แบบประเมินความเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจ


แบบประเมินความเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจ

สาระสุขภาพ:

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจ

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง

...
“หมอชาวบ้าน” เป็นวารสารที่มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมเขียนเรื่องดีๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพคนไทยมาถึงปีที่ 27 หมอชาวบ้านฉบับเดือนพฤศจิกายน 2548 มีแบบประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองว่า ท่านจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากน้อยเท่าไร
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติได้ทำการศึกษาและติดตามประชากร ซึ่งเป็นพนักงานกฟผ.เป็นเวลานานกว่า 17 ปี เพื่อสร้างแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า แม่นยำกว่าของต่างประเทศ
ปัจจัยเสี่ยงในการประเมินนี้จะใช้คะแนนเสี่ยง 5 ปัจจัยได้แก่ อายุ เพศ ประวัติการสูบบุหรี่ ประวัติโรคความดันเลือดสูง(นับ 140/90 ขึ้นไป) และรอบเอง(ผู้ชายตั้งแต่ 90 ซม.ขึ้นไป ผู้หญิง 80 ซม.ขึ้นไป) นำคะแนนที่ได้มารวมกันก็จะทราบความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง(กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเสียชีวิตเฉียบพลัน)
ความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ มีค่าไม่เท่ากัน ปัจจัยที่มีค่าคะแนนสูงมากถึง 4 ได้แก่ อายุและรอบเอว รองลงไปเป็นปัจจัยที่มีค่าคะแนนสูงถึง 3 ได้แก่ เพศและความดันเลือดสูง ส่วนบุหรี่นั้นมีค่าคะแนน 2
ผู้ที่มีคะแนนรวม 6-9 คะแนนมีความเสี่ยงปานกลาง อาจารย์ท่านแนะนำให้ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอถ้าไม่มีข้อห้าม ลดอาหารหวาน มัน เค็ม งดสูบบุหรี่ทันที และควรไปปรึกษาแพทย์
ผู้ที่มีคะแนนรวมตั้งแต่ 10 คะแนนขึ้นไปมีความเสี่ยงสูง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
ตารางที่ 1: แสดงคะแนนตามความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง
คะแนน
1. อายุ
35-39
-2
  40-44
0
  45-49
2
  50-54
4
2. เพศ
หญิง
0
  ชาย
3
3. บุหรี่
ไม่สูบ
0
  ปัจจุบันยังสูบบุหรี่
2
4. ความดันเลือดสูง
ไม่เป็น
0
  เป็น
3
5. รอบเอวใหญ่เกิน(ผู้ชาย 90 ซม., ผู้หญิง 80 ซม.)
ไม่ใช่
0
  ใช่
4

ตารางที่ 2: คะแนนความเสี่ยงรวมกับความเสี่ยง(ร้อยละ)ในเวลา 10 ปี

คะแนนรวม
โอกาส(ร้อยละ)
น้อยกว่า 0
น้อยกว่า 1
1-5
1
6-8
2
9
3
10-11
4
12
5
13
7
14
8
คะแนนรวม
โอกาส(ร้อยละ)
15
10
16
12
แหล่งข้อมูล:

q       ขอขอบคุณ > อาจารย์ นพ.สุกิจ แย้มวงษ์. โรคหลอดเลือดหัวใจ: แบบประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง. หมอชาวบ้าน(พฤศจิกายน 2548). ปีที่ 27. ฉบับที่ 319. หน้า 14-16.
สาระสุขภาพ...
q       โปรดปรึกษาแพทย์ หรือบุคลากรสุขภาพที่ดูแลท่าน ก่อนนำคำแนะนำไปใช้
โดยเฉพาะท่านที่มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยงต่อโรคสูง // ขอขอบคุณ //

q       ยินดีให้นำไปใช้ได้เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า //

จัดทำ > ๗ พฤศจิกายน ๔๘

หมายเลขบันทึก: 6620เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2005 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท