ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๕๔ : เยี่ยมโครงการบ้านวิทย์น้อย โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร


ผมทำการประเมินโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ด้วยเกณฑ์ประเมินฯ (คลิกที่นี่) เรียบร้อย และส่งผลการดำเนินการไปให้ฝ่ายประสานงานโครงการส่วนกลางแล้ว หลังจากที่ได้กำหนดแผนร่วมกันตั้งแต่เวทีฝึกอบรมคุณครูและทำ PLC กันครั้งก่อน (คลิกที่นี่) เมื่อคุณครูส่งผลงานมาตามกำหนดเวลา ผมตระหนักว่าการตรวจสอบเอกสารรายงานอย่างเดียว  ไม่น่าจะเกิดประโยชน์มากนัก จึงได้ประสานอาจารย์ศึกษานิเทศก์ที่รับผิด ขอเวลาให้ผมลงไปเยี่ยมกิจกรรมของครูกับนักเรียนที่โรงเรียนทั้ง ๗ แห่งในสังกัดของเทศบาลเมืองมหาสารคาม

วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา มีโอกาสไปเยี่ยมคุณครูอนุบาลบ้านวิทย์น้อยที่โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร ทีมงานของโรงเรียนทำงานบ้านวิทย์น้อยฯ อย่างต่อเนื่อง และเวียนวัตรพัฒนาไปเรื่อยๆ ตามลำดับ   สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นที่น่าจะนำมาบันทึกไว้เป็นตัวอย่าง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน คือความพยายามในการปลูกฝังกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



เป้าหมายคือ การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์และปลูกฝังทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

หลังจากไปเยี่ยมชมการเรียนการสอนของคุณครูแล้ว ครูและผู้มาเรียนรู้ด้วยทุกท่านได้ไปร่วมทำวง PLC ง่าย เพื่อสะท้อนและป้อนกลับ (Feedback) สิ่งที่เห็นและเป็นประโยชน์ร่วมกัน

  • ผมเสนอว่า เป้าหมายของโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยคือ การปลูกฝัง "จิตวิทยาศาสตร์" ตั้งแต่ยังเด็ก และ จัดให้เด็กได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ เหมาะกับวัยของเด็ก ๆ 
  • ผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ คือ ผู้ที่มีเจตคติดีต่อวิทยาศาสตร์ คิด ทำ และนำกระบวนการวิวทยาศาสตร์ไปใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต คือ ใช้เหตุและผล บนพื้นฐานของความเป็นจริง (เคยเขียนเรื่องนี้ไว้ที่นี่ครับ)
  • ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ประกาศและอ้างอิงกันทั่วไป ใช้ตามของสมาคมการศึกษาอเมริกัน ทั้งหมด ๑๓ ประกการ พื้นฐาน ๘ ข้อ และขั้นสูง ๕ ข้อ  แสดงดังภาพด้านล่าง 

  • คุณครูอนุบาลจะพิจารณาด้วยตนเองว่า เด็กอนุบาลควรจะฝึกทักษะใด  ที่สำคัญ ๆ  ก็คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด (เบื้องต้น) และทักษะการจำแนกประเภท ส่วนทักษะการสื่อความหมาย  การใช้ตัวเลข ลงความเห็น และการพยากรณ์ คุณครูอาจต้องฝึกแบบปูพื้นไว้ ด้วยการตั้งคำถามให้ได้ฝึกรอไวในระดับสูงขึ้น 
  • ส่วนเรื่องการทำโครงงาน เด็กจะได้ฝึกทักษะขั้นสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะเหมาะสมกับอนุบาล ๓ และอาจต้องมีคุณครูคอยตั้งคำถามและสนับสนุนอยู่ในช่วงแรกที่ฝึกประบวนการ
สิ่งที่ประทับใจได้รู้เห็น

ผมสังเกตว่า การทดลองบ้านวิทย์น้อย ของคุณครูเทศบาลบูรพาฯ ครั้งนี้ มีการปลูกฝังการเปรียบเทียบตัวแปรอย่างเห็นได้ชัด 


  • การทดลองแก้วดูดน้ำ ใช้เทียนขนาดสั้นยาวแตกต่างกัน แล้วตั้งคำถามให้เด็ก ๆ สังเกต การเปลี่ยนเปลง เปรียบเทียบ 


  • การทดลองเรื่องเมล็ดพืชเต้นระบำ มีการปรับเปลี่ยนให้เด็กเปรียบเทียบระหว่างน้ำเปล่าและน้ำส้มสายชู  เปรียบเทียบเหตุการหลังเติมผงฟูปริมาณต่างกัน และมีการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงหากเปลี่ยนลำดับากรผสมด้วย .... แม้จะยากเกินไป แต่นับว่าถูกทางในการปลูกฝังให้เด็ก ๆ รู้จักตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม 
ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่าน ทำกิจกรรมบ้านวิทย์น้อยต่อไปครับ 
หมายเลขบันทึก: 663104เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2019 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2019 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท