Innovation-Based Curriculum



      ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ของ มช. เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒   มีการเสนอหลักการของหลักสูตรใหม่ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพ  ที่ วิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล จังหวัดสมุทรสาคร   

           หลักสูตรนี้ริเริ่มโดยการปรึกษาหารือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่จังหวัดสมุทรสาคร    ทำให้ผมเรียกหลักสูตรนี้ว่า Engagement-Based Curriculum    และนำไปสู่การปิ๊งแว้บชื่อของบันทึกนี้ … Innovation-Based Curriculum / Learning

           หมายความว่า การจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ควรเป็นการเรียนแบบ สร้างนวัตกรรม     นักศึกษาเรียนโดยสร้างนวัตกรรมในงานที่ตนทำอยู่แล้ว    และเป็นความต้องการของสถานประกอบการที่ตนทำงานอยู่    หรือกล่าวใหม่ว่า โจทย์มาจากสถานประกอบการ    ทำให้การเรียนรู้เน้นแบบ Problem-Based Learning    ที่ไม่ใช่แค่แก้ปัญหา  แต่เชื่อมสู่การสร้างนวัตกรรมด้วย  

            นักศึกษาจึงไม่ใช่ absorber  แต่เป็น co-creator ของความรู้ และนวัตกรรม

            การเรียนรู้ จะเป็นการเรียนกลับทาง    คือเรียนทฤษฎีจากการปฏิบัติ   

วิจารณ์ พานิช

๒๕ พ.ค. ๖๒


หมายเลขบันทึก: 662139เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2019 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2019 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท