Smart OKRs – ยกระดับ OKRs ให้ Smart ขึ้น


SMART Goals + OKRs = Smart OKRs

SMART Goals เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการกำหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุความสำเร็จ โดยอยู่ในรูปแบบชุดของเกณฑ์ (Set of criteria) ตามกรอบการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) ของ Peter Drucker โดยที่ SMART มีโครงสร้างแบบง่ายๆ ที่อธิบายถึงวิธีการสร้างและวัดความก้าวหน้าสู่เป้าหมาย ซึ่งแตกต่างจากกรอบการดำเนินงานอื่น ที่ครอบคลุมการสร้างกลยุทธ์ตามลำดับชั้นขององค์กรและการจัดการที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ

OKRs เป็นกรอบการบริหารจัดการเป้าหมายที่ช่วยให้บุคลากรทุกระดับชั้นขององค์กรสามารถระบุถึงวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของงาน โดยมีโครงสร้างและเกณฑ์ที่เรียบง่ายสำหรับการสร้างเป้าหมายทางธุรกิจ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่องค์กรต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

โดยทั่วไป OKRs จะประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ ได้แก่ วัตถุประสงค์ (Objective) กับ ผลลัพธ์หลัก (Key Results) แต่ถ้าจะให้ดี ควรลองเพิ่มอย่างที่สาม คือ การริเริ่ม (Initiatives) เพื่อประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น

Objectives – แสดงจุดหมายปลายทาง ผู้ใช้/ทีมงานจะต้องตอบคำถามว่า “ฉันต้องไปที่ไหน?” (“Where do I need to go?”) สิ่งสำคัญคือจะต้องมองเห็นทิศทางที่ชัดเจนและสร้างแรงบันดาลใจ แต่ไม่ต้องเป็นเชิงปริมาณ เช่น การสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการขาย

Key Results – จะทำการวัดความคืบหน้าไปสู่เป้าหมาย ผู้ใช้/ทีมงานจะต้องตอบคำถามว่า “ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าฉันจะไปถึงที่นั่น?” (“How do I know I’m getting there.”) ผลลัพธ์ดูได้จากตัววัดความสำเร็จของวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะเป็นยอดขายหรืออัตราการเข้าชมเว็บไซต์ กรณีที่เลือกอัตราการเข้าชมเว็บไซต์ ควรระบุใช้ชัดในเชิงปริมาณ เช่น มีผู้เข้าชม เว็บไซต์ 5,000 รายต่อเดือน

Initiatives – อธิบายถึงงานที่ทำขึ้นเพื่อผลักดันให้เกิดผลลัพธ์สำคัญๆ ผู้ใช้/ทีมงานจะต้องตอบคำถามว่า “ฉันจะทำอย่างไรเพื่อไปที่นั่น?” (“What will I do to get there?”) สิ่งสำคัญคือ โครงการหรือกิจกรรมที่เลือกทำต้องมั่นใจว่าจะส่งผลต่อผลลัพธ์ที่สำคัญได้จริง ทั้งนี้ การริเริ่มไม่ได้ระบุถึงความสำเร็จ แต่ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความคืบหน้าของผลลัพธ์ที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น สร้างหน้า Landing Page ใหม่ 8 หน้าให้กับเว็บไซต์ เป็นต้น

SMART Goals + OKRs = Smart OKRs

ตัวอย่างการยกระดับ OKRs ด้วย SMART เช่น Objectives => Specific Objectives เป็นวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์หรือมีความสำคัญที่จะต้องบรรลุเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องระบุผู้รับผิดชอบได้ชัดเจน ในอีกแง่หนึ่ง อาจเป็นความคาดหวังถึงมิติเชิงคุณภาพมากเป็นพิเศษ เช่นกรณีของการฝึกอบรมที่มุ่งประเด็นไปที่ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ ความทะเยอทะยาน และพฤติกรรมของผู้เข้าเรียน มากกว่าการฝึกซ้อมหรือขั้นตอนการเรียนการสอน

Key Results => Relevant Key Results หากผลลัพธ์หลักที่มีมากกว่าหนึ่งอย่าง สามารถความเชื่อมโยงและสอดคล้องส่งเสริมกันได้ จะช่วยให้มองเห็นภาพรวม ลดการใช้ทรัพยากร ใช้ความพยายามได้น้อยลง แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อ้างอิง : Thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 662269เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2019 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2019 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท