นยุ่งๆอยู่   ก็เลยไม่ได้เข้าไป  เพราะ ต้องรีบไป ห้อง ปูนซิเมนต์  ครับ   ---> ขอบคุณที่มี Blog  และ ดูแล Blog  ให้พวกเราครับ
  • เรียน  อ  Handy  --->  ถือเป็นเกียรติครับ  ที่ได้ไปอยู่ใน Planet ของ  อ Handy ครับ ---> ผมชอบจังเลย  "โง่ อย่าละเอียดลึกซึ้ง"     ฮา ๆๆ
  • เรียน อ วิบูลย์  --->  ขอบคุณครับ    คิดแบบ Systematic บางครั้ง ไม่เป็น System  แต่  คิดอย่าง System ควรให้เป็น Systematic  โดย เฉพาะ คิดแบบเพื่อโลก  รักษ์โลก    หรือ  การทำโยนิโสมนสิการ (ให้เป็นอาจิณกรรม ไปเลย)

เรียน อ.ดร.วรภัทร์

              ขอบคุณครับที่ตอบให้หายข้องใจ

มารับพลังค่ะ  โดนใจมากๆกับ "เป้าหมายองค์กร กับ เป้าหมายการเกิดมาเป็นคน"   เป็นเรื่องเดียวกัน ขอบคุณค่ะ ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ

เสียดายที่ไม่ได้ไปงาน KM ในวันนั้น แต่ก็โชคดีที่ยังมีผู้รู้อีกหลายท่าน นำเรื่องราวต่างๆ มาเผยแพร่เป็นอานิสงค์ให้กับบุคคลทั่วไป นี่สิครับ Show & Share ที่แท้จริง

  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ   
  • ชอบมากครับที่ว่า "ถ้าแน่จริง  ก็อย่า เสพตำราฝรั่งเลย   คิดเอง ทำเอง รวบรวมเอง แบบไทยๆ วิถีไทย วิถีพุทธ  ก็ว่ากันไปครับ" จริงๆ ครับแบบฉบับของเราย่อมเหมาะกับเรามากกว่า
ผศ.ดร.กาญจน์ เรืองมนตรี

ผมสนใจเรื่องนี้เหมือนกัน อ่านตำราฝรั่งเพื่อให้รู้ว่าฝรั่งคิดอะไร อย่างไร เราจะได้รู้เท่าทันเขา แล้วมาคิดตามบริบทของไทยเราเอง เช่น ภูมิรู้(Knowledge) ภูมิธรรม(Practical) และภูมิแห่งความเป็นไทย(Being THAI) คือหัวใจของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะพูดให้ดูคล้องจองกันอาจเขียนได้ว่า "แสวงหาความรู้ นำสู่การปฏิบัติ ยืนหยัดความเป็นไทย" ดังนั้น การคิดอย่างเป็นระบบต้องเริ่มต้นคิดที่บริบทสังคมไทยเป็นปฐมฐิติ มองระบบต่างๆของไทยว่าในอดีตมีความเป็นมาอย่างไร ส่งผลถึงปัจจุบันอย่างไร สภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร มีเหตุหรือปััจจัยอะไรบ้างที่มากระทบระบบ แล้วอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น จะจัดการอย่างไรกับผลที่เกิด...

เอาไ้วไ้แค่นี้ก่อนครับ ท่านผู้รู้ได้อ่านแล้วคิดเช่นไรครับ ขอคำชี้แนะด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท