การพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในยุค 4.0 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต


เรียน ท่านอาจารย์และผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการฯทุกท่าน

ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่หลักสูตร “การพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในยุค 4.0” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 9 วัน ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 7 มิถุนายน 2562  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตร่วมกับ Chira Academy ในนามบริษัทเอเชียแปซิฟิคคอนซัลแตนท์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาศักยภาพของผู้บริหารของมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนานวัตกรรม  และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในประเด็นท้าทายในยุค Disruptive สู่การเตรียมความพร้อมในการจัดการกับปัญหาและอนาคตด้วยความคิดสร้างสรรค์ และความคิดเชิงนวัตกรรม  มุ่งสู่การพัฒนามาตรฐานการจัดการศึกษาและบริหารจัดสถานศึกษาในระดับสากล สู่การบริหารจัดการชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ผ่านรูปแบบการถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ ในแนวทาง Chira Way

ผมจึงขอเปิด  Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้แต่ละท่านร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยายหลักสูตร

การพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในยุค 4.0 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ช่วงที่ 1 : วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2562

ปฐมนิเทศ & Pre-Planning เพื่อศึกษาปัญหาเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

กล่าวเปิด

โดย ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

  กิจกรรมครั้งนี้อยู่ในแผนบริหารและการพัฒนาบุคลากร สายผู้บริหารเป็นการเตรียมการเพื่อให้มีผู้บริหารสืบทอดตำแหน่ง ในการประเมินทุกครั้งจะมีการเตรียมการสืบทอดผู้บริหารคือ Succession Planning คิดว่าจะมีการเตรียมการทุกปี เนื่องจากทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรบุคคล

  หลักสูตรที่อบรมมี 9 วัน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือให้ทุกคนได้มีแนวคิดแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยร่วมคิดร่วมพัฒนามหาวิทยาลัยไปในแนวเดียวกัน

  ขอให้ทุกท่านร่วมคิด ร่วมพัฒนาความรู้และ Share Vision ร่วมกัน

กล่าวขอบคุณและต้อนรับเข้าสู่หลักสูตร

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  ยกตัวอย่าง Gary Becker กล่าวถึงทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด

เมื่อ 8 ปี ที่แล้วได้เข้ามาสอนปริญญาเอกที่ ม.ราชภัฏภูเก็ต และตอนเป็นกรรมการสภา ม.อ. ก็มี มอ. วิทยาเขตภูเก็ต อยากให้ทำงานร่วมกัน

  เรื่องคนสุภาษิตจีนกล่าวว่า ปลูกแตงกว่า 3 เดือน ปลูกมะม่วง 3 ปี แต่ปลูกมนุษย์ชั่วชีวิต

วิชาที่เรียนถ้าเป็นวิชาการไม่มีปัญหา แต่ถ้านำ ม.ราชภัฏภูเก็ตมาตั้ง คือ 50 ปี เราจะทำอย่างไร

  1. วางนโยบาย นำนโยบายไปปฏิบัติ จัดการกับ Disruption และที่สำคัญคือทำอย่างไรให้พฤติกรรมของมนุษย์คิดเพื่อส่วนร่วม

  2. สถานที่ตั้งของ ม.ราชภัฏภูเก็ตอยู่ที่ภูเก็ตซึ่งเป็น Brand ระดับโลก

  การเรียนรู้ทั้ง 9 วัน จะเป็นการร่วมผนึกกำลังกัน ดร.จีระ มีหน้าที่ Inspire ทุกคน และถ้าทุกคนทำร่วมกัน ทำอย่างต่อเนื่อง ลดความขัดแย้งและเปิดใจกว้างร่วมกัน จะเป็นประโยชน์มาก

ความสำเร็จของการทำงาน จะต้องมีการมองเป็นขั้น ๆ ไม่มีทางที่จะชนะตลอดเวลา

เสริมเรื่องการอ่านหนังสือ อยากให้อาจารย์ทุกท่านได้อ่านเพิ่มเติม

ม.ราชภัฏภูเก็ต ไม่ใช่เรียนหนังสือเพื่อที่จะรู้แต่เพื่อผนึกกำลังเอาชนะอุปสรรค เราต้องทำอย่างไรให้ม.ราชภัฏภูเก็ตเป็นที่ยอมรับของโลก คนในห้องนี้ต้องฝึกทำงานร่วมกัน และอะไรก็ตามที่พร้อมเอาชนะอุปสรรคก็จะนำสู่ความสำเร็จได้

ปฐมนิเทศ & Pre-Planningเพื่อศึกษาปัญหาเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

อาจารย์วราพร ชูภักดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่จะพูดในหลักสูตรนี้คือ 2R’s

R ตัวแรกคือความจริง Change จาก Reality

สิจิ้นผิงบอกว่า ความจริง ประกอบด้วย เร็ว ไม่แน่นอน และไม่สามารถคาดการณ์ได้

การปรับ Mindset การสอนอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีกระบวนการ และระยะเวลา

R ตัวที่สองคือ Relevance คือใช่ และอะไรที่ใช่เลย

  การเรียนหนังสือยุคต่อไป ไม่ต้องมีใครมาลอกใครแล้ว เพียงแต่วัฒนธรรมขององค์กรแตกต่างกัน ที่ม.ราชภัฏภูเก็ตมีศักยภาพ (Potential) มหาศาล Inspire อย่างเดียวไม่พอ ต้องไปเอาชนะอุปสรรคบางอย่างได้ด้วย

  ให้ทุกท่าน List ปัญหา 10 เรื่อง อะไรที่ง่ายทำก่อน อะไรที่ยากรอก่อน แต่ถ้าไม่ทำเลยจะล้มเหลว

  การบริหารจัดการ ต้องใช้เวลาซึมนิดนึง

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

  บรรยากาศในการเรียนวันนี้เหมือนพี่น้อง สิ่งที่อาจารย์พูดคือทำให้เราเกิดความร่วมไม้ร่วมือกัน

  โจทย์คือการพัฒนาหลักสูตรผู้นำ ประเทศไทย 4.0

  ประเทศไทย 4.0 คือยุทธศาสตร์ของประเทศที่รัฐบาลมองว่าเราติดอยู่กับกับดักรายได้ระดับกลาง ซึ่งเป็นระดับกลางไม่จริง การยกระดับรายได้ขึ้นสู่ระดับสูงจริง ๆ รัฐบาลได้ให้เครื่องมือไว้ 3 อย่าง

  1. นวัตกรรม

          - เราต้องเริ่มด้วย Reality คือดูจาก Realistic ว่าเป็นใคร

          ดร.จีระ เสริมว่าเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเขียนไม่ยาก แต่ปัญหาคือการ Implement ประเทศไทยส่วนใหญ่มีแผนมาก มี How to มาก แต่ไม่มีการนำไปใช้ Overcome the difficulty

          หลักสูตรนี้ไม่ได้สอนให้คุณรู้ หนังสือที่จะเกิดขึ้น น่าจะมาจาก มรภ.ด้วย และรุ่นนี้จะพูดถึง Chira Way ซึ่งสิ่งที่ดร.จีระเสนอมาจาก Experience และความแก่

          สิ่งที่ม.ราชภัฏภูเก็ตทำ ทุกคนที่เรียนรู้ในครั้งนี้เป็นคนสำคัญมาก ซึ่งถ้าทุกคนทำจริงแล้วเอาชนะเล็ก ๆ อย่างต่อเนื่อง

          การพัฒนาบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นงานยุทธศาสตร์ คือการลงทุนไป 1 ต้องได้ 10 ถ้าจัดการกับภายนอกได้ ม.ราชภัฏก็สามารถเอาชนะมหาวิทยาลัยชั้นนำได้

          ทั้ง 9 วันจะเห็น ดร.จีระ เกือบทุกวัน และเมื่อจบไปแล้วจะไม่หยุด ถ้าท่านอธิการเห็นคุณค่าผม เราอยู่ระดับเดียวกัน เราเป็นเพื่อนกัน เพราะบางเรื่องไม่มีใครรู้ Reality เท่ากับคนที่ ม.ราชภัฏภูเก็ต

การอ่านหนังสือเพื่อร่วมวิจารณ์หนังสือ

          ก่อนจบ 3 วันนี้จะมีการบ้านคือ ดร.จีระได้เลือกหนังสือมาเรื่อง Start with Why และหนังสือภาษาไทย ให้ใช้เวลาในช่วงที่ไม่ได้เจอกัน อ่านหนังสือและแลกเปลี่ยนกันว่าได้อะไร

          ถ้าเราเลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราจะเป็นประโยชน์มาก อย่าอ่านคนเดียว

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

          ใช้กรอบแนวคิดหรือทฤษฎี Chira Way เพื่ออธิบาย เมื่อปฐมนิเทศน์จะได้เรียนรู้ทฤษฏีใหม่เหล่านี้เพื่อกรอบความคิดเราเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นประโยชน์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เสริมว่า Session ที่เสริมมาเรื่องอาจารย์ไกรฤทธิ์การสร้างแบรนด์ เป็นเรื่องที่สำคัญที่ ม.ราชภัฏภูเก็ตต้องมุ่งสู่การเป็น International  และวันหนึ่งมรภ.ต้องมีความคิดที่จะออกนอกระบบและต้องคิดเรื่องการตลาดให้ดี เพราะ Local Situation มีปัญหามาก ๆ การตลาดต้องมี Networking ให้ดี และใครก็ตามที่ทำเรื่องนี้ต้องกัดไม่ปล่อย

ในวันที่อาจารย์ไกรฤทธิ์มา  มรภ.ต้องนึกถึง Trend ในอนาคตที่จะเป็นแค่ Local ไม่ได้ ทุกคนต้องคิดร่วมกัน เราต้องเขียนแผนให้ดีและอย่าทำเป็น Silo

ม.ราชภัฏภูเก็ตต้องเป็นประตูและหน้าต่างของคนในโลกนี้ ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกัน ต้อง Creativity และ Inspiration นอกจากนี้เมื่อเราเจออุปสรรคต้องเอาชนะอุปสรรคให้ได้ เอาชนะเล็ก ๆ แต่การขึ้นกระไดของวิชาการ การพัฒนาและปรับพฤติกรรมของคนต้องใช้เวลามหาศาล และทำอย่างต่อเนื่อง

การวิจารณ์หนังสือ ควรมีการ Debate ข้ามโต๊ะกัน เพื่อที่เราจะได้แนวคิดใหม่ ๆ และถ้าอนาคตชอบ จะมีเครื่องมือใหม่ ๆ เสมอ

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital             ทุนมนุษย์

Intellectual Capital      ทุนทางปัญญา

Ethical Capital             ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital        ทุนแห่งความสุข

Social Capital              ทุนทางสังคม

Sustainability Capital   ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital             ทุนทาง IT

Talented Capital         ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

เมืองไทยต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ใช่เก่งแล้วโกง

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์/ยุค 4.0

Creativity Capital         ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital      ทุนทางความรู้

Innovation Capital      ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital      ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital         ทุนทางวัฒนธรรม

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ทฤษฎีตัว T ของอาจารย์จีระ ทุกคนมี T แนวตั้งของแต่ละคน แต่ไม่เคยมีการนำความเก่งของแต่ละคนมาสร้างให้เกิดประโยชน์ขององค์กร จากกล่องแนวตั้งที่สะสมมาเป็นชั้น ๆ เราต้องมี T แนวนอนคือความรู้ใหม่ ๆ เข้ามา แต่เราต้องมีความรู้ หรือวิธีการในการกวนความรู้เป็นชั้น ๆ ของแนวตั้งขึ้นมาให้ได้

ทำไมถึงต้องเรียนรู้เรื่องการตลาด ทำไมต้องมองเรื่อง International ด้วย เราจะยกรายได้ระดับประชาชาติและชุมชนอย่างไร เราอาจไม่ต้องค้าขาย แต่เราอาจต้องมีไอเดียที่สนับสนุนทางการพัฒนาการตลาด ดั้งนั้น เราต้องมีไอเดียล้ำ ๆ ในการต่อยอดให้ได้

การร่วมแสดงความคิดเห็น กลุ่มละ 2 นาที ได้อะไรจากการเรียนรู้เมื่อเช้านี้

กลุ่มที่ 1

ผศ.ดร.ธวัชชัย ธงทอง รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

          สิ่งที่ฟังเมื่อเช้านี้ สิ่งที่ได้คือ

1. สิ่งที่ท้าทายที่ ดร.จีระนำมา จะช่วยยกระดับและพัฒนาศักยภาพผู้บริหารของ มรภ.ได้มากน้อยเพียงใด

          2. ทุกคนจะมองกระบวนการในการเข้าใจและไปถึงจุดนั้นอย่างไร สามารถสร้างผู้บริหารให้ต่อเนื่องและยั่งยืนได้หรือไม่อย่างไร

          3. การนำเสนอกระบวนการพัฒนาในวันนี้จะสามารถหลุดกรอบความเป็นราชการ ที่ยังเป็นปัญหา สามารถออกจากกรอบราชการเพื่อไปแข่งกับมหาวิทยาลัยที่คล่องตัวได้อย่างไร

          ดร.จีระ เสริมว่า ต้องเป็น Combination ของ ดร.จีระ และการรู้ความจริงของ มรภ. เพราะเราจะแข่งกับใคร เราต้องรู้ตัวเองจริง ๆ ก่อน

          ตอนที่ออกจากกรอบมหาวิทยาลัย จริง ๆ เมื่อออกมาแล้วจะเปลี่ยนหรือไม่ เพราะถ้าคิดจะออกนอกระบบต้องระวังเรื่องเงิน เพราะมีคนคาดหวังสูง และคนไทยไมชอบการเปลี่ยนแปลง ความรู้แพง แพงกว่าค่ากินข้าว แต่ต้องเป็นความรู้ที่เป็น 2R’s จะหาได้จากที่ไหน อย่างไรก็ตามต้องออกนอกระบบ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ คนไทยชอบอยากได้ ชอบของฟรี แต่ไม่ยอมเสีย มรภ.จะออกหรือไม่ ต้องให้คนข้างนอกมาดูเรื่องการเงิน ดูบัญชีให้ดีก่อน อย่างไรก็ตามไอเดียที่จะหาเงินเข้า มรภ. มีเป็นหมื่นล้านบาท แต่ถ้ายังติดนิสัยแบบเดิม หรือแบบราชการ ไม่มีความสำเร็จ คนไทยที่ทำหน้าที่แบบนี้มีกี่คน

          ในที่สุดโลกเราจะต้องตายด้วย Intangible

กลุ่มที่ 2

อาจารย์ศักดิ์ชาย เพชรช่วย จากคณะวิทยาศาสตร์

          กลุ่มนี้อยากทราบว่าทฤษฎี Chira Way จะมาช่วยแก้ปัญหา Disruption ในการรู้การเป็นตัวตนและเผชิญกับ Disruption ได้อย่างไร เราจะไปรอดหรือไม่

          ดร.จีระ เสริมว่าจะพูดเรื่อง Chira Way มากขึ้น เรื่องคน Trend ทุกอย่างจะจาก Tangible เป็น Intangible เช่นจบปริญญาตรีกับ Emotion , Emotion สำคัญกว่า อย่าง Trend ทางเศรษฐศาสตร์เปลี่ยนเป็น Behavior หมดแล้ว  หรืออย่างที่ไอน์สไตน์ บอกว่าจริง ๆ แล้วมนุษย์เราโง่  เรายังต้อง Study เรื่องคนอยู่ ยิ่งศึกษาเรื่องคนมากเท่าไหร่คิดว่าตะวันตกแพ้ตะวันออกมาก

          อย่างเรื่อง Mindfulness คือ Meditation แต่ไทยเขียนไม่เป็น

          ลีโอดาร์โน ดาร์วินชี่บอกว่า ไม่มีคนไหนที่ Pure Science หรือ Pure Social Science สิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9  Genius มากคือ ท่านเป็นทั้ง 2 อย่าง

กลุ่มที่ 3

อาจารย์ปราโมทย์ คณบดี คณะครุศาสตร์

          สิ่งที่จะถามคือ ใน มรภ. มีแนวคิดและบุคลิกแตกต่างกันค่อนข้างสูง จึงเกิดความท้าทายว่าท่านจะทำให้คนใน มรภ.ที่มีบุคลิกที่แตกต่างกัน ทำให้สำเร็จด้วยวิธีไหน ในฐานะที่ท่านเป็นแบบนี้

          ดร.จีระ ตอบว่า ความสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับอาจารย์ มรภ.ด้วยครึ่งหนึ่ง ต้องขึ้นอยู่กับ การตัดสินใจ และความต่อเนื่อง และถ้า มรภ. ทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี และลงไปที่ข้างล่างด้วยจะดีมาก แต่ส่วนใหญ่ประเทศไทยทำเฉพาะบางกลุ่ม และเฉพาะผู้นำ จึงอยากให้ท่านทำด้วยในส่วนของ ดร.จีระ จะพยายามใช้ประสบการณ์ในการทำที่ดีที่สุด อย่าขึ้นอยู่กับ ดร.จีระมากเกินไป สิ่งที่ ดร.จีระจะทำคือการสร้างแรงบันดาลใจให้สนุก สร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นเอง เริ่มขุดศักยภาพของคนในห้องนี้แล้ว เริ่มใช้จอบขุด และคิดว่าความแหลมคมจะทำให้ลึกขึ้น ส่วนปัจจัยสำคัญของ มรภ.คืออยู่ที่ความสามัคคี ความร่วมมือ และการยอมรับความแตกต่างกัน ทุกที่มีเรื่องการเมืองภายใน แต่ถ้าร่วมมือกันได้จะมีประโยชน์สิ่งที่ท่านต้องช่วยคือ 50 %  ส่วน ดร.จีระ จะทำให้ดีที่สุด

กลุ่มที่ 4

ดร.วิชานัญ บุญเกิด รองผู้อำนวยการศิลปวัฒนธรรม

          ในกลุ่มนี้เสนอเรื่อง Phuket Brand ที่ต้องเป็น International ให้ด้วยบางส่วนเพราะคิดว่าน่าจะเป็น Combination ในส่วน local ด้วย อยากเห็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เห็นภาพชัดว่าจะสร้าง Phuket Brand ในอนาคตอย่างไร

          อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่า ดร.จีระ จะพาออกนอก Boundary less คือการพาออกนอกพรมแดน แต่เรามีขาหนึ่งคือด้าน Local ด้วย  ถ้าเรายังขึ้น International ไปได้ ต้องนำบางสิ่งผูกไว้ เช่นขุมเหมือง  สิ่งที่อาจารย์จีระพูดอย่างหนึ่งคือ Combination มีการท้าทายได้ส่วนหนึ่ง

          ดร.จีระ เสริมว่าการเรียนยุคใหม่ไม่ได้มาจาก PowerPoint แต่การเรียนยุคใหม่มาจากการคาดไม่ถึง หลักสูตร International กับในประเทศไม่ควรแยกกัน และหลังจากวันนี้แล้ว คนในห้องนี้ควรคิดให้ดีคือความร่วมมือกับต่างประเทศอย่างน้อยต้องมีตัวละครที่ไปเชื่อมโยงให้เขาสามารถ Trust เราให้ได้

ยกตัวอย่างเด็กอินโดนีเซีย 0-15 ปี พร้อมที่จะมาเมืองไทย และ 18-22 ปี มีน้อยลง สิ่งที่จะ Balance ในอาเซียนคือ มี Age Structure ของอายุอยู่ เราไม่สามารถ Exchange Labor ได้ ข้อดีของการเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงใหม่คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ รัชกาลที่ 10 พระองค์ท่านให้ความสำคัญมาก ให้นำเรื่องที่เกี่ยวข้องจริง ๆ กราบทูลให้พระองค์ทราบ  อาจมีเรื่องคนที่ทำให้คุณภาพเด็กดีขึ้น

การสอนภาษาอังกฤษของไทยถือว่าแย่ในอาเซียน ขอเสนอเรื่องการวางแผนการเรียนระบบ International ที่น่าจะนึกถึงคือกลุ่มแอฟริกัน คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมไม่เหมือนคนแอฟริกันที่อยู่ในอเมริกา  ประเทศที่จะมาแรงคือ แอฟริกา และคิดว่าจะมีทุนด้วย สิ่งนี้จึงควร Balance กันให้ได้

กลุ่ม 5

อาจารย์บัณฑิต ตันยง ผู้อำนวยการสำนักทะเบียน

          การที่ภูเก็ตเป็นเมืองนานาชาติสามารถทำได้ดีหลายอย่าง แต่เรายังไม่รู้ตัวเองว่าเด่นอะไร จะพัฒนาไปทางไหน จะต้องทำความร่วมมือกับต่างประเทศหรือไม่ เราต้องกลับมามองตัวเอง ประเด็น Disruption อย่างหนึ่งคือจำนวนนักศึกษาที่ลดลง เราต้องแก้ปัญหาร่วมกัน

          ดร.จีระ เสริมว่า นักศึกษาลด เป็นการลดเฉพาะบางช่วงอายุ แต่เพิ่มในบางกลุ่มที่ต้องการพัฒนา Skill บางอย่างเช่น การเรียนเรื่องดิจิทัลในกลุ่มคนอายุมากขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งดีเพราะเราจะมี Wisdom มากขึ้น  เรื่องเทคโนโลยีอยู่ที่เรา เราต้องวางแผนสิ่งนี้ให้ดี และรีบวางแผนหลักสูตรระยะสั้น อาจารย์อย่างคิดกันเอง อย่าพึ่ง Demand Side อย่างเดียว เราต้องแน่ใจว่าคนในภูเก็ตที่มาเรียนกับเรา มีการปรับเปลี่ยนเรื่องโครงสร้างอายุที่ไม่เหมือนในอดีตนั่นเอง อย่างเรื่องดิจิทัล ไม่ใช่เรื่องคนรวย คนจนแล้ว แต่เป็นเรื่องของทุกคน ให้ลองคิดว่าคนแก่ที่จะมาเรียนกับ มรภ.น่าจะมีมากขึ้น

          ในหลักสูตรนี้น่าจะทดลองอะไรที่นักธุรกิจอยากทำร่วมกับเรา เช่น ภาษา ถ้าทำได้ดี ตลาดยังมีอยู่ อาจารย์ต้องออกแบบหลักสูตรเช่นกี่เดือน แล้วจะ Certificate อย่างไร มี Honor หรือไม่ จบหลักสูตรระยะสั้นหลายหลักสูตรแล้วได้ปริญญาตรีหรือไม่เป็นต้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เราต้องไปดูว่าคนอายุ 25 – 60 ปี อยู่ที่ไหน เราต้องไป Implement การเรียนยุคใหม่ต้องสนุก ต้องยืมความร่วมมือกัน และระหว่างที่อยู่ด้วยกัน รู้ว่า Customer อยู่ที่ไหน  มรภ.มาจาก Supply Side เพราะเราคือฝ่ายผลิต แต่ทุกวันนี้ Demand Side เป็นตัวตัดสิน หรือการตลาดเรียกว่า Customer is King

คุณวราพร ชูภักดี

ยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารคุณภาพของทุนมนุษย์ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง

(1) Macro – Micro เราต้องเข้าใจถึงภาพใหญ่ก่อนแล้วมาดูว่ากระทบเราอย่างไรบ้าง

          ดร.จีระเสริมว่า คนที่มี Perspective ที่กว้างมักจะลงลึกได้ Relevance เพราะเชื่อมโยงกัน สิ่งที่อยากฝากไว้คืออย่ามองแคบ ให้มองกว้าง อย่างสถาปนิกทำไมมี Perspective ที่กว้าง เพราะถ้าเราแคบ เราจะมอง Opportunities ที่แคบ

(2) ปลูก – พัฒนา

          เราจะมองว่า มรภ.อยู่ตรงไหน

          ดร.จีระ เสริมว่าต้องดูทั้ง Demand Side และ Supply Side ปลูก หรือ HRD นั้น Overlap กับ Demand Side คือหลักของ HR ในรูปนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ ดร.จีระ และไม่ต้องการลอกตำราฝรั่ง เลยคิดทฤษฎีที่ Simple และเมื่อไม่นานนี้เปรียบเทียบ เด็กเกิดของอินโดนีเซีย 0-15 ปี สูงกว่าไทยอยู่

          ดร.จีระ เสริมว่า การปลูกต้องมีการพัฒนาตลอดเวลา ไม่เฉพาะตอนที่จบปริญญาตรีไปแล้ว ต้องหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

          อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่า สิ่งที่อาจารย์จีระทำ ง่ายสำหรับเรา ให้ดูว่ามีเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้น เราเป็น ม.ราชภัฏ เราต้องปลูกได้หลายอย่าง  สิ่งที่อาจารย์จีระวางคือสถาปัตยกรรมทางด้านทุนมนุษย์ ทุนมนุษย์คือเอาคนมาเสริมสร้างให้เป็นทุนเพื่อสร้างแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ ซึ่ง HR Architecture อาจารย์เขียนมา 15 ปีแล้ว และท้ายสุดจะตอบโจทย์ ความยั่งยืน  ทำแล้ว ทำอีกต้องพัฒนาไปเรื่อย ๆ คนมีความสุข ประเทศชาติมีความสุข และสุดท้ายต้องสมดุล

          อาจารย์จีระเสริมว่า Architecture ไม่หยุดนิ่ง มี Choice กับ No Choice ดังนั้น Architecture คือการออกแบบ แต่ Choice คือสิ่งที่ควรจะเป็นแต่ยังไม่เกิด

ข้อดีของการเรียนในวันนี้คือการเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนหนึ่งคือ Education ถ้าดีจะช่วยเรื่อง Corruption คุณธรรม สิ่งแวดล้อม สิ่งที่เกี่ยวกับเราเนื่องจากเกี่ยวกับคน  คนไม่ใช่ถูกเพราะคนมีศักดิ์ศรี แต่ที่ถูกเพราะไม่มีคุณภาพ แต่ถ้ามีคุณภาพเมื่อไหร่ คนจะแพงมาก

ข้อดีของ ดร.จีระ คือมีแรงบันดาลใจ มีกระดาษและจดไว้ ชอบเขียน และชอบอ่านแบบโป๊ะเช๊ะ  ไม่สอนเหมือนเดิม แต่แนวคืออันเดียวกัน สิ่งนี้ไม่ผิดเพราะมีการทดสอบโดยการ Run Equation มาแล้ว

โลกเปลี่ยน ดังนั้น อาจารย์ใน มรภ.ก็ต้องเปลี่ยน

อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่า แม้อาจารย์จีระบอกไม่เหมือนเดิม แต่สิ่งที่เหมือนเดิมคือแก่น วิทยาศาสตร์ได้มาแต่เด็กคือ เด็กต้องสนุก แต่พอมาถึงในส่วนปลายแถบคือ Industry , Service Sector  หลายโรงเรียนไม่มีครูวิทยาศาสตร์  งานเราไปตอบโจทย์อะไรเขา สิ่งที่ดร.จีระนำมาให้ดูเป็นแค่โครงสร้าง แต่ท่านก็สามารถเปลี่ยนผนังได้ เราสามารถไปคิดกันต่อ

ดร.จีระ เสริมว่า HR Architecture สามารถจับ Keyword ได้ชัดเจนคือมนุษย์ต้องมีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม มีรายได้ ฯลฯ  เด็กบางคนมาจากพ่อแม่ที่ไม่มีความพร้อม เป็นพ่อแม่วัยใส ทำให้เด็กที่ออกมาไม่มีคุณภาพ

ถ้าวันนี้ไม่มีคนมาจากเมียนมาร์มาทำงานภูเก็ตจะหน้าตาเป็นอย่างไร  ดังนั้นเรื่อง Research เหล่านี้เป็นสิ่งที่คนไทยควรทำ ค่านิยมต้องเป็นค่านิยมที่แท้จริง ไม่ใช่ค่านิยมจอมปลอมที่สร้างจากกระแสสื่อทางทุนนิยม

แนวทางการพัฒนาคนแบบ 8K’s และ 5K’s ใหม่

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital             ทุนมนุษย์

Intellectual Capital      ทุนทางปัญญา

Ethical Capital             ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital        ทุนแห่งความสุข

Social Capital              ทุนทางสังคม

Sustainability Capital   ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital             ทุนทาง IT

Talented Capital         ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์/ยุค 4.0

Creativity Capital         ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital      ทุนทางความรู้

Innovation Capital      ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital      ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital         ทุนทางวัฒนธรรม

(3) เก็บเกี่ยว – บริหาร

          อาจารย์วราพร บอกว่าเราจะใช้การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างไรให้เกิดการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

          1. ทฤษฎี 3 วงกลม ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมองค์กร ศักยภาพองค์กร และแรงจูงใจ

          2. HRDS ในการทำงานร่วมกับคน สร้างทีม หรือการสร้างเครือข่าย ต้องประกอบด้วย ความสุข ความเคารพ การยกย่อง และความยั่งยืนในการทำงานรร่วมกัน

(4) ทำให้เกิดผลสำเร็จ/สร้างคุณค่า (Execution)

          การทำให้เกิดผลสำเร็จในคุณค่าใหม่ สร้างมูลค่าใหม่ คุณค่าเพิ่ม คุณค่าจากความหลากหลาย เราจะ Execution อย่างไรให้วัดคุณค่าได้ อาทิ 3 V’s

(5) การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)

          สิ่งที่ทำทั้งหมดคือเรื่องความยั่งยืน

กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการเก็บเกี่ยว

1. 4L’s คือการสร้างสังคมการเรียนรู้

Learning Methodology   มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment    สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunities   สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

Learning Communities   สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2. 2R’s คือการมองความจริงและตรงประเด็น (Reality & Relevance)

          สิ่งที่เป็นตัวยึดคือทำให้ทำงานง่ายขึ้นว่าใช่หรือไม่ ตรงประเด็น และสำคัญหรือไม่

3. 2I’s คือทฤษฎีในการจุดประกายและสร้างจินตนาการ (Inspiration & Imagination)

          ให้ทุกท่านจินตนาการว่าจะทำอะไรได้บ้างจากสิ่งนั้น และการพัฒนาอยู่ในมือทุกท่านขึ้นอยู่กับว่าจะลงมือทำหรือไม่

4. 3V’s

5. 3L’s

6. C&E Theory

          คือการเชื่อมโยงกันและผนึกกำลังในทิศทางเดียวกัน จะช่วยให้ขยายวงได้เร็วมากขึ้น

7. C-U-V

          คือการทำตามอย่าง ใช้ความเข้าใจ และต่อยอด สร้างคุณค่าใหม่ ๆ

8. ทฤษฎี 3 ต.

          คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง เพราะไม่มีโครงการไหนที่เห็นผลได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ

9. ทฤษฎี 3 ต. (ใหม่)

          คือ แตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ในรุ่นนี้จะทำหนังสือ Chira Way สิ่งที่เขียนและคิดไว้เพราะไม่อยาก Copy ฝรั่ง เพราะคิดว่าเรื่องคน คนต่างชาติสู้เราไม่ได้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระพุทธเจ้าคืออาจารย์ ดร.จีระ ยกตัวอย่างทุนทางอารมณ์ ถ้าคนเป็นใหญ่แล้วตบะแตก เขาจะให้เป็นใหญ่หรือไม่ มนุษย์ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ เพราะมนุษย์ไม่ใช่ Machine  

          มนุษย์เรื่อง Motivation กับความกตัญญูสำคัญที่สุด โชคดีที่มีทึมงานที่ให้เกียรติ ดร.จีระ

          หลักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า คนที่จะทำอะไรเก่งได้ต้องลงทุนก่อน (Capital Theory) แต่ไม่ใช่แค่มีวัตถุ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม

          สิ่งที่อยากฝากไว้ก่อนทานข้าวคือ ทฤษฎี 4L’s

1. Learning Methodology   มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

          คือการกระตุ้นให้เขาคิด หมายถึงต้องมีการสร้างแรงบันดาลใจด้วย สิ่งที่คนดีได้เพราะฟังแล้วคิด และที่มากกว่านั้นคือ อาจารย์ในห้องนี้เริ่มไปปะทะกับ มรภ. แล้วจะเจอ Macro คือ Disruption แล้วจะเจอว่า Reality เปลี่ยน แล้ว Relevance คืออะไร

          การเป็นนักวิชาการที่ประสบความสำเร็จยากมาก ซึ่งถ้าเราเป็นตัวเล็ก ๆ และทำเรื่องเล็ก ๆ ใน มรภ. ใครจะมาสนใจ ยกตัวอย่าง อาจารย์นิคม จันทรวิทูร และดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำเรื่องประกันสังคมสำเร็จ

          ที่ภูเก็ตต้องหาอะไรที่เป็น Brand สักหนึ่งอันแล้วทำให้คนเข้าใจด้วย

2. Learning Environment   สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunities   สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

4. Learning Communities   สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

เปิดเทป ดร.กฤษณพงศ์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ข้อดีของเทป ดร.กฤษณพงศ์ คือ อาจารย์จีระ และ ดร.กฤษณพงศ์เป็นเพื่อนกัน  ผมอยากเรียนให้ทราบว่าถ้าชีวิตเกิดมาในอนาคตจะเป็นใหญ่เป็นโตอย่าขัดแย้งกัน

          ประเทศไทยแปลกคือการมาอยู่ที่นี่มองโลกในแง่ดี

ข้อดีของ ดร.กฤษณพงศ์ คือเป็นคนดีและช่วยคนตลอดเวลา ปัญหาที่ต้องเจอคือ ปัญหา 2R’s เมื่อเจอปัญหาจะแก้ไขอย่างไร

ตอนบ่ายวันนี้ขอพูด 2 เรื่องคือ เรามีวัตถุดิบ มากและทำตามสถานการณ์

ความยากของปัญหาคือ ทำแล้วได้อะไร ถ้าได้แค่ไอเดีย ได้คนมาพูด มีไอเดียดีแต่ไม่สำเร็จ ไม่มีการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ต้องเชิญมา แต่เมื่อเจอปัญหาที่เรียกว่า Execution , Reality, Conflict จะไม่สามารถข้ามไปได้ ดังนั้นการ Pay Attention ในการวิ่งข้ามรั้ว

ถ้าใน 30 ล้านบาท ภูเก็ตเอาสัก 50,000 บาทก็คุ้มแล้ว

กฎ 12 ข้อในกระบวนการ Workshop

1. การเป็นประธานที่ดีต้องให้คนอื่นมีบทบาท ต้องไม่ Top Down ในแต่ละกลุ่มอย่าเป็นประธานแบบ

2. การเลือกเลขานุการที่เก่ง ทุกคนต้องออกความเห็น จดให้แม่น เพราะแต่ละกลุ่มต้องมี Value Diversity

ประธาน กับเลขาฯ ต้องทำงานร่วมกัน ต้องให้เกียรติเขา และเวลาประธานสรุป เลขาฯ ต้องเตรียมให้เรียบร้อย

3. ประธานต้องสามารถอธิบายให้ชัดเจนว่าหัวข้อที่จะพูดคืออะไร

Peter Drucker – Learn from good to great  เรียนรู้จากลูกศิษย์

4. ประธานต้องมีการบริหารเวลาให้ดี

5. ประธานต้องใส่ใจทุกคน และศึกษาในจุดแข็งและความสามารถของแต่ละคน

6. ประธานต้องกระตุ้นให้ทุกคนในกลุ่มออกความคิดเห็น และมีส่วนร่วม

7. ประธานต้องสร้างบรรยากาศให้ทุกคนปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น

8. ประธานต้องมีวิธีการเจรจาต่อรองแบบ Crucial Conversationการสื่อสารสำคัญมาก

9. ประธานต้องเติมเต็มช่องว่าง และสร้างแรงบันดาลใจ

10. เลขานุการต้องสามารถสรุปประเด็นและจัดเตรียมการนำเสนอ

11. เลือกสมาชิกการนำเสนอให้ดี

12. อย่างน้อยควรมีผู้นำเสนอ  3 คนเพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าแห่งความหลากหลาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

          เริ่มต้นโครงการฯ ก่อนอื่นต้องหาก่อนว่าอะไรเป็นประเด็นท้าทายและปัญหา อุปสรรค  ให้คิดโยงไปกับโครงการที่อยากทำ เรื่องที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนา เช่นโครงการเพื่อสังคม และตอบโจทย์นวัตกรรม

          นวัตกรรมคือ 1. เรื่องคิดใหม่ทำใหม่ 2.นำของเก่ามาเล่าใหม่ แต่เล่าแล้วต้องว้าว

          3 เรื่องที่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและคิดว่าสำคัญ อยากให้นำทุกสิ่งที่เรามีนำมาใช้ประโยชน์ให้มาเกิดด้วย ยกตัวอย่างเช่นการมีห้องประชุมใหญ่ ๆ ต้องทำให้เกิดผลประโยชน์ที่งอกเงย

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          โอกาสที่ทำให้เกิดความสำเร็จให้ Rank ออกมา การเลือกโปรเจคต่าง ๆ Rank ถ้าเป็น 1-5 ด้วยจะยิ่งดี

          1. ปัญหาที่เป็น Critical และไม่สำเร็จควรนำมาเสนอ 3 เรื่อง

          2. Opportunity ใหม่ ๆ เช่น Aging Population ขอ 2 ประเด็นคือ 1) Impact ต่อมหาวิทยาลัยที่ชัดเจน และ 2) ทำให้สำเร็จได้

          3. เรื่องการสร้าง Networking

         

Workshop (1)

1.วิเคราะห์เรื่องที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย (ใส่ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน และความยาก ตามลำดับ 1-5)

          1.1 จากปัญหาโอกาสในสถานการณ์ปัจจุบัน 3 เรื่อง

          1.2 จากปัญหาโอกาสในอนาคตเพื่อจัดการกับประเด็นท้าทายและ Disruptive  3 เรื่อง

การนำเสนอ Workshop (1)

กลุ่มที่ 5

1.วิเคราะห์เรื่องที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย (ใส่ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน และความยาก ตามลำดับ 1-5)

          1.1 จากปัญหาโอกาสในสถานการณ์ปัจจุบัน 3 เรื่อง

          1) จำนวนนักศึกษาที่ลดลงแต่ละหลักสูตร อาจมีการวิเคราะห์ว่า หลักสูตรไม่น่าพอใจหรือไม่ หน่วยกิต และค่าเทอม  แล้วเราให้อะไรกับนักศึกษาบ้างคุ้มค่าหรือไม่

          2) การพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ มีกำลังใจ มีความสามารถในการพัฒนาตัวเอง ทั้งสายสอนและสนับสนุน

          3) สิ่งอำนวยความสะดวก ได้พัฒนาระดับหนึ่งแล้ว แต่การพัฒนาหอพัก IT รถรับส่ง ยังไม่เต็มรูปแบบ อย่างภูเก็ตเมืองระดับโลก ด้านไอที มีการลงทุนบ้าง คาดว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเร็ว ๆ นี้ 

          1.2 จากปัญหาโอกาสในอนาคตเพื่อจัดการกับประเด็นท้าทายและ Disruptive  3 เรื่อง

          1) การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น หรือการเซ็น MOU กับต่างประเทศ ใช้ความร่วมมือเพื่อให้เราดัง เพื่อสอดรับกับการออกนอกระบบ เราต้องมีจุดเด่นที่แสดงได้

          2) จุดเด่นด้านสายวิชาการและสนับสนุนยังต่ำอยู่ ต้องพัฒนาอีกมาก ตอนนี้อยู่ระหว่างกฎระเบียบการพัฒนา

          3) การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทันสมัย เช่น หอพัก น้ำประปา ขนส่งโดยใช้ IT สอดรับการประการเป็นภูเก็ตเป็นเมืองระดับโลก

          ดร.จีระ เสริมว่า อยากให้ Rank นิดนึงว่าเรื่องไหนสำคัญสุด และตอนสรุปทั้ง 6 เรื่องเรื่องไหนที่ซ้ำกันบ้าง ที่ประทับใจคือเรื่อง IT ที่มีแนวโน้มว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นเลิศระดับโลก อยากมีส่วนร่วมในการเดินทางไปสู่ความสำเร็จด้วย  และการเดินทางย่อมมีอุปสรรคไม่น้อย และอุปสรรคเหล่านี้เสมือนเราได้เป็นสมาชิกคนหนึ่งที่ร่วมกันแก้ปัญหา มีปัญหาที่แก้มาก และมีเรื่องเบสิกมาก  วิธีการแก้คือ 1.ต้องใกล้ชิดกับท่านองคมนตรี 2. พัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ 3. มีหลักสูตรโดยเกณฑ์คือรายได้ที่มาจากการศึกษามาขึ้น โดยเฉพาะด้าน Demand  Side

          สรุปคือ 1.การมาที่นี่คือการมาเป็นแนวร่วมกัน 2. ชื่อเสียงของมรภ.ภูเก็ตมีระดับหนึ่ง 3. การร่วมกันทำอะไรที่เป็นประโยชน์มากกว่านี้

กลุ่มที่ 4

1.วิเคราะห์เรื่องที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย (ใส่ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน และความยาก ตามลำดับ 1-5)

          1.1 จากปัญหาโอกาสในสถานการณ์ปัจจุบัน 3 เรื่อง

          1.2 จากปัญหาโอกาสในอนาคตเพื่อจัดการกับประเด็นท้าทายและ Disruptive  3 เรื่อง

ความเป็น Phuket Brand เพื่อความเป็นตัวตนของราชภัฏภูเก็ต

แบรนด์คือสิ่งที่คนภายนอกมองมา เป็น Abstract ความเป็นสถาบันการศึกษาจะเข้าไปเป็นภูเก็ตแบรนด์ได้อย่างไร

1) ภาพลักษณ์ขององค์กร

ลำดับความสำคัญ คือ ความสำคัญลำดับ554 เราจะทำอย่างไรให้คนมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาภาพลักษณ์ว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในอันดามัน

          ปัญหาเนื่องจากภาพลักษณ์ไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ แต่จะทำอย่างไรให้เป็นที่หนึ่ง แต่เราไม่ได้หมายถึงเป็นที่หนึ่งในทุกเรื่อง เราต้องร่วมกันคิดโจทย์ สร้าง Model , Coporate Identity , การทำ Local+ International ร่วมกันอย่างไร

2) ทำอย่างไรให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หลักสูตรเรียนรู้ทุกช่วงวัย

3) ไม่ทิ้งการท่องเที่ยว

          การท่องเที่ยวในหลายรูปแบบครบวงจร สามารถซื้อและเลือกการท่องเที่ยวโดยไม่พึ่งบริษัททัวร์ได้ การท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องเที่ยวอย่างเดียว  เพราะ มาแต่งงาน ศัลยกรรม ก็เป็นการท่องเที่ยว หรือมหาวิทยาลัยแห่งการท่องเที่ยวทำได้หรือไม่

          ดร.จีระ เสริมว่า บรรยากาศการพูดตรงกับที่ กฎจีระ 12 ข้อ นำเสนอด้วยความสนุก เราต้องแยกให้ออกว่า มรภ. กับ มอ.วิทยาเขตภูเก็ต จุดเด่นของแต่ละที่คืออะไร การที่บอกว่าภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในอันดามันก็ดี

          หลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต + การท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญ  หลักสูตรที่น่าจะทำคือ Sport Management การที่ไทยแพ้สิงคโปร์คือแพ้เรื่อง Connection และคนที่เป็นผู้นำภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ ถ้าหลักสูตร มรภ.เรื่อง Sport Tourism ยังไม่มี น่าจะทำเรื่องนี้ให้มากขึ้น และคิดว่ากลุ่มนี้น่าจะสนับสนุนได้ดีมาก เพราะสิ่งที่นำเสนอมาคือ Realistic ตรงกับแบรนด์ มรภ. และสามารถทำได้  คิดว่าเรื่อง Sport Tourism น่าจะทำมากขึ้น และสังเกตว่า ผู้ว่าราชการภูเก็ต มาและไปเร็ว น่าเสียดายของดีๆ

          ขอชื่นชมที่การนำเสนอสนุก และสิ่งที่นำเสนอตรงตามความต้องการภูเก็ต

          กลุ่มนี้ต้องคิดร่วมกัน ไม่เช่นนั้นเงินที่ได้จะลดลง ถ้าพึ่งราชการอย่างเดียวจะไม่ได้ ต้องหารายได้  อย่างเรื่อง Income ของภูเก็ต เช่นมาเรียนที่นี่แล้วแพงก็สามารถเป็นปัญหาได้เหมือนกัน

          สรุป การนำเสนอวันแรกมีเรื่องที่จะทำ  อยากให้การนำเสนอมี 2-3 คนจะได้นำเสนอร่วมกัน

กลุ่มที่ 3

1.วิเคราะห์เรื่องที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย (ใส่ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน และความยาก ตามลำดับ 1-5)

          1.1 จากปัญหาโอกาสในสถานการณ์ปัจจุบัน 3 เรื่อง

          1.2 จากปัญหาโอกาสในอนาคตเพื่อจัดการกับประเด็นท้าทายและ Disruptive  3 เรื่อง

1) เรื่องนักศึกษา

          ให้ความสำคัญกับจำนวนเป็นหลัก ไม่เช่นนั้นจะถูกปิดได้ การจ่ายค่าเทอม 15,000 บาท ต้องคุ้มกับสิ่งที่ได้รับกับสิ่งที่เขาจ่ายไป เช่น การมีห้องเรียนติดแอร์  มีไอทีดี มีการเรียนด้วยทำงานด้วย มหาวิทยาลัยต้องให้ได้เทียบกับความสะดวกสบายของภูเก็ตด้วย

2) ภาพลักษณ์

          ปัจจุบันอยู่ตำแหน่งไหน และจะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้อย่าไร

3) เรื่องระบบออนไลน์

มีการร้องขอจากนักศึกษาว่าน่าจะมีการเรียนการสอนคอร์สออนไลน์ ภูเก็ตอยู่ในบริบทของ International ก็สามารถทำได้

การทำ Short Course  สามารถรวมได้กับใบประกาศนียบัตรและปริญญา

ดร.จีระ เสริมว่าต้องรีบทำ เพราะคนไทยบ้ากระดาษ บ้าวุฒิบัตร และควรเชื่อมกับต่างประเทศด้วย

เรื่อง Short Course สามารถเป็นโอกาสได้

4) Resource Management จัดการทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ในมหาวิทยาลัย

เชื่อว่า มรภ. มีศักยภาพแต่ไม่แสดงให้คนอื่นเห็นว่ามี ทำไมไม่แสดงศักยภาพว่าเด็กมีความสามารถในการทำอาหาร อาจมีร้านในมหาวิทยาลัยที่มาจากนักศึกษาให้คนน้องและคนในสามารถซื้อได้ และสามารถจัดรายได้ได้ด้วย

5) การสร้างความเป็นมืออาชีพ

ทุกคนที่อยู่ในสายมหาวิทยาลัย ต้องทำด้วยใจจริง ๆ ต้องทำเพื่อผลประโยชน์ของคณะ ของมหาวิทยาลัย และสุดท้ายคือการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ

สรุปคือ การมองในเรื่องการเปลี่ยนแปลงความทันสมัยที่ต้องปรับเปลี่ยนกับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง กับนักศึกษาและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

ดร.จีระ เสริมว่า การนำเสนอนี้เป็นตัวอย่างของกฎ 12 ข้อที่ดีมาก มีการผนึกกำลังกันในการนำเสนอ มีเรื่องอาหาร ความเป็นมืออาชีพ เนื่องจากมีการแชร์ความรู้กันและนำเสนอ เชื่อว่าคนในห้องมีศักยภาพ เพียงแต่เวลา และสถานการณ์ที่เจอคนละเรื่อง ดังนั้น Opportunities ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกิดในจังหวัดไม่เหมือนกัน ต้องหาโอกาสในการทำแล้วได้ผล อย่างเช่น ม.ราชภัฏสวนดุสิตทำเรื่องอาหาร หรือมีโรงแรม ทำไม มรภ. ยัง ร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ควรมีอยู่แล้ว แต่ในอดีตไม่ได้มีการผนึกกำลังกันเท่าที่ควร ต่างคนต่างทำ เชื่อว่าศักยภาพคนในห้องนี้มีมหาศาล เชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำได้

กลุ่มที่ 2

1.วิเคราะห์เรื่องที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย (ใส่ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน และความยาก ตามลำดับ 1-5)

          1.1 จากปัญหาโอกาสในสถานการณ์ปัจจุบัน 3 เรื่อง

          1.2 จากปัญหาโอกาสในอนาคตเพื่อจัดการกับประเด็นท้าทายและ Disruptive  3 เรื่อง

มรภ. มี Strategy Advantage มีข้อได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์จำนวนมาก ต้องคิดสู่ยุทธศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ทำอย่างไรให้เป็นที่รู้จักของภูเก็ต การวาง Positioning เป็นอย่างไร

1. หลักสูตรที่ตรงตามความต้องการของนักศึกษาทุกช่วงวัย

2. สถานที่ และภูมิทัศน์ต่าง ๆ ยังไม่ดึงดูดเพียงพอ มีหลายมิติที่ต้องพัฒนา เช่น ความสะอาด ลงตัว

3. การบริการทางวิชาการ หรืองานวิจัย มีกรอบของศาสตร์พระราชา 20 ปี เป็นกรอบของทุกแห่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะองคมนตรีจะถาม และเรื่องการเก็บ Big Data ที่ต้องใช้ความร่วมมือแบบองคาพยพ

เราจะทำอย่างไรให้คนเข้ามาที่ มรภ. เพราะอาจไม่มีจุดดึงดูดดูความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัย  อาจมีการทำจุดเช็คอินหลายที่ในหลายมหาวิทยาลัย

สรุปคือ สถานที่และภูมิทัศน์เป็นรายได้หลักของมหาวิทยาลัย การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่ง รูปแบบการเรียนการสอนต้องดึงความร่วมมือกับสถานประกอบการในพื้นที่และป้อนให้นักศึกษาเข้าทำงานในพื้นที่

ลำดับ Ranking

อันดับ 1 การบริการวิชาการเป็นอันดับหนึ่ง ให้องคมนตรีช่วยดูแลตรงนี้ สิ่งที่เห็นว่ายากคือกลุ่มคนที่บริการวิชาการเป็นกลุ่มเล็ก ๆ

อันดับ 2 หลักสูตร

อันดับ 3 ภูมิทัศน์

ในอนาคตอยาก

1. พัฒนาความร่วมมือกับภายนอกเข้ามา

2. สถานที่ทำเป็นศูนย์ประชุมมีต่างชาติมาใช้บริกการได้

3. การบริการตามศาสตร์พระราชา

อาจมีการยกระดับเป็น Phuket Exhibition Center มีศูนย์ประชุมที่ใหญ่ สามารถจัดกิจกรรมได้เช่นประกวดมีสแกรนด์ที่จัดไป มีการยกระดับด้านไอที มีการยกระดับการเรียนรู้เข้าสู่ชุมชนออนไลน์ มีการขายคอนเทนน์ที่หลากหลายคนสามารถเข้าถึงได้แบบ Any where, any time

หลักสูตรอาจเป็นหลักสูตรเน้นการปฏิบัติการ และบูรณาการร่วมกับธุรกิจต่าง ๆ เพื่อหาลูกค้ามาเรียนด้วย

โอกาสในอนาคตเพื่อจัดการประเด็นท้าทาย จะสร้าง New idea ออกมาแต่ไม่รู้ว่าจะสร้างและแก้ปัญหา disruptive ได้อย่างไร

ดร.จีระ เสริมว่า กลุ่มนี้มีภาวะผู้นำสูง มีการมองร่วมกันในสิ่งที่ต้องทำคือ สถานที่ หลักสูตรใหม่ ๆ และที่ประทับใจมากคือศาสตร์พระราชา

Disruptive หลัก ๆ คือ เทคโนโลยีอย่าง Robotic หรือ AI แต่อย่างไร Machine ยังไม่ชนะมนุษย์อยู่ดี ต้องสอนให้เด็กรุ่นใหม่อยู่กับ Machine ได้ AI ไม่สามารถสู้มนุษย์ได้เนื่องจากไม่มี Feeling เราต้องทำควบคู่กันไป ไม่สามารถทดแทนได้ เพียงแค่แยกให้เห็นว่ามีอะไรที่ทำแทนไม่ได้ หลักสูตรที่จะทำเช่นเรื่องการท่องเที่ยว มีเรื่อมารยาท วัฒนธรรม เป็นต้น

สรุปคือ ถ้าเรารวมพลังกันและมีความต่อเนื่อง และท่านอธิการบดีเป็นหลักจะเป็นประโยชน์มาก ๆ

กลุ่มที่ 1

1.วิเคราะห์เรื่องที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย (ใส่ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน และความยาก ตามลำดับ 1-5)

          1.1 จากปัญหาโอกาสในสถานการณ์ปัจจุบัน 3 เรื่อง

          1.2 จากปัญหาโอกาสในอนาคตเพื่อจัดการกับประเด็นท้าทายและ Disruptive  3 เรื่อง

มีแนวคิดคือวิชาการ ทุนมนุษย์ การบริหารจัดการทรัพย์สินในเชิงพาณิชย์

1) วิชาการ มีการมองว่าจำนวนผู้เรียนลดลง จำนวนนักศึกษาไม่เป็นตามความต้องการ ส่วนหนึ่งคือหลักสูตรยังไม่โดน ยังไม่มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ไม่โดนตามความต้องการของคนแต่ละช่วงวัย ควรมีการปรับให้สอดรับกับความต้องการของคนที่ศึกษา อาจเป็นระยะสั้น ผู้ประกอบการ และตรงตามความต้องการของต่างชาติ  ปัจจุบันยังไม่มีหลักสูตรระยะสั้นเลย มีหลักสูตรมนุษย์ศาสตร์เปิดให้ต่างชาติ แต่ไม่มีคนเรียน

ดร.จีระ เสริมว่า ใน 9 วัน เราต้องรีบทำหลักสูตรระยะสั้น

2) ทุนมนุษย์ มองว่าปัจจุบันว่าการบูรณาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกันไม่เข้มแข็งพอ ศักยภาพแต่ละท่านมีความรู้ความสามารถ แต่ยังไม่สามารถดึงมาเป็นทีมที่จะใช้พัฒนาหลักสูตรเป็นปริญญาต่อไปได้ จุดต่อไปคือการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะที่ผ่านมาไปคนละทิศทาง

3) การบริหารจัดการทรัพย์สินในเชิงพาณิชย์เพื่อการสร้างแบรนด์ มองว่า มรภ.มีศักยภาพคือมีทรัพย์สินอยู่แต่ขาดการบริหารจัดการที่ไปสู่การสร้างแบรนด์  ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ต้องการสร้างให้คนมาเที่ยว มีกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความเป็นเมืองท่องเที่ยวได้ มรภ. เคยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาแต่เขินเนื่องจากไม่มีกิจกรรม

ประเด็นความท้าทาย

1) การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เรียนรู้ได้ทุกทางและทุกที่ ต่างชาติก็สามารถเข้ามาเรียน มาปิดคอร์ส และท่องเที่ยวได้ด้วย  อาจมีการ Take Course 1 ปีครั้งหนึ่งและบวกกับการท่องเที่ยวด้วย

2) พัฒนาทุนมนุษย์ให้ทันการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลด้วย เราจะพัฒนาทุนมนุษย์ทุกระดับให้ทันการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล

3) ช่องทางการพัฒนาทางธุรกิจ เราประกาศต่อสังคมว่าจัดการศึกษาในทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ประถมศึกษา แต่ก็มีคู่แข่งคือโรงเรียนอินเตอร์ด้วย

ตลาดระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภูเก็ตมีโรงเรียนนานาชาติมีลูกค้าประจำ และมีโรงเรียนประจำจังหวัดที่เข้มแข็ง ส่วนโรงเรียนสาธิตของ มรภ. มีชื่อเสียงและมีหลักสูตรที่แตกต่าง ทั้งฝ่ายประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสอดคล้องกัน เป็น มหาวิทยาลัยแห่งเดียวในทะเลอันดามันที่มีโรงเรียนสาธิต ถ้ามีความร่วมมือนานาชาติ เพื่อยกระดับ และทำธุรกิจ จะมีแหล่งการศึกษาที่รองรับรายได้จากชาวต่างชาติ มีการแข่งขันกันทางสวัสดิการในการรองรับได้ด้วย ถ้าทำประถมศึกษา จนถึง ปริญญาตรี โท เอก จะสามารถใช้ชาวต่างชาติเป็นกำลังสมอง มองถึงความเป็นสากลในทุกระดับตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึง Post Doctoral

ดร.จีระ เสริมว่า กลุ่มนี้มีการทำงานเป็นทีม มีการวางแผนดี ฟังแล้วมีความหวัง 

ขอชมเชยทุกกลุ่มที่บ่ายวันนี้มีการแบ่งปันความรู้กัน  มีข้อมูลที่อยากฝากไว้คือ ให้ทุกคนคิดว่าอย่าคิดว่าแค่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย แต่ควรเลือกบอร์ดที่มีความสามารถในการช่วยเหลือเรา ทำอะไรคิดถึงแต่มหาวิทยาลัยของเรา  ยังไม่มั่นใจว่า Combination บอร์ดหวังดีมากน้อยแค่ไหน ต้องเลือกให้ดี เลือกคนที่เขามีความสามารถ มีความเป็นห่วงถึงสถานการณ์ที่นี่ เพราะมียุทธศาสตร์ตั้งอยู่ที่ภูเก็ตซึ่งเป็นแบรนด์ของโลก แต่มีจุดอ่อนด้วย ใน 9 วันต้องมีการผนึกกำลังร่วมกัน อธิการบดีเพียงคนเดียวไม่พอ ต้องมีคนที่หวังดีมาช่วยเรา เราต้องหานักธุรกิจ รวมทั้งนักธุรกิจชาวต่างประเทศที่เขาพร้อม แต่ถ้าเน้นคนที่ติดกฎระเบียบมาก และติดมาจากกระทรวงศึกษาธิการอาจอันตราย หรือบางครั้งมีคนที่ฉลาดมาก พูดข้ามไปข้ามมาแต่ไม่ได้นำไปใช้ก็มีปัญหาเช่นกัน ที่มรภ.ไม่มั่นใจ เพราะบอร์ดและอธิการบดีต้องร่วมกันทำงาน

สรุปคือ การพูดในวันนี้ตรงประเด็น แต่มีความเสี่ยงมาก ขณะเดียวกันมีความเป็นปึกแผ่น กลุ่มสุดท้ายพูดเรื่องคน คนสามารถแก้ปัญหาได้หมดถ้าร่วมพลังกันอย่างดี

การเรียนของ ดร.จีระ ไม่ใช่การหาความรู้แต่เป็นการขึ้นบันได ไม่ทำแล้วทำอีก แต่ทำแล้วเน้นการ Progress คือก้าวไปข้างหน้า

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

          ที่คิดไว้ในวันนี้ทุกกลุ่มคิดเชิงระบบดี มีการนำเสนอแบบเชื่อมโยงกันได้ทั้งหมด จะทำให้การตั้งโครงการฯง่าย ดีหมดทุกกลุ่มหรืออย่างกลุ่มที่พูดเรื่อง Exhibition Center ถ้าทำได้จะเชื่อมไปหลักสูตรได้เลย

          ทุกกลุ่มแม้นำเสนอต่างกัน แต่มีบางเรื่องที่ซ้อนกันอยู่ สามารถเชื่อมโยงกันได้หมด ทุกกลุ่ม ได้ดีมาก

          การไปต่อยอดได้จะดีมาก ที่คิดว่านำเสนอแน่ต้องรักษาให้ดี เพราะอาจมีการแซงกันได้ ทุกท่านสามารถฟังวิทยากรแล้วนำไปต่อยอดได้ด้วย

          ทฤษฎี 2R’s ใช้ได้จริง และคิดว่าในวันนี้ 2I’s ของแต่ละท่านเกิดแล้วด้วยเหมือนกัน

          เรื่องที่นำเสนอมีภาวะผู้นำที่เห็นแล้ว ในวันพรุ่งนี้จะมีเรื่องภาวะผู้นำที่จะติดปีกให้ทุกท่านเก่งขึ้น

          เมื่อเราเจอเพชรแล้วก็ขอให้มีส่วนร่วมเจียระไนเพชรนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เสริมว่าหลักสูตรที่น่าจะทำคือหลักสูตรภาพยนตร์ และ Sport Management ควรมีคนสักคนในบอร์ดที่ไม่ใช่ราชการ ควรเชิญคนที่อายุประมาณ 40 ปี อาจเป็นนักธุรกิจหรือใครได้ที่นำเงินมาให้ 1,000 ล้าน  คนในห้องนี้ต้องศึกษาบอร์ดให้ดี เพราะถ้าบอร์ดเป็นแบบราชการอาจไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง  ต้องมีนักธุรกิจมาก ๆ และเป็นคนที่รักเรา อย่างนักธุรกิจที่เป็นศิษย์เก่าก็ควรเชิญเขามาให้เขา Donate ด้วย


ช่วงที่ 1 : วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2562

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่กับการสร้างคุณค่าของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

     อาจารย์วราพร ชูภักดี

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          มรภ.มีทรัพยากรมนุษย์ที่มหาศาล อยากให้การพูดของผู้นำเกี่ยวข้องกับเมื่อวาน บางเรื่องเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ เช่นหลักสูตรระยะสั้นและการพัฒนาคน

          วันแรกต้อง Identify ปัญหาให้ชัดแล้วให้จัดลำดับ Priority ออกมา

คำคมของ ดร.จีระคือ

1. Power

2. Empower

          อย่าบ้าคลั่ง Power อย่าบ้าอำนาจแบบ Top Down

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

          โรงเรียนหรือสถาบันดีเด่น แต่ก็ไม่ได้อยู่อย่างยั่งยืน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยว เราเป็นผู้นำบางทีบุคลิกภาพมีความสำคัญ และวันนี้เป็นวิชาที่สำคัญมากสำหรับท่าน

          ทำไมเป็นผู้นำอยู่แล้วทำไมต้องเรียน

          - ผู้นำมีหลายรูปแบบ บางครั้งข้างนอกเรื่องหนึ่ง แต่ข้างในอีกเรื่องหนึ่ง บางครั้งยังไม่แสดงผลงานเป็นที่ประจักษ์ เพราะผู้นำต้องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          หลักสูตรทุกหลักสูตรดี  โชคดีที่ได้รู้ว่าเป็นอย่างไร ข้อดีของ ดร.จีระ คือได้ไปเรียนรู้ผู้นำของต่างประเทศ และได้ฝึกฝนมาในหลายระดับ

          มีคนพูดว่าผู้นำพูดอะไรก็ถูกหมด เพราะมีผู้นำหลายแบบ วันนี้เป็นวันที่เราต้องกรองศักยภาพที่จำเป็นที่ต้องเคลียร์ Crisis ส่วนหนึ่ง แล้วกรองออกมาให้ได้

          Disruption คืออะไรก็ตามที่โถมมาหาเรา และรุนแรง เราต้องจัดการให้ได้ อย่าง มรภ. Disruption จริง ๆ คือ จำนวนนักศึกษาที่ลดลง ดังนั้นคนที่จะไป Serve และแก้ปัญหาให้ได้จะทำอย่างไร หรืออย่างการพัฒนาภาษาก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะถ้าเราไม่ทำ แล้วไม่นำผู้นำไปเกี่ยวข้องด้วยเราจะล้มเหลว เราอย่าดาวกระจาย เราต้องนำ Key ที่สำคัญที่สุดที่ท่านอธิการบดีเห็นคุณค่ามาสร้างประโยชน์

          ยกตัวอย่าง เรื่องการตลาด เราจะพูดเรื่องอะไร ต้องมีกรอบ เพราะการตลาดมีจำนวนมากมาย

          จะมีการ Workshop ให้เสร็จก่อน 11 โมงครึ่งแล้วมาวิเคราะห์ช่วงบ่าย

1. ต้องจัดการกับนักศึกษาที่ลดลง

2. บริหาร Short Course อย่างไร

          เมื่อความรู้เพิ่มขึ้น โลกเราจะมีคุณค่า

          เราต้องผนึกกำลังร่วมกันในการมีหลักสูตรที่สร้างรายได้ขึ้นมา  หรืออีกเรื่องเป็นประเด็นที่น่าสนใจคือ เรามีทรัพย์สินที่มีคุณค่า เราจะสร้างรายได้จากทรัพย์สินที่มีอยู่อย่างไร

          การเรียนต้องรู้เหตุและผล ถ้าไม่รู้เหตุและผลจะอยู่รอดได้อย่างไร เราต้องสอนทุนทางจริยธรรม ถ้าไม่สอนทุนทางจริยธรรม แล้วตลาดทุนจะมาทำลายคุณ

อาจารย์พิชญ์ภูรี  พึ่งสำราญ

          ที่เก็บเกี่ยวจากที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ โดยภาพรวมคิดเรื่อง

1. Branding ซึ่งเป็นสิ่งที่คมมาก

2. การพัฒนาหลักสูตร เพื่อตอบโจทย์จำนวนนักศึกษาที่ลดลงไป

3. คุณภาพบุคลากร / ทุนมนุษย์ เป็นเรื่องสำคัญ

4. คุณภาพนักศึกษา

5. การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์

          ตามทฤษฎี Chira Way เป็นเรื่อง 3 V’s แค่มีขั้นตอนของ 3 V’s คือ

          1. Value Added

          2. Value Creation

          3. Value Diversity คุณค่าจากความหลากหลาย

          สิ่งที่เห็นคือ ความร่วมมือยังไม่เด่น เนื่องจากไม่รู้ว่าเราจะ Cross ไปร่วมกับใคร

          ดร.จีระ เสริมว่า Diversity คือความหลากหลาย Value คือการสร้างคุณค่า แต่หลายครั้งที่ความหลากหลายเป็น Conflict เราจะทำอย่างไรให้นำความหลากหลายมาสร้าง Harmony ยกตัวอย่างการดูกีฬาของฟุตบอลอังกฤษเต็มไปด้วย Value Diversity มหาศาล ถ้าเรามี Value ที่เกิดขึ้น ให้ความเสี่ยงน้อยหน่อย สามารถผนึกกำลังได้และมูลค่าได้ 1,000 ล้าน  มรภ.จะแก้ปัญหาจบเลย

อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่า เราต้องมี Harmony  ไม่ต้องทำทั้งหมด  แต่เราต้องเสริมกัน

ดร.จีระ เสริมว่า เงินในงบประมาณ 3 ล้านล้านบาท วันนี้คุณค่าของเงินมหาศาล  มรภ.ได้มาจากหน่วยราชการไม่ยากเพียงแค่หาช่องไม่ถูก

อาจารย์พิชญ์ภูรี ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาการเรียนการสอนที่นิติศาสตร์ มธ. ว่าเขาสนใจเรื่องยุติธรรมชุมชน ว่ามีความสำคัญมากในการแก้ปัญหาก่อนไปถึงศาลเพราะเมื่อไปถึงศาลแล้วอาจทำให้มีการทะเลาะกัน แบบมองหน้ากันไม่ติดได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ให้ทุกคนจำไว้ว่าอย่าทำอะไรคนเดียวและทำอะไรที่ Relevance จะอยู่ได้ เพียงแค่อย่าให้ Internal Politics มาเป็นอุปสรรค

แม้ว่าเป็นงบประมาณแผ่นดิน ถ้าเลือกโปรเจคที่มีประโยชน์ เขาก็จะให้

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่กับการสร้างคุณค่าของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Quotations

ความแตกต่างระหว่าง Leader กับ Manager

“Managing is doing the things right, Leadership is doing the right things.”

-Peter Drucker-

“Don’t tell people how to do , tell them what to do and let them surprise with results”

– George S. Patton -

“Leadership is an art of getting someone else to do something you want because he wants to do it.”

– Dwight D.Eisenhower -

“ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ และสามารถฝึกฝนได้”

– จีระ หงส์ลดารมภ์-

“The key to successful leadership is influence not authority.”

                                                                             - K.Blanchard.-

สรุป    เรื่อง Leadership คนพูดคล้าย ๆ กัน

1. Leader ที่ยิ่งใหญ่คือ Leader ที่ถ่อมตัวมากที่สุด Leader ที่ใหญ่จริงคนต้องยอมรับด้วย ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหา

ลองวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้นำแบบผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ 5 เรื่องที่สำคัญและเกี่ยวกับงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (อธิบาย)

ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร

ผู้นำ

1. นำคน

2. มีศรัทธา

3. มองระยะยาว/มองไกล

4. ทำอะไร และทำไม

5. มองอนาคต/ขอบฟ้าและภาพลักษณ์

6. เน้นนวัตกรรม – ดร.จีระ พูดเรื่อง Social Innovation ก่อนที่อื่น คือการพัฒนาให้สังคมและนวัตกรรมอยู่ด้วยกัน

7. ตอบรับการเปลี่ยนแปลง

ชนิดของผู้นำ

1. Trust/Authority Leadership

2. Charisma Leadership

3. Situational Leadership

4. Quiet Leadership

5. Transformational Leadership

6. Transactional Leadership

7. Authenticity Leadership

สิ่งที่ ดร.จีระ ชอบและมีความสำคัญต่อ มรภ.คือ Transformational Leadership (เปลี่ยนอย่างรุนแรง) and Transactional Leadership (ค่อย ๆ เปลี่ยน) คือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งโดยทั่วไปต้องมาจากการตัดสินใจของที่นี่

          คนในห้องนี้ต้องคิดเชิงยุทธศาสตร์และรวมพลังกัน  

          มรภ.น่าจะมีการจัด International Conference ทุกปี ต้องวางแผนให้ดี ให้มี Impact สร้างความพร้อมให้ได้ ต้องมีการวางแผนระยะยาว ว่าต้องมีระดับโลกทุก ๆ 3 ปี เป็นต้น และคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยาก เพราะคนต้องการมาร่วมแสดงความคิดเห็นอยู่แล้ว เราอาจทำเรื่องที่ราชภัฏมีชื่อเสียง และที่นอกเหนือจากวิชาการก็ได้  เป็นเรื่องที่คนกำลังให้ความสนใจ อย่าง Research เกี่ยวกับ Leadership Goal / Leadership Tourism Industry  เพราะเป็น Sunrise in the street ภูเก็ตเหมาะมากที่จะทำ

อยากให้ศึกษารูปแบบการเป็นผู้นำของ Nelson Mandela เพราะเขาเป็นบุคคลที่พูดจากความจริง เป็นคนที่อยู่ในคุก 27 ปี ออกมาแล้วเขาให้อภัยทุกคน เป็นตัวอย่างของ Leadership เพราะ Leadership คือคนที่เสียสละเพื่อชาติ เพื่อส่วนรวม

8 Rules of Leadership (Nelson Mandela)

1. กล้าหาญ

2. ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับและไม่ประมาท

3. การนำอยู่ข้างหลังจะต้องแน่ใจว่า คนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้าต้องให้เขามีความรู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภูมิใจ และสมศักดิ์ศรี

4. ถ้าจะจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักศัตรูให้ดี

5. การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน แต่กับคู่แข่ง หรือคนที่เราไม่ชอบ ต้องใกล้ชิดมากกว่า

6. มีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ

7. ไม่เน้นถูกหรือผิดแบบ 100 % หรือขาวหรือดำ 100 % มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win-Win

8. รู้ว่าจะหวะไหน จะ “พอ”  หรือ จะ “ถอย”

ทำไมเราต้องเรียน Leadership และใน Field Tourism  สำคัญมากน้อยแค่ไหน

6 of the Dalai Lama's Leadership Principles

1.  อย่าสั่งการ ต้องเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน

2. ถ้าต้องการเรียนรู้อะไรบางอย่าง ต้องฟัง และค้นคว้าหาข้อมูล

3.  อย่าคิดว่าตัวเราคิดถูกทุกเรื่อง หากมีคนที่คิดไม่เหมือนเราซึ่งคุณคิดว่าไม่ถูกต้อง..ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้

4. มีอารมณ์ขัน อย่าโกรธง่าย รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

5. สอนให้คนรู้จักคิด หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง อย่าบอกคำตอบหรือหาทางออกให้ทุกเรื่องทุกเรื่อง

6. มีความรับผิดชอบ

คุณสมบัติของผู้นำของท่านผู้ว่าฯ เกษม จาติกวณิช หรือ “Super K”

1. ผู้นำต้องมีความรู้

2. ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ

3. ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

4. ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายงาน

5. ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ

6. ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

7. ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

          การมอบหมายงานควรมีการมอบหมายข้าม (Across) คณะด้วย  เพราะคนอยู่ใน Silo ไหนจะติดสันดาน Silo นั้นด้วย

          Incentive ด้าน Professionalism ในชีวิตจริงอาจมี Multiple Skill หรือไม่  แต่บางคนอาจไม่ยอมรับ และถ้าไม่ทำอาจตกงานได้

Leadership Roles (Chira Hongladarom’s style)

1. Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต

          Crisis หมายถึงเกิดแล้วเกิดอีก ส่วนอีกเรื่อง Crisis คล้ายขนมชั้นเพราะมาเป็นชั้น ๆ เช่น Disruption การเมือง การเงิน เป็นต้น เราต้องจัดการกับ Multiple Crisis ให้ได้ ต้องระมัดระวังให้ดี อย่าประมาทว่าเมื่อเจอ Crisis แล้วไม่มาอีก

2. Anticipate change คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้

          ผู้นำที่ดีควรทำนายอนาคตบ้าง สำคัญที่สุดคืออนาคตข้างหน้าไม่มีใครทายได้ แต่ควรมี Anticipate ว่า Change กำลังเกิดขึ้นในเรื่องอะไรบ้างคือ คาดคะเนให้ถูก

3. Motivate others to be excellent  การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

          การเป็นผู้นำในห้องนี้อย่านึกถึงตนเองคนเดียว ต้องสามารถกระตุ้นความเป็นเลิศคนอื่นออกมาให้ได้ เพราะผู้นำที่ดีไม่ใช่ปลูกและเก็บเกี่ยว หน้าที่อันหนึ่งต้องสร้างคน สร้างขวัญกำลังใจ มีความยุติธรรมและมีประโยชน์ต่อเขา

4. Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

5. Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

          การสร้าง Platform ให้คนสร้างโอกาสใหม่ ๆ ขึ้นมาอยู่เสมอ ลูกน้องต้องไปสร้าง Opportunities ใหม่ ๆ ขึ้นมา อย่างที่ Emerging Opportunities ในอนาคต

6. Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

          สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ อย่าผิดพลาดในการตัดสินใจ ที่จะลงทุน และร่วมหุ้นกับใคร ผู้นำที่ดีต้องจัดการกับจังหวะเวลาให้ได้ว่าจะเข้าออกอย่างไร ต้องมีจังหวะเวลาให้ถูกต้อง จัดบรรยากาศให้เกิดประโยชน์

7. Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ

8.Teamwork ทำงานเป็นทีม

9. Uncertainty Management การบริหารความไม่แน่นอน

ภาวะผู้นำของ Peter  Drucker

1. Ask what needs to be done ถามตัวเองว่าเราต้องทำอะไรให้สำเร็จ

          ถามก่อนว่าอะไรสำคัญ สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็น Genius ของ Peter Drucker

2. Ask what’s right for enterpriseถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องลงมือทำ

          What is important to PKRU? คนในห้องนี้อย่าทำงานคนเดียว อย่าบ้าอำนาจตัวเอง

3. Develop  action  plansพัฒนาแผนปฏิบัติการ

4. Take  responsibility for decision รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

5. Take  responsibility for  communicating รับผิดชอบต่อการสื่อสาร

6. Focus on opportunities  not problemsมุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา

          สร้างโอกาสร่วมกัน

7. Run  productive  meetings จัดให้มีการประชุมที่สร้างให้เกิดผลผลิต

8. Think  and say  We not  I คิดและพูดด้วยคำว่า “เรา” ไม่ใช่ “ฉัน”

กรณีศึกษาผู้นำจีน 5 รุ่น

รุ่นที่ 1 (1949 - 1976)

เป็นผู้นำรุ่นบุกเบิกมี เมาเซตุง (Mao Tse-tung) หรือ โจว เอ็นไล (Zhou En lai) เป็นหลัก รุ่นนี้ คือ รุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชนะการปฏิวัติมา เป็นผู้บุกเบิก ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะมากต้องสร้างระบบให้แน่น เพราะระบบเดิมยกเลิกหมด เช่น ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐไม่ใช่ของบุคคลเศรษฐกิจ คือ รัฐเป็นคนกำหนด

รุ่นที่ 2 (1976 - 1992) คือ เติ้ง เสี่ยว ผิง (Deng Xiaoping)

เป็นช่วงที่การเมืองนิ่งแล้ว แต่ระบบเศรษฐกิจแบบรัฐเป็นผู้กำหนด จะไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชาติได้ เพราะประชากรมาก – คาดหวังสูง จึงต้องมีเติ้งเสี่ยวผิงมาเป็นผู้นำ

เน้นทฤษฎีไปสู่ Practical เป็นผู้ที่พูดว่า “แมวสีอะไรก็ได้ขอให้จับหนูเป็น” คือ เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ นำเอาทุนนิยมเข้ามา – เชิญต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้จีนขยายตัวทางเศรษฐกิจเร็ว เพราะคนจีนขยันและเคยทำการค้ามาก่อน วันนี้จีนเติบโตมากกลายเป็นมหาอำนาจ

รุ่นที่ 3 (1992 - 2003) คือ เจียง ซี มิน (Jiang Zemin)

เป็นผู้นำประเทศสู่โลกภายนอก เศรษฐกิจแข็งแรงขึ้น แต่ต้องมีบทบาทในโลก จัดประชุม APEC 2003 ในจีน นำจีนเข้า WTO เปิดประเทศทางเศรษฐกิจมากขึ้นส่งความช่วยเหลือไป Africaและประเทศด้อยพัฒนา

รุ่นที่ 4 (2003 – 2013) คือ หู จิ่นเทา (Hu Jintao)

เห็นความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับ 2 ของโลก จีนมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ แต่เริ่มมีปัญหาเสรีภาพในประเทศ และความเหลื่อมล้ำ

รุ่นที่ 5 (2013 – 2023) คือ สิ จินผิง (Xi Jinping)

ผู้นำรุ่น 5 จะต้องเก่งเรื่องประชาธิปไตยเปิดแบบจีนที่โลกยอมรับ มีสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และดูแลการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปทุกกลุ่มและทุกภูมิภาคของจีนไม่ให้เหลื่อมล้ำ ให้เศรษฐกิจจีนสมดุลกับโลกภายนอก โดยเฉพาะค่าเงินหยวน

          สิ จินผิง บอกว่าคนต้องเป็นมืออาชีพ และมีคุณธรรม จริยธรรม

          ประเด็นคือ ผู้นำของ มรภ.ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ประวัติศาสตร์และหน้าตาเป็นอย่างไร

Humanise

          ผู้นำในยุคต่อไปต้องมีความเป็น Humanise  ตัวอย่างเช่น มหาตมะ คานธี  , มาร์ติด ลูเธอร์คิง , แม่ชีเทเรซ่า , เนลสัน แมนเดล่า

ดร.จีระ เสนอว่าถ้าจะฝึกให้ดีในเรื่องการเป็นผู้นำให้อ่านผู้นำของ Nelson Mandela อีกครั้ง เพราะการจัดการคนผิวขาวในแอฟริกาเป็นสิ่งที่ยาก

          - ถ้ามีศัตรูให้เปลี่ยนจากศัตรูเป็นเพื่อน

          - ถ้าอยู่ข้างหน้าให้หันมองข้างหลังให้ดี เพราะถ้าไม่มองข้างหลังเขาจะฆ่าคุณ 

          - คนอเมริกัน ความเหลื่อมล้ำมีมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างกรณี Trump มีการนำเอา Big Data ไปขาย คำถามคือข้อมูลส่วนตัวอยู่ในมือใครและโลกจะยอมหรือไม่  คาดว่าไม่เกิน 5 ปี กฎหมายเรื่องส่วนตัวจะเปลี่ยนมหาศาล

          - การรองรับของคุณกับนักท่องเที่ยวที่จะมาจะทำอย่างไร ยกตัวอย่างถ้าจีนจะมาท่องเที่ยวเกือบ 30 ล้านคนจะทำอย่างไร

Fixed and Growth Mindset หลักสำคัญ 4 ข้อของ Growth Mindset กับทีม

1. Emotional Intelligence Mindset

การปรับอารมณ์ที่ดี อย่างการเจอความล้มเหลวและความเจ็บปวดเป็นนิสัยทำให้เรียนรู้

2. Connection Mindset

การสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความผูกพันที่ดีซึ่งกันและกัน

3. Growth Mindset

4. Performance Mindset

          การวิ่งจากมาตรฐานที่มีอยู่แล้วไปสู่ Performance ต้องมี KPI ในการวัดระบบ Performance ว่าเป็นอย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

          อาจารย์จีระ เริ่มให้มองจากเส้นขอบฟ้า (Horizontal) ท่านต้องทำงานทั้งผู้นำและผู้บริหาร ทุกท่านต้องอยู่ทั้งสองส่วนด้วย  อย่างเรื่องนักศึกษาลดลง แต่ยังได้พูดถึงคุณภาพนักศึกษา อย่างมีศูนย์วิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล ตลาดมุสลิมเยอะมาก  อาหารไทยดังทั่วโลกแต่ไม่เคยคิดที่จะทำฮาลาล หรือการถ่ายภาพยนตร์ เราอาจสอนการทำธุรกิจในกองถ่าย เพราะเมื่อต่างชาติมาถ่ายทำส่วนใหญ่จะนำคนในท้องถิ่นมาช่วยงาน เราจะมีการวางแผนอย่างไร

          1. การสร้างโอกาส ถ้ามองไม่เห็นจะสร้างโอกาสได้อย่างไร เช่นการสร้างคนใต้บังคับบัญชามาทำอะไร และสิ่งที่ลืมไม่ได้คือลูกศิษย์ท่าน ถ้าเกิด Crisis ไม่มองไว้ก่อน ปรับตัวไม่ทัน

          2. Develop Action plan

3. Multiple Skill (เราไม่จำเป็นต้อง Multi ทุกเรื่อง แต่ความรู้ต้อง Multi) ระบบ Multiple Skill ที่ทำมากสุดคือ Convergence จะทำอย่างไร ใส่ข้อมูลอย่างไรให้รู้หลายเรื่อง

4. เกิด Productive คือสุดท้ายจะไปที่ไหน ทำ 1 ให้ได้ 2 เป็นต้น ถ้าอยากได้การประชุมให้ได้ผล หัวข้อต้องส่งก่อน

          ตัวที่เราจะต้องปรับคือ Mindset อย่าง Multiple คือไม่จำเป็นต้องเป็นทุกอย่าง แต่หาเครือข่าย แล้วบริหารจัดการได้ ท่านก็จะเป็นผู้นำ

Workshop

1. วิเคราะห์คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำของมรภ. ภูเก็ต ที่พึงปรารถนาที่สุดในอนาคต 5 ข้อ พร้อมทั้งเหตุผล และยกตัวอย่างผู้นำระดับโลก และประเทศ 3 ท่านที่เป็น Role Model อธิบายและยกตัวอย่างคุณสมบัติเหล่านั้น (กลุ่ม 1)

2. วิเคราะห์ว่าของ มรภ.ภูเก็ตมีกี่ระดับ ในแต่ละระดับมีช่องว่างอะไร พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีการพัฒนาผู้นำในแต่ละระดับที่เหมาะสม (กลุ่ม 4)

3. วิเคราะห์บทบาทของผู้นำของ มรภ.ภูเก็ต กับเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนากปน.ในยุค 4.0 ให้เติบโตอย่างยั่งยืน3 เรื่อง ผู้นำควรจะต้องทำอะไรบ้าง / บทบาทของผู้นำควรจะเป็นอย่างไร (อาจใช้แนวทางของ John Kotter ในการวิเคราะห์) (กลุ่ม 2)

4. การสร้างผู้นำในทุกระดับของ มรภ.ภูเก็ต เริ่มจากตัวเองโดยการวิเคราะห์การพัฒนาปรับ Mindset ให้เปลี่ยนจาก Fixed มาเป็น Growth mindset จะสามารถทำได้อย่างไร (กลุ่ม 3)

5. วิเคราะห์บทบาทของผู้นำของ มรภ.ภูเก็ตกับการพัฒนาของ มรภ.อย่างยั่งยืน 3 เรื่อง ผู้นำควรจะต้องทำอะไรบ้าง / บทบาทของผู้นำควรจะเป็นอย่างไร (กลุ่ม 5)

นำเสนอ Workshop

1. วิเคราะห์คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำของมรภ. ภูเก็ต ที่พึงปรารถนาที่สุดในอนาคต 5 ข้อ พร้อมทั้งเหตุผล และยกตัวอย่างผู้นำระดับโลก และประเทศ 3 ท่านที่เป็น Role Model อธิบายและยกตัวอย่างคุณสมบัติเหล่านั้น (กลุ่ม 1)

          คุณลักษณะผู้นำ

          1. การมีคุณธรรมจริยธรรม มีธรรมาภิบาลในการปกครอง เพราะถ้าผู้นำขาดคุณธรรมก็เดินหน้าต่อไม่ได้

          2. วิสัยทัศน์ ผู้นำต้องมีเป้าหมาย คือต้องมองเส้นขอบฟ้าเสมอและกำหนดอนาคตให้ได้

          3. บุคลิกภาพหรือภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นตั้งแต่แรก

          การเชื่อมโยงกับเมื่อวานคือการสร้างแบรนด์ สามารถเกิดจากตัวผู้นำที่สร้างแบรนด์ให้ มรภ.ด้วย

          4. ความเด็ดขาด เช่นถ้าประเมินแล้วว่าไม่ถูกต้อง ต้องกล้าบอกว่าถูกหรือผิด ไม่โอนเอียง

          5. ต้องสื่อสารเป็น เป็นนักสื่อสารที่ดี มีความสามารถสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถบอกได้ว่าต้องการอะไร เป็นอะไร

          บทบาทของผู้นำ

          ภายใต้สภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ความรู้สึกการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจำเป็นมาก

1. ต้องสร้างศรัทธาให้กับบุคลากรในองค์กร

2. กระตุ้นให้คนในองค์กรใช้ศักยภาพตัวเองอย่างเต็มที่

3. สามารถจัดการสภาวะวิกฤติ แก้ไขความขัดแย้ง และบริหารความไม่แน่นอนได้

4. มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม มีผลผลิตเป็นแบรนด์

5. มีเครือข่ายต่าง ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบุคลากรในองค์กรได้

Role Model

1. ผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ รู้จักจากเหตุการณ์ภาวะวิกฤติ คือ

          - มีความชัดเจน ตรงประเด็นไม่อ้อมค้อม

          - ไม่พูดให้ร้ายใครในวิกฤติเกิดขึ้น เพราะมีส่วนคนเข้ามามาก

          - เข้าใจเป็นอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ

          - การรวบรวมข้อมูลทั้งหมด สู่แผนการทำงานที่ชัดเจน นำสู่แผนปฏิบัติการและพูดความจริงกับสื่อ ทำให้สื่อสารได้ตรงประเด็น

2. Nelson Mandela

          - มีภาพลักษณ์ที่ดี ปรากฏตัวอย่างมีเกียรติสง่างาม

          - รู้จังหวะไหนควรทำ ควรถอย

3. Jack Ma

          - ผู้นำยุคปัจจุบัน ที่นำดิจิทัลมาสร้างรายได้

สรุป องค์กรต้องมีผู้นำที่มีทั้งความเป็นนักธุรกิจและผู้บริหารมาเลี้ยง มรภ. เพื่อหล่อรวมได้ ถ้านำ 3 ท่านมาร่วมกันจะทำให้ มรภ.เจริญได้แน่นอน

ดร.จีระ เสริมว่า ขอชมเชยสำหรับกลุ่มแรกคือ Complete และตีโจทย์แตก ทุกคนเก่งหมด คำถามคือเมื่อมีความสามารถขนาดนี้จะทำอย่างไรที่จะนำนาวาให้รอด

คนในห้องนี้มี Brain ที่เข้าใจ Reality และ Relevance และปรับตัวได้ดี ชีวิตต้องเดินไปสู่การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ งานเป็นสถาบันใหม่  Impact เปลี่ยนจาก Human ที่เป็น Personnel เป็น Human Capital เปลี่ยนบทบาทจากนายจ้างลูกจ้างที่ไม่ได้มองแค่เงินทุน

ฝากไว้ในการสร้างโอกาสเพื่อเอาชนะอุปสรรค เช่น ถ้านายจ้าง และลูกจ้างไม่ยอม กฎหมายประกันสังคมจะอันตราย เพราะส่วนใหญ่นายจ้างไม่ค่อยยอมเสียเงิน แต่จะขอรัฐบาลอย่างเดียว ความจริงคือ ถ้าให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิต มีสวัสดิการในการรักษาพยาบาล จะมี Quality of life แล้วจะทำให้ลูกจ้างทำงานอย่างมีความสุข และจะได้งานมี Productivity

การเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ดีแล้ว Aware เรื่องผลประโยชน์ การทำอะไรก็ตามต้อง Win-Win

กฎ 12 ข้อ ของ ดร.จีระ ลูกน้องบางคนก็ไม่ค่อยเข้าใจ ต้องค่อย ๆ ทำ เพราะสิ่งนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ ดร.จีระ

2. วิเคราะห์ว่าของ มรภ.ภูเก็ตมีกี่ระดับ ในแต่ละระดับมีช่องว่างอะไร พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีการพัฒนาผู้นำในแต่ละระดับที่เหมาะสม (กลุ่ม 4)

มรภ.แบ่งเป็น 3 ระดับ

คือระดับสูง (อธิการบดี รองอธิการบดี) ระดับกลาง (คณบดี ผอ.รองผอ. หัวหน้าสำนักงาน) ระดับต้น (หัวหน้างาน ประธานสาขา นักศึกษาคือนายกองค์กรบริหารการศึกษา)

ช่องว่างแบ่งเป็น

          1. การสื่อสาร

          - ไม่เป็นทิศทางเดียวกัน

          - การจัดการข้อมูลไม่ทั่วถึง

          2. ความร่วมมือ

          - ขาดการกระตุ้น ตระหนักรู้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

          - ขาด Motivation

          - ขาดแรงบันดาลใจ

          - ขาดการตระหนักความสำคัญ

วิธีการพัฒนาผู้นำแต่ละระดับ

          1. ระดับสูง

          - ผู้นำความมีหลักธรรมาภิบาล  มี Trust

          - นโยบาย ภาพใหญ่ เชื่อมโยง

          - สร้างแรงจูงใจ

          - เป็นแบบอย่างที่ดีที่ทำให้ลูกน้องและระดับอื่นเห็นสิ่งที่ต้องการ

          - การสร้างเครือข่ายและ Connection หา Consult ที่มีความเก่ง

          2. ระดับกลาง

          - มองทั้ง Horizontal และ Vertical

          - การมองการปฏิบัติ มี Action Plan

          - ศึกษาว่าเก่งอะไร พัฒนาต่อเนื่อง

          - สร้างโอกาส

          3. ระดับต้น

          - ขอบเขต โครงสร้างคล้ายกันทุกระดับ

          - Trust มี Humanize

          - ตระหนักรู้ในบทบาทหน้าที่ งานที่รับผิดชอบ

          - มีจิตอาสา

          - การเชื่อมโยงที่ดี

          ทั้ง 3 ระดับควรมีการสื่อสารที่ดีเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้ด้วย

          ดร.จีระ เสริมว่า ตอบได้ตรงประเด็นเช่นเดียวกัน

          เสนอว่าในอนาคตข้างหน้าถ้าจะมีการทำงานต่อไป น่าจะเปิดโอกาสให้อีกรุ่นหนึ่งร่วมด้วย

3. วิเคราะห์บทบาทของผู้นำของ มรภ.ภูเก็ต กับเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนากปน.ในยุค 4.0 ให้เติบโตอย่างยั่งยืน3 เรื่อง ผู้นำควรจะต้องทำอะไรบ้าง / บทบาทของผู้นำควรจะเป็นอย่างไร (อาจใช้แนวทางของ John Kotter ในการวิเคราะห์) (กลุ่ม 2)

          เรื่องที่ต้องการเปลี่ยนแปลงคือ หลักสูตร สถานที่ ภูมิทัศน์ การบริหารจัดการ  เน้นการพัฒนา PKRU

          บทบาทผู้นำในมหาวิทยาลัยคือ 1. ผู้บริหารระดับสูง อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี          2.ระดับกลาง คณะบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการสำนัก

บทบาทของผู้นำในมหาวิทยาลัย

          1. ต้องมีวิสัยทัศน์ ในการนำพา มรภ. สู่ทิศทางการพัฒนาประเทศไทย 4.0

- การวางแผนควรมีความชัดเจนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติได้ถูกต้อง

          - การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หัวหน้าหน่วยงานต้องรับฟังความคิดเห็นตรงนี้

          2.การกล้าตัดสินใจ ดูที่เป้าหมายที่ทันสมัย เด็ดขาด และชัดเจน มาจากการระดมความคิดในการขับเคลื่อนเพื่อดำเนินการต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นภูมิทัศน์ หลักสูตรการดำเนินการทางวิชาการ ต้องมีวิสัยทัศน์ กล้าตัดสินใจ (กฎระเบียบ ฯลฯ) การเข้าใจนวัตกรรม  เช่นการจัดอบรม IMT-GT มีการนำเรื่อง ICT การจัดหลักสูตรที่ตอบสนองวิชาการได้

          3. การทำงานเป็นทีม มีการให้คนมีศักยภาพตรงตามงาน ลดความขัดแย้ง และ Encourage

4. สนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจ – ปากหวาน งานเดิน

มองเรื่องการสร้างโอกาสและการทำงานเป็นทีม  ต้องมีการปรับ Mindset คนที่เป็นผู้บริหารต้องบริหารโดยเข้าไปในสายเลือด ต้องบริหารสิบทิศ และมีวินัยในการบริหาร  และไม่ควรเป็นตามเวลาราชการ ต้องเป็นโดยตลอดและกมลสันดานตลอดที่ดำรงตำแหน่งอยู่

สรุปคือ จะเห็นว่า มรภ.มีผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพเยอะมาก แต่การทำงานเป็นทีมจะทำอย่างไรที่จะบูรณาการและใช้ทุกสาขาส่งเสริมการทำงานไปสู่ชุมชนอย่างเห็นผลได้ชัดเจน เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น เพราะถ้าชุมชนเด่นมา 1 ชุมชนจะเป็นตัวอย่างให้ชุมชนอื่นเห็น และต้องการพัฒนา โดยก่อนอื่นต้องไปถามต่อว่าชุมชนต้องการอะไรก่อน

ดร.จีระ เสริมว่า โครงการชุมชนของ ในหลวงรัชกาลที่ 10 จะช่วยให้เราสามารถทำเพื่อชุมชนได้และเราจะพัฒนาต่ออย่างไร น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ควรพูดให้สื่อข้างนอกรับทราบด้วย

4. การสร้างผู้นำในทุกระดับของ มรภ.ภูเก็ต เริ่มจากตัวเองโดยการวิเคราะห์การพัฒนาปรับ Mindset ให้เปลี่ยนจาก Fixed มาเป็น Growth mindset จะสามารถทำได้อย่างไร (กลุ่ม 3)

          ต้องเข้าใจก่อนว่าแบ่งผู้บริหารเป็นกี่ระดับ แต่ละระดับมี Mindset อย่างไร แนวทางในการวิเคราะห์ผู้บริหารให้เกิดเป็น Growth Mindset

          1. การปรับอารมณ์โดยใช้ 5K’s

          2. การมีเพื่อนโดยใช้ผู้นำ และปฎิสัมพันธ์

          3. เกิด Growth Mindset

          4. ผู้นำที่ดีควรเป็นอย่างไร

          ในระดับผู้บริหารปัจจุบัน

          - นโยบายผู้บริหารดี แต่อาจรับรู้ หรือรับทราบนโยบายไม่ตรงกัน ขาดความเข้าใจระหว่างนโยบายระหว่างผู้บริหารและภายในองค์กร

          - การวิเคราะห์ระดับเจ้าหน้าที่ และอาจารย์ มีความขยันทำงานมาก แต่ไม่ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ยังอยู่ใน Fixed Mindset การปรับสู่ Growth Mindset ผู้บริหารต้องเปิดใจกว้าง รับฟัง ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับตัว สื่อสารข้อมูลที่ดี จะทำให้องค์กรทำงานรวดเร็วและนำไปสู่ความสำเร็จ

          การสร้างภาวะผู้นำ

          เบื้องต้นวิเคราะห์ผู้นำได้ว่าผู้นำส่วนใหญ่อยู่ใน Fixed Mindset ผู้นำในระดับสูงยังปิดกั้นความคิดของระดับล่างอยู่คือผู้นำมีความคิดดี มีประสบการณ์ ความเก่ง ความสามารถ แต่นำความเก่ง ความสามารถ ไปปิดกั้นความคิดระดับล่าง สิ่งนี้เราจะเปลี่ยนแปลงได้คือใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงเบื้องต้นคือ

1. ยอมรับความคิดคนอื่นด้วย ต้องแกล้งโง่ ต้องฟังมากกว่าพูด ไม่ใช่โต้แย้ง โต้เถียง  ไม่เช่นนั้นจะเป็นผู้นำที่ Fixed ตลอด

          2. สร้างเครือข่าย ยกตัวอย่างผู้นำจีนท่านนึงคือ เจียง ซิ มิน ท่านบอกว่าเราจะเป็นจีนเดียวไม่ได้ เราต้องสร้างเครือข่าย เช่นเดียวกับผู้นำ มรภ. ต้องสร้างเครือข่าย อย่างผู้นำจีนนำสู่ยุโรป  ผู้นำมรภ.ต้องเชื่อมกับสภามหาวิทยาลัยที่อื่นได้ด้วย

ส่วนเจ้าหน้าที่ และผู้บริหารระดับกลาง ยังเป็น Fixed เช่นกันโดยการเปลี่ยนต้องไม่ยึดติด และต้องมีกิจกรรมที่ต้องสานสัมพันธ์กัน เพราะถ้าคนใช้ชีวิตร่วมกันจะเอาใจเขามาใส่ใจเรามากขึ้น ในหยินมีหยาง ในหยางมีหยิน  ผู้นำต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทำให้การเปลี่ยนแปลงมีประโยชน์ ยกตัวอ่ย่าง ทานอส

          สรุป คือการสร้างผู้นำในทุกระดับของมหาวิทยาลัยจาก Fixed มาเป็น Growth จาก

ทุนทางอารมณ์ ที่ปรับสู่การทำงานหลายอย่าง กล้าแสดงความคิดเห็น ผู้บริหารที่มีทุนทางอารมณ์อยู่แล้ว ก็พัฒนาต่อไปได้เพื่อเก็บผลผลิตมากขึ้น

5. วิเคราะห์บทบาทของผู้นำของ มรภ.ภูเก็ตกับการพัฒนาของ มรภ.อย่างยั่งยืน 3 เรื่อง ผู้นำควรจะต้องทำอะไรบ้าง / บทบาทของผู้นำควรจะเป็นอย่างไร (กลุ่ม 5)

          ปัญหาวิกฤติของเราคือ จำนวนนักศึกษาลดลง บุคลากรไม่ได้พัฒนาขึ้น และสิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาเป็น Smart/Green University

          จำนวนนักศึกษาที่ลดน้อย ในบทบาทผู้นำที่จะช่วยพัฒนา คือ

          1. เพิ่มศักยภาพผู้สอน เช่นตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อตัวผู้เรียน

          2. สร้างความเชื่อมั่นให้ศิษย์ปัจจุบัน เพื่อการบอกต่อให้รุ่นน้องต่อไป เช่น การดูแล การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา สวัสดิการหอพัก

          3. ให้นโยบายมาจากการรับฟังทุกภาคส่วนและลงสู่ผู้ปฏิบัติมากขึ้น

          เรื่องการเพิ่มจำนวนนักศึกษา

          - การเพิ่มหลักสูตร การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นที่มีชื่อเสียง สร้างหลักสูตรระยะสั้นในส่วนวุฒิบัตร หรือปริญญาบัตร

          - ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยไม่ต้องอยู่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ส่งเสริมทุกระดับช่วงชีวิต

          เรื่องการส่งเสริมให้ มรภ.ยั่งยืน

          - พัฒนาบุคลากรให้มีตำแหน่งทางวิชาการให้เร็วที่สุด มีดร.มากสุด

          - สร้างแรงจูงใจให้ทุกคนตั้งใจทำงาน ทำตำแหน่งทางวิชาการ เชิดชูเกียรติ เงินตำแหน่งต่าง ๆ ให้เหมาะสม

          - จัดเวทีนานาชาติ ให้คนมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยสากลในอนาคต

          เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก

          - นโยบายที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ในการเป็น Smart/Green University หลายอย่างอยู่ในแผนที่กำหนดนโยบายโดยผู้บริหาร

          Smart city เมืองจะ Smart ได้ต้อง

1. Smart Living - Smart Environment,Safety ,Technology

          2. Smart Governance

          3. Smart Economy

          4. Smart Infrastructure – ต้องมี Smart Mobility , Smart Living

          5. Smart People

          มหาวิทยาลัยก็ต้องทำเช่นเดียวกัน

สรุปคือ มรภ.ต้อง Put the right man on the right job ต้องเป็น Smart Administrator มีกระบวนการบริหารจัดการที่ทำให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้น มีกระบวนการจัดการทรัพย์สิน และระบบสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ต้องเตรียมการในอนาคตเช่นน้ำประปา

มรภ.จะลด I ให้เล็กลงและเพิ่ม We ใหญ่ขึ้น

ต้องมีผู้นำที่กล้าตัดสินใจ รับฟังความคิดเห็นทุกระดับ และสร้างความยั่งยืน สร้างเครือข่ายทั้งในระดับมหาวิทยาลัย มัธยมและต่างประเทศ รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เพื่อบริหารจัดการให้มีสภาพที่ดียิ่งขึ้นไปและยั่งยืน

ดร.จีระ เสริมว่า กลุ่มนี้ขอชมเชย และขอชมเชยทั้ง 5 กลุ่ม บ่ายวันนี้เข้าประเด็นเรื่องผู้นำตรงกับที่คิดไว้มากกว่าที่เคยเห็น ใส่ผู้นำใน Input การแก้ปัญหา มี 3 เรื่องที่ต้องแก้ และ 3 เรื่องที่ต้องวางแผน ในเวลาที่เหลืออยู่ รู้ว่าเห็นช่องทางแล้วต้องชมเชยด้วย สิ่งที่แสดงในห้องกับที่แสดงให้ มรภ.ขออย่าให้เหลื่อมกัน ต้องทั้งเก่งในห้องและนอกห้องด้วย เพราะนอกห้องเป็นอีกวัฒนธรรมคือ ต้องเจอผู้ใหญ่ และเจอแรงกดดัน  สถานการณ์ไม่เหมือนกัน เชื่อว่าถ้าทุกคนรวมพลังกัน ทุกคนมีศักยภาพที่ทำได้ดี

Mindset เป็น Research ของอาจารย์ที่ Stanford คนหนึ่ง แต่ความจริงแล้ว Mindset เราทำ Research เองก็ได้ ให้เป็น Mindset ที่เป็นของจริงของประเทศไทย  การนำวัฒนธรรมของเรามาจับจะเห็นว่ามี Cultural Bias คือไม่กล้าเผชิญความจริง พูดในห้องน้ำ ปัญหาที่แท้จริงคือ Emotional คือการควบคุมอารมณ์ไม่เป็น จะแสดงออกมาทางสีหน้า

          Mindset อันหนึ่งที่น่ากลัวคือ Cultural Bias ถ้าจะทำ Research อาจเริ่มต้นที่ มรภ. ฝรั่งไม่ได้มีไอคิวเหนือกว่าเรา เพียงแค่เราไม่มีโอกาสที่ไปปะทะกับเขาเท่านั้น

          การทำ Workshop ไม่ใช่แค่การพบกัน ต้องพยายามให้ทุกคนออกความเห็นและไม่แสดงให้เห็นว่าความเห็นเหล่านั้นไม่เหมาะสม เพราะความเห็นที่ไม่เหมาะสมจะเหมาะสมในบางโอกาส แต่สังคมไทยในฐานะผู้ใหญ่จะชอบว่าความคิดเห็นของคนต่ำกว่า

          การสอนมนุษย์สอนด้วยตำราฝรั่งไม่ได้ เพราะที่ทุกคนในห้องพูดคือทรัพย์สินทางปัญญาของ มรภ.ไม่ใช่ของ ดร.จีระ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          การยืมมือ Cross Functional คือสิ่งที่เราอยากได้ คุณค่าของคนอื่นคือของเรา

การกับเข้ามาที่แต่ละกลุ่มคิดคือการทำโครงการเชิงนวัตกรรม ให้แต่ละกลุ่มเลือกกันว่าทำโครงการประเภทไหน ให้แต่ละกลุ่มคุยกันว่าอยากไปด้านไหน


โครงการเชิงนวัตกรรมเกิดจาก

1. ความคิดสร้างสรรค์ + ของใหม่ + ของดีที่มีอยู่แล้ว

2. ประโยชน์ที่ตอบแทน คุณค่าอย่างเดียวไม่พอ เจ้าของโครงการที่ไม่มี Asset Support จะทำไม่ได้

กระบวนการนวัตกรรมแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่

1. People & Process Innovation

          - การสร้างทุนมนุษย์ด้านนวัตกร  และผู้สนับสนุนให้เกิด “นวัตกร” (TEAM)

          - กระบวนการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน

คนและกระบวนการ – สามารถเขียนเรื่องทุนมนุษย์และกระบวนการ

เราจะคิดอะไรใหม่ ๆ ที่มาพัฒนานวัตกรรมได้อย่างไร  เราไม่จำเป็นต้องเป็นนวัตกร แต่เราจะต้องบริหารจัดการนวัตกร

2. Product / Service

          - การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า (นิสิตนักศึกษา/นักธุรกิจ/นักท่องเที่ยว/ชุมชน/ลูกค้าทั่วไป ฯลฯ)

3. Business Model Innovation

-พัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ หรือช่องทางการตลาด ที่ตอบสังคมหรือธุรกิจ


ช่วงที่ 1 : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2562

Learning Forum :วิสัยทัศน์ของผู้นำ ความรู้ใหม่ที่ผู้นำของมหาวิทยาลัยยุคใหม่ที่ต้องรู้ การจัดการประเด็นท้าทาย และ Disruptive Management

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)


From digital era to the 4th revolution

          เรากำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก เป็นการพัฒนาต่อยอดสู่ยุคอุตสาหกรรมที่ 4

ครั้งที่ 1 คิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ เป็นเรื่องการพัฒนา

ครั้งที่ 2 คิดค้นเครื่องใช้ไฟฟ้า

ครั้งที่ 3 ปี ค.ศ. 1946 ยุคคอมพิวเตอร์

ครั้งที 4 ยุคระหว่างการพัฒนาดิจิทัลสู่ไบโอเทค

          ในยุคที่ 1-3 เป็นยุคของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วนในยุคที่ 4 เป็นรูปแบบกระบวนการที่ใช้ดิจิทัลในการพัฒนาต่อ และเชื่อมโยง มีศัพท์เกิดขึ้นคือ

          - Internet of everything

          - Robotics

          - Autonomous vehicle

          - Energy coverage

          - Material Science

          - 3D printing

          เราทุกคนกำลังอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วน

สิ่งที่กระทบแรกคือเทคโนโลยีเป็นเมล็ดพันธ์แห่งการเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบภูมิรัฐศาสตร์ และไบโอทิค

การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล

          ยุคดิจิทัลเกิดเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว สิ่งที่พบคือ 10,000 ปีมีการเปลี่ยนแปลง 3 ครั้ง

ยุคที่ 1  การปฏิวัติเกษตร

นำสู่การเปลี่ยนแปลง 2 ครั้งคือ สังคมทาส นำสู่สังคมศักดินา

ยุคที่2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม

มีชนชาติฉลาดกับโง่เริ่มแตกต่างกัน การศึกษาขี่เรา ในกลุ่มของคริสต์มีคริสต์คาทอลิก ที่ฉลาดพอสเปน โปรตุเกสที่ล่าอาณานิคม แต่ต่อมาเจอคริสต์โปแตสแตนท์ ฉลาดกว่า เกิดยุคอาณานิคม ศักดินา คนที่นำคืออังกฤษ และฝรั่งเศส  

กลุ่มคนเหล่านี้ไปหากรีก ได้รับการศึกษาคือสอนให้คนคิดและฉลาด มนุษย์ไม่มีใครโง่ แต่ฉลาดทั้งนั้น เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ประเภทแรกครองความเป็นสัตว์อยู่ อีกประเภทเป็นมนุษย์ที่ใช้สมอง เห็นอะไรเชื่อมโยง กรีกจึงสอนวิธีคิดครั้งแรกคือการมองแบบเชื่อมโยง หรือทางการศึกษาเรียกว่าระบบ Induction คือมอง+เชื่อมแล้วสรุปเป็นประเด็น

เกิดระบบคิดแบบมนุษย์นิยม (Humanism) คือมนุษย์ทุกคนมีความฉลาด สอนให้มนุษย์คิดแบบเชื่อมโยง มีหนังสือ Homo Sapien ค้นพบว่ามนุษย์ฉลาด และเมื่อฉลาดต้องให้มนุษย์มีเสรีภาพคือ มี Humanism

มารติน ลูเธอร์ เป็นต้นกำเนิดการเปลี่ยนแปลงที่แยกศาสนจักรโปแตสแตนท์ จากคาทอลิก และเมื่อมนุษย์ฉลาด สามารถจัดการให้คนทั่วไปประกอบกิจการได้ ชื่อ อดัม สมิทธิ์ ก่อกำเนิดวิชาเศรษฐศาสตร์

ความฉลาดเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ การเมืองที่ฉลาดต้องปลดปล่อยมนุษย์ไม่เช่นนั้นมนุษย์จะทดไม่ไหว เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในฝรั่งเศส

          เซอร์ ไอแซก นิวตัน มีการคิดค้นจากกฎแรงดึงดูด

          การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 2 เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 200 ปี ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศทั้งหมด เกิดมหาวิทยาลัย เกิดโรงพยาบาล

ยุคที่ 3 คลื่นลูกที่ 3 เขียนโดยอาวิน ทอฟเลอร์

          เป็นยุคที่ดิจิทัลผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทเลคอม หลายแห่งเจริญ เพราะนักเรียนฉลาดกว่าครู เพราะครูกระตุ้นให้นักเรียนฉลาด  และจะเกิดอะไรใหม่ ๆ มีนวัตกรรม โลกกับพระอาทิตย์มีสนามแม่เหล็กทำให้ไม่ชนกัน มาสู่ยุคของอัลเบริ์ต ไอน์สไตน์ เป็นที่มาของยุคดิจิทัล

ยุคที่ 4 ยุคดิจิทัล

          กระทบกับเราอย่างไร เป็นยุคของการปฏิวัติมนุษย์ชาติเพราะอะไร

          ยุค 1 คิม เบอร์เนอร์ลี ในปี 1990 ได้ไปนำเสนอเอกสารที่ CERN ได้นำเสนอสิ่งที่สำคัญ 3 เรื่องคือ HTML ,URI, HTTP  คอมพิวเตอร์จะไม่มีความหมายถ้าไม่ได้พัฒนา 3 ตัวนี้ เป็นต้นกำเนิดของWeb Net และเป็นที่มาของยุค PayPal , Alibaba เป็นยุค 1990 – 2000 เป็นยุค Connectivity

          ยุค 2 เป็นยุคที่กำเนิด Social Media ได้แก่ Facebook ,Youtube ,WordPress, TypePad เป็นยุคที่ผสมระหว่าง Mobile + Social+ กล้องถ่ายรูป เกิดยุค Disruption ที่นำมาสู่จุดจบของร้านหนังสือ ฟิล์มหนัง แมงป่อง และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็เริ่มปรับแล้ว

          ยุค 3 เป็นยุคปัจจุบัน เรียกว่า Platformization เป็นยุคของ Market เป็นยุคของ P2P ได้แก่ Airbnb, Uber, Grab, Amazon.com

          ระบบการศึกษาจากวันนี้เป็นต้นไปจะมีความลึกซึ้งและความท้าทายมาก ปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่จุดการบริหารจัดการที่ใช้คนน้อยมาก

          การศึกษาในเมืองไทยต้องก้าวไปสู่ Blockchain เป็นเรื่องตราสารต่าง ๆ สิ่งที่สำคัญคือดิจิทัลวันนี้จะก้าวสู่ดิจิทัล 4

          ยุค 4 ยุค Internet of Things (2020s) การเชื่อมอินเทอร์เน็ตกับสิ่งของ

ยกตัวอย่างหนังสือที่อาจารย์อ่านคือ Open Bank มีการใช้ระบบ QR Code

          คนที่เป็นคนชั้นกลางในโลกจะมี IOT ไม่ต่ำกว่า 20 ชิ้น ถ้าระบบการศึกษาไทยปรับไม่ทันสิ่งที่ตามมาคืออะไร

Industry of the Future

1. Robotics

          AI มี 2 แบบคือ Rule Base AI จะนำไปสู่การให้ AI เล่นหมากรุกชนะแชมป์โลกได้ และในอนาคตจะพัฒนาไปสู่ Ruler AI ที่นำไปสู่ Big Data (กำเนิดครั้งแรกตอนเกิดไข้หวัดนก คนกลัวเหมือนเกิดไข้หวัดสเปน อเมริกาจึงเข้าหา Google มีการคำนวณคนคลิ๊กเพื่อคำนวณความถี่ จนกระทั่งทำเป็น Platform ได้

          Big Data จะทำหน้าที่ในลักษณะ Prediction และทำหน้าที่โดยใช้ AI สามารถทำนายได้เป็นการดูถึง Collation  และใช้ข้อมูลต่าง ๆ บอกคุณ

          หัวใจสำคัญคือการเปลี่ยนวิธีคิดของคน และการศึกษา อยู่ที่ Data Mining

1. ทำให้เห็นภาพใหญ่ ไม่สนใจภาพเล็ก

2. ยุ่ง แต่สิ่งสำคัญสูง

3. Collation การตอบคำถาม What ไม่ได้ตอบคำถาม Why มีตัวแปรไหนที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง

4. สามารถตอบข้อมูลจาก Data ที่มีเยอะมากเช่น Sampling

Data Mining มี 2 ความหมาย

1. Crypto Currency เช่น Bit Coin

          เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยในการออกแบบรายวิชา Data Mining ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์แทน เช่น Wall Mart การซื้อสินค้ามีการจัดระบบ และสามารถ Prediction และวิเคราะห์กลุ่ม Cluster ได้

          นำไปสู่การตลาด Public Ad และการเปลี่ยนแปลงมากมาย ที่มหาวิทยาลัยต้องทำ อย่างเรื่อง Smart City ก็จำเป็นต้องมี

          สิ่งเหล่านี้นำสู่การสร้างการทำงานในอนาคต และเกี่ยวกับการสร้างระบบการศึกษาเรา

2. Robotics

          จะเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาและสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจำนวนมาก

Robotics ทำหน้าที่แทนพยาบาล เป็นสิ่งที่เลี้ยงง่ายเช่น หมา แมว และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เช่นรถ เรือไม่มีคนขับ เข้าสู่ทางการแพทย์ เช่นการผ่าตัด เกษตรกรรม สอนหนังสือ  พนักงานขายของ

          เกี่ยวข้องกับการศึกษา คนจะมีความต้องการด้าน IT จำนวนมาก ITจะกลายเป็นพระเอก และคนเชี่ยวชาญด้านอื่นจะเป็นพระรอง

          ด้วยเหตุผลนี้อเมริกาจะพยายามไม่ให้คนกลุ่มนี้ Monopoly เพื่อป้องกันกลุ่มนี้ผูกขาด

          Robotics จะทำให้คนตกงานมหาศาล มหาวิทยาลัยสิ่งที่ต้องทำคือการ Re-Skilling ไม่จำเป็นต้องทำเอง

          ทำไม AI สามารถผลิตเพลงแบบโมสาจน์ ได้เพราะอะไร เพราะเป็นการผสมผสาน Art+ Science คือ Biotech Algorithm อย่างไร AI ก็ทำหน้าที่แทนคนไม่ได้ทุกเรื่อง

3. Codification of Money, Markets and Trust

          โลกกำลังเข้าสู่ยุคของการใช้โค้ดทางการเงิน และการตลาด โลกกำลังเข้าสู่ Digital Money แต่เป็นสกุลไหนแล้วแต่ ระบบการศึกษาจะเป็นด้าน IT หรืออะไรมาก โลกเข้าสู่สิ่งนี้มาก

          วันนี้โลกการศึกษาช่วยเรามาก โลกกำลังเข้าสู่ยุคที่สามารถช่วยตัวเองได้ วันนี้คือโอกาสทองของเรา

4. The Weaponization of Code

          การผลิตคนที่รู้เกี่ยวกับไซเบอร์ มหาวิทยาลัยต้องมีการปรับตัวรองรับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง หลักสูตรเหล่านี้กำลังขาดแคลน แต่เมืองไทยไม่ค่อยพัฒนาเท่าไหร่ เราจะทำอย่างไร

          Thailand 4.0 จึงมีเรื่อง Robotics , AI, IOT มาเกี่ยวข้อง

Free Flow of Goods

วิสัยทัศน์อาเซียน 2025 แบ่งเป็น

1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025

2. ประชาคมความมั่นคง 2025

3. ประชาคมวัฒนธรรม 2025

AEC 2025

          AEC 2025 เมื่อพูดถึงประชาคมเศรษฐกิจ จะพูดถึงการเปิดเสรีสินค้าและบริการ อาทิ AFTA สินค้าระหว่างประเทศสมาชิกเหลือ 0 (สินค้าต้องมีแหล่งกำเนิดในประเทศสมาชิก 40% อาทิ การใช้แรงงาน และใช้วัตถุดิบในประเทศ) ถ้าอยู่นอก AFTA เสียภาษี 60%

          มหาเธร์ เตรียมตัวเรื่อง AFTA ตั้งแต่ปี1950

อุปสรรคของ AFTA  แม้มีสินค้าปลอดภาษีเท่ากับ 0 แต่มีอุปสรรคคือ

1. มาตรฐานสินค้า

2. กฎระเบียบ

อนาคตต้องมีการปรับและเจรจาต่อรอง และจะไม่มีอุปสรรค สิ่งนี้จะนำมาซึ่งการนำเข้าของต่างชาติ

ถ้ามีสัญชาติอาเซียนถือครองได้ 70% ได้แก่ IT ท่องเที่ยว Healthcare  สุขภาพ Aviation

ปัจจุบันมีอาชีพที่เข้าออกได้เสรี 8 อาชีพ และในอนาคตปี 2025 คนที่ทำงานใน IT , Banking Finance, นักบิน จะเข้าออกได้อย่างเสรี และจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเสรีมากขึ้นกว่าเดิม

การมีโครงการร่วมมือทาง Infrastructure เกิดโครงการ IMT-GT เมื่อ 20 ปีมาแล้ว และจะกำลังพัฒนาเส้นทางไปนราธิวาส และโครงการ GMS Mekong Sub-Region Cooperation มีทั้งหมด 3 Corridors

เส้นทางการเชื่อมโยงเหล่านี้ ใครมาเป็นนายกฯ ต้องทำต่อ

1. สนับสนุนการค้าชายแดนและจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 %

2. เกิดเขตเศรษฐกิจเฉพาะตามแนวชายแดน

3. เส้นทางนี้จะทำให้พบกับ ASEP , ASEAN+3, ASEAN+6

- ความแตกต่างระหว่างอาเซียนกับจีน และทวิภาคี เขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับจีน

ASEAN+1 กับเขตการค้าเสรีไทยกับจีนต่างกันอย่างไร

          - ไทยมีข้อตกลงทวิภาคีเขตการค้าเสรีมานานแล้ว (มีแหล่งกำเนิดในประเทศคู่ค้าส่งออกภาษีเหลือ 0) แต่ถ้าไม่มีแหล่งกำเนิดในประเทศคู่ค่าจะเสียภาษีเท่ากับปกติ

          - ASEAN+ 1 เขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียน + จีน

          - ASEAN + 3 เขตการค้าเสรีระหว่างอาเวียน + จีน , เกาหลี , ญี่ปุ่น

          เช่นเดียวกับ ASEAN +6 ต้องมีการคุยกัน ต่อมาเลยคิดที่จะคุยกันทั้ง 16 ประเทศ รวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (ASEP) นายกฯ ต้องผลักดันเขตการค้าเสรีไปสู่เอเชียตะวันออก สินค้าเข้าออกภาษีเหลือ 0 จะทำให้จำนวนตลาดมากกว่า 500 ล้านคน และเกิดการเชื่อมโยงต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อมกับเส้น One Belt, One Road

          สิ จิ้น ผิงได้วางยุทธศาสตร์อันหนึ่ง เป็นเส้นทาง Silk Road เก่า , ทางน้ำ , การเชื่อมโยงจากฉงจิ้น ไปมอสโคว์ และนาสแดก เยอรมัน เรียกว่า North Belt

          Center Belt

          South Belt เชื่อมกับแม่โขงSub Region

          เส้นทางสี่เชื่อมโยงกับทะเลจีนใต้ ไปแอฟริกา อ้อมไปมหาสมุทรแปซิฟิก

          จีน ได้มุ่งเป้าพัฒนาสู่ APEC 21 ประเทศ

          คาดว่าในอนาคต อเมริกาต้องเข้าร่วม เพราะถ้าไม่เข้าร่วมก็จะแพ้จีน

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเราจะทำให้ภูมิรัฐศาสตร์เปลี่ยนไปหมด

1. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น GMS Mekong Subregion, ASEP, IMT-GT

2. เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตวัฒนธรรม Urbanization

3. เปลี่ยนสัญชาติ

4. ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

          โลกเราเปลี่ยนแปลงมาก ต้องให้วิชาต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนแปลงตามให้ทัน การศึกษาในเมืองไทยต้องรู้ภาษาอื่นที่นอกเหนือจากอังกฤษด้วย

          หลักสูตรใหม่เยอะ กฎเกณฑ์เยอะ  แต่ได้ไม่ตามกฎเกณฑ์ หลายมหาวิทยาลัยจึงต้องปิด

รัฐศาสตร์ Disruption

          โสเครติส ถูกบังคับให้กลืนยาพิษ อริสโตเติ้ลจึงเขียนหนังสือเรื่องคุณธรรมจริยธรรม บอกว่า ถ้าหนึ่งคนดีมีจริยธรรม เรียกระบบกษัตริย์ ถ้าไม่ดีเรียกทรราชย์  ถ้าคนข้างมากดีเรียก Polityถ้าคนข้างมากไม่ดีเรียก Democracy

          ถ้าดีต้องสร้างให้คนมาสมดุล สร้างประชาธิปไตยถ่วงดุล ประชาธิปไตยที่ดีต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ

          ในวันนี้โลกของโซเชียลมีเดีย มีเรื่องเผด็จการโดยเสียงข้างมากและโดยทหาร  (Illiberal Democracy) แต่คนยังไม่รู้ เพราะเป็นเผด็จการทั้งคู่ที่มาจากเสียงข้างมาก เช่นกรณีของ เวเนซูเอล่า รัฐเซีย ปูติน หรือแม้แต่ สหรัฐฯ Trump อีกประเทศหนึ่ง

Undemocratic  มีสิทธิเสรีภาพ แต่คนไม่ฟัง  สิ่งนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค

สรุปคือโลกเปลี่ยนมาก ประเด็นหนึ่งคือเทคโนโลยี อีกประเด็นคือ ภูมิรัฐศาสตร์  ด้าน IT สามารถขยายของเขตได้หลายเรื่อง สิ่งที่ทำได้คือการขาดคน ให้หาพันธมิตรและอาจารย์จากต่างประเทศเข้ามา เริ่มจากสินค้า

ในวิชาสังคมศาสตร์ต้องมี IT มาเกี่ยวข้อง เป็น Metropolis ภูเก็ตสามารถเป็น Top 5 ทางการท่องเที่ยว ดังนั้นวิชาเกี่ยวกับท่องเที่ยว อาหาร โรงแรมเป็นวิชาที่ได้เปรียบ หรือการสร้างกรณีศึกษามหาวิทยาลัย 4.0 สร้าง Start up และพัฒนาสิ่งนี้เข้ามา ยกตัวอย่างเวียดนามพยายามใช้การศึกษาแบบฟินแลนด์

ประเทศไทยหัวใจการศึกษาคือ Reading คือการจับประเด็น สอนวิธีการคิด

หัวใจสำคัญคือ เราต้องรู้จักพัฒนาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นมาให้มีจุดแข็งตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ของจังหวัด คิดถึงอาจารย์ที่มาช่วยเรา

สุดท้ายหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา Core ของระบบการศึกษาคือ Thinking

1. Cross Silo

2. Case Study ยกเป็นกรณีศึกษาแล้วนำมาวิเคราะห์ได้เช่น Sandbox

3. Relevance คือเกี่ยวกับบริบทของเรา

4. ที่สำคัญคือการค้นพบตัวเอง ให้อ่านหนังสือเยอะ ๆ เมื่อค้นพบตัวเองจะได้คนที่เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง เรียกว่ามี Passion และก่อให้เกิดคนที่มีประโยชน์ในโลกมากมาย เช่น Bill gate , Mark Zuckerberg

สรุปคือ มหาวิทยาลัยนอกจากเนื้อหาแล้วควรปรับระบบการเรียนด้วย จะทำให้สร้างแบรนด์ได้ ดึงคนที่มี Talent สร้างชื่อเสียงให้บริษัทเรา สร้าง Start up ขึ้นมา ใน 5 ปีนี้จะสร้างอะไรเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง สร้างแบรนด์ในส่วนที่ทำได้แล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี ประเด็นอยู่ที่ตั้งใจหรือไม่ในการปรับ ทั้งหมดอยู่ที่  We can do ถ้าตั้งใจทุกอย่างทำได้ โลกจาก 10-20 ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก เราต้องเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมการเปลี่ยนแปลงให้ดี

Workshop & Coaching :วิสัยทัศน์ของผู้นำ ความรู้ใหม่ที่ผู้นำของมหาวิทยาลัยยุคใหม่ที่ต้องรู้ การจัดการประเด็นท้าทาย และ Disruptive Management

โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

      และทีมวิทยากรจาก Chira Academy

Workshop (3)

การจัดการกับประเด็นท้าทาย (Disruption & Disruptive management.) โดยวิเคราะห์บนพื้นฐานของ "โครงการเชิงนวัตกรรม"ของกลุ่ม

1.หลักการและเหตุผลของโครงการ

1.1 โครงการเชิงนวัตกรรมของกลุ่มท่านเกิดขึ้นจาก Disruption หรือประเด็นท้าทายใดบ้างของ มรภ.ภูเก็ต? โปรดระบุ 3- 5 ข้อ

1.2 ด้วยเหตุผลใดบ้างที่มรภ.ภูเก็ต ต้องจัดการกับประเด็นท้าทายนั้นๆ ?

1.3 วิธีการจัดการกับประเด็นท้าทายในข้อ (1.1) มีอะไรบ้างและนำสู่การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมของกลุ่มอย่างไร?

2.วิสัยทัศน์ของโครงการ : จงวิเคราะห์วิสัยทัศน์ของโครงการเชิงนวัตกรรมของกลุ่ม ว่าจะสามารถพัฒนาอย่างสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย และยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อย่างไร? โปรดระบุ 3-5 ข้อ

กลุ่มที่ 3

การจัดการกับประเด็นท้าทาย (Disruption & Disruptive management.) โดยวิเคราะห์บนพื้นฐานของ "โครงการเชิงนวัตกรรม"ของกลุ่ม

1.หลักการและเหตุผลของโครงการ

1.1 โครงการเชิงนวัตกรรมของกลุ่มท่านเกิดขึ้นจาก Disruption หรือประเด็นท้าทายใดบ้างของ มรภ.ภูเก็ต? โปรดระบุ 3- 5 ข้อ

1.2 ด้วยเหตุผลใดบ้างที่มรภ.ภูเก็ต ต้องจัดการกับประเด็นท้าทายนั้นๆ ?

1.3 วิธีการจัดการกับประเด็นท้าทายในข้อ (1.1) มีอะไรบ้างและนำสู่การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมของกลุ่มอย่างไร?

2.วิสัยทัศน์ของโครงการ : จงวิเคราะห์วิสัยทัศน์ของโครงการเชิงนวัตกรรมของกลุ่ม ว่าจะสามารถพัฒนาอย่างสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย และยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อย่างไร? โปรดระบุ 3-5 ข้อ

ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์

หลักการและเหตุผล

          เกิดจาก Disruption

1. รายได้ลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์

3. Globalization คือการรวมกันของทั้งโลก

          มหาวิทยาลัยต้องจัดการกับประเด็นท้าทาย เรื่องการเปลี่ยนแปลงรวมกลุ่ม ยกระดับรายได้ทางเศรษฐกิจเปิดสู่ข้างนอก

วิธีการจัดการ

ออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อจัดหารายได้

วิสัยทัศน์

          วิสัยทัศน์โครงการฯ คือต้องการให้ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นสร้างมูลค่าเพิ่มสู่สากล เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตสู่ระดับชาติต่อไป

กลุ่มที่ 1

การจัดการกับประเด็นท้าทาย

          วิเคราะห์บนพื้นฐานทรัพยากรที่มีอยู่ บนพื้นฐานเชิงนวัตกรรม ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องนำมาใช้ทั้งหมดเพื่อเข้ากับหลักเศรษฐกิจพอเพียงและความยั่งยืน

1. ด้านเทคโนโลยี เรากำลังก้าวสู่โลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มรภ.ต้องจัดการ Human Process และ Product เพื่อรองรับ

2. นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นสอดรับกับยุคปัจจุบัน ต้องคิดที่เหมาะสมกับผู้เรียน แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาประเทศ

3. ภูมิรัฐศาสตร์ ตัวแรกคือคน จำนวนนักศึกษาลดลง และบุคลากรมีความหลากหลายช่วงวัย การปรับตัวไม่ทัน

การจัดการต้องสร้างหลักสูตรที่ตอบสนองทุกช่วงวัย สร้างหลักสูตรที่มีความทันสมัย นำบุคคลมาเรียนใหม่ ให้ Certificate ที่เข้ากับยุคดิจิทัล มีการเรียนแบบ Innovation ไม่ทำแบบเดิม ส่งผลต่อการสร้างแบรนด์ของ มรภ. เพื่อสร้างการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งนำจุดเด่นมาจัดกลุ่มรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง แกซโธโนมี ฯลฯ

          ความท้าทายในแผนพัฒนาประเทศ แค่ AEC ไม่พอ ต้องคำนึงถึง ASEP  มรภ.ต้องปรับตัวให้ยอมรับกับ ASEP รวมถึงวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมไปสู่ ASEP หรือยัง เพียงแต่จะนำไปปฏิบัติให้เกิด Product Process และ Project สอดรับกับปัจจุบันอย่างไร

โครงการเชิงนวัตกรรม : Smart Product for Quality of Life

กลุ่มเป้าหมาย : ขาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวภูเก็ต ให้เรียนรู้วัฒนธรรม ตัวโครงการฯ ให้ทั้งแบบ Degree และ Non Degree ชาวต่างชาติที่เข้ามาจะได้เที่ยวในชุมชนด้วย หน่วยงานทั้งหมดจะได้มีส่วนร่วม ชุมชนก็จะมามีส่วนร่วมในการให้ความรู้ด้านอาหาร วัฒนธรรม และความรู้ในชุมชนด้วย และส่วนต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยสามารถร่วมด้วย

          สรุปคือ เป็นโครงการสร้างแบรนด์ราชภัฏภูเก็ตโดยนำจุดเด่นของมหาวิทยาลัยเป็นตัวขับเคลื่อน สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ มรภ. เราสามารถใส่ทั้งประเด็นความยั่งยืนตรงนี้ สามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงได้ และยังสามารถตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้วย

กลุ่มที่ 4 การทำ Re-Branding

หลักการและเหตุผล

วิเคราะห์จากภูเก็ตแบรนด์ว่ามีจุดเด่นและจุดขายอะไรบ้าง เน้นการสร้างแบรนด์ให้มีความน่าเชื่อถือและเชื่อมั่น คงความเป็นชุมชน ท้องถิ่น แต่ก้าวสู่ความเป็น International ได้

ทำอย่างไรให้การเป็น มรภ. ภูมิใจในความเป็น มรภ. ก้าวเดินอย่างสง่างาม มั่นใจและเกิดการยอมรับ ทำอย่างไรให้คนใน มหาวิทยาลัยมีสิ่งเหล่านี้ในการทำ Re-Branding

          ทำอย่างไรให้คนมาเรียนที่สถาบันการศึกษา รูปแบบต้องเปลี่ยนไป มีการจับกลุ่มคนภูเก็ตที่มีศักยภาพ มีความรู้ที่ยอมรับไว้

ความเป็นภูเก็ต Brand มีอะไรบ้าง

          1. Hub ด้าน IT วัฒนธรรม สุขภาพ การท่องเที่ยว Medical Spa

          2. ทุนทางการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ การลงทุน วัฒนธรรม ทุนมนุษย์ สังคม และความหลากหลาย

          3. World Class Destination

PKRU Brand ดีมาก ไม่ทิ้งชุมชน มี Connection ที่ดี มีศักยภาพสูงและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในอันดามัน

ความท้าทาย

1. สร้างความภูมิใจในความเป็น มรภ.

2. ความทันสมัย และ International

3. ความเป็นท้องถิ่นประมาณ 30%

มีหน่วยงานที่ทำด้าน Re-Branding ให้กับมหาวิทยาลัยโดยใช้ 5 C

กลุ่ม 2

การพยายามผลักดันสู่ความเป็นสากล ตั้งเป็น Andaman Exhibition Center Project

สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

หลักการและเหตุผล

          รายได้ลดลง ต้องมีแหล่งที่ทำรายได้ให้มหาวิทยาลัยต่อไป

          2. ตำแหน่งภูมิรัฐศาสตร์ คนอยากมาเยี่ยมชม

          3. มีสถานที่ที่คนอยากใช้

          4. ศาสตร์พระราชา

ศูนย์จะตอบสนองการให้บริการทางวิชาการอย่างดี

วิสัยทัศน์

          1. มีปรัชญาคือเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่นรับผิดชอบต่อสังคม มีการพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเทคโนโลยี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพ

การจัดการ

          1. เตรียมความพร้อมการประชุม โดยดูว่าศักยภาพมหาวิทยาลัยต้องเตรียมพร้อมอย่างมืออาชีพ มีการถ่ายทอดสดไปยังประเทศต่าง ๆ

          2. การสร้างความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กร จัดตั้งเพื่ออะไร เช่น นักศึกษาลดลง ต้องหารายได้เสริม

          3. หาเครือข่ายความร่วมมือทั้งอาเซียน และเวทีระดับโลก เน้นการบริการวิชาการและงานวิจัยต่าง ๆ

          4. การประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้กับประเทศไทยทราบว่าภูเก็ตมีข้อดีอย่างไร เพื่อรู้จุดยุทธศาสตร์ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินการคือ เป็น

          สรุปคือ เมื่อมาที่เราให้เอาเงินมาให้ มรภ.จะเป็น Organization จัดการให้หมดแบบ One Stop Service มีข้อได้เปรียบทางยุทธศาสตร์

โอกาสทางยุทธศาสตร์

          มีคนมาท่องเที่ยว ลงทุนทางการศึกษา มาที่นี่อยู่แล้ว โรงแรม มรภ.อาจเปิดให้พักราคาถูก หรือสร้างโอกาสกับผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย

          ภารกิจมีครบในการตอบสนอง

          ภูมิศาสตร์รัฐศาสตร์อยู่ใน World Destination เราต้องเน้นการสร้างแบรนด์ของเราเอง

กลุ่มที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการบริหารแบบไร้กระดาษ

หลักการและเหตุผลในประเด็นท้าทาย

          โครงการฯ เกิดจาก Disruption หรือประเด็นท้าทายคือ

1. ค่าใช้จ่ายที่ซื้อกระดาษใน 1 ปี ต้นไม้หายไปหลายพันไร่

2. ขั้นตอนการส่งเอกสาร ต้องมีวิธีการจัดการกระบวนการของมัน

3. การสื่อสารหรือ Communication เพื่อสร้างหลักฐาน

4. เทคโนโลยีเปลี่ยน โลกเปลี่ยน คนต้องปรับ

5. ประสิทธิภาพ

กระบวนการ

          1. ลดค่าใช้จ่าย

          2. เพิ่มช่องทางการสื่อสารได้มากขึ้น มีหลักฐาน

          3. มีแนวโน้มขายถ้าระบบแข็งแรง

ความมีประสิทธิภาพ

          วัดจากความพึงพอใจ และความง่ายของระบบ

          การเก็บเอกสารทุกอย่างอยู่บน Cloud ไม่ต้องแย่งห้องเก็บเอกสาร

วิธีการจัดการประเด็นท้าทาย

          1. นโยบายของ มรภ.

          2. ถูกกำหนดไว้ในแผนที่จะทำ

          3. พัฒนาระบบต่าง ๆ เริ่มต้นจากโครงการนำร่อง ซึ่งประกอบด้วยระบบที่รองรับการจัดการเอกสารนี้และ User ที่ใช้

4. การทดสอบระบบและประเมินคุณค่า เพื่อพัฒนาและปรับปรุง

วิสัยทัศน์ของโครงการฯ

          มรภ.ตั้งเป้าจะเป็น Smart/Green University ถ้าใช้ Paperless ก็จะเป็น Green จริง ๆ และเพิ่มว่าเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการบริหารจัดการก็ได้ใส่เรื่อง Management โดยสร้างนวัตกรรมโดยใช้ IT

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

          ทุกกลุ่มทำสอดคล้องกัน และเชื่อมโยงกันได้ดี การ Re-Brand อยู่ใน Subset ทุกกลุ่ม แต่มีกลุ่มหนึ่งที่คิดใหญ่ด้วย หลังจากที่เห็น Landscape ของมหาวิทยาลัยน่าสนใจมาก  และมีกลุ่มที่Serve ทุกกลุ่มด้วย

          การนำเสนอนอกจากเสนอกลุ่มแต่ละท่านเอง จะมีส่วนที่เชื่อมไปกับกลุ่มอื่น ๆ ได้ด้วย

          ถ้าเป็นโครงการที่นำไปทำได้จริงจะเป็นประวัติศาสตร์ของ มรภ.ที่เป็นผู้นำ และทำให้เรามองย้อนตัวเราเอง

Workshop (4)

การจัดการกับประเด็นท้าทาย (Disruption) และ  Disruptive Management.

1.) กรอบแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้  จากการเรียนรู้สองวันครึ่งที่ผ่านมา กลุ่มของท่านคิดว่าได้เรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ สิ่งใดบ้าง ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของท่าน? โปรดระบุ 5 ข้อ โดยระบุจาก Chira Way อย่างน้อย 3 ข้อ

2.) แนวทางพัฒนาทุนมนุษย์  โดยวิเคราะห์จากปัญหา และโอกาส จากDisruption รวมถึงแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการของท่าน 4 ระดับ คือ 1.ผู้นำระดับนโยบาย 2. ผู้นำระดับสูง (ระดับบริหาร-อำนวยการ) และ 3. ผู้นำระดับกลาง (บริหาร-จัดการ) และ 4. ระดับผู้ปฏิบัติการ เพื่อนำพาให้โครงการท่านบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ

3.) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรอื่นๆ (Key Resources & Assets) ของมรภ.ภูเก็ต ที่กลุ่มจะนำมาพัฒนาเพื่อความสำเร็จของโครงการฯ

กลุ่มที่ 4

ใช้ Chira Way ใน 3 ประเด็นคือ

1. ทฤษฎี 5K’s ใหม่

2. C&E Theory เริ่มจาก Connectionที่ดี

3. ทฤษฎี 3 ต.คือ ทำต่อเนื่อง ทำซ้ำ ๆ ทำเรื่อย ๆ

สิ่งที่เรียนรู้คือ

          ความรู้ใหม่หรือประโยชน์ในการพัฒนามีอะไรบ้าง

แนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์

          1. มองที่ผู้บริหารทุกระดับ ตั้งแต่ระดับสูงบริหารนโยบาย และผู้บริหารระดับกลาง และระดับต้น บริหารทุกระดับและ Stakeholder ทุกภาคส่วน การพัฒนาคนไม่ทั้งหมด ต้องมองเรื่อง Physical ด้วย อย่างสี ยูนิฟอร์ม รูปแบบ

          2. ความรู้สึกหรือ Emotion ต้องเริ่มที่ตัวเอง เราต้องไปด้วยกัน มี Inspiration ร่วมกัน มี Service mind ที่ดีในการบ่งบอกความเป็นตัวตนและ มรภ.

          3. เอาแนวทางทรัพยากร 8K’s 5K’s ในการพัฒนาด้านใดบ้าง

          - ส่งที่อยากเห็นในการพัฒนาด้วยกันจะออกแบบ PKRU Branding Perception ให้มีความภาคภูมิใจ มีความเป็น Professional โดยใช้รูปแบบ PKRU 4i เป็นใบเบิกทาง

กลุ่มที่ 3

ใช้ทฤษฎี 8K’s, 5K’s ,2R’s ,C&E

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหา

1. การเป็นคนนอกอาจไม่เข้าใจ มรภ.

2. ผู้นำไม่ยอมรับความจริง

3. ขาด Connection และการสื่อสาร

4. อาจารย์และเจ้าหน้าที่มีวัฒนธรรมเดิม ๆ คือ ไปเพิ่มงานให้เขา

โอกาส

1. มีทรัพยากรพร้อม

2. เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว

3. เรียนกับอาจารย์จะรู้ว่าแก้ปัญหาอย่างไร

          - มี Growth mindset

          - แก้ปัญหาได้มากขึ้น

          - ระดับกลางใช้ 2R’s มองความจริง สร้างจินตนาการ

          - ระดับปฏิบัติใช้ C&E Theory

วิธีการ

          ใช้ Man Money Management

กลุ่มที่ 1

ใช้ทฤษฎี HRDS , 5K’s, 4L’s , 3V’s

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องคือ โลกาภิวัตน์และ Trend ของโลก

ปัญหาที่มองคือ

1. ปัญหาเรื่องทุนมนุษย์ และวิทยากรมีความหลากหลายควรพัฒนาในทุกระดับ

          - ระดับนโยบาย อยากให้แต่ละท่านเป็น Brand Ambassador ทุกคน รวมถึงระดับสูงที่เป็นผู้วางกลยุทธ์ ชัดเจน ถ้าชัดเจนระดับล่างจะตามอยู่แล้ว ระดับกลางอยากให้เป็นผู้นบริหารระดับสากล เพื่อเป็น Motivation นำสู่ระดับปฏิบัติการ ที่เน้นสมรรถนะ ความเป็นมืออาชีพ ความดีความเก่ง และความ Smart และพวกเราเดินไปเหมือนเป็นแรงเชียร์ที่จะส่งเสริมให้นำพาเดินไปข้างหน้าแล้วทีมจะเดินตามเข้าไป

ทรัพยากรอื่น ๆ

          จากแผนผังโครงการ ตัวที่เข้าสู่กระบวนการคือชุมชน ท่องเที่ยว และมหาวิทยาลัย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องหลายกลุ่ม ในเรื่องสินทรัพย์มีการมองว่าเป็นนโยบายที่มหาวิทยาลัยกำลังพัฒนาไม่น่าจะเป็นปัญหาที่ยุ่งยากในการพัฒนา

          ประเด็นสำคัญคือทรัพยากรบุคคล ทำอย่างไรให้อาจารย์ในหลักสูตรเข้ามาร่วมในโครงการเชิงนวัตกรรมเพราะต้องพัฒนาทักษะความสามารถของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเพื่อยกระดับขึ้นด้วย รวมถึงนักศึกษาที่เรียนกับของจริง ปฏิบัติจริง และเด็กเล็ก ๆ ที่ต้องเรียนรู้ถึงเอกลักษณ์ของภูเก็ต ถ้าเขาเข้ามาสู่ตั้งแต่ต้นจะเป็นรุ่นต่อไปที่จะขับเคลื่อนอนาคต น่าจะดึงเข้ามาตั้งแต่เริ่มต้นด้วย

กลุ่มที่ 2

ทำอย่างไรให้ AEC Project สู่ความสำเร็จได้ในส่วนแรกมองที่ว่าจะนำทฤษฎีอะไรมาใช้

1. 2R’s คือ Reality and Relevance สร้าง Exhibition ในกลุ่มพื้นที่อันดามัน

2. ใช้ 3 V’s ทำอย่างไรให้ มีมูลค่าเพิ่ม Value Added ,Value Creation, Value Diversity

วิธีการ

1. มองที่ระดับผู้นำ เริ่มตั้งแต่ระดับนโยบาย เริ่มตั้งแต่บอร์ดมหาวิทยาลัย บอร์ดผู้ว่าฯ บอร์ดจังหวัด ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฏิบัติการ มีการตระหนัก รับผิดชอบ ติดตาม กำกับ ประเมิน มีความเชี่ยวชาญในงาน (เป็นมืออาชีพ)

แนวทาง

- ต้องมีการประชาสัมพันธ์ตั้งแต่บนลงล่าง

- มีการมองจาก Macro มา Micro ให้ได้

- การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกคน เน้นการสร้างแรงบันดาลใจ 2I’s คือ Inspire & Imagine อารมณ์ก่อนและเหตุผลจะมา

- ใช้ HRDS สร้าง Happiness, Respect, Dignity, และสร้าง Sustainability

ทรัพยากรอื่น ๆ ที่สนับสนุน

1. มีสถานที่และสิ่งสนับสนุน

2. มีระบบการบริหารจัดการ (Professional)

          สรุปคือการมีการวางแผนที่ดี ใช้ระบบ Outsource เป็นการบริหารจัดการรายได้

กลุ่มที่ 5

1.กรอบแนวคิด ทฤษฎีความรู้ใหม่ ๆ ใช้ 3V’s , C&E Theory, 2R’s , 4L’s

2. วิเคราะห์ปัญหาทั้ง 4 ระดับ จะทำอย่างไรที่ผลักดันไปสู่เป้าหมาย

- 2 Leader ส่วน Policy Leader คือ Policy Audit& Control ต้องมี Knowledge & Vision

- Administration คือผู้บริหารระดับสูง Planning , Organize,Support ต้องมี Innovation, Creativity, Ethical, Intellectual

- Manager คือระดับ ผอ. คณบดี Planning,Organize, Monitoring, ต้องมีทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ทุนทางอารมณ์ ทุนทางความรู้ และทุนทางจริยธรรม

-Operation คือ ระดับปฏิบัติการ Operate Coordinate ต้องมี Teamwork ,  Happiness , และ Talented

Asset Development

8K’s  5K’s

- Creativity Capital

- Knowledge Capital

- Innovation Capital

- Emotional Capital

- Cultural Capital

          สนับสนุนแนวคิดทุกกลุ่มที่มีทุกสิ่งร่วมกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

          ข้อมูลจะขอให้ทุกกลุ่มเติมตอนนำเสนอ

ช่วงที่ 2 : วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2562

จากแนวคิดทางการตลาดสู่การสร้างอัตลักษณ์และแบรนด์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

แหล่งเงิน มรภ.มี 5 แห่งคือ

1. งบประมาณ แบ่งเป็น 1)เงินเดือนประจำ และ 2) ค่าภาษีตึก

2. ค่าเล่าเรียน - สังเกตว่า ยุคอะไรที่เริ่มต้นจะขาดทุนก่อน

3. งานวิจัย - มรภ.ต้องอุ้มคนรุ่นใหม่ให้ทำงานวิชาการมากขึ้น

4. ขายของเป็น อาทิ เช่าตึกหอประชุม ใช้ตึกสวยของ มรภ.  เป็นที่เช่าจัดงานแต่งงาน ถ่ายรูป

5. สินทรัพย์ อาทิ ลงทุน

          สรุปคือ รายได้ของมหาวิทยาลัยมาจาก 5 แหล่งนี้ สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในตัวผลักดัน คือ Money หนึ่งใน 5 M คือ Man, Money, Machine, Material, Method/Management

          เราต้องดูว่า Mile Stone ของ มรภ.อยู่ตรงไหน และจะเดินไปอย่างไร จะใช้ปัจจัยอะไรในการขับเคลื่อน

Vitamin M

1. Money

2. Men

3. Machine

4. Material อาทิ อาจารย์และลูกศิษย์ เช่นที่ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งกำลังร่างประกาศ ปัจจัยที่สนับสนุน ใครไปฝึกงานต้องรับเงินเดือนบริษัทนั้น เราต้องไม่มีรอยต่อระหว่างสังคมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ  Visiting Professor

5. Management คือ ความเอาคนที่เชื่อคนละอย่างทำงานด้วยกันได้

          สรุป สิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่จะทำให้ มรภ.บรรลุเป้าหมายในยุค Disruptive

USP (Unique Selling Point)

1. ททท.

- เราต้องสร้าง มรภ.เป็นที่เพาะบ่มกันเองในอนาคต

- การท่องเที่ยวที่แน่มากต้องให้อาจารย์ไปช่วยแล้วมาเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง

- ที่จอดรถเป็นเรื่องสำคัญ ห้องน้ำอยู่ตรงไหน

2.Inter – E/C/D

- ต้องได้ใช้คน

อาทิ Exchange อาจารย์ และฝ่าย Back up แต่อย่างน้อยต้องไป 1 เทอม

3. สาธิต (Prep Schoo.)

- อาทิ คณะดุริยางค์ศิลป์ เป็นตัวที่ทำรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล การทำ Road Show ทำหลักสูตรสั้นให้คนมาเรียนมากขึ้น เช่น

4. R&D

- ยกตัวอย่าง STEM – Science , Technology, Engineering, and  Mathematic

- เราต้องดูว่า Research จะเอาหรือไม่ เช่น การลงชาวบ้านจะเอาชื่อ เอาหน้าตา หรือเอาเงิน เป็นต้น

** เกณฑ์ คือ  ทำแล้วต้องยั่งยืน

Lost Leader

คือ โครงการที่เข้าเนื้อสัปดาห์แรก เหมือนการเริ่มต้นโครงการในช่วงแรกจะติดลบคือช่วง J Curve แล้วต่อไปจะเติบโตขึ้นเป็น Old S Curve/Comfort Zone หมายถึงต้องขยันมากขึ้น ในการคิดอะไรใหม่ เป็นช่วงที่ทำอะไรไม่ค่อยผิดพลาด ผลผลิตดี (Productivity) จนกระทั่งเกิด Decline อีกครั้ง การทำโครงการ Lost Leader ต้องบอกฝ่ายงบประมาณว่าช่วงที่ติดลบอยู่กี่ปี ต้องมีหลักกิโลเพื่อจะได้ตรวจสอบได้อยู่ตรงไหนแล้ว

ตัวที่ Benefit ที่ดีที่ช่วยทำตามตำแหน่งวิชาการคือ

1. ไม่ตามกระแส

2. งานวิจัยบนความจริง ต้องตัดสินใจบน Fact Finder สามารถสอนคนอื่นได้

3. วิถีชีวิตของมหาวิทยาลัยต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เช่น เล่นกีฬาให้เด็กแต่ละคณะมีบู้ทส์ขายของ

บางอย่างปัญหาเป็นโอกาส ที่สำคัญคือเด็กจะค้าขายเป็นและรู้จักค่าของเงิน

ยกตัวอย่างที่เชียงใหม่มีการเรียนแบบสะสมหน่วยกิต แล้วสามารถรับปริญญาได้กว่า 200,000 คน มีการทำเครดิต และฝากไว้สะสม (ไอเดียนี้เป็นแนวคิดของ Jack Ma) วิธีการให้คนมาฝากเงินให้ดอกเบี้ยมากกว่าธนาคาร

มรภ. ลองหา Business Model ที่จะทำได้ เช่น ผลไม้ปักษ์ใต้ ผักพื้นเมือง หรือนวัตกรรมที่แพ็คของสดส่งไปต่างประเทศ

ลูกค้า 7 กลุ่มของ มรภ. / Stakeholder (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)

1. รัฐบาล หรือ Government อาทิ สำนักงบประมาณ กพ.

2. ชาวบ้าน / General Public ให้ลองสำรวจดูว่าชาวบ้านที่ผ่านมาที่นี่เข้า มรภ.กี่คน  อย่างเช่น งานเปิดบ้าน มรภ. ปีละครั้ง  ติดป้ายที่จอดรถ มีรปภ.ต้อนรับและแนะนำดีเยี่ยม

3. สื่อมวลชนทุกชนิด ทั้งสื่อเก่า เช่น Bill board , สื่อสิงพิมพ์, ฯลฯ และสื่อใหม่เช่น E-Media

ต้องสามารถควบคุมสื่อให้ได้

4. แหล่งเงินอื่น ๆ บ่อยครั้งจะมี Mindset แปลก ๆ ที่พูดให้คนทำเสียกำลังใจ เช่นเงินนอกงบประมาณ

5. NGOs คือหน่วยงานที่รวมกันเองโดยไม่มีรัฐบาล เช่น Green Movement, คนเก็บขยะริมทะเล

6. PEER เพื่อนร่วมอาชีพ ให้ลองสังเกตว่าเวลาประชุมใครเก่ง ปัญหาคือหาคนอ่านไมได้ วิธีการที่ทำให้กับ ม.ราชภัฏสวนดุสิต กับโครงการพี่อุ้มน้อง ต้องรู้ว่าใครมิตร ใครศัตรู

7. Internal ยกตัวอย่าง Thai PBS มีการทำ Town Hall เปิด Open House ให้มีการคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดครั้งละ 3 ชั่วโมง เห็นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ครบ 6 เดือนเห็นการเปลี่ยนแปลงแท้จริง เราต้องวางหัวโจทย์ในทางที่ดี  อยากให้มี Back up ที่เข้มแข็ง

          ในอาเซียนไทยอยากเป็นหัวเรือใหญ่ แต่ไม่เคยส่งคนไปในภาคการศึกษา

          มรภ.ต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ตลอดเวลา โดยคำนึงถึง 1. นโยบาย 2. ความเก่งของทีม มรภ. และ 3. ตลาดแรงงาน

การสร้างอัตลักษณ์และแบรนด์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจากแหล่งเงินที่ได้ของ มรภ.

1. นโยบาย

งบประมาณที่ได้จากเงินเดือนและค่าซ่อมต้องมาจาก

1. งบนโยบาย

2. งบบูรณาการ ต้องดูกับกลุ่มที่เกี่ยวข้อง (ตัวเชื่อม)

3. งบพัฒนา หรืองบที่ก่อให้เกิดบางสิ่งที่เปลี่ยนไป

          ทั้ง 3 อย่างจะเชื่อมโยงกับลูกค้า  7 กลุ่มอย่างไร และแหล่งเงินนอกงบประมาณ

2. ค่าเล่าเรียน

ต้องคิดว่า ค่าเล่าเรียนจะเก็บอย่างไรให้แพงที่สุดแต่คุณสมบัติดีสุด ยกตัวอย่างที่ จังซีลอน หรือ เซ็นทรัล ดังนั้นค่าเล่าเรียนอย่าเหนียม

          เมื่อไหร่ที่จะทำให้เกิด Key Success จะทำอย่างไรที่อยากทำ ต้องส่งให้สุดมือ หรือการสามารถเซ็น MOU กับใครต้องสามารถ Exchange อาจารย์ได้ก่อน เป็นต้น

3. ค่าวิจัย

ต้องมีการลงทุนอาจารย์ให้เรียนปริญญาเอกที่เมืองนอก เพื่อกลับมาช่วยงานมหาวิทยาลัยในอนาคต เน้นการสร้าง Brand Building ที่ถูกต้องของ มรภ. กรรมการและสภามหาวิทยาลัยต้องทำอะไรในอนาคตต้องคิดให้ออก จะขับเคลื่อนอะไรที่เป็น Mile Stone ทุก ๆ ไตรมาส ใน 16 ไตรมาส แล้วตั้งอนุกรรมการโดยเชิญคนข้างนอกมากลั่นกรอง มาทบทวนงานเรา และเมื่อสภาดำเนินครบถ้วนแล้วจะเกิดเป็น Project Base และจะสามารถสร้างผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ สามารถให้รางวัลโดยการพาอาจารย์ไปนอกได้ เป็นต้น

ต้องสามารถริเริ่มโครงการใหม่ ๆ  โดยไม่เลือกค่าย และการ Implement ยุทธศาสตร์จะทำอย่างไร

4. ขายของเป็น

5. สินทรัพย์

การ Implement ยุทธศาสตร์

1. เมื่อได้ยุทธศาสตร์แล้วจากสภา ต้องแปลงยุทธศาสตร์เป็น Action Plan โดยใช้กระบวนการ Balance Scorecard (มุมมองด้านการเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้และพัฒนา) ถ้าทำได้ มรภ.จะสามารถเข้า EdPEx ครบ 11 ข้อได้

- ทีมบริหารกับทีมสภาต้องหาแนวร่วมที่เกี่ยวข้องเพื่อแปลงยุทธศาสตร์ที่จะเดินหน้า

ประกอบด้วย อธิการบดี นายกสภาฯ ผู้แทนสภาคณาจารย์ กรรมการ และศิษย์เก่า (แนวคิดเหมือน Bologna Project ของการจัดการศึกษาที่ยุโรป อิตาลี)

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          โลกในอนาคตเปลี่ยนมาก เราต้องปรับตัวตลอดเวลา ปัจจุบันการโจรกรรมไซเบอร์เป็นหัวใจสำคัญ

          การปรับตัวในเรื่อง Demand Side เมื่อทุกท่านเสนอความคิดเห็นมา อยากให้ท่านเอาชนะอุปสรรค และถ้าใครที่จะเสนอโครงการเกี่ยวกับ Demand side และการตลาดขอให้เสนอที่เป็นแบบ Realistic และหลังจากการนำเสนอเสร็จจะมีการ Comment มากขึ้นเพื่อนำไปสู่ความเป็นไปได้มากขึ้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เรื่องการตลาด อาจารย์จะร่วมมือกับอาจารย์ไกรฤทธิ์ เคยคิดว่า Phuket Cyber Port  จะเกิดขึ้น  แต่ก่อนเมื่อ 7-8 ปีที่แล้วได้มาสอนที่ มรภ. มีความประทับใจคนที่นี่  ถ้ารวมกันแล้วเราต้องทำอย่างต่อเนื่อง  การมี Wisdom และตัวแปรที่สำคัญจะมีบทบาทสูงในการขับเคลื่อนให้สำเร็จ

อาจารย์ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

          จะตอบ 3 คำถาม คำถามละ 10-15 นาที

Workshop

1. เรามีดีอะไร (มี 3 ตะกร้า ตะกร้าละ 3 ข้อ)

การสร้างการตลาดและเอกลักษณ์ ก่อนอื่นต้องมี Prerequisite  ก่อน ซึ่งคือการทบทวนยุทธศาสตร์ 1) พระราโชบาย  2) สกอ. 3) ทิศทางยุทธศาสตร์ของ มรภ. เราต้องสร้าง Experience ไม่ใช่ Expectation โดยยึดวัตถุประสงค์ 3 ประการ

1.1 ตะกร้าที่ 1 : นาย (ทีมอธิการบดีฯ) คิดว่ามรภ. มีบทบาทอะไร 3 ข้อ  

1.2 ตะกร้าที่ 2 : มองตัวเองว่า มรภ.เก่งอะไร 3 ข้อ

1.3 ตะกร้าที่ 3 : ตลาดมองว่าเราเก่งอะไร 3 ข้อ

ถ้าทั้ง 3 ตรงกันคือ การมี Alignment คือมองไปในทิศทางเดียวกัน  ทุกท่านต้องพยายามจับให้ตรงกัน เกิด Relevancy ทุกอย่างต้อง Focus

ยกตัวอย่าง การท่องเที่ยวทางทะเล เช่น ถ้า Define มองว่าทั้ง 3 ส่วนมองว่าการท่องเที่ยวทางทะเลเก่ง ก็เป็นการท่องเที่ยวทางทะเล

         

2. Target Group เป็นอย่างไร ดูจากกลุ่มลูกค้าของ มรภ. การให้คะแนนแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร

1. รัฐบาล หรือ Government อาทิ สำนักงบประมาณ กพ.

2. ชาวบ้าน / General Public

3. สื่อมวลชนทุกชนิด ทั้งสื่อเก่า เช่น Bill board , สื่อสิงพิมพ์, ฯลฯ และสื่อใหม่เช่น E-Media

4. แหล่งเงินอื่น ๆ

5. NGOs

6. PEER เพื่อนร่วมอาชีพ

7. Internal

3. เครื่องมือทางการตลาด (Marketing Tool) ใช้อะไร

          อาทิ  Vitamin M.คือ Money   Men   Machine  Material   Management

Balance Scorecard, 4P’s

กลุ่มที่ 4

1. การวิเคราะห์อัตลักษณ์ มรภ.

นายต้องการให้มภร.มีบทบาทอะไร

1. นายต้องการให้เรายกระดับมีคุณภาพชีวิตและเป็นที่พึ่งชุมชน

2. มีความเป็น International

3. มีความเป็นผู้นำทางด้านการสอน

การให้ความสำคัญ ให้ความสำคัญ การยกระดับคุณภาพชีวิตและเป็นที่พึ่งของชุมชนเป็นลำดับแรก

เราเก่งอะไร

1. ดูจากวัฒนธรรมท้องถิ่นของภูเก็ตเก่ง  5 อ. ประกอบด้วย อาหาร อาคาร อาภรณ์ อาชีพ
อัตลักษณ์ท้องถิ่น

2. การท่องเที่ยว

3. การบริหารจัดการชุมชน

การให้ความสำคัญด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

อาหาร ได้แก่อาหารท้องถิ่น อาหารจีน

อาคาร ได้แก่ ตึกสถาปัตยกรรม ชิโน-โปรตุกีส

อาภรณ์ ได้แก่ บาบ๋า-ยาหยา วัฒนธรรมท้องถิ่น

อาชีพ ได้แก่ เหมืองแร่ เกษตร ประมง

อัตลักษณ์ท้องถิ่น ได้แก่ ภาษาถิ่น ชาวเล

2. วิเคราะห์ Stakeholder

1. ชุมชน การยกระดับคุณภาพชีวิตในส่วนต่าง ๆ มีงบประมาณต่าง ๆ ที่เข้ามาสนับสนุน ทุนวิจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาและการพัฒนายุทธศาสตร์ตามนโยบาย

2. สถานประกอบการ ใช้วิธีการ Matching จับมือกัน ลงทุน 30 : 70

3. Peer เครือข่ายความร่วมมือ ของ ม.ราชภัฏ 37 แห่ง ท้องถิ่น ชุมชน ผู้ประกอบการต่าง ๆ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เสริม 2 ประเด็นคือยังขาดเรื่องปัจจัยภายนอกที่ทำให้นักเรียนลดลง การตลาดยุคใหม่ต้องไปหา Demand มากขึ้นเช่น Short Course ต่าง ๆ และถ้าเชื่อมกับ 5 อ.จะคิดว่าเราสามารถอยู่ได้ และเมื่อทำงานต่อเนื่องเมื่อมีอุปสรรคแล้ว เราต้องหาตัวละครมาช่วย อย่างเชคสเปียร์เขาสอนให้ดูตัวละครต่าง ๆ คนไหนอยู่ข้างนอก คนไหนอยู่ข้างใน คนไหนที่สร้าง Conflict

          ดร.จีระ อยากให้องค์กรผลักสู่การเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เรื่องนักท่องเที่ยว นักศึกษาต่างชาติ และแบรนด์ของ มรภ. น่าจะมีโครงการหนึ่งให้นักท่องเที่ยวเข้ามาจัดให้ดู ว่ามีมหาวิทยาลัยชั้นนำอยู่ที่นี่ด้วย

          การแลกเปลี่ยนไม่ได้แลกเปลี่ยนนักเรียนอย่างเดียว แต่เราต้องแลกเปลี่ยนอาจารย์ด้วย และสิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างแบรนด์ Tourism ได้

          ใช้ กฎ 12 ข้อและแต่ละกลุ่มทำได้ดี สิ่งสำคัญที่สุดคือคิดนอกกรอบ

อาจารย์ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

          1. Teamwork การเชื่อมต่อดีมาก

2. กลุ่มนี้มีความแตกต่างและความหลากหลายทางความคิด ทำให้เกิด Choice มากขึ้น

          3. ใช้สิ่งที่เรียนรู้ทันที  เช่นสนใจ Peer Group คือเพื่อน ม.ราชภัฏด้วยกัน 37 แห่ง และ Internal Group สำคัญมาก

          4. การพูดถึงนายชอบ เราเก่ง และตลาดชอบ และถ้าทำให้เป็นสิ่งที่ทำได้ควรกำหนด How much ?กับ When ? แล้วจะกลายเป็น Action Plan

กลุ่มที่ 3

1. วิเคราะห์อัตลักษณ์ มรภ.

นายต้องการให้ มภร.มีบทบาทอะไร

1) นายต้องการให้เราพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการ และแผนยุทธศาสตร์ภูเก็ตคือการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่เมืองนานาชาติ ผลิตผู้ประกอบการ 4.0 และมีคณะวิทยาการจัดการ

    2) เป็นฐานรากของมหาวิทยาลัยภูเก็ต สิ่งที่ควรทำคือการผลิตครู  ปัจจุบันดูจากความต้องการของตลาดแรงงานและสอบได้เป็นครูจำนวนมาก

มภร. เก่งอะไร

1) เก่งด้านการบริการกับนักท่องเที่ยว  มีสาขาการโรงแรม การท่องเที่ยว HR ที่ไปสนับสนุนด้านบริการ มีสาขาด้านการท่องเที่ยวและกีฬา มีคณะสาธารณสุข และสุขภาพตอบโจทย์ได้

          2) เก่งด้านการสอน มีกระบวนการผลิต ตอบโจทย์วิชาชีพ วัดผลที่การสอบ

          3) เก่งด้านการทำงานร่วมกับชุมชน ด้านงานวิชาการ บริการชุมชนต่าง ๆ

2. วิเคราะห์ Stakeholder

          1) มรภ.มีบทบาทด้านการเป็นศูนย์บ่มเพาะครูวิชาชีพ สามารถบัณฑิตที่มีคุณภาพ

          2) เก่งด้านบริการท่องเที่ยว ต้องมีบทบาทด้านบริการให้มีคุณภาพ

          3) สร้างคุณภาพชีวิตให้ชุมชน สร้างเครือข่ายความเข้มแข็ง ทางรายได้จิตใจ และสุขภาพชุมชน

          Stakeholder คือรัฐบาลที่จ่ายเงินให้เรา 40 % ชาวบ้าน 10%  พนักงานภายใน 7% ส่วนที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญคือ NGO % Peer 8%

และที่ให้ความสำคัญอีกเรื่องคืองานวิจัยและชุมชน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ประทับใจกลุ่มที่ 2 เพราะตอบได้ตรงประเด็น มีเรื่องจิตวิญญาณผู้ประกอบการ ซึ่ง ม.ราชภัฏส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ ที่คนส่วนใหญ่จะลืมคือ ม.ราชภัฏส่วนใหญ่คือการฝึกหัดครู แต่ต่อมาสังคมมีค่านิยมคือสื่อ เราต้องหา Role Model ใน มรภ. ประมาณ 4-5 คน ต้องสร้างครูและมาเติมที่ท่องเที่ยว

อาจารย์ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

          ที่ชอบคือเรื่องความมีจิตวิญญาณความเป็นครู แล้วมีการวัดว่าอะไรเป็นเท่าไหร่

กลุ่มที่ 5

1. วิเคราะห์อัตลักษณ์ มรภ.

นายต้องการให้ มภร.มีบทบาทอะไร

1) เน้นการผลิตพัฒนาครู อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ และการบริหาร

2) เน้นการบริการวิชาการกับชุมชน เป็นที่พึ่งของชุมชนแบบยั่งยืน เน้นการสร้างหลักสูตร Short Course ที่อยู่ได้เป็นที่พึ่งของชุมชน และ

3) Go International

1) การเป็นที่พึ่งชุมชน

สิ่งที่เก่งคือ การมีประสบการณ์ชุมชนอยู่แล้ว การร่วมมือกับโครงการอื่น กรมการท่องเที่ยว การพัฒนาชุมชน และ OTOP ต่าง ๆ เรามีอาจารย์ที่มีองค์ความรู้ มีศิษย์เก่าที่ทำงานต่อไปได้ รวมถึง ผู้ประกอบการต่าง ๆ จะมีการทำ MOU กับหน่วยงานและของทุนทำวิจัยเพื่อมีเงินสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้ มรภ.

อาจารย์ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

          เสริมว่า ชอบตรงการเซ็น MOU แล้วต้องได้อะไรกลับมา

2) นายต้องการหลักสูตรระยะสั้น

          สิ่งที่เก่งคือ มีกลุ่มบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีบุคลากรเฉพาะที่มีความเชี่ยวชาญพอสมควร มีการออกสื่อชุมชนขายคอร์ส มีการประชาสัมพันธ์ มีการสะสมหน่วยกิต ให้เวลา 3-5 ปีเพื่อให้คนเก็บหน่วยกิตได้

3) Go International

          เนื่องจากพื้นที่อยู่ภูเก็ต มีสะพานที่จะนำพามหาวิทยาลัย Go International เราเป็นเมืองท่องเที่ยว เมื่อเราจะ Go International เราจะใช้การดึง Partner จากต่างประเทศ ใช้ทรัพยากรจากภูเก็ตดึง Partner ได้

          สิ่งที่ได้ 1. การแลกเปลี่ยน Know how 2. นำประสบการณ์ต่างชาติ อาจารย์ที่เก่ง ๆ ทั่วโลกมาในภูเก็ต มาพัฒนานักศึกษาของเรา และเป็นจุดเชื่อมระหว่างมหาวิทยาลัยต่างประเทศไปสู่ชุมชน และจะได้ทุกอย่างเป็นองค์รวมที่จะนำพาสู่มหาวิทยาลัยในอนาคต

          สำนักวิทยาการจัดการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเป็น Micro tic Academy คืออุปกรณ์เดียวของรัสเซียที่ได้ผลกำไรสูงสุด รวมถึงอุปกรณ์ Network สมรรถนะสูงเพื่อ Train เป็น Huiwei Academy ของเรา

          การเซ็น MOU กับ หน่วยงานที่ได้มาตรฐาน ICP ของสหภาพยุโรป

          ในที่สุดก็จะเป็น Smart University

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          ชุมชนขอให้ไปเชื่อมกับกรมพัฒนาชุมชนแต่ขออย่าให้ Dominate เรา  เรื่อง Hi-tech ที่ไม่เป็นรองใครก็นำไปในชุมชน เราต้อง Overcome Difficulty เราต้องปรับปรุงการทำงานของเราให้ทันสมัยด้วย

กลุ่มที่ 2

1. วิเคราะห์อัตลักษณ์ มรภ.

1.นายต้องการอะไร

          1) พัฒนาท้องถิ่น

          2) เปิดประตูสู่อาเซียน

          3) การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หลักสูตรมีการขยายหลักสูตรเพิ่มขึ้น มีทรัพยากรบุคคล เราต้องทำตัวให้ Lean เพื่อสร้างชั้นขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น

2.สิ่งที่เก่งคือ

          1) การบริการชุมชนในท้องถิ่น

          2) ผลิตบัณฑิตและทำงานในพื้นที่

          3) ความพร้อมด้านทรัพยากร

3. สิ่งที่ตลาดต้องการคือ

          1) คุณภาพบัณฑิตและหลักสูตร

          2) พัฒนาชุมชนในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ต่อเนื่องและยั่งยืน

          3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย

การเชื่อมโยง

1. การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็งและยั่งยืน

2. การยกระดับคุณภาพบัณฑิตสู่ตลาดแรงงาน เปิดประตูสู่อาเซียน

3. การจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วยวัย เชื่อมหลักสูตรระยะสั้น

นำสู่การพัฒนาชุมชนเพื่อให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

2.การจัดสัดส่วน Stakeholder

          การเป็น Smart People และ Smart City  จะทำอย่างไรที่ประชาชนในพื้นที่ในเขตอันดามัน ดำเนินการอย่างไรให้ท้องถิ่นของภูเก็ตที่เป็นรายได้อันดับ 2 ของประเทศ ลูกศิษย์มีที่จบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จำนวนมาก มีสถาบัน Network ขนาดเล็ก กลาง มีสถาบันที่สามารถทำธุรกิจเองได้

          ที่กำลังยกระดับคือ Huiwei Academy   มีเรื่องการคุยเรื่องมาตรฐานยุโรปที่ต้องมีมาตรฐานระหว่างประเทศใช้

          หลักสูตรปริญญาโทเทคโนโลยีดิจิทัล กำลังทำการยกระดับ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัย มีการขยายโครงการฯ และอีกไม่นานจะมีเด็กอินเดียมาเรียนแล้ว

เรื่องพัฒนาชุมชนและความเข้มแข็งท้องถิ่นให้ยั่งยืน

- ชุมชน / ชาวบ้าน 40%

- งบประมาณที่ได้รับจากรัฐบาลประมาณ 30 ล้านบาท

- เงินนอกงบประมาณ 10 % Internal 10%

- เงินรายได้สะสมจากสภา

- สื่อมวลชน หรือเชิญชุมชนร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

- Peer  อาจมีการทำงบประมาณร่วมกับเขา

- NGOs น้อยสุด

อาจารย์ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

          กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใช้ Big Data กับ Data Analytic เป็นการวิเคราะห์เชิงประเด็นจริง ๆ ซึ่งมีความ Advance มาก

          Lean / Smart Management  เพราะการหา Unicorn หรือ Start up อยู่ในล้าน

          เป็นกลุ่มที่เน้นเรื่องปริมาณ และใช้ศัพท์เชิงวิชาการ สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ต้อง Combine นิยามของ มรภ.

กลุ่มที่ 1

1. วิเคราะห์อัตลักษณ์มรภ.

นายต้องการให้ มภร.มีบทบาทอะไร   

1) เป็นผู้นำด้านวิชาการท้องถิ่น

                  

2) เป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยว เช่น ระดับรากหญ้า การเป็นเจ้าบ้านที่ดี

3) การจัดหารายได้เพื่อการพึ่งตนเอง ถ้าไม่สามารถจัดหารายได้เองได้ เราจะทำอย่างไรให้หารายได้ให้ได้

มภร.เก่งอะไร

1) การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เช่นทุกคณะที่เราต้องไปให้นายเรา

2) ผลผลิตของมหาวิทยาลัยสามารถสนับสนุนการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

3) ที่ดินมีขนาดเท่าเดิมแต่เราต้องเก่งด้านการบริหารทรัพย์สินให้มีรายได้ มีมูลค่าเพิ่ม

สิ่งที่ตลาดต้องการ

1) การเป็นที่พึ่งทางวิชาการ

2) บัณฑิตที่มีคุณภาพสนับสนุนบัณฑิตได้ บัณฑิตสู้งาน ไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว  ทำให้เขาบ่มเพาะเป็นคนสู้งาน

3) การมุ่งหวังให้งานสนับสนุนงานของเขาได้

2. กลุ่มเป้าหมาย

- กลุ่มเป้าหมายที่ช่วยทำให้ มรภ. แข่งขันกับ มหาวิทยาลัยอื่นได้ เราจะมุ่งเน้นงบประมาณที่เป็นหน่วยงานช่วยเหลืองบประมาณลดลง

- ประชาชนทุกภาคส่วนต้องหาวิธีการอย่างไรให้คนเข้ามามีส่วนร่วม ประมาณ 30%

          - การรับการช่วยเหลือจากราชการ

          - หาแหล่งเงินทุนเอง
          - ความสำคัญของบุคลากรภายในองค์กร

          เราไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องคำนึงถึงส่วนอื่น ๆ

ความเก่งของเราได้ทำการ Benchmark เรียบร้อยแล้วคือ University ของมาเลเซียที่ ยูทาร่า University คือเขาเก่งกว่าเราด้านภาษา ส่วนด้าน Management เราเก่งกว่า ในอนาคตจะมีการแลกเปลี่ยนอาจารย์กัน และ ยูโกทามา University ที่ญี่ปุ่น ได้นำนักศึกษาของเขามานำเสนองานที่ Phuket University เนื่องจากมองว่าการท่องเที่ยวไม่ได้เป็นรองใคร แต่ทั้ง 6 คณะจะเป็นการสนับสนุนภูเก็ตหมดเลย เว็บไซต์ต่าง ๆ ต้องไม่นิ่ง เราต้องทำให้เป็น Worldwide ไปทั่วโลก

อาจารย์ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

          กลุ่มนี้มีความหลากหลายทางอายุ และเป็นบูรณาการที่ยิ่งใหญ่ คือการ Merge กัน 3 ส่วนคือนายหัวต้องการอะไร เราต้องการอะไร และตลาดต้องการอะไร  และเชื่อว่าใน 3-5 ปีจะเห็นอะไร การเพาะบ่มคนของเรามีความสำคัญมาก เริ่มจากการเพาะบ่มอาจารย์ก่อน และเชื่อใน Exchange Program

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ภาพรวมในวันนี้เป็นวันที่มีคุณค่ามาก และเป็นวันสำคัญเพราะเราต้องเข้าไปสู่ในยุคของลูกค้า  หรือ Demand side

          สิ่งที่น่าสนใจคือการตอบสนองจากผู้อบรมว่าการเดินไปใน Disruption ยาก แต่ไม่เกินความสามารถของเรา ทุกคนที่นั่งในห้องนี้มีการจับประเด็นและ Realistic ดีมาก ถ้าจะเสริมในวันนี้ อยากจะเสริม 2 เรื่องคือ เรื่องเกี่ยวกับความยั่งยืนคือท่องเที่ยว และภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาญี่ปุ่น และเกาหลี ควรมีคณะที่เกี่ยวกับอักษรศาสตร์ที่มีความมุ่งมั่นมากขึ้น และไม่อยากเห็นจบที่การประเมินว่า 9 วันพูดเรื่องอะไรกัน  คุณค่าที่ให้ไปเปลี่ยน Mindset พฤติกรรมและ Result หรือไม่ น่าจะมีการวัดผลในเรื่อง Quantitative และหลักสูตรนี้มีคนอยากเรียนมากมายขึ้นอยู่กับนโยบายของท่าน

          สิ่งสำคัญคือ ถ้าเราติดตามใกล้ชิด มีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่แตกต่างกัน  Innovation อันหนึ่งคือการได้เข้าสู่ในใจของเราทุกคน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          วันนี้เราได้เรียนรู้อะไร  เราได้เรียนรู้กระบวนการคือ 2R’s ที่ใช้ได้หมดทุกวิชา เพราะ R ตัวที่ 1 คือความจริง ฝึกการคิดร่วมกัน การตลาดระดับโลกต้องมาจากความจริงก่อนคือ Experience แต่ Expectation ก็ละเลยไม่ได้ เราจะเก่งอย่างเดียวไม่พอ   หนังตัวอย่างดี แต่หนังจริงไม่ดี อย่างตึกที่มีสวยมาก แต่คนอื่นไม่เห็น ก้าวต่อไปอาจช่วยทำ Media มากขึ้น  R ตัวที่สองคือ Relevancy จะช่วยให้เราจำได้ และองค์กรจะเกิดความเฉียบแหลมได้ต้องเกิด Alignment คือมองไปในทิศทางเดียวกัน แต่วันนี้เราได้มองรอบแบบ 360 องศา การฟังทั้ง 5 กลุ่มทำให้เติมเต็มและเก็บเป็นทุนในการวิเคราะห์

โจทย์ตอบอัตลักษณ์ 3 ข้อ

          1. คุณภาพด้านการสอนด้านวิทยาการ มีศูนย์บ่มเพาะครู มีการพัฒนาทุนมนุษย์ทุกช่วงวัย

          2. บริการทางวิชาการ เป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ ICT เป็นเครื่องมือหากิน

          3. เป็นการทำงานร่วมกับชุมชน

          ทั้ง 3 อย่างกลายเป็นพันธกิจ และเครื่องมือในการหาเงินด้วย และสรุปภาพรวมของทุกกลุ่มคือการยกระดับในทุกด้านคือ

          1. ต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ก่อน แล้วจึงเป็นที่พึ่งของ Target Group ตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง อย่างเรื่องวิทยาศาสตร์การอาหาร การยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเป็นเครื่องมือทางแบรนด์ อย่างเรื่อง ICT เป็นสิ่งที่สำคัญมาก คือต้องนำสิ่งที่เรียนไปตอบโจทย์โครงการที่ทำไว้

          เราจะไป Target Group ที่ไหน และหารายได้อะไร เราต้องตอบให้ได้ว่าหาลูกค้าจากไหน บริการคืออะไร          

ช่วงที่ 2 : วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2562

การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

โดย ดร.พยัต วุฒิรงค์

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

การจัดการนวัตกรรมทำอย่างไร และมหาวิทยาลัยทำได้จริงหรือไม่ ?

Learning Forum & Workshop

1. ความสำคัญขององค์กรแห่งนวัตกรรมในโลกยุคใหม่

2. รูปแบบและแนวคิดขององค์กรแห่งนวัตกรรม

3. กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ

4. การปรับใช้และการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

การนำวิจัยไปสู่การใช้จริงจะทำอย่างไรบ้าง

ยกตัวอย่างที่ภูเก็ตมีการพัฒนาเรื่อย ๆ มีการทำเรื่องแผนแม่บทการอนุรักษ์วัฒนธรรม

กรณีศึกษาที่ทำไมประเทศไทยไม่สามารถนำสู่การทำงานใช้จริงได้

          มหาวิทยาลัยเป็นเกือบทุกที่ นักวิจัยสามารถเปลี่ยนจากงานขึ้นหิ้ง ถ้าเราจะทำให้องค์กรทั้งระบบเป็นนวัตกรรมจะทำอย่างไร  (From Paper to practice)

          จะทำอย่างไรให้นำงานวิจัยไปใช้ได้จริงจะทำอย่างไร

สถานการณ์ของมหาวิทยาลัยไทยที่เผชิญอยู่

1. จำนวนนักศึกษาลดลง

2. มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเพิ่มขึ้น

          เดิมมหาวิทยาลัยใหญ่ไม่ค่อยรับนักศึกษา แต่ปัจจุบันมีการเปิดรับนักศึกษาหลายรอบ และปล่อยให้นักศึกษาที่เหลือกระจายออกไป

          มหาวิทยาลัยที่ได้รับงบประมาณจากรัฐมากที่สุดคือ ม.มหิดล ตามด้วย จุฬาฯ  ฯลฯ

Trend ของโลก

1. West สู่ East

          เริ่มขยับมาที่ จีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น เนื่องจากเอเชีย

          - มีทรัพยากรจำนวนมาก

          - มีบุคลากรจำนวนมาก

2. Big สู่ Small

การบริหารองค์กรได้ดีต้องเป็นองค์กรขนาดไม่ใหญ่ องค์กรใหญ่เริ่มมีนวัตกรรมการบริหารที่มีขนาดเล็กลง มีรูปแบบการบริหารจัดการที่เรียกว่า Agile เริ่มเกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้วในบริษัท Software จากเดิมเป็นลักษณะ Traditional คือทำเสร็จแล้วค่อยเริ่มใหม่ ข้อเสียคือยิ่งทำยิ่งช้า

และอาจารย์บอกว่าเป็นการหมุนนวัตกรรมให้เร็วภายใน 12 เดือน เช่น 1 เดือนออกผลิตภัณฑ์ ถ้าไม่ใช่ก็แก้ไข และปรับตัวให้เร็วขึ้น

          สรุปคือองค์กรขนาดเท่าเดิมแต่บริหารให้เล็กลง

          ปัญหามหาวิทยาลัยที่เจอคือนอกจากนักศึกษาลดลง อีกเรื่องคือการบริหารงบประมาณไม่ได้เต็มตามประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่ชอบใช้ตามไตรมาส 3,4 ไม่กระจาย ทำให้การบริหารงบประมาณแผ่นดินไม่ทัน และต้องคืน           

การบริหารงานมหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่

         1. Agile and Scrum
           การทำงานโดยใช้ระบบ Agile คือการหมุนการทำงานให้เร็ว และจะรู้ว่าแต่ละไตรมาสต้องการอะไร
           Scrum คือเอาทุกวิชามารวมโปรเจค เช่นการทำงานให้สำเร็จ 1 งาน ใน 1 ทีมต้องมีใครบ้าง เช่น นักบัญชี นักการเงิน นักการจัดการ เอาแต่ละคณะมารวมกันแล้วบริหารเลย ต่างกับการทำโครงการฯ คือการย้ายมาทำโครงการใหม่ร่วมกันให้ประสบความสำเร็จ ถ้าคิดว่าโครงการนี้ช่วยให้มหาวิทยาลัยเดินหน้า ตั้งหน่วยงานใหม่ แล้วดึงคนที่เหมาะสมจากคณะต่าง ๆ มา แล้วจะทำให้มหาวิทยาลัยขยับเร็ว

          2. Start up คือ หน่วยงานเล็ก ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องตั้งบริษัทแล้วธุรกิจอะไรก็ได้ในโลกนี้ที่ไม่เคยมี เช่น Grab Taxi เอาแท็กซี่และลูกค้ามาลงทะเบียนแล้วเจอกันผ่าน Application

3. Business สู่ Consumer

          เราไม่ได้มองที่มหาวิทยาลัยเป็นตัวตั้งแต่มองที่เด็กเป็นตัวตั้ง เช่น ไม่ต้องเข้าเรียน แต่สามารถโหลดความรู้เฉพาะทางบางเรื่อง สิ่งเหล่านี้สามารถตอบโจทย์นักธุรกิจในภูเก็ตด้วยก็ได้

ในระบบการศึกษาเช่น E-learning Skill lane  ไม่จำเป็นต้องมีระบบตัวเอง แต่เป็นตัวกลาง ยกตัวอย่าง Skill lane มีการเรียน 2 ระดับ ได้ประกาศนียบัตรได้เลย หรืออยากเรียนอะไรก็มา Plug in ต่อได้เลย

          Innovation ในประเทศไทยเกิดขึ้นเร็วมากเมื่อ  4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากยุคสมัยเปลี่ยนไป พฤติกรรมเปลี่ยนไป เราไม่สนใจว่าเราคือใคร แต่เราสนใจว่าเด็กนักเรียนต้องการอะไร เช่น เด็กนักเรียนไม่อยากเรียนหนังสือในห้องเรียน  เราไม่สามารถสอนเด็กตามที่เคยอยากให้เป็นได้แล้ว

เราต้องเข้าใจว่าเขาเป็นอย่างไร เราต้องการ Result อะไร

          มหาวิทยาลัยต่างประเทศได้หมดแล้ว ทำ E-Learning ได้แล้ว

          สรุปคือรูปแบบเปลี่ยนเป็น Consumer Base ไม่ใช่ Organization Base

4. Mass สู่ Niche

          เด็กมีความต้องการเฉพาะคือเขาต้องการอะไร ต่อให้คณะเดียวกัน ในคณะเรามีอะไรที่แตกต่างจากเดิม

          เราต้องดูว่าภูเก็ตในอนาคตเป็นอย่างไร เช่นระบบการขนส่งเปลี่ยนไป เราต้องกลับไปดูสิ่งที่เกิดว่ามีอะไรเกิดขึ้น เป็นเรื่องของการพัฒนาเมือง มีพื้นที่ทางเกษตรน้อยลง น้ำน้อยลง เราจะทำอย่างไร เราต้องสามารถคาดการณ์ได้ใน 5-10 ปีข้างหน้าว่าเป็นอย่างไร แล้วค่อยมาร่างหลักสูตร

          ยกตัวอย่างระบบ Start up ปัจจุบัน มีคนเขียน Application ที่สามารถลงบัญชีได้เลย อาจมีการดูบ้างเล็กน้อย มีการประทับตราที่เป็น Signature ได้เลย

          ภูเก็ตในอดีตพึ่งพาการท่องเที่ยว รายได้ส่วนใหญ่เกิดจากการสร้างโรงแรม เมืองไม่ค่อยพัฒนามาบ้างแล้ว แต่ปัจจุบันเริ่มมี 2 มุมคือ

          1. วิถีแบบล้ำมาก ๆ

          2. วิถีแบบดั้งเดิมกำลังถูกมุมกลับมา เช่นจีน กำลังดึงให้เด็กเขียนพู่กันจีน สิ่งที่ต้องทำคือ ถ้าอยากเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีหรือไม่ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ

          มรภ.คือมหาวิทยาลัยท้องถิ่น ต้องดูว่าจะเดินอีก 5-10 ปีคืออะไร

          นวัตกรรมสิ่งที่ไม่เกิดขึ้น แต่เราสร้างให้มากขึ้น  

          ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยต้องดูว่าแบบไหนตอบโจทย์กับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ อยู่ที่ไหนก็ทำได้

5. Volume สู่ Value

          เราจะไม่เน้นที่จำนวนอีกต่อไป หน้าที่ของมหาวิทยาลัยคือทำอย่างไรให้เด็กมีคุณภาพ และมหาวิทยาลัยสามารถเลี้ยงตัวเองได้  เพราะจำนวนเด็กที่เข้ามาลดลง เนื่องจาก

          1) อัตราการเกิดน้อยลง

          2) Home School มากขึ้น

          มหาวิทยาลัยต้องสามารถอยู่รอดให้ได้ จะรอพึ่งงบประมาณแผ่นดินอย่างเดียวไม่ได้ ตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยคือต้องการเด็กที่มีคุณภาพ เช่นสามารถอ้างอิงได้ว่าผู้ประกอบการในภูเก็ต จบจากที่นี่ได้ สิ่งนี้จะอ้างได้

ปัญหาของการทำนวัตกรรม คือ

คนที่อยู่ในระบบมหาวิทยาลัยคิดอย่างไร ทำอย่างไรให้มองว่าลูกค้าต้องการอะไร ผู้บริโภคต้องการอะไร ต้องรู้ว่าโลกนี้เกิดอะไรขึ้น

New Trend + VUCA World

VUCA World

คนในโลกนี้เป็น VUCA World คือ ความผันผวน ความซับซ้อน ความสลับซับซ้อน ความคลุมเครือ หมายถึง คนเปลี่ยนแปลงง่าย ไม่สามารถ Focus นาน  และจะหาอะไรที่ตอบโจทย์กับการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น โฆษณาใน Youtube ต้องทำให้น่าสนใจใน 5 วินาทีแรก

Value + New + Implementation

นวัตกรรมคือ Newness + Implementation

          เราต้องการความรู้ใหม่ ประเด็นคือสิ่งใหม่นั้นสามารถนำไป Implement ได้จริงหรือไม่  เราต้องดูว่ามีจุดแข็งอะไร มีการแบ่งกลุ่มงานวิจัย เขียนหนังสือและประเมิน ยกตัวอย่างเช่นการประเมินออนไลน์ มีการ Subscribe เป็นต้น

          ยกตัวอย่างทำอย่างไรให้งานวิจัยเรื่องดูดวงเกิดการ Commercial และนำสู่การเปลี่ยนแปลงมากสุด เช่น ใส่สถิติดูดวง 100 ปี แล้วนำมาเป็นการประมวลผลดูดวงรายวัน หรือ สเกลความวัดความสุขของคน

สรุป นวัตกรรมคือ การแปลงสิ่งที่ทำอยู่นำออกมาใช้ได้จริง Innovation + Management

ปัญหาที่งานวิจัยไม่ประสบความสำเร็จ

1. KPI ของอาจารย์ ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ

          ยกตัวอย่าง งานวิจัยที่ทำให้ชุมชน มีความสุขมากขึ้นจะทำอย่างไร คำนึงถึง Commercialization

การวัดผล : สิ่งที่สร้างใหม่ เป็นผลงานทางวิชาการที่เกิดมูลค่าได้อย่างไร

Game Changing

          โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ยกตัวอย่าง คนในโลกจะสนใจว่าจะเรียนรู้อะไรและแสวงการเรียนรู้ได้จากไหน  อาจไม่ได้ต้องการว่าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอะไร

          Disruption คือ สิ่งที่มีอยู่เดิมตายไป แต่ถูกทดแทนด้วยรูปแบบอื่น เช่น หลักสูตร Online

มรภ.อาจยังคงต้องทำ Mass อยู่ แต่อาจมีหลักสูตรที่สร้างรายได้ในหลักสูตร Niche มากขึ้น เช่น หลักสูตรบริหาร Boutique hotel ในภูเก็ต  ฯลฯ เพราะหลายคนอาจกำลังรอหลักสูตรเปิดขึ้นมาแต่หาไม่ได้ มรภ.อาจจัดหลักสูตรถ้ามีงานวิจัยด้านนี้ หรือไปร่วมมือกับที่ที่มีคนเก่ง ๆ มาร่วม  เราไม่ได้มาทำอะไรเองทุกอย่าง เราต้องมี Partnership เพราะคนอยากมาเรียนที่ภูเก็ตอยู่แล้ว เหมือนอยากไปสิงคโปร์

          เราจะทำอย่างไรให้วิถีชีวิตผสมผสานกับเทคโนโลยี และ มรภ.อยู่ได้  ไม่ได้เกี่ยวกับความเก่ง แต่ต้องดูว่าประเทศไทยต้องการอะไร คนที่มาอยู่ภูเก็ตต้องการอะไร เขาอยากรู้อะไร ให้หาหลักสูตรเหล่านั้นเข้าไป

          สิ่งเหล่านี้คือโอกาสของ มรภ. และคือนวัตกรรม แต่ปัญหาคือคนที่อยู่ในองค์กรไม่อยากทำอะไรที่แปลกใหม่ หรือไม่อยากทำอะไรที่ไม่คุ้นเคย

สรุป Game Changing  ได้แก่

          1. เราสามารถทำอะไรทุกอย่างเองได้  เช่น การหารายได้จากกลุ่มคนที่อยากได้ความรู้ในประเทศไทย ถ้าทำได้ ภูเก็ตคือหัวใจของประเทศไทย ถ้ามีชื่อเสียงจากภูเก็ต คนจะมาที่มหาวิทยาลัยนี้ เช่น การบริหารเกาะ การบริหารเรือ ถ้าเราสามารถ Add Value ได้ เขาจะมาเรียน อาจใช้การส่งเสริมวัฒนธรรมสังคม และชุมชน และเขาจะต่อยอดงานของเราได้

          2. เทคโนโลยีเปลี่ยน ทุกอย่างอยู่บน Cloud ยกตัวอย่าง ม.มหิดลพูดถึง E-learning เยอะมาก แต่มีอีกมุมหนึ่งคือ บางสิ่ง Copy มาแล้วอาจโดนฟ้องได้

          3. โลกยุคนี้ต้องการการดูแลแบบ Individual  เช่น บางมหาวิทยาลัยเริ่มมีการลงทะเบียนข้ามคณะได้ เด็กเข้ามามหาวิทยาลัยไม่เลือกว่าอยู่คณะไหน  มีเงื่อนไขคือ วิชาบังคับ และวิชาเลือกให้ครบ แต่สามารถไปลงทะเบียนที่ไหนได้ ก่อนจบดูว่าเรียนอะไรมาก อะไรน้อย ก็จะได้ Certificate นั้น นอกจากการร่วมมือกันข้ามคณะแล้ว ปัจจุบันเริ่มมีการจับมือร่วมกันข้ามมหาวิทยาลัย  เรียกสิ่งนี้ว่า Co-Creation เช่นการดึงคนที่มีความเก่งในแต่ละด้านมานั่งร่วมกัน แล้ว Design หลักสูตรขึ้นมา

          เราจะทำให้มหาวิทยาลัยดีขึ้นได้อย่างไร

          1. ผู้บริหารและกรรมการสภาต้องมีความเข้าใจถึงทิศทางที่เปลี่ยนไป

          2. การคิดนวัตกรรมคือสิ่งใหม่ ๆ แล้วลองทำดู ว่าดีหรือเจ๊ง ให้ลองคิดจากการร่วมกันดีไซน์หลักสูตรขึ้นมา  อาจเริ่มจากการทำหนึ่งก่อน แล้วเริ่มการขยายตลาดต่อไป เป็นต้น

รูปแบบและแนวคิดขององค์กรแห่งนวัตกรรม

          ในโลกยุคใหม่ เรื่อง Innovation  นวัตกรรมเกิดจาก

1. General Figurations   หน่วยงานสนับสนุนต้องทำให้สิ่งอำนวยความสะดวกดี มหาวิทยาลัยต้องทำให้ทุกคนคิดนวัตกรรมได้ หรือทำให้เกิดสิ่งใหม่ในหน่วยงานได้ และเกิดขึ้นได้จริง เช่น ทำอย่างไรให้ระบบลงทะเบียนไม่ล่ม ทำอย่างไรให้เกิดระบบ Paperless

2. นวัตกรรมไม่สามารถสร้างได้จากสิ่งที่เราคิดเสมอไป เพราะเราคิดได้ช้ากว่าตลาด ให้เราถาม Supplier ว่าบริษัทอื่น ๆ ในโลกทำอะไรบ้าง หรือถามเรื่องหลักสูตรว่ามหาวิทยาลัยเขียนหลักสูตรอะไร ผู้ประกอบการและชุมชนต้องการหลักสูตรอะไร สิ่งสำคัญคือมีตลาดพอหรือไม่ ในอนาคตจะได้กำไร ขอแค่อย่าทำให้ขาดทุน ให้ดูคู่แข่งจากคนอื่นในภูเก็ตหรือใกล้เคียงเป็นอย่างไร 

          ยกตัวอย่างการตั้งเกรดนักศึกษาที่จะรับเข้า ถ้าจบจากมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนดังเอา 2.7 โรงเรียนไม่ดังเอา 3.0  นอกจากนั้นไม่รับเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เลย  เลยมีข้อโต้แย้งในมหาวิทยาลัยว่าถ้าเด็กลดจะทำอย่างไร สิ่งที่อธิการบดีตอบคือ ถ้าไม่จำกัด เราจะได้เด็กทั่วไป ที่จะเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยอะไรก็ได้ แต่สิ่งที่ทำคือเรากำลังคัดคนที่จบจากมหาวิทยาลัยและสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย สิ่งที่เกิดขึ้นคือจำนวนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยลักษณ์เด็กเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากที่มหาวิทยาลัยอื่นลดลง

          อีกเรื่องคือเปิดวิทยาลัยนานาชาติ และประกาศว่าเด็กที่เข้าเรียนที่วิทยาลัยนานาชาติ 4 ปีต้องพูดภาษาอังกฤษได้ สิ่งที่ทำคือ จ้างอาจารย์ชาวต่างชาติ 10 คน เปลี่ยนห้องแลปใหม่ เปลี่ยนอาจารย์ใหม่ และไม่เชื่อว่าถ้าเด็กได้เรียนกับอาจารย์กับเจ้าของภาษา 4 ปี จะพูดไม่ได้ เพราะมีความเชื่อว่าถ้าพูดภาษาอังกฤษทุกวัน และคุ้นเคยกับคนต่างชาติจะพูดไม่ได้ และตอนนี้การพัฒนามหาวิทยาลัยกำลังจะเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวแล้ว

          มีการเปลี่ยนแนวคิดที่จะต้องการคนเป็นเจ้าของสภาได้หรือไม่ แต่เราต้องการผู้อาวุโสมานั่งอยู่ ปัญหาของการสร้างนวัตกรรมอยู่ที่ Mindset กับ Culture ไม่ได้ เราไม่ได้สนับสนุนแนวคิดคนรุ่นใหม่ คำถามคือเปลี่ยนมหาวิทยาลัยได้เลยหรือไม่ คำตอบคือ ค่อย ๆ เปลี่ยน ผู้เข้าอบรมต้องทำโครงการที่ใหม่ อย่าขึ้นหิ้ง ต้องเป็นโครงการที่เกิดประโยชน์กับภูเก็ตหรือจังหวัดใกล้เคียงแล้วจะสร้างชื่อเสียงให้กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปัญหาอยู่ที่วิธีคิดว่าเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏแล้วสู้คนอื่นไม่ได้

          อาจารย์จะทำอย่างไรให้หลักสูตรนี่สามารถอยู่ได้ เริ่มต้นจากการเปลี่ยนวิธีคิดของอาจารย์  ทุกคนต้องช่วยกันคิด

          เช่น ถ้าอยากให้หน่วยงานสามารถอยู่ได้จะทำอย่างไร สิ่งที่คิดคือ การไปแล้วต้องตอบให้ได้ว่าทำอย่างไรหลักสูตรไม่ปิด

          นวัตกรรมคืออะไรก็ได้ที่ไม่ใช่สินค้า (Product) อย่างเดียว  เช่น เราจะบริหารอาคารอย่างไรให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด  เช่นคณะสถาปัตย์ ลาดกระบังมีที่เยอะมากจะทำอย่างไร เช่น ให้คนมาใช้ฟรี ทำเป็นต้นไม้ให้และจัดสถานที่ให้คนเข้ามา เมื่อคนเข้ามา มี Traffic ก็เริ่มสร้างอะไรขึ้นมา เช่น นิทรรศการ และเอางานมาโชว์ และขายได้ แต่ถ้าไม่มีคนเข้ามาอยู่ทีคณะสถาปัตย์ และไม่มีใครมาดูรูป ก็จะจบแล้ว ทุกอย่างจะสามารถทำนวัตกรรมได้ คือ มี Value , Newness, Compliment ได้ เราจะสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้อย่างไร เช่น มภร.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับภูเก็ตมากสุด แต่สิ่งที่ถามคือ เรามีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีเราต้องสร้างองค์ความรู้ เช่น เราเล่นเรื่องวิถีชุมชน มีกี่แบบที่เราควรทำ

          การของบประมาณ ต้องโยงกับนโยบายของรัฐบาล  สิ่งเหล่านี้มีวิธีการ และมีสิ่งที่คนต้องรู้ กรรมการสภา และบอร์ดทุกที่เข้าใจเรื่องทิศทางของมหาวิทยาลัยหรือไม่ องค์ความรู้และสิ่งที่มี Update กับความทันสมัยหรือไม่

          นวัตกรรม สามารถแบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ Products , Services, Process, Marketing Methods, Management Methods

          Products - อาจารย์ต้องมีความเชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง ไม่มีอาจารย์คนไหนเก่งทุกเรื่อง

          Service – ควรมีเครื่องมือเครื่องใช้บริการคนนอกที่เข้ามาเช่น ห้องแลป เครื่องทดสอบ การทดสอบภาษาอังกฤษ เป็นต้น  

          มรภ.เก่งเรื่องอะไร ตึกไหนทำอะไร อาจารย์เก่งด้านไหน มีเครื่องมืออะไรที่ให้คนภาคใต้มาใช้เป็นต้น

องค์กรนวัตกรรมคือ

1. มีผู้นำที่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการคิดอะไรใหม่ ๆ

2. มีวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม

3. มีวัฒนธรรมให้คนลองผิดลองถูก โดยผู้บริหารต้องเป็นตัวอย่างที่ดี  เพราะผู้นำเป็นแบบไหน ผู้ตามก็เป็นแบบนั้น

4. หลังจากได้ Leadership ที่ดีสิ่งที่ตามมาต้องมี Strategy ที่ดี

5. กระบวนการ Innovation Process จะทำอย่างไรให้เร็ว กระบวนการจะปรับพร้อมกับการบริหารคนในองค์กร

6. ผลลัพธ์ต้องเป็นนวัตกรรม  เช่น ต้นแบบการพัฒนาชุมชน

          องค์กรนวัตกรรมคือสิ่งที่ทำตั้งแต่ต้นจนจบ และจะเข้าองค์กรนวัตกรรมได้

กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ

          องค์กรที่เปลี่ยนทั้งระบบคือ SCG และองค์กรที่เปลี่ยนจากหิ้งสู่ห้างคือ ม.มหิดล

กรณีศึกษาขององค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง ดู 5 เรื่อง (Summary of Key Finding)

1. ทำไมองค์กรคุณถึงสมควรมีชีวิตอยู่ อยู่เพื่ออะไร ไม่อยู่ได้หรือไม่ ทำไมต้องมีคุณอยู่ ณ ที่นี้

          ถ้าตอบไม่ได้ หรือมีคนทำแทนได้ ไม่จำเป็นต้องมีคุณอยู่แล้ว  มรภ.ต้องคิดในสิ่งที่ มหาวิทยาลัยทั้งโลกทำไม่ได้

2. ประวัติศาสตร์ของ มรภ.คืออะไร มรภ.ถูกตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร และมีทิศทางที่จะเดินอย่างไร ค่านิยมคืออะไร

          ถ้าตอบไม่ได้ว่า มรภ. มีประวัติศาสตร์อย่างไร ยกตัวอย่างเช่นจีนกำลังนำประวัติศาสตร์กลับมา

3. องค์กรนวัตกรรมต้องมี Inspiration Leader ทุก Case ต้องมี Inspiration ที่ดี Culture ที่ดี ต้องไปสู่บริบทของภูเก็ต ชุมชนต้องการอะไร ผู้ประกอบการต้องการอะไร

          ถ้าต้องการดึงเด็กมาที่ภูเก็ต ต้องสร้างหลักสูตรที่ดี และองค์ความรู้ที่ดีที่ภูเก็ต

          - สิ่งปลูกสร้างที่มีอะไร

          - ความรู้ที่อาจารย์มีที่จะส่งเสริมให้คนภาคใต้ ภูเก็ตคืออะไร

          - บริการที่สร้างให้ชุมชนมีอะไรบ้าง

          - โลกเปลี่ยนแบบไหน เราต้องเปลี่ยนให้ทันโลก เช่นหลักสูตรมัธยมเป็นแบบไหน เราจะต่อยอดขั้นปลายอย่างไร

4. บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยเอื้อต่อการเป็น Innovation หรือไม่

          เช่น มรภ. มีจุดเด่นด้านอาคารและสถานที่ เหมือนมหาวิทยาลัยนานาชาติ

กรณีศึกษา Panasonic

1. เหตุผลที่ต้องอยู่คือ มีหน้าที่พัฒนาสังคม และการเป็นอยู่ที่ดีของคนผ่าน Activity ที่ทำ ถ้าไม่มีเขาจะไม่มีคนทำ Quality of life ที่ดี

          เช่นเดียวกัน มรภ.ต้องถามว่า อยู่แล้วมีใครแคร์อย่างไร  องค์ความรู้ที่มี มีแล้วเป็นประโยชน์กับภูเก็ตหรือไม่ เช่นรู้เรื่องการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ การทำประมง การทำบ้านเรือน หรือไม่ สิ่งนี้คือการนำ มรภ.เข้าสู่สังคม แล้วคนที่เข้ามาก็จะแวะที่ มรภ. หรือถ้ามาภูเก็ตแล้วไม่มาที่ มรภ. เหมือนไม่ได้มาเป็นต้น  สิ่งนี้เป็น Value อย่างสูงที่ มรภ.ทำได้ อย่าง มรภ.เป็นสถาบันภูเก็ตศึกษาหรือไม่ ต้องการ Scope แบบไหน

          มหาวิทยาลัยไม่ทำ Mass เพียงแค่อยู่บ้านไหน ก็จะไปที่นั่นต้องตอบให้ได้ว่าอยู่เพื่ออะไร

2. Panasonic มีค่านิยมคือพัฒนาคนก่อนพัฒนาสินค้า เพราะคนที่ดีจะสร้าง Product ที่ดี สิ่งนี้คือสิ่งที่ยึดถือ

          อย่างที่บอกคือ อาจารย์คือ Value ถ้าออกจาก มรภ. เป็น Individual อาจารย์จะมีคนจ้างไปสอนหรือไม่ คำถามคือมีองค์ความรู้อะไรติดตัวหรือไม่  เราต้องรู้ว่าเราเก่งเรื่องอะไร ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ  ไม่ต้องหางาน เพราะเขารู้ว่าคุณคือใคร แล้วจะมีคนเข้ามาหาเราเอง แล้วจะได้ KPIs ระยะยาว สุดท้ายสิ่งที่เลือกที่มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม แล้วสังคมจะมาหาอาจารย์เอง  เราต้องหาให้ได้ Value ของ มรภ.คืออะไร เราต้องมีองค์ความรู้อะไรที่คนภูเก็ต คนสุราษฎร์ และคนภาคใต้ต้องการ แล้วนำสิ่งนี้ไปสอนคนอื่นด้วย และสุดท้ายจะกลับมาที่องค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยและหลักสูตรด้วย

3. Panasonic ทำการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

          หลายครั้งที่ผู้บริหารต้องการการเปลี่ยนแปลงในองค์กร จะโดนคนวิจารณ์มาก  สิ่งที่จะทำคือต้องสื่อสารสิ่งที่จะทำให้คนรับทราบ

4. Customer Centric คือการพัฒนา Product ใหม่เสมอ ด้วยกระบวนการที่แตกต่างจากเดิม  ถ้าอยากมีหลักสูตรมากต้องมีกระบวนการที่ลดการเปลี่ยนแปลงด้วย

5. Ecology คือระบบการบริหารงานในองค์กร

กรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร : SCG

Leader เปลี่ยน Strategy เปลี่ยน Result เปลี่ยน

          ปี พ.ศ. 2548 SCG เป็นองค์กร Quality Base คือยึดถือเกณฑ์เป็นหลัก และวันหนึ่งเมื่อยึด คุณภาพอย่างเดียวจะไปไม่รอด วันหนึ่งผู้บริหาร SCG บอกว่าจะไม่สามารถอยู่ได้ด้วย Quality Base (ทำงานให้มีของเสียน้อย)  และวันนั้นทำให้มีคนต่อต้านมากว่าทำไมต้องเป็น Innovation ทั้ง ๆ ที่บริหารสำเร็จมากว่า 90 ปีแล้ว

          การเป็นผู้นำจำเป็นต้องมีนวัตกรรม ปรับสิ่งใหม่ ๆ และทำอย่างต่อเนื่องไม่เช่นนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำ และยิ่งเป็นผู้ตามก็ต้องมีนวัตกรรม ไม่เช่นนั้นก็จะถูกออกจากตลาดไปโดยอัตโนมัติ

เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่วิธีคิดอาจต้องปรับ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีจำนวนนักศึกษาลดลง  มรภ.จะสร้าง Value อย่างไรให้คนมีความจำเป็นต้องศึกษาที่นี่

ระดับผู้บริหารจะลงมาทำ Innovation  ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง และต่อมาจะทำให้เกิด Culture ใหม่ มีคนกล้า 5 ประการ คือ

1. กล้าพูดกล้าทำ

2. กล้าเปิดใจรับฟัง

3. กล้าคิดนอกกรอบ

4. กล้าเสี่ยงกล้าริเริ่ม

5. กล้าเรียนใฝ่รู้

อาจารย์จะทำอย่างไรให้หลักสูตรสามารถมีนักศึกษามาเรียนและสามารถมีรายได้อย่างน้อยเท่าทุนได้ เป็นต้น

ระบบราชการ กับมหาวิทยาลัยมีระบบคล้ายกันคือเป็นกึ่งการจ้างงานตลอดชีวิต เราต้องพัฒนาไปเรื่อย ๆ

ผู้นำ 3 ประการ

1. ต้องสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

2. ต้องเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง  

- Value ส่วนหนึ่งอยู่ที่ตัวอาจารย์ ทำอย่างไรให้มีรายได้

3. เป็นแบบอย่างที่ดี

กรณีศึกษาจากหิ้งสู่ห้าง :  ม.มหิดล

1. ต้องนำงานวิจัยไปสู่ Public Policy คือ รัฐบาลกำหนดมาให้ใช้

          ต้องสามารถผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้งานระดับประเทศได้

2. Partnership + อุตสาหกรรม + สังคม

3. Technology Licensing

4. ทรัพย์สินทางปัญญา

          สิ่งที่มหาวิทยาลัยมี

          1) งานวิจัย

          2) Facility

          3) กระบวนการ

          4) Knowhow

          5) Asset

          แต่มหาวิทยาลัยไม่สามารถทำ Commercial ได้ถ้าไม่ทำกับภาคอุตสาหกรรม สังคม และนโยบายรัฐบาล

          หน้าที่คือต้องเชื่อมทั้งสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน  สร้างสะพาน เช่น

1) การทำวิจัยด้านองค์ความรู้ ต้องให้สังคมเข้ามาได้

          2) Industry visit

          3) Resource Sharing เช่นขอใช้พื้นที่เกษตรที่เอกชน หรือให้เอกชนมีพื้นที่ทำครัวที่มหาวิทยาลัย

          4) Sponsorship

          5) ถือหุ้นร่วมกัน

          6) Joint Research

          7) Joint Lab

          8) Joint Venture

          งานบริการทางวิชาการที่เข้าระบบงบประมาณ  1 พันล้านบาทต่อปี จากงบทั้งหมดที่มหาวิทยาลัยได้คือ 1 หมื่นล้านต่อปี ทำวิจัยปีละ 1-2 พันล้านต่อปี ทำให้อยากรู้ว่าสร้างให้เกิดรายได้คืนสู่มหาวิทยาลัยเท่าไหร่ ประเด็นคืองานวิจัยที่ลงทุนไปขึ้นหิ้งไปเกือบหมด  มีเงินวิจัยจริงแต่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์

          ปีแรกที่ ดร.พยัตเข้าไปปีแรก 60 ล้านบาท ปีที่สอง 200 ล้านบาท ปีที่สาม 500 ล้านบาท ประเด็นคือทำไมที่ผ่านมามหาวิทยาลัยไม่สามารถนำงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

1. งานวิจัยใช้ไม่ได้ ไม่ตอบโจทย์ Specific ไม่ได้ตอบโจทย์สังคมและประเทศ

          คำถามคือ ที่ มภร. มีการนำหนังสือวิจัยที่ทำไปใช้หรือไม่ อย่างน้อย 1 คน แต่จริง ๆ ควรเป็นทั้งภูเก็ตหรือประเทศไทย

2. นักวิจัยทำงานวิจัยเพื่อตอบสนองตัวเอง เรื่องยากไม่ทำ แต่ใช้ในการต่อยอด

3. มหาวิทยาลัยไม่เข้าใจระบบ Eco System หรือ Business Concept คือ ไม่เข้าใจว่าสังคม ชุมชน เขาต้องการอะไร

4. ไม่มี Connection กับคนในท้องถิ่น

5. ไม่มี Provide อะไรต่อสังคม

สรุปคือ เราจะมีการปรับใช้นวัตกรรมได้อย่างไร

1. ต้องสร้างผู้นำสร้างสรรค์

2. สร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์

3. สร้างกลยุทธ์

4. สร้างองค์ความรู้

5. คนที่สร้างสรรค์

6. เข้าใจผู้ใช้บริการอย่างสร้างสรรค์

7. กระบวนการสร้างสรรค์

8. ผลลัพธ์สร้างสรรค์

คำถามคือ

1. เราอยากเห็น มรภ.ใน 3-5 ปีข้างหน้าอย่างไร

2. มีงานแบบไหนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากเดิม

3. กระบวนการและวิธีการทำงานเป็นอย่างไร และ

4. คนและพนักงานที่นี่จะเป็นอย่างไร

การนำเสนอบทเรียนจากหนังสือ Start with why

โดย ตัวแทนกลุ่ม 1-5

กลุ่มที่ 1 บทนำ ทำไมต้องเริ่มด้วยการถามว่าทำไม

ทำไมต้องเริ่มด้วยการถามว่าทำไม

พูดถึงหลักการแนวคิดเพื่อนำมาใช้ได้จริง จุดประสงค์ของหนังสือชี้ให้เห็นว่าทำอย่างไร มีแนวคิดอย่างไรให้ผู้นำประสบความสำเร็จมากกว่า ผู้นำควรมีหลักฐานสนับสนุนที่น่ารับฟัง แม้ตั้งคำถามผิด สุดท้ายคำตอบก็นำไปผิดเช่นกัน เริ่มตั้งแต่บุคคลในการตั้งคำถามที่ถูกต้องว่าทำไม ที่ต้องให้ความสนับสนุนจากสาธารณชน

บทที่ 1 กล่าวถึงสองพี่น้องตระกูล Write ที่ทำให้คนบินได้เหมือนนก

          คำตอบที่พี่น้องตระกูลไรท์และแรลลี่ต่างกันคือ การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนรอบข้าง และเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ตลอดกาล

          เรื่องรางวัล การลงโทษ สิ่งล่อใจและการสร้างแรงบันดาลใจ

          สินค้าและบริการอาจได้เปรียบในการเป็นเจ้าแรกของการตลาด อีกไม่นานจะมีคนนำเสนอสิ่งนั้นได้ดีกว่าเรา นวัตกรรมต้องมีตลอดเวลา เพราะถ้าหยุดนิ่งเราจะล้าหลังยกตัวอย่าง SCG ดีแล้วก็ไปเรื่อย ๆ เพราะคนกลัวการเปลี่ยนแปลง

          ทำไมลูกค้าสนใจเลือกของเรา อย่างการศึกษาต้องดูว่าสิ่งไหนในภาคใต้ที่เขาต้องการ ต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบกับคนอื่นตลอดเวลาถึงทำให้เราอยู่รอดได้

          พูดถึงสิ่งที่ล่อใจ เช่น

1. การลดราคา เหมือนดี แต่อนาคตอาจไม่รอด 

          2. ข้อความปลุกเร้าที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จต้องมาจากคนรอบข้าง และทำให้ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ควรนำเรื่องราคามาเล่นเพราะกำไรน้อย และต้นทุนปัจจุบันสูงขึ้น ลูกค้าจะมัวแต่จ้องเมื่อไหร่จะลดราคา

          3. ความกลัว ทำให้มีแรงกดดัน หรือผลักดันจากสิ่งรอบข้างให้เราเปลี่ยน มีกลยุทธ์มากมายในการทำสื่อ

          4. การนำบุคคลสำคัญ หลายองค์กรใช้คนสำคัญเป็น Presenter เป็นการกระทำที่ฉับไว เป็นการนำผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาโฆษณา แต่ต้องระวังว่าเราเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่ ไม่งั้นทำให้เกิดผลเสียและเป็นแรงกดดันที่ของไม่เป็นตามโฆษณา นำซึ่งความหายนะตามมา

          ข้อคิดสำคัญคือการเป็นผู้นำที่ต้องเข้าใจเบื้องต้น ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นทำตามด้วยความสมัครใจ

          สภาพปัจจุบันต้องมีเครือข่ายสำคัญในการทำงาน ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ทำงานกับองค์กรได้

          จากการอ่านสรุปว่าหนังสือเล่มนี้ทำให้มีข้อคิดในการพัฒนาตนเอง เหมือนเป็นแรงผลักดันในการทำสิ่งที่จะทำและเดินทางความฝันตามที่ตั้งใจไว้

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          ดร.จีระ เสริมว่า เวลาทำต้องไป Apply กับกรณีศึกษาของ มรภ. เพราะหลักสูตรนี้เป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่มีอยู่มากมาย เริ่มต้นไม่ได้ใส่ไว้เพราะเวลาน้อย แต่เลือกใส่เพราะสร้างแรงบันดาลใจแต่ควรสำรวจว่าแท้จริงแรงบันดาลใจคืออะไร เช่น การใช่ และตรงประเด็นทำให้เราอยากกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง

          และถ้าสามารถสรุปบางเรื่อง เช่น พี่น้องตระกูลไรท์ เราต้องแสวงหาสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยของเรา ซึ่งเรารู้มากกว่าคนอื่น Reality อยู่ที่ มรภ. แต่ Relevance ต้องร่วมกัน ใครเขียนแผนก็ได้ แต่การนำแผนไปปฏิบัติให้ประเทศไทยหลุดพ้นจาก Middle Income Trap เป็นสิ่งที่ยากที่สุด

          Trust หรือ Reputation ถูกอิทธิพลของภาพใหญ่ที่กระทบเรา เราต้องทำงานแข่งกับความรู้สึกของคนข้างนอก ความยากก็คือ ต้องทำแบบ มรภ.ยกกำลัง 2 อะไรที่ ดร.จีระช่วยได้ก็พร้อมที่จะยกกำลัง อะไรที่ทำให้ Overcome Difficulty

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          ทำไมต้องเริ่มด้วยคำว่าทำไม ถ้าทุกกลุ่มไปอ่านหนังสือดู ในหนังสือเล่มหนึ่งมีกระบวนการ มีฐานคิดตั้งต้นว่า การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จในยุคปัจจุบันไม่ได้เริ่มเหมือนสมัยก่อน ในยุคนี้ไม่ใช่

          หนังสือ กระบวนการทางสมองเหมือน Search จากคอมพิวเตอร์ และการเรียบเรียงยากมาก  สิ่งที่ต้องฝึกต้อง Brief ให้ได้ว่า 10 นาทีจะได้ประเด็นอะไร หนังสือทำให้คลื่นสมองเรียงตัวทำให้เรามีช่องว่างการเรียงตัวเพื่อเปิดรับอะไรใหม่ ๆ

กลุ่มที่ 2 An Alternative Perspective

          ในบทนี้เกี่ยวกับ Clarity, Discipline and  Consistency (CDC)  

หลักการขายผลิตภัณฑ์และบริการโดยทั่วไป ประกอบด้วย ราคา คุณภาพ คุณสมบัติ บริการหลังการขาย มนุษย์ทั่วไปไม่ได้ Start with Why? เราจะเริ่มจากราคา คุณภาพ คุณสมบัติ บริการหลังการขาย ถึงเวลาที่ต้องคิดเปลี่ยนว่าทำไมถึงเปลี่ยน เช่น คุณธรรม สู้งาน จิตอาสา

1. Golden Circle :

จากแนวคิดของ Simon Sinek มนุษย์เราจะเริ่มจาก Outside In คือ What ? and How? แต่ Why? เป็นสิ่งสำคัญ อย่างทำไมต้อง ม.ราชภัฏภูเก็ต

วิธีคิดสมัยใหม่จะเริ่มจาก Inside Out แต่มนุษย์ทั่วไปเริ่มจาก Outside In ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิด Loyalty ได้

2. Human Brain

          ผลกระทบเกิดจากส่วนที่เป็น Limbic 75 % กับ Neocortex 25%

ส่วนแรกคือ Limbic เป็นตัวขับเคลื่อนเรียกว่า Emotional Feeling อดัม สมิทธิ์ บอกว่าการทำอะไรมีอารมณ์ผลักดันอยู่ในตัวว่าใช่หรือไม่ในภายหลัง ซึ่งตัวนี้จะครอบคลุม Why? And How? จำนวนมาก

Neocortex คือการกลั่นกรองเป็นคำพูด หลายครั้งไม่ตอบโจทย์

ยกตัวอย่าง Apple มีการคิดนอกกรอบ มีการ Challenge และ Consistency  จะรู้ได้อย่างไรว่าวันหนึ่ง Business Model เปลี่ยน

Dell Computer  ทำไม่ถึงเป็น Dell Computer

Apple เปลี่ยนรูปแบบโดยเอา Limbic มาแทนในการ Hook ว่าเพลงนับพันหมื่นไปกับคุณทุกที่ หรืออย่าง Mac จะใช้คำว่าสิ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตการทำงานดีขึ้น แล้วทำให้คนบางกลุ่มรู้สึก Hook

ทำไมถึงเป็นแมนเชสเตอร์ หรือ ลิเวอร์พูล หรือฮาเลย์ เกิดขึ้นได้เพราะอะไร เพราะมี Limbic หรือ นาฬิกา Apple ใช้คำว่า Better You คือเป็นการใช้คำสร้างพลัง

Southwest Airline มองว่าอิสรภาพของทุกคนที่ใช้คำไปได้ทั่ว คือมองไปที่คน 85% ที่เดินทางไปมาระหว่างอเมริกาได้ทำให้เกิด Freedom

ทำไม Toyota เจ๋งกว่า Ferrari เพราะมี Niche มาร์เกต ทำไมต้องเป็น Honda Audicy สรุปคือมีกลุ่มที่เป็น Niche อยู่ไม่ต้องแข่งกัน

การเริ่มต้น การล่มสลายของรถไฟ  Business เปลี่ยน พฤติกรรมคนเปลี่ยน เช่น พี่น้องตระกูลไรท์บอกว่า มนุษย์ต้องบินได้ เนื่องจากมี Face ,Discipline , และ Consistency

E-book เกิดขึ้นได้เพราะพฤติกรรมคนเปลี่ยน

Why?

          Inspiration ไปสร้าง Motivation คำถามคือมีผู้นำกี่คนที่ใช้  ต้อง Inside out มากกว่า Outside in

          Manipulation มากกว่า Motivation

          Get and hook those people ,who share the same goal

          People buy why you do , not what you do.

สรุป

ส่วนที่ 1 Why PKRU อย่าง มรภ.เป็น เมืองของแก๊ซโธโนมี เราต้องนำเสนอสิ่งที่ดี และเสนอว่าจุดขายที่เด่นขึ้นมาเพื่อสร้างเป็น Limbic ว่า Why PKRU? ต้องมองที่เด็กรุ่นใหม่อยากได้อะไร อย่างเช่น Academic Building, Curriculum, Digital, Environment, Facilities, Governance, Health, Infrastructure, Jobs, KM, Language, Management, Research อยากให้ทีมลองคิดตัวอย่างเพื่อสร้าง Limbic

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของวงกลมทองคำที่จะเป็นส่วนต่อ  3-6 ที่จะพูด Why ? How? What? ทุกบริษัททำเหมือนกันหมดคือแข่งที่ผลิตภัณฑ์แต่เราต้องเป็นผู้นำโดยการเริ่มจากข้างในสู่ข้างนอกโดยเริ่มจาก Why? คือเป้าหมาย How?คือวิธีการที่แน่ และ What? คือสิ่งที่สอดคล้องกัน

สิ่งที่น่าสนใจ Limbic ประสบความสำเร็จมาก แต่ปัจจุบันกำลังมีสงครามด้านนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          บทนี้ พูดถึง Clarity, Principle, Consistency หนังสือนี้มีบางส่วนที่ช่วยให้อุปสรรคลดลง Inside Out ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จ

กลุ่มที่ 3 ผู้นำต้องมีผู้ตาม

          ผู้ตามจะตามผู้นำได้อย่างไรต้องใช้

1. ความเชื่อใจหรือไว้ใจ ได้ยกตัวอย่างองค์กรสายการบินแห่งหนึ่งที่เกือบล้มละลาย แต่ได้ใช้คนมาสร้างความเชื่อมั่น และมั่นใจในองค์กร ฟื้นคืนจากที่ตกต่ำสู่การฟื้นคืนธุรกิจที่ขึ้นมาได้

          1. ผู้นำต้องมีจิตใจเข้มแข็ง

          2. การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่ง

          ยกตัวอย่าง มนุษย์ถูกจับไปที่เกาะ การอยู่รอดคนเดียวอยู่รอดยากมาก แต่ได้ถูกพัฒนาให้มนุษย์อยู่รอดได้จากการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพราะเราเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นเช่น เชื่อเรื่องของชาติ และคนอื่น เช่น ถ้าเราทำไม่ได้ อาจมอบให้คนอื่นทำแทน

          ผู้นำต้องทำให้คนตามมีความเชื่อใจ

2. การหาคนร่วมงานจะหาอย่างไร

          การหาคนตามคุณสมบัติ ถ้าไม่ทำให้เกิดการทำตามความฝันจะทำให้เกิดความสำเร็จได้ยาก การที่จะอยู่ร่วมกันได้ต้องอาศัยความเชื่อมั่นเป็นตัวผลักดัน ต้องจุดไฟให้เขา คนมีไฟถ้าไม่มีการจุดให้เขาได้ คนเหล่านี้ต้องไป เราจะทำอย่างไรให้รักษาคนมีสปิริต หรือมีไฟได้

3. การเกิด Disruption

          กรณีศึกษา การใช้โทรเลข ไม่ใช้แล้ว จดหมายไม่ใช้แล้ว ไปรษณีย์เริ่มเห็นช่องทางในการส่งของออนไลน์เยอะมาก เช่นเดียวกับ มรภ. ต้องหาโอกาสและช่องทางในการอยู่รอดได้

การออกจาก Comfort Zone

          ปัจจุบันมีคำว่า Do or Die คือถ้าไม่ออก คุณจะตาย เราต้องมี Passion อย่างเช่น Southwest ในการพาตัวเองออกจาก Comfort Zone

          แซมมัว เป็นคนคิดสร้างเครื่องบินครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ เพราะทีมอาจไม่พอ สิ่งที่พูดถึงคือ พี่น้องตระกูลไรท์ และนำมาซึ่ง Southwest  Aireline

          หรือการเดินทางไปดาวอังคาร ต้องศึกษาแรงกระตุ้นในใจที่พาคนไปในดาวอังคารได้

สรุปคือ การมีฝัน เอาเงินไปที่ตั้ง ต้องมี Passion และทำให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเป็นแค่เพียงความฝัน ยกตัวอย่าง Steve Job ผลิตอะไรออกมา โดยไม่ได้สนลูกค้า แต่เชื่อว่าลูกค้าจะซื้อเขา

          Nobody คือฝัน Somebody คือ มี Passion พี่น้องตระกูลไรท์เป็นตัวอย่างของการออกจาก Comfort Zone มีคนร่วมสร้างฝันจำนวนมาก และในที่สุดคนจะเลือกจำ สุดท้ายให้เลือกว่าเป็น Nobody หรือ Some Body

ความเชื่อใจและให้ความสำคัญ

          เราต้องเลือกคนที่เชื่อใจได้คือ เลือกพื้นที่ที่จะอยู่ด้วยกันโดยปราศจากความกลัว ให้ความสำคัญกับชุมชน เชื่อมั่น เชื่อใจ และไม่ให้คนรู้สึกกลัว หากปราศจากความเชื่อใจก็ไม่มีใครกล้าเสี่ยง คนในองค์กรต้องเชื่อใจที่จะทำได้

ความเชื่อใจเกิดจากสิ่งที่เรามองข้ามไป

          การตระหนักว่าพนักงานต้องเติบโตไปพร้อมบริษัท ตัวผู้บริหารเองสิ่งสำคัญที่ต้องให้คือความใส่ใจ ต้องนำไปสู่การ touch องค์กรและบุคคลได้ แล้วการต้องการให้องค์กรเปลี่ยนแบบไหน ก็เปลี่ยนได้ จะส่งต่อประสิทธิภาพในการทำงาน แล้วผู้ถือหุ้นจะมีความสุข เพราะผลประกอบการดีด้วย

ผู้มีอิทธิพล บางครั้งต้องใช้ Presenter หรือผู้มีอิทธิพลกับตัวเอง ต้องเชื่อได้ว่าคนนั้นเป็นตัวแทนขององค์กร เป็นภาพองค์กรจริง ๆ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำต้อง Motivate กระตุ้นไปสู่ความเป็นเลิศ ไม่ควรสร้างให้เกิดความกลัว เราต้องเรียนรู้ในการบริหารจัดการ ใช้คำว่า Passion และ Intangible  เราต้องยกระดับฐานะที่รู้แล้วนำไปทำให้เกิดความสำเร็จ

Keyword ที่สำคัญที่สุดในหนังสือเล่มนี้คืออะไร มีความเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้ถ้าได้รับการอ่านจะสามารถ Relevance กับสิ่งที่ มรภ. มีอยู่ Human Capital มีส่วนสำคัญมากในเทคโนโลยีหรือการตลาด ผู้นำต้องรู้ว่าลูกน้องไว้ใจได้

กลุ่มที่ 4

          การทำให้คนในองค์กรรวมกลุ่มได้ มีความเชื่อใจกัน มุ่งไปสู่จุดเดียวกัน การสื่อให้คนทุกระดับรู้ว่าเราจะทำอะไร นอกจากนั้น ความเชื่อความตั้งใจ การสร้างแรงบันดาลใจ จะรวมให้ทุกฝ่ายเชื่อสิ่งเดียวกันและไปด้วยกัน เปรียบกับ วงแหวนทองคำคือ องค์กรต้องประกอบด้วยคน 3 ระดับ ประกอบด้วย

1. Why? ทำไม เป็นคนที่มุ่งหาจุดมุ่งหมายว่าเราจะไปตรงไหน และสื่อสารให้ทุกคนทราบเป้าหมายเพื่อดึงดูดความเชื่อและแรงบันดาลใจได้  เปรียบเสมือนผู้นำองค์กร

2. How? เป็นคนกำหนดเส้นทางว่าจะไปสู่เป้าหมายอย่างไร เปรียบเสมือนผู้บริหาร

3. What? การปฏิบัติเพื่อไปสู่เป้าหมาย เปรียบเสมือน ผู้ปฏิบัติ

          ทั้งสามส่วนต้องทำงานเชื่อมโยงกัน แล้วการทำงานก็จะไปได้ด้วยดี

          ผู้นำกำหนดความชัดเจนว่าเราจะเดินไปอย่างไร ต่อด้วยผู้บริหารที่วางนโยบาย และผู้ปฏิบัติก็ร่วมกันทำไปสู่เป้าหมาย

1.ทำอย่างไรให้คิดต่างเพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

2.ทุกคนต้องดำเนินการเหมือนกัน รับรู้เหมือนกัน  มรภ.มีอะไรแตกต่าง อะไรเป็นจุดเด่นและเป็นจุดขาย เช่น ภูเก็ตเป็นเมืองอาหารโลกแก๊ซโธโนมี หรือการท่องเที่ยวเป็นจุดเด่น

          3. การสื่อสารต้องสื่อสารให้คนไปในทิศทางเดียวกัน ต้องคุยกันให้รู้เรื่องและดำเนินการไปสู่เป้าหมาย โดยการสร้างแบรนด์และสร้างภาพลักษณ์

ทำอย่างไรให้เชื่อว่า มรภ.ทำได้

          ส่วนแรกเป็นเรื่องผู้นำและการสื่อสาร ให้มองว่าการกระทำสำคัญกว่าคำพูด ทำให้เห็นแล้วดึงเอาจุดเด่น สร้างโลโก้เป็นแบรนด์ เพื่อให้เกิดสัญลักษณ์ว่า มรภ.ทำได้จริง มีความแตกต่างด้าน Innovation และคุณภาพการศึกษา ทำอย่างไรให้มีความภาคภูมิใจในความเป็น มรภ. ไม่อยากเจอเด็กราชภัฏด่าราชภัฏ

          การสร้าง Symbol ที่ดีคือการสิ่งที่คนอยากใช้แม้ไม่ได้ใช้ก็ตาม  ต้องมุ่งเป้าชัดเจนว่า มรภ.ไปทิศทางไหน และให้ทำอย่างต่อเนื่อง อย่าเห็นช้างขี้และขี้ตามช้าง ขอให้คงความเป็นตัวเราไว้ ไม่จำเป็นต้องไขว่คว้าโอกาสตามที่คนอื่นบอก  ให้เลือกเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับ มรภ.

          สรุปคือ ทำอย่างไรให้คนเชื่อมั่นว่าเป็นเรา

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          เสริมว่า มีคนบอกว่า การมี Vision Mission และ Execution ไม่พอต้องมี Idea ว่า มรภ.อยู่เพราะอะไร  ถ้าไม่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใครจะเห็นคุณค่าของเรา

          หลักสูตรของ ดร.จีระ เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงองค์กร และนับว่าเป็นโอกาสที่ดี ถ้าเราร่วมกันทำ และมีความสำเร็จเกิดขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและประเทศต่อไป

          คนข้างนอกมอง ม.ราชภัฏไม่ออก  เราต้องทำให้ เขาเข้าใจ Why?  การเลือกหนังสือ 2 เล่มเป็นการทดสอบว่าเราต้องสอดคล้องกับงานที่ทำอยู่ เพราะถ้าไม่ตรงประเด็นจะอยู่ไปทำไม

กลุ่มที่ 5 ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่คือความสำเร็จ

          ทำไม WallMart ถึงตกสวรรค์ เรียนรู้จากหลายบริษัท

คนส่วนใหญ่ในองค์กรจะรู้ว่าเราจะทำอะไรและทำอย่างไร แต่ลืมจุดประสงค์ที่แท้จริงคือการมุ่งเป้าว่าจะไปสู่สิ่งใด เช่น ส่วนที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ยอดขายสูงขึ้นที่ได้จากการร่วมกันทำงาน และการสร้างแรงบันดาลใจให้คนในองค์กร หรือการคำนึงถึงผู้รับบริการ อาจารย์ นักศึกษา ชุมชน เพื่อสร้างไปสู่จุดที่สูงขึ้น และตอบโจทย์เป้าหมาย มีความร่วมมือที่จะทำและทุ่มเท ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

          ผู้นำต้องมีจุดหมาย มีความเชื่อ และทำให้พนักงานเชื่อในสิ่งเดียวกันถึงทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ แต่ในบทนี้กล่าวถึง ธุรกิจมักลืมจุดมุ่งหมาย เช่นการขายของในราคาประหยัด พอได้กำไรมากขึ้น ลืมจุดมุ่งหมายของตัวเองถือว่าเป็นเจ้าธุรกิจว่าขายของราคาประหยัด แต่ลืมสิ่งสำคัญที่สุดคือพนักงาน

          2. ธุรกิจมักประสบรอยแยก เช่น Starbuck จุดประสงค์แรกคือจะเป็นบ้านหลังที่สามของคนรักกาแฟ แต่พอไปถึงเรื่อย ๆ เข้าสตาร์บัคส์ ต้องได้กลิ่นกาแฟและมีถ้วยกาแฟ ปัจจุบันเข้าสตาร์บักส์กินกาแฟถ้วยกระดาษ ไม่เหมือนบ้าน

          สรุปคือ อย่าลืมเป้าหมายของตัวเอง เช่น มรภ.ต้องผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เราจะวิ่งไปทางไหน เราต้องการ Volume หรือ Value

          ธุรกิจมองที่ Achievement เช่น WallMart วางเป้าหมายหลายพันล้านดอลล่าร์ ถึง Achievement แต่ไม่ถึง Success ที่คำนึงถึงพนักงานที่ก้าวไปสู่เป้าหมายร่วมกันในอนาคต

          Why ? ต้องประทับในใจ เราต้องรู้เป้าหมายที่แท้จริงว่าคืออะไร และเป้าหมายจะเริ่ม Split ถ้าองค์กรใหญ่ ตอนนี้มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงในบริบทสังคมที่โตขึ้น ไม่ใช่คำว่าช้างขี้ ขี้ตามช้าง อาจมีการปรับ Why? ให้ตอบกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

Measurement of what goal ?

          เราต้องวัดความสำเร็จที่ได้มาคืออะไรและตอบ Why? ได้ถูกต้องหรือไม่ว่าเราต้องปรับและเปลี่ยนไปทางไหน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ทุกกลุ่มทำได้ดี การวิจารณ์หนังสือเหมือนเป็นโบนัสช่วยให้เกิดการกระเด้งสู่ความสำเร็จขององค์กร

          ขอชมเชยคือ เข้าใจภาษาอังกฤษไม่เป็นรองใคร เข้าใจได้ตรงประเด็นและสอดคล้องความต้องการของเรา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การสื่อสารที่ดี ต้องรู้จริงและรู้ครบ ต้องต่อยอดได้ด้วย ถ้าเราจะปรับในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้ใช้กระบวนการแบบ Chira Way เรามาดูความจริงตัวที่หนึ่งว่าพูดว่าทำไม เราต้องไปสู่สิ่งที่เรียกว่าทำไมต้องเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม สิ่งที่ได้มาเมื่อมารวมกับสิ่งที่นำเสนอมีความชัดมาก

โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและทำให้เกิดปัญหา พันธกิจขององค์กรไม่สามารถหยุดนิ่งได้

1. การเรียนการสอน ปัญหาคือ

- ทำไมนักศึกษาน้อยลง

- คุณภาพกับการปรับตัว

- หลักสูตรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

2. การบริการทางวิชาการ

- ไม่สามารถสร้างรายได้ที่พอเพียงได้

- การทำงานร่วมกับท้องถิ่นและชุมชนในการพัฒนาและยกคุณภาพชีวิต

3. การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์

ปัญหามาพร้อมกับ Solution เกิด Emerging Opportunity แนวทางแก้ปัญหามีทางเลือกหลายทางและเกิดจาก Why ?

ฐานคิดสำคัญคือ Why? How? และ What?

องค์กรต้องกำหนดเป้าหมายชัดเจน เช่น จะบินได้ จะไปดวงจันทร์  หรือ Why PKRU? ถ้าผู้นำไม่รู้จริงจะ ไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้ เวลาที่ต้องการผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และกล้าหาญ เราจะกล้าเพราะอะไร สำคัญอย่างหนึ่งคือผู้นำมีเรื่อง Trust  และต้องมี Motivation ในการอยากเคลื่อนไป มีเรื่ององค์กรที่กำหนดเป้าหมายชัดเจน มีเรื่องผู้นำ วิธีการและกระบวนการ  ต้องกระตุ้นและจูงใจบุคลากรแต่ละส่วน และต้องทำให้เขาเกิดความเข้าใจว่าเรามีเครื่องวัดกลิ่นและรสของอาหาร

How ? ทำอย่างไรที่จะหาเงินมาช่วยองค์กรได้ ต้องมีเงินที่ขับเคลื่อน มีความตั้งใจและมุ่งมั่น ต้องทำงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร  เราต้องพึ่งพาคนข้างนอกด้วย การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ

What? คือทำอะไร ที่องค์กรจะเดินไปในเป้าหมายแบบไหน เป็นเป้าหมายที่มาจากความจริงเช่น Short Course ทำอย่างไรให้กับตึกสวยงามมีคนเข้ามาใช้บริการเช่นภาพถ่ายหน้างานแต่ง

องค์กรนวัตกรรมจะไปอย่างนั้นได้อย่างไร

Experience คือชิมแล้ว แต่จะไปสู่ Expectation อย่างไร

เมื่อถึงยุคหนึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทำไม Hollywood อยู่ได้ ทำไมคนทำหนังอยู่ได้ เพราะเขากลับไปทำ Series

การนำของที่มีอยู่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากเริ่มจาก Why? แล้ว How? กับ What? ก็สำคัญและเราต้องทำอย่างต่อเนื่องต่อไป

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          การวิจารณ์หนังสือสนุกที่แต่ละกลุ่มเรียนกันเอง และมีอาจารย์จีระ และพี่จ้า  คนที่เก่งจริง ๆ บางครั้งไม่เรียนอย่าง Bill Gate หรือ Mark Zuckerberg 

          Bill Gate ได้ดีเพราะ Paul Allen ได้นำหนังสือ Magazine อันหนึ่งไปให้ Bill Gate อ่าน คนสำเร็จไม่ใช่อยู่ที่ IQ อย่างเดียวแต่อยู่ที่ การเอาความจริงมาพูดกัน

          ในวันนี้เทคนิคการนำเสนอดี แต่การไป Apply ต้องดูว่า Realistic อยู่ตรงไหน คำว่าใช่ใน มรภ.ต้องคิดอีกทีว่าแปลว่าอะไร เราเก่งอะไร เรามี Networkอะไร ที่สำคัญที่สุดคือ Leadership

          แรงบันดาลใจ ลึก ๆ ใน มรภ.แปลว่าอะไร ยกตัวอย่าง Bill Clinton อยากเป็นนักการเมืองเนื่องจากได้ไปจับมือกับ John F. Kenedy  หรือ John F. Kenedy อยากส่งคนไปดวงจันทร์เป็นต้น

          ในห้องนี้มีเทคนิคดีแล้ว แต่แรงบันดาลใจคือต้องเอาชนะ ปัญหาหลักของ มรภ.เหมือนกับที่มหาวิทยาลัยเจอคือ คนลดลง Brainในห้องนี้ต้องแก้ปัญหาได้ ต้องสร้าง Incentive กระตุ้นให้คนเป็นเลิศ และต้องยอมรับว่าบางครั้งลูกน้องเก่งกว่าเรา อย่าทำตัวเป็น Hierarchy เด็ดขาด  ถ้าเราจะเป็นเจ้านายเขา เราต้องให้โอกาสเขา อย่าจู้จี้จุกจิก บางครั้งการเป็นองค์กรที่เป็น Regulation อาจทำให้ความต้องการทำงานลดลง มนุษย์เราต้องการ Freedom

          เราต้องมี Role to play ซึ่งไม่จำเป็นเฉพาะที่นักศึกษา แต่ต้องมีผู้ใหญ่ที่กลับมาเรียนได้ด้วย เป็นต้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          การสื่อสาร มีองค์กรที่ดูเหมือนจะล้มเนื่องจากคนไม่ใช้แล้ว อย่างไปรษณีย์ไทยมีการปรับตัวเอาวิกฤติเป็นโอกาสคือการส่งของ เช่นเดียวกับ เราต้องมีการปรับตัว  เราต้องมี Role ที่จะเล่นที่จะไป

         

Workshop & Presentation

การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

      อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

1. วิเคราะห์สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาเพื่อให้ มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม 5 เรื่อง  พร้อมอธิบายแนวทางในการพัฒนา

2. โครงการของท่านเป็นนวัตกรรมอย่างไร และจะเป็นส่วนช่วยพัฒนา มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร

กลุ่มที่ 5

1. วิเคราะห์สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาเพื่อให้ มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม 5 เรื่อง  พร้อมอธิบายแนวทางในการพัฒนา

1. ศักยภาพบุคลากร ต้องจัดกลุ่มจัดความรู้

2. แนวทางการพัฒนา Creativity ต้องมีการคุยกัน ไม่ให้มี borderless

3. Infrastructure ที่ตอบสนองงานวิชาการและแรงบันดาลใจบุคคล

4. Mindset ต้องคิดร่วมกันเพื่อให้เดินไปสู่จุดเดียวกัน

5. พัฒนาเครือข่ายในและนอกประเทศ เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมกัน

2. โครงการของท่านเป็นนวัตกรรมอย่างไร และจะเป็นส่วนช่วยพัฒนา มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร

          โครงการ Paperless จะทำ New Service , New Management Method และทำเป็น Application รองรับ Social อีกครั้ง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มีพูดเรื่อง Innovation, Creativity, Entrepeurnership ต้องมีการสร้าง Network กับเถ้าแก่ ให้เด็กมีเวลา Link กับ Start up เราต้อง Turn Innovation ไปสู่ Success  

กลุ่มที่ 4

1. วิเคราะห์สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาเพื่อให้ มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม 5 เรื่อง  พร้อมอธิบายแนวทางในการพัฒนา

          1. นโยบายต้องทันกับโลกยุคปัจจุบัน

          2. การพัฒนาผู้นำ พัฒนาคน เสริมสร้างองค์ความรู้ เสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคคล

          3. การสร้างเครือข่ายกับบุคลากรภายในและภายนอก ทำ MOU ร่วมกัน

          4. แหล่งทุน มีทุนทางความรู้ ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ สามารถดึงทรัพยากรที่มีอยู่มากมาพัฒนา

          5. การสร้างแรงจูงใจการทำงานเป็นทีม สร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยเกิดความจงรักภักดีต่อสถาบัน อย่างผู้นำ ผู้ปฏิบัติทุกภาคส่วน

2. โครงการของท่านเป็นนวัตกรรมอย่างไร และจะเป็นส่วนช่วยพัฒนา มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร

          Re-Branding ใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาให้ทันกับยุคปัจจุบัน เบื้องต้นอาจเป็นผู้นำในส่วนของอันดามันต้องดึงส่วนต่าง ๆ เป็นจุดเด่นและจุดขาย และสุดท้ายต้องสื่อสารให้องค์กรรับรู้เพื่อเดินและก้าวให้เกิดนวัตกรรมตรงนี้ขึ้นมา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ขอชมเชย โดยเฉพาะข้อ 2 คือ แบรนด์อันดามัน ส่วนเรื่องคนนอกจากการไม่ Network ข้างนอกแล้วคือการทำงานเป็นทีม อย่างคนที่มาแทน Steve Job คือ ทิม คุก มีแนวคิดอย่างหนึ่งคือ Work Force Diversity  

          ฝาก Concept ในการทำร่วมคณะ อย่าทำเป็น Silo Base

กลุ่มที่ 3

1. วิเคราะห์สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาเพื่อให้ มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม 5 เรื่อง  พร้อมอธิบายแนวทางในการพัฒนา

1. บุคคล สร้างความเชื่อใจในการเห็นคุณค่าในการเดินไปด้วยกัน มีศูนย์วัฒนธรรมการท่องเที่ยว ทำให้เกิดความโดดเด่นในท้องถิ่นที่มีอยู่

2. เรื่องอาหารต้องมีการยกระดับขึ้นมา

3. มวยไทย มีนักมวยอาชีพมาเรียนด้วย น่าจะพัฒนาและส่งเสริม

4. ส่งเสริมเด็กทำงานได้เช่น Start up ส่งเสริมการมีงานทำและอยู่รอด

5. การเรียนไร้พรมแดน เช่นการเรียนข้ามทวีป

          วัฒนธรรม ภูเก็ตส่วนใหญ่แยกส่วนคือ แสดงคือแสดง เรียนรู้คือเรียนรู้ น่าจะนำทุกอย่างที่ศึกษาได้มารวมที่ภูเก็ต

          วิทยาศาสตร์การกีฬา เนื่องจากฝรั่งเขาจะมาศึกษามวยไทยด้วย อาจทำเป็นแพ็คเกจที่ดีพร้อมที่พักและอาหาร

          บุคลากรในมหาวิทยาลัยต้องสร้างให้เขาเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าว่าสามารถอยู่ได้ในหลายปีข้างหน้า  ณ ปัจจุบัน น่าจะอยู่ที่ไหนแล้วเรียนก็ได้ แล้วให้มี Certificate อยู่ประเทศไหนก็มาลงเรียนได้

2. โครงการของท่านเป็นนวัตกรรมอย่างไร และจะเป็นส่วนช่วยพัฒนา มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร

          โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต้องการให้คนมีความภาคภูมิใจและอยู่อย่างมีเกียรติ สามารถมองคุณค่าที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เป็นคุณค่าของทุนมนุษย์ด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ที่พูดมาทั้ง 3 กลุ่มเป็นเรื่องที่ตรงประเด็นและต้องรีบทำ เช่นเรื่องวัฒนธรรม กับการกีฬา แต่ยังมีกีฬาที่นอกเหนือจากมวยด้วย อย่างกีฬานานาชาติ อย่างเทนนิส หรือกอล์ฟ อาจคิดนำกอล์ฟมาจัดนอกเหนือจากพัทยา อย่าคิดว่ากีฬาอยู่แค่ในมือของฝรั่ง  เราอาจมีหลักสูตรให้เด็กได้เรียนรู้ด้วย

          เราควรใช้แผนเชิงรุกด้วย อย่างเรื่องวัฒนธรรมกับท่องเที่ยว อาจทำจดหมายถึง กระทรวงวัฒนธรรมด้วย เป็นต้น

กลุ่มที่ 2

1. วิเคราะห์สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาเพื่อให้ มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม 5 เรื่อง  พร้อมอธิบายแนวทางในการพัฒนา

          1. นำงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ มีผลต่อเนื่องเชิงวิจัย

          2. มีความพร้อมด้านสถานที่ โดยเป็นศูนย์จัดนิทรรศการ

          3. เป็นศูนย์วัฒนธรรมทางอันดามัน ต้องเป็นหนึ่งในศูนย์ข้อมูลให้ความรู้

          4. หลักสูตรระยะสั้น มีงานเทียบโอน บริหารจัดการให้กับคณะ และหน่วยงานที่จัด เช่น การศึกษาต่อเนื่อง  ต้องมีหน่วยงานที่มาดูแลให้กับองค์กรต่าง ๆที่ต้องการ

          5. ปรับหลักสูตรที่เป็นนวัตกรรมคือ ออกไปข้างนอก มีสถานประกอบการมีหน่วยงานที่ทำงานกับเขาได้ มีการเรียนรู้กับฝึกกับหน่วยงานข้างนอกให้มากขึ้น

มองจาก Stakeholder พบว่าเราได้งบประมาณตรงนี้ค่อนข้างมาก ต้องมองดูจาก Peer เพื่อสร้าง Connection และสร้างความร่วมมือในพื้นที่

2. โครงการของท่านเป็นนวัตกรรมอย่างไร และจะเป็นส่วนช่วยพัฒนา มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร

                    การบริหารสินทรัพย์ให้ใช้ประโยชน์ให้ศูนย์เป็นที่รู้จัก มีการสนับสนุนครบทุกรูปแบบทั้งแสง สี เสียง เทคโนโลยี เน้นการออกในเชิงว้าววว

          หลักสูตรสมัยใหม่อาจเข้าไปที่หน่วยงาน ต้องมีการทำหลักสูตรออนไลน์มากขึ้น ที่สำนักวิทยาการจัดการต้องสนับสนุน Platform มี Inspiration มีหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาวที่สามารถตอบสนองท้องถิ่น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อดีคือกลุ่มนี้มองอะไรที่เป็นจริงและตรงประเด็น คือการเน้นหลักสูตรระยะสั้น และ Exhibition Center ในอนาคตอาจจ้างมืออาชีพมาช่วยทำ

กลุ่มที่ 1

1. วิเคราะห์สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาเพื่อให้ มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม 5 เรื่อง  พร้อมอธิบายแนวทางในการพัฒนา

1. Human Capital เรื่องคนต้องเป็นหัวใจสำคัญ

2. Product ต้องเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย เช่น Smart Product for quality of life มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือชาวต่างชาติมาเรียนที่เราแบบเรียนด้วย เที่ยวด้วย หลักสูตรสามารถลงพื้นที่ในการศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม นักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย ชุมชน การท่องเที่ยวจังหวัดจะมีส่วนร่วม

         

3. Service ต้องเข้าไปดูแลทุกภาคส่วน

4. Process การจัดการเชิงนวัตกรรมทุกคณะจะเข้ามามีส่วนร่วม 

5. Digital Marketing

2. โครงการของท่านเป็นนวัตกรรมอย่างไร และจะเป็นส่วนช่วยพัฒนา มรภ.ภูเก็ตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร

เป็นนวัตกรรมเพราะในเชิง Product จะก้าวพ้นจากสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากจุดขายเชิงนวัตกรรม กระบวนการทั้งหมด เราจะสามารถ Improve กลุ่มเป้าหมายคนในประเทศให้มีจุดขายต่างจากเดิมได้

          เราต้องให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้ มาเที่ยว และชุมชนมีส่วนร่วมด้วย และเชื่อว่าสิ่งนี้ขายได้

ในอนาคตคาดว่าจะเป็น Thailand Beauty Award

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เห็นโอกาสแล้วต้องทำให้สำเร็จ และอาจมีการจัดแนวร่วมแบบ Joint Degree ขอชื่นชม และดีใจที่นวัตกรรมเป็น Realistic และ Relevance ด้วย

          หวังว่าเราจะข้ามอุปสรรคได้ การมาที่ มรภ.เพื่อมา Inspiration

          พลังมีอยู่ในตัวเราแล้วเราจะมาต่อยอดและกระเด้งไปสู่อีกจุดได้อย่างไร การกระเด้งได้เพราะฐานแน่น

          ทุกคนคือเจ้าของ มรภ. ต้องสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นวัตกรรมสามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ทางสังคมก็ได้ เศรษฐกิจก็ได้ นำของเก่ามาเล่าใหม่ได้

การพัฒนาคน การสร้างแรงบันดาลใจ สิ่งที่ทำถึงไม่เป็นนวัตกรรม แต่ทุกโครงการมี 3 V คือ 1. Value Added เพิ่มมูลค่า 2. Value Creation คิดเชิงสร้างสรรค์ และ3. Value Diversity คุณค่าจากความหลากหลายในการคิดร่วมกัน

สุดท้าย แนวทาง Motivation ตาม HRDS คือ Happiness, Respect, Dignity และ Sustainability  การไปดูงานต้องไปดูงานเพื่อมาต่อยอด และแต่ละโครงการต้องดูงานได้จริง เพื่อเป็นกำลังใจสำหรับคนทำงาน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ท้าทายท่านคือ จบแล้วจะทำอย่างไรให้เราเจอกัน เราต้องกล้าเสนองบประมาณบางอันในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เห็นอะไรที่เป็นนวัตกรรมแล้วเป็น Income และ Generate รากหญ้าด้วย เราต้องเสนอเรื่องเหล่านี้เข้า ครม. เพราะถ้าเสนอเข้าครม.แล้วงบประมาณจะง่าย  ศิลปะในการของบประมาณต้องมีประสบการณ์

ช่วงที่ 2 : วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2562

การพัฒนา การบริหารทุนมนุษย์ และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ดร.เกริกเกียรติ  ศรีเสริมโภค

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

ในมุมมองภาคธุรกิจให้ทุกท่านลองคิดดูว่าเราอยู่ในยุคไหน ยุคแสงสว่างเต็มที่ หรือ Sun Down

          ความจริงแล้วเป็นยุคที่มหาวิทยาลัยต้องปรับตัว  การยึดในธุรกิจแบบเดิม การสอนและจบ หรืออย่างไร

Google กล่าวว่าไม่สนใจใบปริญญา

คำถามคือ มหาวิทยาลัยคิดอย่างไร ในขณะที่เรากำลังผลิต High Degree

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. เราต้องปรับตัว

2. ในนามของมหาวิทยาลัย การรับคนที่มาสอนต้องรับเฉพาะปริญญาเอกเท่านั้น

3. เด็กจะมี Degree หรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวผู้ประกอบการ  มหาวิทยาลัยในอนาคตอาจมีทั้งแบบ Online และ Offline ทั้งมีDegree และไม่มี Degree

อาจารย์เกริกเกียรติ เสริมว่าในอนาคตเป็นเรื่องของทักษะในการทำงานจริง ๆ อาจมีการเรียน Short Course หลายอันแล้วเอาไปรวมเป็น Degree

          Demand Side ของตลาดเป็นอย่างไร สำคัญมาก ปัจจุบัน เราอยู่ที่ Supply Side เรามีวิธีคิดอย่างไรที่ทำให้มหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการใกล้ชิดเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่มีข้อจำกัด

เหตุผลที่ Google ตอบคือ

1. จบมาสูงจากสถาบันดี ๆ มี Ego มาก เราต้องการคนที่คิดบวกและทำงานกับคนอื่นได้มากที่สุด

2. เราต้องการคนที่มีประสบการณ์จริงมาทำ

          เราต้องการคนที่ปรับตัวเก่ง มหาวิทยาลัยควรบ่มเพาะด้าน Soft Skill ที่ดีหรือไม่

ถ้าอยากให้ลูกทำงานที่ซิลิคอนวัลเล่ย์ หรือนาซ่าจะทำอย่างไร

คำตอบ คือ ต้องส่งลูกไปที่อินเดีย เนื่องจาก มีฐานการ Recruit และฐานการวิจัยอยู่ที่นั่น

สิ่งที่น่าสนใจคือ

ระบบการศึกษาไม่สามารถอยู่ในประเทศแต่อย่างเดียว ต้องมองหาโอกาสในการไปข้างนอกด้วย ความยืดหยุ่นของมหาวิทยาลัยสำคัญมาก

มหาวิทยาลัย : Your choice you choose

          เราต้องการเป็นทางไหน  เราไม่เห็นผลกระทบมากนัก เราจะเป็นอัสดงแห่งรัตติกาล หรือรุ่งอรุณแห่งรัตติกาล  เราต้องมองในมุม มรภ. ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่คณะไหนอีกต่อไปแล้ว อาจต้องดึงเอกชนเข้ามาร่วมด้วย

          ถ้าเราต้องการให้เป็นรุ่งอรุณแห่งรัตติกาล ไม่เป็นอัสดงแห่งรัตติกาลจะทำอย่างไร

          - เราสามารถขายคอร์สที่เป็น Exclusive   

          - เราสามารถจับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

          - การสร้างแบรนด์ดี ๆ จะได้ผลตอบแทนมหาศาล

ถึงเวลาหรือไม่ที่ต้องใช้ University Transformation (วิเคราะห์ Why? What? How?)

สัญญาณที่ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นรุ่งอรุณแห่งรัตติกาล

1. นักศึกษาได้งานมากขึ้น

2. มหาวิทยาลัยทำงานในเชิงรุก และทำการตลาดที่มี Network มากขึ้น

3. การกระตุ้นให้ทุกคนมีมุมมองมากขึ้น (Growth Mindset)

ทำไมต้องเปลี่ยนแบบ Transformation

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ต้องเปลี่ยนเพราะความอยู่รอด ถ้าทำแบบเดิม เราไปไม่รอด เราต้องเปลี่ยนเพราะโลกเปลี่ยน

2. ยกตัวอย่าง ม.เซนต์จอห์น ที่ทำแบบการมีธุรกิจอื่นมาทำด้วยเป็นไปได้หรือไม่

          - อยู่ที่เราพร้อมที่จะสร้าง Business Model ใหม่ ๆ หรือไม่

          การมองในเชิงธุรกิจ มรภ.มีศักยภาพ เพียงแค่วันนี้จะทำอะไร จะสร้างสินทรัพย์อย่างไรเพื่อให้เกิดผลทางการศึกษาและธุรกิจในเชิง Image ด้วย

3. เราต้องเปลี่ยนแต่ต้องรักษา Concept เดิมไว้ อาจเปลี่ยนวิธีขายใหม่แบบ Up2You คือแล้วแต่ผู้เรียน เราตั้งเป็น Choice แล้วให้ผู้เรียนเลือกเอง เป็นต้น  ถ้าจำนวนถึงก็เปิด จำนวนไม่ถึงก็แจ้งผู้เรียน คิดว่าเป็นอีก 1 ทางเลือกที่น่าสนใจ อาจมีการเปิด Online เป็น 2-3 ภาษาเป็นต้น ขอเสนอเป็นอีกหนึ่งไอเดียในการทำนวัตกรรมทางการศึกษา

          - มรภ.จุดขายที่เด่น ๆ มีอะไรบ้าง

4. สิ่งที่มองคือ เราตั้งหลักด้วย Supply Side เช่นมีสินค้า 10 ตัว แต่ถ้าคนไม่ต้องการ และสอดรับกับตลาดหรือไม่  ถ้าคิดว่าต้องเปลี่ยนคนในองค์กรต้องคิดใหม่

5. ปัจจุบันโลกเปลี่ยน ทุกวิชาต้องสอดคล้องกับดิจิทัลในปัจจุบัน ทุกสาขาวิชาต้องมองจากข้างนอกด้วย ทุกวิชาต้องมีการบูรณาการสิ่งนี้เข้าไป ส่วนการบริการด้านศักยภาพ บุคลากรด้านไอทีมีใครกล้าใช้ pkru.ac.th และใครสามารถใช้ Google Classroom มีการใช้ Online Presentation หรือ Cloud กี่คนที่กล้าใช้  การออกไปข้างนอกมี Online มาก  เห็นด้วยที่ต้องมีอาหาร Fusion และต้อง Fusion ทุกวิชาด้วย

6. สนับสนุนแนวคิดของอ.ปวารณา และอ.พิธา คือ แต่ก่อน มรภ.มาจากการสอน เทคนิคการสอนต้องนำเทคโนโลยีเข้ามารวมถึงรายวิชาต่าง ๆ ที่ต้องเอาเทคโนโลยีมาช่วย แต่ถ้าต้องการให้โดดเด่น สิ่งที่เรามีอยู่ สิ่งที่เราเริ่มต้น ถ้าลืมรากเหง้า เราก็จบ สิ่งเก่าน่าจะเก็บเอาไว้ สิ่งดีน่าจะทำ เราไม่ได้อยากเปลี่ยน แต่โลกทำให้เราต้องเปลี่ยน ใครเปลี่ยนไม่ทันก็ตายอย่างเดียว มหาวิทยาลัยรัฐอาจไม่เห็นชัด แต่ถ้าเป็นเอกชน เราอาจต้องออกแล้ว เป็นโจทย์ใหญ่ให้ผู้บริหารที่ทำ

7. เราพูดถึงนวัตกรรม และศรัทธากับนวัตกรรมที่เป็นชิ้นงาน เราอยู่ในยุคที่เปลี่ยนแปลง และต้องกลับมาดูตัวเองได้แล้ว ด้วยการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด และอาจต้องถูกออกนอกระบบ เห็นด้วยกับการรับความเป็นดั้งเดิม ขายวัฒนธรรม และปลุกการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบ สกอ. ถ้าทำเองไม่ได้ทำไมไม่หา Partner เช่นเป็นเมืองท่องเที่ยวน่าจะประกาศขายได้ เด็กจบออกไปมีงานทำ ผู้ประกอบการชอบ ก็จะมีความสุข หรืออย่างเช่น สวิสเซอร์แลนด์มีโรงแรมดีมาก น่าจะเชิญอาจารย์มาสอน หรือ ทำ MOU 2 ปริญญา ร่วมดีกรี  หรือเราไม่สามารถทำเองได้ด้วยตัวเองก็เชิญคนอื่นเข้ามา  น่าจะใช้วิธีที่รวดเร็วที่สุด

8. เห็นด้วยว่า Disruption และต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เห็นด้วยว่าภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว และต้องไปร่วมกับที่อื่น  คณะครุศาสตร์หาเงินได้จากการจัดค่าย จัดแคมป์ หรือ Tutor หรือทำ E-learning

9. เราแยกธุรกิจคือโรงแรมก็ทำไป ส่วนคณะไหนยังปรับตัวไม่ได้ก็พยายามคิดต่อ และนำคณะอื่นมาเลี้ยงสาขาที่ยังไม่ได้ หรือใครทำ E-learning ก็ทำไปแล้วมาแตกไลน์

          อาจารย์เกริกเกียรติ เสริมว่า การทำธุรกิจต้องทำ Moc Up ก่อน ในมหาวิทยาลัย เราอาจไม่จำเป็นต้องมีทุกคณะ อาจเป็นคณะเดียวก็ทำได้แต่ทำให้ดังที่สุดระดับประเทศที่ใครก็ตามจะต้องมาเรียน

          จุดที่เป็นความโดดเด่นมาก ใครจะเป็น Chef อาหารไทยในอเมริกา อาจต้องมาเรียนที่นี่แล้วเราออกให้

          เราต้องมาช่วยคิด ถ้าคิดแบบรอมชอม ต้องมา Re-skill ใหม่ ถ้าคิดในเชิงธุรกิจอาจต้องมาดูว่าบางคณะต้องยุบ เพราะหลายสาขาเปิดอยู่ไม่ได้ แต่ต้องปรับเปลี่ยนการ Transform ไปอยู่ในรูปแบบอื่นได้หรือไม่

          ตอนนี้ไม่ใช่คณะใครอีกต่อไป เราต้องคิดในนามของ มรภ. ต้องเป็นจุดเริ่มต้นที่เราต้องมานั่งคุยกัน

          ในมุมมอง Demand Side ทุกมหาวิทยาลัยไม่ค่อยตอบโจทย์

          ธุรกิจต้องคิดแบบ Faster-Cheaper-Better  ลูกค้าเสนอมา เราต้องสามารถแก้ปัญหาไห้ได้เลย ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นคือถ้าอยู่ฝั่ง Demand Side จะทำอะไร 

7 Innovation trends

          ฝากคิดว่าเราจะไปเส้นไหนดี

          ยกตัวอย่าง Case Study บริษัทเครื่องสำอางร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ แม่ฟ้าหลวง และเมื่อไม่นานนี้ได้ทำร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ที่ มอ.

          ภาคใต้มีอะไรที่เป็นจุดเด่น คำตอบคือยางพารา อย่างคุณทำเครื่องสำอางค์และเวชสำอางค์แปลงจากยางพาราได้ เอาสารสกัดในนั้นมาทำ ตัวหนึ่งที่ มอ.ทำอยู่คือ Sun Block เพราะหน้าผิวของยางพารามีการสะท้อน หลังจากนั้นก็ Co-Creation กับบริษัททำเครื่องสำอางเรื่องนี้

          มีการกระจายร้านค้าที่ไป Show Case หลายที่

          เราต้องดูว่าจะทำ Innovation แบบไหน ไม่จำเป็นต้อง 7 Innovation เช่นการทำการท่องเที่ยว ทุกคณะที่เป็นตัว Drive ทำได้หมด อาจทำเป็นแบบ Business  Model

          - จะให้ OTA เท่าไหร่ มีเจ้าหน้าที่เท่าไหร่ ดูจำนวน Fusion

          โรงแรม มรภ. ที่มีความแตกต่างจากหาดป่าตองต้องทำให้แตกต่าง เช่นไม่ติดกับหาด อาจจับอีกกลุ่มเช่น Learning Resort คณะครุศาสตร์อาจทำร่วมคือ Camping Resort  ต้องรวมกันทำไม่แยกกันทำ ไม่อยู่กับคณะใดคณะหนึ่ง แต่ต้องสร้างให้เกิด BSU

          - ในมุมมองการเปลี่ยนแปลงมีหลายมิติที่มหาวิทยาลัยต้องเจอ องค์กรธุรกิจเจอหมด  มีผลกระทบต่อองค์กรหมด ทุกองค์กรต้องเปลี่ยน สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อ Life Style ของคนรุ่นใหม่ เพราะเขาไม่อยากเรียนที่ยาวนาน อยากเรียนแล้วทำงานได้เลย และมาเก็บวิชาที่เหลือ แล้วค่อยมาเอา Degree ทีหลัง

          ต้องมาหาวิชาที่เป็นวิชาชีพมากขึ้น ไม่ใช่เรียนไวยกรณ์แบบเดิมแล้ว ซึ่งจะส่งผลต่อสิ่งอื่นตามมา

Social Media

          สิ่งที่พบคือ Trend ที่อยู่ในมือถือมาแรงมากขึ้น  ประชากร 7,000 ล้านคนทั่วโลก สิ่งที่พบคือมีมือถือมากกว่าห้องน้ำ  โทรศัพท์มือถือหายมากกว่ากระเป๋าเงินหาย

10 อาชีพที่อยู่ในยุค Gig Economy

          1. Deep Learning /Artificial Intelligence

          2. Blockchain Architecture

          3. Robotics

          4. Ethical Hacking

          5. Cryptocurrency

          6. Amazon Web Services, Lambda Coding

          7. Virtual Reality

          8. React JS Developers

          9. Final Cut Pro Editor

          10.Instagram Marketing

          คำถามคือหลักสูตรสามารถ Support 10 อาชีพในยุค Gig ได้หรือไม่  หลักสูตรต้อง Revise ทุก 6 เดือน มาปุ๊บต้องสามารถได้เงินทันที หรือแม้หลักสูตรด้านการโรงแรม สามารถ Short Course ที่เป็น Diploma สามารถทำได้เลย แนะนำสาขาหนึ่งที่เปิดและมีคนไปทำงานได้เลยเช่น Hotel Engineering ซึ่งเมื่อมีปัญหาเขาจะใช้คนข้างนอกยังหาคนในที่ทำไม่ได้ ถ้ามรภ.มีจะช่วยให้เด็กมีงานทำ เป็นระบบที่ลูกค้ามี Feedback ทันที ที่ไม่เหมือนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะถ้าลูกค้าต่อว่าจะมีผลต่อการบริการที่ดี อาจทำเป็นหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี แล้วไปทำงานในโรงแรมภูเก็ตได้เลย  หรือ Hospitality เป็นต้น การทำหลักสูตรที่เฉพาะจะเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา

The Fourth Industrial Revolution (Skills for the Digital Age) in 2020

1. Complex Problem Solving

2. Critical Thinking

3. Creativity

4. People Management

5. Coordinating with Others

6. Emotional Intelligence

7. Judgment and Decision Making

8. Service Orientation

9. Negotiation

10. Cognitive Flexibility

ตัวอย่าง World Economic Forum ต้องการ ทักษะแบบไหน สิ่งนี้เป็นจุดสำคัญที่มหาวิทยาลัยต้องสร้างเด็กให้แก้ปัญหาได้ (Problem Solving)

          สิ่งสำคัญในการ Transform มหาวิทยาลัยคือคน ตัวที่ Transform ยากที่สุดคือ Mindset เพราะทุกคนคุ้นเคยกับสิ่งที่ทำมา

          โลกยุคใหม่วัดด้วยมูลค่าหรือคุณค่าที่แตกต่างกัน คือสิ่งที่จับต้องได้ และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ สิ่งที่พบคือในโลกยุคใหม่เน้นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร Knowhow

          คำถาม คือ มรภ. มีอะไรบ้างที่เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ โลกค่อย ๆ เปลี่ยนและเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ถ้าเราดูทิศทางและแนวโน้มในยุคที่ดิจิทัลมีการ Disruption มหาศาล หลายตัวใช้ AI มีการยุบหน่วยงานด้านการ Recruit คน  เช่น ถ้าต้องการเข้าบริษัท Loreal ต้อง Download Application และ Key Requirement แล้วถามคำถาม 20 คำถาม และเมื่อผ่านการถามคำถามแล้วจะติดต่อภายใน 7 วัน

          สิ่งที่กำลังคุยให้เห็นภาพคือเราต้องเดินอย่างไรในยุคศตวรรษที่ 21 หลักสูตรอาจต้อง Review ทุก 6 เดือนหรือ 3 เดือน

          สิ่งที่เป็น Innovation เป็นเรื่องใหญ่ของมหาวิทยาลัย หลายบริษัทเปิดบริษัทร่วมทุนได้ บริษัทมีหน้าที่ในการทำ Marketing ให้และมีการแบ่งเปอร์เซ็นต์

Traditional University กับ Smart University

          1.  Degree หรือ Short Course

          2. Silo หรือ Collaboration

          3. Text book base learning หรือ Project and Problem Base learning

          4. Business Development หรือ Innovation

          5. Rigid หรือ Flexible

          6. Supply side หรือ Demand side

          7. Low Technology Drive หรือ Smart Technology Drive

Smart University Model

          ต้องเน้น Innovation ต่อยอดหรือคิดอะไรใหม่ ๆ

          ทำไมหลักสูตร MBA ดังมาก เพราะเป็นหลักสูตรที่ Base on Practical เป็นหลัก เราจะดู Case และวิธีแก้ไขอย่างไร หรือหลักสูตรการสอนผู้ประกอบการ

          รูปแบบของมหาวิทยาลัยต้องไม่ใช่การสอนแต่เป็น Learning  วิธีการของยุคใหม่ไม่ใช่ การสอนเยอะ แต่ต้องสร้างคุณค่าเยอะ

          ต้องไม่เน้น Service แต่เป็นหุ้นส่วนที่ต้องทำงานร่วมกัน เพราะยุคนี้เป็นยุคที่ต้องทำให้ทุกคน Win-Win ดังนั้นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ต้องเป็น Innovator มี Marketing Agency ดูแล

          ต้องเป็น Learning Facilitator และ Strategic Partner

          ประเด็นคือทำได้เร็วกว่าคนอื่นหรือไม่ สิ่งสำคัญอยู่ที่คน

          คนมีศักยภาพแต่มีความคิดแบบ Fixed Mindset ไม่ใช่ Growth Mindset คือเชื่อแบบใดทำแบบนั้น ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยช่วง Disruptive อยู่ที่คน ต้องพูดว่าทำได้ กับทำได้...แต่

คน องค์กรและมูลค่าเพิ่มต้องไปด้วยกัน

          คนต้องดูทัศนคติ วัดได้จากการทำ Case Study  เช่น เจอลูกค้า แล้ว ลูกค้าขว้างของใส่หน้า แต่เป็นลูกค้าที่อยากซื้ออีกจะทำอย่างไร

          โดยหลักจิตวิทยาทั่วไป มีวิธีการทำเพื่อดูการวัดทัศนคติ หรือมีการทดสอบบางอย่าง เช่นการทำตามอย่างคนอื่น

ทักษะสำหรับคนที่อยากเห็นตอนเป็น Smart University

Attributes

1. Mindset

2. Positive Thinking

3. Flexible

Skills

1. Digital Skills

2. Coding Skills

3. Communication Skills

4. Entrepreneurial Skills

          มรภ.ต้องคิดว่าจะทำอะไรที่จบแล้วทำงานได้ หรือเป็น Entrepreneur ได้ อาจเป็นหลักสูตรระยะสั้นที่เอาไปใช้ในวิชาชีพได้ อาจตอบโจทย์ผู้ประกอบการมากขึ้น  

          ยกตัวอย่าง

กรณีศึกษา การทำแคมป์ IT Entrepreneur Camp ให้เด็กไปเรียนรู้กับ Chief Engineer ที่บังกะลอร์ และสุดท้ายนำมาเสนองานที่ไทย  และดูว่าเด็กคนไหนมีศักยภาพ อาจให้งานหลังจากจบแคมป์แล้ว เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก 

          เราต้องการรุ่งอรุณแห่งรัตติการมากกว่าอัสดงแห่งรัตติกาล เราต้องนั่งคุยกัน อยากให้ทุก Class ที่มาร่วมฟังไม่หายไปกับสายลม อยากให้เกิด Project ที่สร้าง Idea ที่เกิด Value ให้กับมหาวิทยาลัยให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ มากขึ้น เพื่อให้เห็นภาพบางส่วน

          กรณีศึกษา การทำเครื่องสำอางสำหรับเด็ก Cosmetic for kidบริษัทหนึ่ง ต้องเริ่มคิดโครงการ Develop for kid มีการวิเคราะห์ว่ามีกลุ่มเป้าหมายแบบไหน  มีการวิเคราะห์ตลาดของเด็ก วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์  แต่ส่วนใหญ่ตลาดของเด็กไม่ค่อยมีคนเล่น มีการวิเคราะห์ Growth และ Budget มีการวิเคราะห์พฤติกรรมเด็ก และคุณแม่ มีการทดลองทำผลิตภัณฑ์ใหม่

          สิ่งนี้คือตัวอย่างการพัฒนาคนเพื่อสร้างธุรกิจขึ้นมา

          ในส่วนของมหาวิทยาลัยอาจทำเป็น Project Base Learning ทุกท่านต้องช่วยกันคิด วิเคราะห์รายได้ และโครงการเพื่อตอบโจทย์มหาวิทยาลัย

          รูปแบบอาจได้จากการหา Project ร่วมกัน  แต่ละคณะมีจุดเด่นอยู่แล้ว แต่ต้องหา Project ที่โดดเด่นที่ไม่มีใครทำให้ได้ เพื่อก้าวข้าม Down of the night สู่ Dawn of the night  ทุกคนต้องช่วยกัน

คำถามทิ้งท้าย

1. ความท้าทายและอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่มหาวิทยาลัย 4.0 (การไม่คิดสู่ข้างหน้า)

คำตอบคน  ระบบนโยบาย เงิน  Comfort Zone

อาจารย์เกริกเกียรติ เสริมว่า ต้องมีความกล้าที่จะเปลี่ยน ถ้าเรามีความเชื่อว่าทำได้ จะถือว่าสำเร็จไปแล้ว ½ ที่เหลือคือลงมือทำ ถ้างบประมาณมีจำกัดอาจหา Partner ที่มีเงิน หรือ Skillก็หา Partner ที่มี Skill

2. เรามีแนวคิดพัฒนาคนอย่างไรไปสู่ Smart University

คำตอบ อบรม ให้เขามีส่วนร่วม บังคับ มีรางวัล มีลงโทษ สร้างแรงบันดาลใจให้คนอยากทำ หลายองค์กรบางที่มีการ Force ให้อยู่  และเราต้องปรับตัว และสำคัญคือรายได้เป็นเรื่องใหญ่ จะสร้างรายได้อย่างไร อาจไม่ใช่การเปิดคอร์สจำนวนมากแต่อาจเปลี่ยนแปลงวิธีการ

สรุปถ้าจะประสบความสำเร็จคิดแบบเด็ก (นอกกรอบ) ทำแบบวัยรุ่น (เร็วไว) พูดและตัดสินใจแบบผู้ใหญ่ (น่าเชื่อถือ)

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. มรภ.ควรเริ่มอะไรก่อน

          ตอบ ภูเก็ตมีความเชี่ยวชาญเรื่อง Hospitality ถ้าทำที่ครอบคลุมอันดามัน ได้จะดีมาก มรภ.จะทำอย่างไรให้เป็น Gate way ที่เหมาะสมกับ Hospitality ต้องทำ Short Course และเปิดโอกาสให้ทั่วโลกมาเรียน

          มรภ.มีทรัพยากรแวดล้อมดีอยู่แล้วทำไมไม่ทำให้เป็นจุดเด่นดีขึ้นมา

2. การพัฒนาคนของ มรภ.ไปสู่จุดหมายได้อย่างไร

          ตอบ    1. ต้อง Force ให้เห็นว่าปี 63,64 ต้องออกนอกระบบ จะทำอย่างไร  จุดเริ่มต้นคือทำอย่างไรให้คนมองเห็นภาพเดียวกัน มี Mindset เป็นบวกมากขึ้นไม่แบ่งคณะ เป็นเรื่องที่ควรคุย

          การเป็นวิทยาลัยนานาชาติต้องมีคณะต่าง ๆ มารวมในแห่งเดียว ไม่ใช่ฝากไว้ที่คณะอื่นแบบ English Program ส่วนภาคภาษาไทยจำเป็นต้องมีหรือไม่ อาจมีการสอนแบบ Bilingual และอาจารย์ต้องพัฒนาเรื่องภาษาด้วย เชื่อว่าหลายคนมีศักยภาพที่ไปตรงนั้น 

          Hospitality มีการพยายาม Deal ในหลายคณะ  จึงดึงหลายคณะมาร่วมได้อย่างไร

2. ต้อง Re-Organize เพื่อดึงหลายคณะมาร่วมกัน  ปรับ ลด ย่อ ให้เป็น Smart อย่างมหาวิทยาลัยทำแบบ Coding Skill ในการนำเสนองาน เป็น Digital Language ที่ต้องมี

3. ถ้าหาตัวตนเจอว่าจะขายอะไรและมี Product รอง เชื่อว่าอินเดียมีเสน่ห์ที่ไม่เปลี่ยน เช่นเดียวกัน มรภ.มีเสน่ห์ที่คณะครุศาสตร์ที่ผลิตครู มีกลุ่มลูกค้าที่เหนียวแน่นที่ยังเป็นมนต์เสน่ห์ของ มรภ. จะคงไว้ได้อย่างไร

          ตอบตัวที่เป็นเสน่ห์ของเราก็คงไว้ และเพิ่มตัวใหม่เช่น หลักสูตรระยะสั้น หรือ แคมป์นานาชาติ หรือ Edutainment Camp จับมือกับ Eco มีการแบ่งส่วนไหนการทำงาน ทำ MOU เช่นตลาดมี Study Tour ทำได้หรือไม่ สามารถ Mix and Mathได้หมด เป็นศาสตร์ของการใช้รวมทั้งหมด ไม่ใช่แยก

          สิ่งที่ต้องทำเพิ่มในมุมที่ Challenge ใหม่ ๆ คือ Short Course กับ Medium Course ที่สามารถทำรายได้มหาศาล และมหาวิทยาลัยวันนี้ต้องมี Marketing ที่ดี

          ความพร้อมของมหาวิทยาลัยต้องตอบโจทย์ลูกค้า เพราะเชื่อว่า มรภ.มีศักยภาพที่ดี

         

Workshop & Coaching

หัวข้อ การพัฒนา การบริหารทุนมนุษย์ และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Inspiration

คือทำอะไรก็แล้วแต่ที่คนยินดีมีความสุข ทำอะไรสำเร็จ อยากให้ทุกท่านลองอ่านทั้งเล่มของ Why อีกครั้ง แล้วต้องมา Apply กับวัฒนธรรมองค์กรให้ได้ สิ่งที่ได้จาก ดร.จีระคือ 2R’s แล้วถ้าเรารู้ทุกเรื่อง เราไม่มีวันสำเร็จ ต้องกลับไปเอาทฤษฎีของหนังสือเล่มนี้มาสอน ถึงจะประสบความสำเร็จ เพราะศักยภาพของ มรภ.มหาศาล

Inspiration อันหนึ่งคือ องค์กรที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง

John Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change พูดถึง กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน โดยถือเป็นภาระของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์การให้เปลี่ยนแปลง ดังนี้

  1. 1. สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency)
  2. 2. การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่​​การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)
  3. 3. สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)
  4. 4. การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)

เราต้องฝึกการสื่อสาร Crucial conversation ต้องฝึกการ Communicate

         5. การให้อำนาจ และทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)

           ต้องมีการศึกษาให้ดีระหว่างคนที่มอบและรับมอบ คือต้องมอบอำนาจกับคนที่ทำสำเร็จได้

           6. การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins) เราต้องคำนึงถึงจังหวะเวลาที่ต้องฉกฉวย เพราะโอกาสไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่ารอ

           7. ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Empowerments and Producing Still More Change)

           8. ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)

           ข้อ 7,8 คือการจัดระบบใหม่ 

กฎเกณฑ์ 7 Change

1. Complexity  อย่าซับซ้อนมากเกินไป

2. Clarity  ต้องมีความชัดเจน โปร่งใส

3. Confidence ต้องมีความมั่นใจในการเอาชนะอุปสรรค

4. Creativity

5. Commitment

6. Consolidation

7. Change

Principle 5 ข้อของ Leaders กับ Change

  1. 1. แต่ละคนมีความรู้สึกเรื่อง Change แตกต่างกัน

2. ต้องศึกษาความต้องการของแต่ละคนเกี่ยวกับ Change

3. Change กับ Loss ไปด้วยกัน ศึกษาให้ดีว่าจะต้องจัดการกับ loss อย่างไร

อย่าศึกษาแต่ Benefit อย่างเดียวต้องศึกษาต้นทุนด้วย

4. การคาดหวัง Expectation ต้องบริหารให้ดี

5. ต้องบริหาร Fear หรือความกลัวให้ได้

อย่าใช้ Fear เป็นแรงกดดันให้เปลี่ยน แต่ใช้ Inspiration ในการทำให้เปลี่ยน

ข้อดีคือพยายาม Anticipate Change หรือ Future

กฎ 9 ข้อ Chira - Change Theory

1. Confidence มั่นใจ

2. Understanding Future มีความเข้าใจอนาคต

3. Learning Culture มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้  คือการอยากรู้อยากเห็น ต้องหาความรู้ตลอดเวลา

4. Creativity มีความคิดสร้างสรรค์

5. Networking มีเครือข่าย        

6. Win step by step ชนะเล็กๆ

7. Keep doing and continuous improving ทำต่อเนื่อง 3 ต.      

8. Share benefits ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม

9. Teamwork in diversity สร้างทีมเวิร์คที่มีความหลากหลาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

           ชนะเล็ก ๆ ต้องมีเป้าหมาย แต่มีบันได มี Step สูงสุดแล้วเราค่อย ๆ ไป ทฤษฎีต้องมีการแบ่งปันกัน เหมาะสม และเฉลี่ยกัน

           บางครั้งเจอชุมชน ชุมชนรู้สึกว่าอาจารย์มาเอาความรู้ไป แล้วไม่ค่อยได้อะไรกลับมา ดังนั้นทุกอย่างจะมีลำดับตามขั้นตอนเพื่อไปสู่ความสำเร็จ

           ส่วนที่ชอบคือ Rhythm & Speed สังเกตได้ว่าเวลาดูสารคดี สัตว์แต่ละตัวมี Speed ไม่เท่ากัน สิ่งมีชีวิตมีไม่เท่ากัน ถ้า Speed จับได้จะดี แต่ถ้า Speed ไม่ได้ พลังจะหมด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

           ถ้า Change มี Win-Lost จะยุ่ง ต้องมี Win-Win การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยเราต้องให้ทุกคน win-win ต้องไม่ให้มีความเหลื่อมล้ำระหว่าง Management กับคนธรรมดา

Workshop

1. วิเคราะห์ภาพใหญ่ของมหาวิทยาลัย 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ทำไมต้องเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างไร และจะทำอะไร

2. วิเคราะห์ตัวอย่างของคณะ/หน่วยงาน 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

3. งานโครงการของท่านตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาหรือไม่อย่างไร (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

กลุ่มที่ 4 : โครงการ Re-Branding

1. วิเคราะห์ภาพใหญ่ของมหาวิทยาลัย 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ทำไมต้องเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างไร และจะทำอะไร

           คน ต้องเริ่มจากว่าทำไมที่ต้องเปลี่ยนเพราะคนสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กร คนต้องเชื่อว่าจะไปได้ มี Power โดยการปรับทัศนคติ ปรับวิธีคิด สร้าง Inspiration ในองค์กร

           เปลี่ยนอย่างไร คือการสร้างความภักดีในแบรนด์ที่ต้องมีสัญญะบางอย่างซึ่งอาจเกิดจากผู้นำที่เป็น Role Model เป็นต้นแบบที่ดี มีการสื่อสารที่เข้าใจตรงกัน ต้องตั้งใจที่จะฟังและทำด้วยกัน ผู้ปฏิบัติเองก็ต้อง Say Yes ยอมรับ ปฏิบัติ พร้อมแชร์สิ่งที่ดีไปด้วยกัน

2. วิเคราะห์ตัวอย่างของคณะ/หน่วยงาน 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           ทำไมเราต้องเปลี่ยนคน การทำผลงานวิชาการต้องขับเคลื่อนจากสาขา ทำผลงานวิชาการไปเรียนต่อ และคณะก็เชื่อในมหาวิทยาลัยและพร้อมขับเคลื่อนตามแนวของมหาวิทยาลัย

3. งานโครงการของท่านตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาหรือไม่อย่างไร (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           ตอนนี้ทิศทางค่อนข้างชัดเจน สิ่งที่จะ Re-branding มีโอกาสสูงมาก ทำไมต้องเปลี่ยนเพราะมีต้นทุนมากพอของความเป็นภูเก็ต เป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏอันดามัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

           เราเริ่มจาก Why ? How? What? แต่ How? ของ มรภ.ไปติดอุปสรรคบางคน ในเรื่องของคนถ้าจะเริ่มจาก Why? ก่อนคือ Inspiration เช่น อธิการกับบอร์ดสร้างแรงบันดาลใจให้เกิด Passion เพราะใส่ How to do จะไม่สำเร็จ ให้เรียงให้ดีว่า Why ? เป็นตัว Critical เช่น Apple : How to build I-phone ? หรือ Why people  buy I-Phone?

           การมี Trust ต้องดึงกลับมา ต้องดึงความสำเร็จกลับมา เรื่องคนถ้าไม่คิดเรื่อง Why ไม่ได้

กลุ่มที่ 2 : Center of Collaboration

1. วิเคราะห์ภาพใหญ่ของมหาวิทยาลัย 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ทำไมต้องเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างไร และจะทำอะไร

           Center of Collaboration เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการร่วมมือ จะทำอย่างไรต้องปรับปรุงระเบียบให้สอดคล้องกับการแสวงหารายได้ของมหาวิทยาลัยเพื่อสอดคล้องกับ trend มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการ  การสร้าง Connection และทำอะไร คือการให้ความร่วมมือในทุกเรื่อง และต้องทำอย่างต่อเนื่อง มี Confidence และมีการจัด Inspiration

2. วิเคราะห์ตัวอย่างของคณะ/หน่วยงาน 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           เราไม่ได้มุ่งแค่น้องให้ความรู้ แต่ต้องการแค่ความรู้งู ๆ ปลา ๆ สนองความเป็นมืออาชีพ มีผู้เชี่ยวชาญสังกัดคณะต่าง ๆ มาร่วมมือกัน ทำอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของเขาอย่างแท้จริง ต้องวิจัยหรือศึกษาให้ได้ข้อมูลความรู้แน่ ๆ รวมถึงการมีเครือข่าย เราร่วมกับเขา หรือเขาร่วมกับเรา เอาบริการวิชาการเป็นตัวอย่าง

           ชุมชนเป็น Professional and Academic Process สิ่งที่ได้จะได้โครงการที่ออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน

3. งานโครงการของท่านตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาหรือไม่อย่างไร (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           ใช้ความรู้ในการมองภาพใหญ่ สู่ภาพเล็ก คือเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทุกเรื่อง 2) มีอยู่แล้ว 3) โครงการ AEC คือ Andaman Exbition Center เป็นศูนย์จัดนิทรรศการ หารายได้ และที่ฝึกงานของลูกศิษย์

           Why การจัดตั้งศูนย์อันดามัน เริ่มจากชนะเล็ก ๆ  และเก็บรวมรวมความต้องการ สำรวจ ใช้ IT ช่วย ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และใช้ทรัพยากร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

           เสริมว่าต้องเน้น Why? ให้มากคือมีแรงบันดาลใจอย่างไร ต้องถามว่าผู้นำจะสนับสนุนหรือไม่ มีแรงจูงใจ คนมีส่วนร่วม และมีความสุขหรือไม่ ให้ใส่ไปด้วย ทุกกลุ่มต้องไปเชื่อมกับหนังสือ

กลุ่มที่ 3 : Adventure dawn of a new day

1. วิเคราะห์ภาพใหญ่ของมหาวิทยาลัย 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ทำไมต้องเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างไร และจะทำอะไร

           ถ้าองค์กรเข้าใจได้และร่วมมือได้จะเป็นไปได้ ต่อให้ทฤษฎีไหนก็แล้วแต่ ถ้าไม่ให้ความสำคัญกับคน จะไปไม่ได้  How คือสร้างความเข้าใจ สร้างแนวคิดให้เข้าใจทำงานร่วมกัน What คือผลสัมฤทธิ์ในงาน ถ้าคนร่วมกันจะสำเร็จได้แน่ ถ้าทุกคนมีความรัก ความสามัคคี ใครก็ทำได้ เพราะทุกคนมีคุณภาพ

2. วิเคราะห์ตัวอย่างของคณะ/หน่วยงาน 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           การเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรไม่เลือกหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ทั้งองค์กรเป็นฟันเฟืองที่ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ต้องเข้าใจ พัฒนาและสร้างเสริมเพื่อทำงานให้ต่อเนื่อง และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบุคลากร จะทำอย่างไร สร้างวัฒนธรรมเรียนรู้ และสนับสนุนให้เกิดความสุขในองค์กร ต้องสร้างความเชื่อมั่น และมั่นใจให้บุคลากรเห็นร่วมกันว่าจะไปทางใด ถ้าสร้างความเชื่อมั่นงานที่ทำและเห็นอนาคตร่วมกันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

3. งานโครงการของท่านตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาหรือไม่อย่างไร (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           ถ้าเราทุกคนเข้าใจร่วมกัน มีความเชื่อมั่น เชื่อใจ การทำอะไรก็สัมฤทธิผลและมีความสุขได้ การทำโครงการฯต้องไปด้วยกัน รถหนึ่งคันต้องเกิดจากฟันเฟืองทุกตัว ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม คนต้องมีคุณภาพ เชื่อใจ และเชื่อมั่นคนในองค์กร เราต้องสร้างคน สร้างทีมที่มีคุณภาพซึ่งนำไปสู่องค์กรที่มีความสุขและประสิทธิภาพทั้งระบบ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

           เสริมว่า เรื่องความสุข ความไว้ใจ เชื่อใจ ต้องอยู่ใน Why?และกลุ่มที่ Present แรกกับกลุ่มนี้สามารถเชื่อมกันได้ ต้องมีผู้นำที่ Inspire

กลุ่มที่ 1 :Smart Product for Quality of life

1. วิเคราะห์ภาพใหญ่ของมหาวิทยาลัย 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ทำไมต้องเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างไร และจะทำอะไร

           เห็นความสำคัญของบุคลากร สิ่งแรกที่ต้องทำคือการปรับ Mindset ถ้าปรับและมองเรื่องเดียวกันทุกอย่างจะสามารถเดินไปด้วยกันได้ เริ่มจากผู้บริหารใช้หลัก 5 ข้อของ Leader ในการเปลี่ยน ผู้บริหารต้องเข้าใจว่าคนแตกต่างอย่างไร  เข้าต้องการอะไร และการวางนโยบายทิศทางต้องชัดเจน และการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ มีแนวทางการปรับเปลี่ยนอย่างไร ต้องให้ทราบทั่วกัน ให้บุคลากรเกิดวัฒนธรรมในการเรียนรู้ ต้องเข้าใจ และมี Mindset ในการเปลี่ยนแปลง  ถ้าคนในมหาวิทยาลัยไม่เปลี่ยนแปลงระบบความคิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้เลย

2. วิเคราะห์ตัวอย่างของคณะ/หน่วยงาน 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           คณะทุกคณะต้องรับรู้ทั่วกัน ทำงานร่วมกันให้ทุกคนออกมาจาก Comfort Zone หลังจากผู้บริหารจะเป็นผู้ปฏิบัติการที่ต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน มีทีมเวอร์ก สร้างบรรยากาศในการแชร์ความรู้ร่วมกัน มีทีมเวอร์กที่สร้างสรรค์ และเอาชนะภัยคุกคาม และไม่ต้องกลัว เพราะมีทีมเวอร์กที่แข้มแข็ง ไม่ว่าเกิดภัยคุกคาม เราจะชนะได้แน่นอน

3. งานโครงการของท่านตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาหรือไม่อย่างไร (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           Smart Product for Quality of life เป็นสิ่งที่เกิดจากความต้องการ คือจะเปลี่ยนหลักสูตรที่เกิด Demand side สามารถเปลี่ยนแปลงหลักสูตร Fix Degree เปลี่ยนกระบวนการที่ให้ทางสังคมได้

           เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องดูทิศทางการสร้าง Network ทั้งระดับนานาชาติและท้องถิ่นเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ Smart Product เกิดขึ้นได้ทุกระดับต้องทำงานอย่างสร้างสรรค์ให้ได้ เมื่อระดับคณะไม่มี Silo ระดับอื่นที่เกี่ยวข้องต้องมาเกี่ยวข้องและหน่วยงานต้องถูกพัฒนาและยกระดับควบคู่กับการพัฒนาใหม่ได้ด้วย  เราต้องใช้โอกาสนี้ในการสร้างให้เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ตอบโจทย์ความต้องการในหลายช่วงวัย ทั้งคนต่างชาติ และระดับท้องถิ่นที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยกันได้

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

           เสริมว่า กลุ่มนี้ชัดเจนว่าจะทำอะไร ขอย้ำเรื่อง Why? ว่าเป็นเรื่องผู้นำที่นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ ต้องเน้นที่ปัจจัยที่หนังสือเล่มนี้เน้นไว้ เรื่องคนที่นี่ไม่รองใคร แล้วเราจะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้

กลุ่มที่ 5

1. วิเคราะห์ภาพใหญ่ของมหาวิทยาลัย 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ทำไมต้องเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างไร และจะทำอะไร

           ระบบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยเป็นภาพใหญ่ เนื่องจากคนต้องใช้ระยะเวลา เราจึงมองที่การบริหารงาน เน้น Faster Cheaper และ Better ในการทำงานให้ดีกว่า เร็วกว่าและถูกกว่าใช้ Force การผลักดันและกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจในการลงโทษและให้รางวัล ใช้ความร่วมมือของคน  และใช้สมองในการระดับความคิดเห็น และมีใจร่วมพัฒนามหาวิทยาลัยและคณะต่อไป

           ตัวอย่าง เราเป็น Pilot Project คณะวิทยาศาสตร์พยายาม Change การบริหารงานเอง เริ่มจากคณาจารย์มีภาระหนักในการเรียนการสอน การวิจัย สิ่งที่สายสนับสนุนทำได้คือการบริหารจัดการตลอดให้เป็น One Stop Service เจ้าหน้าที่ทำให้ทั้งสิ้นเนื่องจากมีความเชี่ยวชาญ เพื่อช่วยผ่อนเบาภาระอาจารย์เพียงแค่อาจารย์สั่งมา

2. วิเคราะห์ตัวอย่างของคณะ/หน่วยงาน 1 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           วิธีการใช้ Mix Method คือคนแต่ละคนมีวิธีการเพื่อผลักดันสู่เป้าหมายไม่เหมือนกัน บางคนชอบรางวัล ลงโทษ หรือกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพราะลักษณะคนแตกต่างกัน แต่มีศักยภาพที่พัฒนาได้ ใช้คนยกกำลัง 3 และใช้ ICT มาช่วย รวมถึง Service Mind ทุกอย่างต้องมี One Stop Service สามารถดื่ม ชา กาแฟได้

3. งานโครงการของท่านตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาหรือไม่อย่างไร (ทำไม อย่างไร และจะทำอะไร)

           Paper less สิ่งที่ต้องทำคือเพื่อ Faster Better Cheaper Why คือลดประสิทธิภาพการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพสู่ความเป็น Green University มี 2  D คือทำด้วย พัฒนาด้วย What คือการลงทำ และ train

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

           What คือ Project How คือทำอย่างไร และ Whyคือทำไม และทำสำเร็จอย่างไร  Leader ต้อง Inspire ๆไม่สร้าง Fear แต่ต้องสร้าง Loyalty

           ปัญหาคือทำได้ แต่ประเด็นคือทำให้สำเร็จอย่างไร กลุ่มสุดท้ายที่สำเสนอเกิดจากปัญหาจริงที่พบคือเจ้าหน้าที่ไม่ได้ช่วยได้มากเท่าที่ควร

           Change วันนี้คือ Why และ ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

           การออกแบบการเรียนการสอนดีมาก กระบวนการอะไรคือนวัตกรรม ชอบอะไรที่ทำให้เกิดทั้ง 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีฐานคิดต่างกันเพราะมีประสบการณ์ทำงานต่างกัน ทั้ง 5 กลุ่มมีความเห็นต่าง

ช่วงที่ 3 : วันพุธที่ 5 มิถุนายน 2562

Workshop & Coaching

The Art of handling disruption 

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

ผู้ก่อตั้ง Jimi The Coach

และ Thailand Coaching Academy

ศาสนาคริสต์มีหลักการดำเนินชีวิตประกอบด้วย Hope, Faith, Love

คนเรามักถูกคนอื่นบงการตลอดเวลา กว่าจะรู้ตัวก็อายุมากแล้ว เมื่อรู้ตัวแล้วก็จะกลับมามีชีวิตของตัวเองด้วย

ตอนที่ทำงานบริษัทยา เป็น HR ต้องเป็น OD ทำโครงสร้างองค์กร

HR ต้องเป็น Coach ของ Line manager จึงไปเรียนโค้ชที่ออสเตรเลีย

ตอนเด็กอยากเป็นอะไร ถ้าฝันยังอยู่ เราอาจเกิดมาเพื่อสิ่งนั้นก็ได้

จากประสบการณ์ได้คุยกับมาสเตอร์ป๊อบ เขาเคยปฏิบัติธรรมและทำให้คิดได้ว่า คนเราควรเป็นตัวของตัวเอง อย่าให้ใครมาตัดสิน แสดงให้เห็นว่า คนเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้เข้าใจว่า Coaching ทำให้คนกลับมาได้

เวลาโค้ช ใช้ทักษะการฟัง ถาม สร้างความไว้วางใจ ทำให้คนรู้สึกปลอดภัยเวลาพูด

ผู้นำที่ดีต้องถอยออกมาทำให้คนอื่นเป็นตัวของตัวเองได้

Disruption หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นขัดขวางสิ่งที่ปกติ เพราะฉะนั้นทำสิ่งเดิมไม่ได้

คนเราตกเป็นเหยื่อของสภาวะแวดล้อมที่มี ต้องทราบว่า เราถูกจ้างมาทำอะไร โดยหารจากเงินเดือน

คนเรายังมีหน้าที่อื่นอีกแล้วทำได้ครบหรือไม่

การโค้ชเป็นศาสตร์ที่ดีต่อทุกคน

จากการไปโค้ชคนคุก ทำให้ทราบว่า ในใจทุกคนเป็นคนดี แต่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย

ตอนนี้ทำโครงการ Happy Life Happy Thailand ทำให้คนเข้าถึงศาสตร์การโค้ชมากที่สุด

กิจกรรม

1.เขียนกระดาษใบที่ 1 ฉันต้องได้อะไรกลับบ้านจึงจะคุ้มค่า

-เข้าใจตนเอง

-เข้าใจผู้อื่น

-เข้าใจนักศึกษา

-เข้าใจผู้ร่วมงาน

-มีจิตสาธารณะ

-สามารถร่วมมือกัน

-ส่งต่อทักษะการโค้ชไปให้ผู้อื่นด้วย

2.เขียนกระดาษใบที่ 2 ทีมเราควรจะต้องได้อะไร มรภ.ภูเก็ตจึงจะได้ประโยชน์

-ทีมงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

-มีทักษะในการรู้ตัวตน

-อยากให้มรภ.ภูเก็ตเป็นเบอร์หนึ่ง

เนื้อหา (ต่อ)

Disruption

ปัจจัยหลักที่กระทบธุรกิจ

1.โลกไร้พรมแดน call center ไม่ได้อยู่ที่ไทย คนทำงานที่ใดก็ได้

ลูกเป็นดีไซน์เนอร์ ไป New York แล้วเบื่อ จึงหันไปค้ากับจีนและอินเดีย

ผลกระทบคือ เด็กอยากเรียนมหาวิทยาลัยหรือไม่

จากวิจัยของมรภ.ยะลาคือ คนไม่กล้าลงทุนเพราะคนกลัวความไม่สงบทำให้ไม่มีนักศึกษามาเรียน เมื่อเรียนแล้วก็ไม่มีงานทำ ทำให้ต้องเชิญวิทยากรมาสร้างแรงบันดาลใจ โค้ชเด็กทุกคน ทำให้เด็กมีเป้าหมายในชีวิต

เวลานักเรียนมาเรียน นักเรียนต้องได้ความรู้มากกว่าที่ได้จาก Google อาจารย์ต้องเตรียมตัวให้ดี

2.Social Media เกิดมาก คนทำงานแบบ Multi-skill ฟัง podcast และหนังสือเสียงขณะออกกำลังกาย

ปัญหาคือทุกคนก้มมองจอ ทำให้คนในครอบครัวไม่คุยกัน

3.โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง คนอายุยืนขึ้นเพราะการแพทย์ก้าวหน้า

4.ความซับซ้อนทางข้อมูลมากขึ้น เช่น เรื่อง Big Data ข้อมูลล้ม ถ้า Cloud ล่ม ทำงานต่อไม่ได้

เมื่อมีข้อมูลมาก ก็ต้องวิเคราะห์มากขึ้น

ปัจจุบันนี้ มีร้านญี่ปุ่นที่เปลี่ยนแปลงการซื้อเสื้อผ้า ใช้เทคโนโลยี ZOZOSUIT เป็นโปรแกรมวัดตัวลูกค้า ทำให้ได้เสื้อผ้าพอดีตัว

ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้คนตกยุคแม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ทำอะไรก็ตาม

ปัจจุบันคนเป็นสื่อเองได้ทำให้หนังสือพิมพ์หายไป แล้วไปอยู่ในระบบออนไลน์

การล้วงกระเป๋ารูปแบบใหม่ เป็นการขโมยข้อมูลทางการเงินโดยใช้เครื่องดูดข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือ

บางครั้งโลกเปลี่ยนไปแต่วัฒนธรรมองค์กรเหมือนเดิม

การมีค่านิยมองค์กรชัดเจน จะมีพฤติกรรมองค์กรที่สังเกตได้ เช่น Open

1.ฟังจนพูดจบประโยค

2.ยอมรับในกรณีที่ไม่รู้

แล้ววัฒนธรรมองค์กรจะเปลี่ยนไป

เด็กปัจจุบันไม่ทำงานอยู่กับองค์กรจนเกษียณ แต่คิดจะรวยตั้งแต่อายุยังน้อย จะทำอย่างไรให้เด็กมาทำงานในสภาวะองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป

คนที่เป็นโค้ชไม่จำเป็นต้องเก่งกว่าคนรับการโค้ช แต่ต้องมีทักษะที่ทำให้คนดึงศักยภาพออกมาได้

คำถาม

ผศ.ดร.หิรัญ ประสานการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ขอบพระคุณที่ท่านมาให้ความรู้

ผมพยายามทำความเข้าใจและสร้างค่านิยมองค์กร เวลาทำแผน ก็กำหนดค่านิยม เช่น เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นำนักศึกษามาเป็นโจทย์ตัวตั้ง

ทำอย่างไรจึงจะสร้างค่านิยมองค์กร มรภ.ภูเก็ตซึ่งเกิดมาจากวิทยาลัยครูและก็เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีคนหลากหลายรุ่น แต่การสั่งสมวัฒนธรรมขึ้นมา เริ่มตั้งแต่ต้นที่เป็น

จะสร้างค่านิยมให้องค์กรเจริญเติบโตแบบมีประสิทธิภาพได้อย่างไรในยุค Disruption

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

วัฒนธรรมเกิดจากการสั่งสมพฤติกรรมของคนที่อยู่ร่วมกันมา และทำพฤติกรรมนั้นซ้ำๆจนกระทั่งเป็นที่ยอมรับกัน

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรต้องสร้างวิสัยทัศน์ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่ทำเท่าไรก็ไปไม่ถึง จะทำให้คนมีพลังไปต่อเรื่อยๆ

ในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ต้องมีคนแบบนี้

1.Creator

2.Early adopter ควรเน้นคนกลุ่มนี้ให้ดึงพวกที่เหลือเข้ามา

ปัญหาคือเรามัวแต่เน้นแก้ปัญหาคนที่ไม่ทำ การสร้างค่านิยมไม่สำเร็จ ถ้าผู้นำระดับสูงไม่เห็นด้วย

ผศ.ดร.หิรัญ ประสานการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

เวลาสร้างค่านิยมใหม่ ต้องรู้พฤติกรรมเดิมก่อน อาจจะมีการทำ Do’s and Don’ts

เนื้อหา (ต่อ) อาจารย์พจนารถ

ที่ธปท.มีค่านิยมใหม่คือ ความคล่องตัว ทำแล้วไม่ดีขึ้น ต้องกลับมาดูที่กระบวนการก่อน

ต้องทราบเหตุผลในการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน

หนังสือ The Inner Fame of Workกล่าวว่า คนมีศักยภาพทำงานแต่ประสบกับอุปสรรคจึงทำให้ผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ในการพัฒนาศักยภาพ ต้องสร้างวัฒนธรรม ทำ Mindset ให้ถูกต้อง ให้ความสำคัญ Feedback Skill

ผู้บริหารต้องมีทักษะในการให้ Feedback ต้องทำให้ผู้รับ Feedback รู้สึกว่าทำด้วยความปรารถนาดีและสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีได้

แจ๊ค แคนฟิลเสนอสมการ

E+R =O

E=เหตุการณ์

R=การตอบสนอง

O= ผลลัพธ์ที่ต้องการ

เลือกเป้าหมายว่า ต้องการผลลัพธ์อย่างไร แล้วเลือกการตอบสนองที่เหมาะสมกับเหตุการณ์

การรู้จักมนุษย์ดูจาก การกระทำ บุคลิกภาพ สิ่งของที่มี เรื่องที่เล่า ภาษาที่ใช้ และสิ่งอื่นๆ

โค้ชต้องฟังเรื่องเล่าและสังเกตความรู้สึกผู้รับการโค้ชด้วย มีหลายสิ่งที่เขาบอกนอกเหนือจากเรื่องที่เขาเล่ามา

คำถาม

คนในองค์กรคิดว่า หัวหน้าต้องได้รับการเคารพจากลูกน้อง หลายคนอยากทำงานแบบมีความสุขด้วยการทำงานร่วมกัน ตอนนี้มีคนรุ่นใหม่มาเป็นผู้นำจำนวนมาก จะทำงานร่วมกับผู้ตามที่มีอายุมากกว่าได้อย่างไร

ตอบ

เรื่องนี้เป็นความเชื่อ ต้องมองเหตุผลว่า ทำไมองค์กรตั้งคนรุ่นใหม่มาเป็นผู้นำ

ต้องเข้าใจความกลัวของมนุษย์ก่อน ซึ่งมี 10 ข้อ

1.ความแน่นอน ความมั่นคง ความสบาย

2.ความไม่แน่นอน ความหลากหลาย การผจญภัย

3.ความสัมพันธ์และความรัก

4.ความโดดเด่น สำคัญ มีตัวตน

5.เติบโด

6.การเป็นผู้ให้

เมื่อเข้าใจความกลัวแล้ว ก็ต้องเติมเต็มให้อีกฝ่ายด้วย

ไม่ใช่แก้ระบบเป็นการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งตามอาวุโส

เนื้อหา (ต่อ)

ความกลัวเป็นจินตนาการ ไม่หนีไปที่ไหน แต่ต้องใช้ประโยชน์จากความกลัว

1.กลัวไม่ดีพอ

2.กลัวคนไม่รัก

3.กลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง

การเข้าใจคนต้องเข้าใจสิ่งต่อไปนี้

1.ตัวตน (Being) เวลาที่ฟังผู้รับการโค้ชเล่าเรื่อง โค้ชจะต้องสามารถค้นหาคุณสมบัติที่ดีของเขาจากเรื่องที่เล่าได้

2.ความเชื่อ ความเชื่อของใครก็เป็นความจริงของคนนั้นเพราะเขาพิสูจน์มาแล้วทั้งชีวิต จากการโค้ชนักกีฬา 2 คน ซึ่งมีพ่อที่แต่งงานใหม่ ทำให้เขาไม่เชื่อในรักแท้ แต่โค้ชต้องช่วยให้เห็นความเชื่ออีกแบบ อาจจะถามว่า ไม่มีคู่ใดที่เป็นรักแท้เลยหรือไม่ เช่น การเกิดทัชมาฮาล และประวัติพระนางเรือล่ม ทำให้เห็นว่า รักแท้ยังมีจริงในโลก ความเชื่อทำให้เกิดพฤติกรรมและทำให้ความเชื่อนั้นเป็นจริงเสมอ

3.ค่านิยม นำไปทั้งด้านดีและไม่ดี

คำถามจากวิทยากร

มนุษย์แบบใดที่เราไม่มีวันคบ

คำตอบ

1.

ศักยภาพที่ซ่อนใน

ลักษณะคนที่ไม่ชอบ

2.

ลักษณะคนที่ไม่ชอบ

3.

สิ่งที่ต้องการให้เขาทำ

4.

คุณสมบัติตรงกันข้าม

มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก มีเป้าหมาย

เห็นแก่ตัว

เสียสละ เห็นแก่ส่วนรวม เอื้อเฟื้อ เมตตา ใจดี

ขี้ขลาด โง่ ไม่มีเป้าหมาย

มีทักษะในการสื่อสาร ปรับตัวเก่ง

หน้าไหว้หลังหลอก

จริงใจ ซื่อตรง ยอมรับความจริง

หัวโบราณ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

บทเรียนคือ คนเรามักมองคนอื่นตามมุมมองตนเอง แล้วเกลียดคนที่มีคุณสมบัติตรงข้ามกับตน ในความเป็นจริง พฤติกรรมบางอย่างมาจากคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่ คนอื่นก็มีศักยภาพที่เราไม่มี

Grow Model

Goal เป้าหมาย

Reality ปัจจัยปัจจุบันที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ

Option มีความรู้เรื่องที่จะทำ

Way forward สิ่งที่จะทำในอนาคต

โค้ชต้องคุยกับผู้รับการโค้ชแล้วเขาสามารถเห็นคุณค่าของตัวเขาเอง

หลักการตัดสินใจว่าจะทำสิ่งใด คือ พิจารณาว่า ดีต่อตนเอง ดีต่อผู้อื่นและดีต่อศีลธรรมจรรยาหรือไม่

คำถาม

คนที่ 1

ชอบที่โค้ชบอกว่า คนที่เรามองว่า ขั้นเทพ ก็คือด้านหนึ่ง คนที่เรามองว่า เป็นขั้นเทพอาจจะต่างจากคนอื่น ในความคิดเห็นส่วนตัว คนที่เป็นขั้นเทพคือ ชูวิทย์และลีนา จัง  ทั้งสองคนนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ได้หลายอย่าง ด้านหนึ่งคือ ตัวเรายังไม่มีคุณสมบัติที่เขามี หรือยังไม่ได้ใช้คุณสมบัตินั้น เราควรนำกลับมาใช้หรือไม่

ตอบ

ชูวิทย์และลีน่า จัง มีคุณสมบัติคือ กล้าคิดนอกกกรอบ กล้าทำสิ่งที่แตกต่าง กล้าแสดงออก

นำคุณสมบัติเหล่านี้มาพิจารณาว่าดีต่อตนเอง ดีต่อผู้อื่นหรือไม่แล้วทำตาม

คนที่ 2

วิชานี้ทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น ทุกคนมีแผนที่ชีวิตของตนเอง แต่ละคนมีบางคุณสมบัติตามสถานการณ์ แต่ก็ต้องปรับตัวเวลาที่อยู่ในมหาวิทยาลัย

การไปโค้ชแต่ละคนที่แผนที่ชีวิตต่างกัน ใช้อะไรมอง

ตอบ

โค้ชต้องทำตัวไม่มีตัวตน คือ ลดอัตตา และก้าวข้ามสมมติ

จากนั้น ก็ถามว่า จากเรื่องที่เล่า ผู้รับการโค้ชต้องการอะไร และมีความรู้สึกอย่างไร

โค้ชไม่ต้องให้คำแนะนำ แต่ต้องให้ผู้รับการโค้ชตัดสินใจเอง

คนที่ 3

แต่ละคนไม่อยากเกลียดหรือโกรธใคร เราพยายามเข้าใจเขา และคุยกับเขาอย่างปกติ คนอื่นเข้าใจว่า เราไปเป็นพวกเดียวกับเขาแล้วหรือ ต้องทำอย่างไรให้ทุกคนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันทุกคน

ตอบ

การไปคุยไม่ได้หมายถึงเป็นพวกกับเขา ต้องทำพฤติกรรมซ้ำๆให้เกิดการยืนหยัด

บางครั้งต้องแสดงบทบาทที่ขัดตัวตน ถ้าทำบ่อยๆ คนจะเดาจุดยืนไม่ออก เพราะฉะนั้น ต้องไม่มีหลักอะไร ต้องใช้ชีวิตและตัดสินจากปัจจุบัน ไม่ต้องคิดถึงอดีตและคาดเดาอนาคตของเขา

คนที่ 4

สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำให้ทุกคนในองค์กรเห็นคุณค่า เท่าที่โค้ชไปอบรม เจอคนในองค์กรแบบใดที่พร้อมจะเปลี่ยนเพื่อให้องค์กรเติบโต

ตอบ

องค์กรที่อยู่มานาน เริ่มมีตัวตน คนไม่หยุดแข่งกับตนเอง เป็นอุปสรรค

บางองค์กรมองว่า ทุกการตัดสินใจต้องเป็นไปเพื่อชาติ

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็มีความเชื่อว่า ชาติก่อนเป็นข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทจึงทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท

คนที่ 5

ตอนนี้ ทุกอย่างที่มรภ.ภูเก็ตเปลี่ยนไป มีวิธีใดทำให้คนรุ่นใหม่รักษาสิ่งดีๆในอดีต เช่น วัฒนธรรม การไหว้ การตรงต่อเวลา

ตอบ

อาจจะเริ่มจากทำตนเป็นแบบอย่าง เช่น มาเช้าและไหว้คน ก็จะมีคนไหว้ตอบ แล้วก็จะมีการขยายผลต่อไปเรื่อยๆ

อย่าคาดหวังให้คนรุ่นใหม่อดทน แต่เราต้องอดทน

คนที่ 6

เราต้องเข้าใจทุกคนแม้เขาจะไม่ดีใช่ไหม ถ้าโค้ชแล้ว ลงโทษได้ไหม

ตอบ

ถ้าใครฝ่าฝืน ก็ลงโทษเพื่อรักษากฎไม่ใช่เกลียด

ควรเข้าใจคนอื่นแต่ไม่ต้องยอมรับว่า สิ่งเลวเป็นสิ่งที่ถูก

วิธีคิดเป็นต้นเหตุให้เกิดพฤติกรรม

คนที่ 7

เคยโค้ชไม่สำเร็จหรือไม่

ตอบ

ก็เคยไม่ประสบความสำเร็จในการโค้ช

โค้ชต้องเปลี่ยน Mindset ของตนก่อน ดังนี้

1. เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนเป็นได้มากกว่าที่เราเห็นและเขาเป็นได้มากกว่าที่เขาคิดว่าเขาเป็นได้

2. ถ้าเขาทำได้แค่นี้ แสดงว่า วันนี้เขายังมีทรัพยากรจำกัด ถ้าเขามีทรัพยากรมากกว่านี้ เขาก็ทำได้มากกว่านี้

3. เชื่อว่า ทุกคนเปลี่ยนแปลงได้

4. ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ล้มเหลวถ้าเกิดขึ้นไม่ตรงกับความคาดหวัง แต่เป็น Feedback ให้เราปรับปรุง

อาจจะเปลี่ยนวิธีโค้ชจนสำเร็จ

ช่วงที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2562

Learning Forum

Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

CLO (Chief Learning Officer)  บริษัท กบเหลาดินสอ จำกัด

คำถามจากวิทยากร

ความคิดสร้างสรรค์จำเป็นต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตหรือไม่

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

จำเป็นเพราะ

1.ความคิดสร้างสรรค์ทำให้เกิดความคิดใหม่ทันสมัยเสมอ

2.ถ้าทำแบบเดิม ก็เป็นแบบเดิม

3.เอาชนะคู่แข่ง

4.ความคิดสร้างสรรค์สนุก ตื่นเต้น เร้าใจ นำความคิดไปสู่ปฏิบัติทำให้เกิดการลุ้นตลอดว่า ผลจะเป็นอย่างไร 5.ทำให้แก่ช้า

5.กลัวไปไม่รอด

6.เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

สรุปคือ เราเรียนความคิดสร้างสรรค์เพราะต้องการผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม

ไอน์สไตน์ กล่าวว่า ความฟั่นเฟือนคือการทำสิ่งเดิมซ้ำๆ แล้วคาดหวังผลจะต่างไปจากเดิม

การแนะนำวิทยากร

แบบเดิม มีคนอ่านประวัติวิทยากร

แบบใหม่แสดงนามบัตร ด้านหลังมี Keyword แสดงคุณสมบัติวิทยากร

เช่น สะตอ แสดงว่า เป็นอาหารใต้ที่ชอบ

Creative Design Thinking เป็นนักคิด ชอบออกแบบและเป็นหลักสูตรเด่น Design Thinking เพิ่งออกมาปีที่แล้ว ออกแบบแล้วต่างจากเดิม

ลุมพินีเพลส สาธร คือ mอยู่

สีเขียว รักธรรมชาติ

ภาวะผู้ตาม เป็น วิชาที่สอนเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพเติมเต็มภาวะผู้นำ ทำให้ทำงานร่วมกันได้ดี

วิธีแนะนำวิทยากรเป็นสิ่งพิสูจน์การทำสิ่งใหม่ที่ให้ผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม

วันนี้จะคิดสร้างสรรค์เรื่องอะไร

1.ออกแบบเพื่อทำให้อาจารย์ทำงานเป็นทีมได้ดีกว่าเดิม

2.ออกแบบการเรียนการสอนใหม่ให้นักศึกษา

3.ออกแบบเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาใหม่

หัวข้อที่เลือกคือ ออกแบบเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาใหม่

การคิดออกแบบ Design Thinking

การออกแบบทำให้คิดถึง สถาปนิก Steve Jobs, Zuckerberg หลุย วิตตอง นักตกแต่งภายใน ออกแบบทรงผม นักออกแบบแฟชั่น ออกแบบการเรียนการสอน

กิจกรรม

ตอบคำถามว่า การทำสิ่งต่างๆโดยมีดีไซน์และไม่มีดีไซน์ต่างกันอย่างไร

เช่น มีที่ดินแต่ไม่ดีไซน์คือ ดูหนังสือและเลือกมา ถ้าดีไซน์ ต้องหาสถาปนิกมาออกแบบ

ไม่ออกแบบ (Not by Design)

ออกแบบ (By Design)

1.ไม่มีทิศทาง เลอะเทอะ

2.ได้ไม่ตรงตามความต้องการ

3.ไม่ผ่านการศึกษาพฤติกรรม สื่อสารไม่ตรงกลุ่ม

4.ไม่ว้าว

1.เป้าหมายและบอกวัตถุประสงค์

2.ได้ผลตามความต้องการ

3.มีเอกลักษณ์และเกิดมูลค่า Limited Edition

4.จัดการแบบมีกระบวนการ สามารถดึงพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายมาจัดการ ตรงกลุ่มเป้าหมาย เป็นการสื่อสารที่ตรง

5.ว้าว เจ๋ง

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ถ้าไม่ออกแบบบ้าน ไม่มีทิศทาง บ้านอาจจะเหมือนโมเดลที่ทำมา

ถ้าออกแบบบ้าน จะสอดคล้องวิถีชีวิต หรือความชอบส่วนตัวของผู้อาศัย

การเพิ่มจำนวนนักศึกษาใหม่ ถ้าไม่ออกแบบ ก็อาจจะไม่ตรงความต้องการของชาวภูเก็ต จะไม่มีเอกลักษณ์ เหมือนที่อื่น ไม่เพิ่มมูลค่า ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว้าว

การคิดออกแบบ Design Thinking คือ Creative Thinking ที่ต่อหัวและเติมหาง มีการขัดเกลาและนำไปสู่การปฏิบัติ

ขั้นตอน Design Thinking

          1.Ideate มีความคิดก่อน ระดมสมองเพื่อให้ได้ทางออกหลายๆทางที่น่าจะเป็นไปได้

2.Empathize เข้าใจเป้าหมายและความท้าทาย (ปัญหาหรือโอกาส)

          3.Define ให้นิยามว่า จะออกแบบแนวใด

          4.Prototype สร้างโมเดลจำลอง เล่าเรื่อง Storyboard นำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมาย

          5.Test นำ Prototype ไปทดสอบว่า สร้างได้จริงหรือไม่

ขั้น Empathize เช่น สังเกตและสัมภาษณ์นักเรียนม.6 เรามีทักษะหรือไม่

ขั้น Define สร้างมุมมองเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า กลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร เป็นการประมวลข้อมูลจาก ขั้น Empathize เรามีทักษะหรือไม่

ขั้น Ideate ระดมสมองให้ได้ความคิดใหม่ๆมากๆ

ขั้น Prototype นำความคิดจากขั้น Ideate สร้างโมเดลจำลองให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจแนวคิด

ขั้น Test นำ Prototype ไปทดสอบ Pilot Test

สรุปแล้ว อาจารย์เป็นดีไซน์เนอร์ได้เพราะมีความสามารถในทุกขั้นตอน

ขั้น Empathize เช่น ฟังนักเรียนม.6 หรือปวช. แบบอาจารย์มือใหม่เพื่อให้ฟังให้ครบว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับมหาวิทยาลัยราชภัฏและทัศนคติการเรียนต่อ ไม่เกิดการโต้แย้ง การออกแบบที่ดีต้องแก้ Painpoints ให้กลุ่มเป้าหมาย ทำได้โดยเขียน Empathy Map ดังภาพ

กิจกรรม

เขียน Mindmap เกี่ยวกับความคิดเห็นนักเรียนม.6 หรือปวช.เกี่ยวกับการเรียนต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏ

เนื้อหา ต่อ

หลังเข้าใจและเขียน Mindnap แล้ว เข้าสู่กระบวนการ Define เป็นการระบุว่า ทำอย่างไร (เป็นสิ่งที่แก้ Painpoints) มันคงจะดีนะ ถ้าหากว่า…

กิจกรรม

Define เพื่อกำจัดหรือแก้ Painpoint ในขั้น Empathize (เปลี่ยน Painpoint เป็น Gainpoint)

ขั้นตอนที่ 3 Ideate

ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่สามารถนำออกมาใช้ได้เพราะถูกขังไว้ในกรอบคือ

1.กรอบความคิดของตนเอง เช่น ความกลัว ทำให้กลับมาที่เดิม

บางคนคิดออกนอกกรอบความคิดของตนเองได้แต่ติด

2.กรอบองค์กร

3.กรอบสังคม เช่น ผิดจรรยาบรรณ ไม่ถูกต้องตามวัฒนธรรมไทย

กรอบความคิดทั้ง 3 แบบนี้ ผิดจากความคิดสร้างสรรค์

วิธีแก้ไข ทำกรอบความคิดของตนเองให้บางลง

เริ่มจากคิดนอกกรอบคือ คิดแบบผิดระเบียบได้ แต่ยังนำไปใช้ไม่ได้ ต้องมีการบ่มความคิดคือการปรับความคิดให้เข้ากรอบสังคมและกรอบองค์กร กลายเป็นการคิดคร่อมกรอบ

การคิดคร่อมกรอบ (PPCO) ประยุกต์มาจาก CPSI มี 4 ขั้นคือ

1.คิดถึงข้อดีของความคิด (Pluses)

2.คิดถึงข้อดีในอนาคต (Potentials)

3.ติดกรอบอะไร (Concerns)

4.ทะลุกรอบ (Opportunities)

ตัวอย่างอยากให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานในการเรียน

ความคิดนอกกรอบ คือ นำเก้าอี้ริมสระทำให้เรียนสบาย

ข้อดีในอนาคต คือ เป็นภาพจำแล้วไปบอกต่อรุ่นต่อไป

ติดกรอบอะไร คือ การยินยอมของโรงแรม ข้อจำกัดพื้นที่ งบประมาณ การขนส่ง

ทะลุกรอบ โดย เปลี่ยนจากเก้าอี้ริมสระเป็นเก้าอี้เป่าลมพับได้ เปลี่ยนเป็นร่มพับได้ งบไม่บานปลาย ขนส่งง่าย

         

กิจกรรม

เขียนความคิดเดิมในกรอบ

แล้วเขียนความคิดใหม่ นอกกรอบ ไม่ยั้ง

ตัวอย่าง โจทย์ Define การเรียนแบบสนุกสนาน

กิจกรรม

คิดคร่อมกรอบโดยเลือกความคิดที่อยู่นอกกรอบมาทำ PPCO

การหาโอกาสเพื่อกำจัดความกังวลต้องใช้เวลานาน

          ขั้นตอนที่ 4 ทำ Prototype นำความคิดที่ Ideate ไปทำ Prototype ตามตารางนี้

ตัวอย่าง การจับสลาก

ข้อดีคือ ความยุติธรรม

ข้อดีในอนาคตไม่ดี

ความกังวล คือ ถ้าเจ้าของไม่อยากแสดงตัว ก็เป็นการบังคับ

ทะลุกรอบ คือ ใช้ชื่อปลอม

ขั้นตอนที่ 5 การทำ Test ทำให้ความคิดนำไปสู่ความสำเร็จได้

นำเสนอบทเรียนจากหนังสือ The Four : The Hidden DNA of Amazon, Apple, Facebook, and Google

โดยกลุ่มที่ 1 – 5

ให้ข้อเสนอแนะ โดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

และทีมวิทยากรจาก Chira Academy

กลุ่ม 1 นำเสนอบทที่ 2 Amazon

Amazon ทำหลายเรื่อง รวยด้วย Cloud ฆ่า Wallmart

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอนนี้ Wallmart หายไปแล้ว ท่านพูดถูก น่าสงสารมาก Wallmart เคยรวยติดอันดับ Forbes 50 เป็นเวลา 10 ปี

ตอนที่ Jeff ขับจาก New York ไป Seattle เขาเขียนแผนธุรกิจ

กลุ่ม 1

Amazon พัฒนานวัตกรรมแบบไม่หยุดนิ่ง ถ้าหยุดก็จะถูกคู่แข่งแซง

CP กลัว Wallmart เพราะเป็นคู่แข่ง แต่เขาไม่มาเอเชีย เพราะสู้กับ Amazon

Amazon สังเกต กำหนดทิศทาง ตัดสินใจ ลงมือทำเร็ว

มรภ.ผ่าน 3-4 ขั้นแล้ว แต่ขาดการลงมือทำเร็ว

Amazon  ทำ AI เปิดตัวค้าปลีก

มรภ.อาจให้เด็กลองเรียนดูก่อน

Amazon เข้าใจลูกค้าและเก็บข้อมูลลูกค้า ทำให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าดีมาก

ตอนนี้ Amazon กำลังจะไปฆ่า Google แย่งลูกค้าไปแล้ว

ผลกระทบจากการขยายตัว Amazon ทำลายคนเกี่ยวข้องระบบเดิม ทำให้คนตกงาน

ต่อไปนี้ Wallmart ถูกฆ่าแล้ว Harrods กลัว Wallmart แต่มีลูกค้าต่างกลุ่มกัน Loyalty ของ Harrods เข้มแข็ง

มรภ.จะเป็น Harrods หรือ Wallmart

ความคิดเห็นจากกลุ่ม 2

เนื้อหาและวิธีนำเสนอทำให้เข้าใจ เนื้อหากัดรัด ได้แง่คดเปรียบเทียบมหาวิทยาลัย ควรนำข้อคิดไปใช้ในอนาคต

ลงมือทำอย่างรวดเร็ว น่าสนใจ มรภ.มักชะลอบางเรื่อง ควรทำเรื่องเร่งด่วนก่อน อย่าผัดวันประกันพรุ่ง

ความเข้าใจลูกค้าทำให้สำเร็จ

มรภ.มีลูกค้าคือ นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ต้องเข้าใจตัวเขา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อดีของ Amazon ที่ติดตามมานานคือ เริ่มจากเล็กๆคือขายหนังสือ ตอนหลังร้านหนังสือกลายเป็นร้านกาแฟด้วย ในที่สุด Amazon เข้าไปแล้วขยาย เวลาที่ Amazon ไปไหน network ใหญ่ ไปสร้างปัญหาค่าครองชีพแพง บางครั้งจ่ายค่าแรงต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

บทเรียนคือ Amazon นำเทคโนโลยีมาแข่งและทำได้ดีกว่าที่อื่น ถ้า Wallmart ปรับตัว ก็ดี

ถ้าผนึกกำลังกัน มีโอกาสมหาศาล

Amazon เป็นตัวอย่างกับการเผชิญกับ Disruption

ยินดีกับกลุ่ม 1 ด้วย

กลุ่ม 2 นำเสนอบทที่ 3 Apple

วัตถุที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณมักถูกมองเป็นพระเจ้า

สมัย Steve Jobs การบริหารมั่นคงยั่งยืน ใช้การคัดเลือกโดยธรรมชาติมาบริหารงาน ผลประกอบการค่อนข้างมั่นคง ยั่งยืน

Apple เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ผลิตคอมพิวเตอร์เป็นหลัก และแข่งกับรายอื่นด้านอุปกรณ์ คุณสมบัติ จนวิกฤติ Apple ก็ปรับตัว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อ Apple ล้มเหลว Jobs ถูกไล่ออก

Pain จำเป็นสำหรับชีวิตคน

ตอนนี้ Apple Watch ชนะ Rolex แล้ว

Apple มี Rhythm and Speed จากการสร้างของ Jobs

กลุ่ม 2

Apple มีสาวกระดับหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติ เป็นผู้มีรายได้สูง ฟุ่มเฟือยแบบไม่มีเหตุผล มีความรู้ไอที ต่อต้านองค์กรรุ่นเก่า ปกป้องสิทธิส่วนบุคคล สาวกเหล่านี้ปกป้องแบรนด์ Apple ราวกับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Jobs เป็นนักนวัตกรรมที่บริหารคนไม่เป็น ไม่ชอบใครก็ไล่ออก

Jobs ไม่จบปริญญาตรี ก่อนออกมา ก็ไปทดลองเรียน Coding เขามีสมองอัจฉริยะ มีพรสวรรค์ด้านความคิดสร้างสรรค์

Tim Cook จบมหาวิทยาลัยระดับรองลงมา แต่มาดูเรื่องไลน์การผลิตที่จีนให้ Jobs

ถ้าคิดเรื่องนานาชาติ ต้องดูต้นทุนให้ดี

คนที่เก่งหลายๆด้านควรรวมตัวกัน เช่น คนเก่งไอทีทำงานร่วมกับการเงิน

Diversity ทำให้ชนะได้หลายเรื่อง

ต้องคิดใหญ่ อะไรก็เป็นไปได้

กลุ่ม 2

Apple มีส่วนแบ่งการตลาดน้อยแต่กำไรมาก

Apple ทำสินค้าให้หรูหรา มีน้อยและทำให้คนอยากครอบครอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Apple มีอีฟเป็นดีไซน์เนอร์ ใช้เวลาออกแบบมาก

ภูเก็ตเป็น smart city ได้เพราะมีทุนอยู่แล้ว ยังขาดลูกค้า

หลักสูตรนี้ทำให้พบจุดแข็ง มีความสุข สนุกในการเรียน

กลุ่ม 2

Apple เป็นแบรนด์หรู ส่วนแบ่งตลาดไม่มากแต่กำไรมาก

ลักษณะแบรนด์หรู

1.เป็นผู้ก่อตั้ง

2.งานศิลปะชั้นเลิศ

3.ทำธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

4.ทำสเกลระดับโลก

5.ราคาพรีเมี่ยม

ทำให้ Apple เป็นที่ 1 แต่มีคู่แข่งแย่งชิงที่ 1 เสมอ

การประยุกต์กับมหาวิทยาลัย

1.มีความหรู หลักสูตรแพงในบรรดามรภ. ทุกหลักสูตรขั้นต่ำ 15,000 บาท ค่าเทอมแพงแต่มีลูกค้าต้องการอยู่ สกอ.เคยเตือนเรื่องค่าเทอมอาจจะแข่งขันไม่ได้ ในความแพงก็มีการจัดสรรปันส่วน มีส่วนต่าง 5,000 บาท มรภ.คืนมาเป็นค่าบริหารจัดการหลักสูตร เช่น ค่าวิทยากร พานักศึกษาไปดูงาน ทำให้บอกกับลูกค้าได้ว่า จะมีการพาไปศึกษาดูงานต่างประเทศเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย มีวิทยากรเก่งมาบรรยายให้หลักสูตรต่างๆ

ความเป็นเอกเทศที่หลักสูตรแพง

2.มรภ.จะเป็นอันดับหนึ่งเหมือน Apple ตอนนี้ก็ถูก Disruption จาก Facebook, Amazon, Google

ความคิดเห็นจากกลุ่ม 3

นำเสนอดีมาก

เมื่อ Jobs เกิดวิกฤติ เขามีการเจ็บปวด ทบทวนการผิดพลาดแล้วพัฒนาองค์กรเป็นที่ 1

พ่อเลี้ยง Jobs เป็นช่างไม้ที่ประณีตจึงนำแนวคิดนี้มาพัฒนาสินค้า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Apple เป็นตัวอย่างที่ดี

ความคิดเห็นจากกลุ่ม 3

Apple เจอวิกฤติแล้วปรับตัว ใช้เป็นโอกาสพัฒนา

Facebook เน้นขายคนหลากหลายในราคาถูกอาจปรับใช้กับมรภ.ได้

Apple ขายของแพงมาก อายุสั้น ระบบปฏิบัติการใช้กับคนอื่นไม่ได้

ทำไม Jobs ต้องตั้งตราสัญลักษณ์ แอ๊ปเปิ้ลแหว่ง

คำตอบจากกลุ่มอื่น

Apple เป็นผลไม้ที่กำเนิดอยู่แล้ว แมคอินทอชเป็นผู้ให้กำเนิดเทคโนโลยีรายแรก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Apple ถูก disrupt 2 ครั้ง ตอนที่ Jobs ถูกไล่ออกและตาย

Tim Cook เป็นคนน่าเบื่อจบมหาวิทยาลัยระดับรอง เขาเรียนวิศวกรรมศาสตร์ดูและกระบวนการผลิตที่จีน ถ้าต้นทุนแพงก็เลิก เขาเช็คโชว์รูม Jobs empower คนอื่น

ตอน Jobs ตายเป็นเรื่องใหญ่มาก ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของ Apple หลังจากตายแล้ว การเงินดีขึ้น

มรภ.ต้องเน้นพื้นฐานต่างๆให้ดี เช่น ท่องเที่ยว ชุมชน และเรื่องอื่นๆ จึงจะอยู่รอด

จุดแข็งมรภ.ต้องหาคนแบบ Tim Cook ถ้าไม่มี ก็เชิญคนนอกมาเป็นเครือข่าย

ควรมีวิชากีฬาเพราะภูเก็ตจัดแข่งขันกีฬาบ่อยและมีนักกีฬาระดับโลกมาแข่งและเที่ยวด้วย

กลุ่ม 3 นำเสนอบทที่ 4 Facebook

Apple มีความปลอดภัย ตั้งรหัสมากมายแบบระบบทหาร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สงครามการค้าเป็นการโจรกรรมด้านไอที ต้องติดตามเรื่องนี้ใกล้ชิด

กลุ่ม 3

Facebook เกิดจาก friendship เหมือนตอนเรียนจบ

Facebook โตเร็วมาก มีคนใช้มาก

Facebook มีสีฟ้า เพราะคนคิดตาบอดสี ใช้สีนี้เข้ากับทุกคน

เป็นของฟรีใช้ได้ทุกคน เราจึงเป็นฐานข้อมูลให้ Facebook ในการโฆษณาบางอย่าง

การเข้าถึงง่ายเป็นเรื่องที่มรภ.ควรใช้

Facebook เป็นโลกเสมือนจริง สร้างภาพให้คนดูดี

มรภ.มีของดีต้องให้ความสำคัญสร้างภาพลักษณ์

Facebook เป็นโลกการสร้างโฆษณา คนมองว่า เป็นสื่อ แต่ Facebook บอกว่า ตนเป็นแค่ Platform แต่ข่าวสารก็มีความบิดเบือน ทุกคนผลิตข่าวของตนเองได้ เมื่อมีข่าวที่สร้างขึ้นเป็นภาพลวง สังคมก็กลับไปตั้งคำถาม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Algorithm น่าจะช่วยจับก่อการร้ายได้

อาจารย์ทุกคนควรมี Facebook กล่าวถึงบทบาท หรือแบ่งปันความรู้

กลุ่ม 3

Instagram เห็นภาพก่อน ภาพลักษณ์ก็สำคัญ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การใช้เทคโนโลยีโปรโมทภาพลักษณ์มรภ.

กลุ่ม 3

Facebook ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลเรา ทำให้ทราบว่า เป็นอย่างไร

ควรใส่ภาพและบทบาทนำเสนอมรภ.ใน Facebook ให้สังคมเข้าใจอย่างถูกต้อง

ตอนนี้คนใช้ Facebook แบบไม่มีทิศทาง

ควรทบทวนการใช้ Social Media มีทั้งด้านบวกและลบ ต้องมีวิจารณญาณ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรแนะนำนักศึกษาไม่ควรใช้ Facebook เกินไป ต้องมีมารยาทในการใช้

กลุ่ม 3

มีหลายหน่วยงานขอย้อนดู Facebook นักศึกษาเวลาไปสมัครงาน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรสำรวจพฤติกรรมการใช้ Social Media และใส่ Input ที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ความคิดเห็นจากกลุ่ม 4

เราต้องสร้างวัฒนธรรมการเผยแพร่เชิงบวกผ่าน Facebook

ตอนนี้มีการกลั่นแกล้งคนอื่นผ่าน social media

ต้องปรับวิธีคิดในการใช้ Facebook

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้านักศึกษาไม่มีวัฒนธรรมและมารยาท ก็มีปัญหา

Trump ด่าคนผ่าน Twitter

ความคิดเห็นจากกลุ่ม 4

ใน Facebook ผู้รับสารเลือกรับเฉพาะบางเรื่องที่สนใจ จะมีปัญหาเมื่อเลือกับแต่สิ่งที่ไม่มีประโยชน์

ควรจัดโปรโมชั่นมหาวิทยาลัยผ่าน Facebook มากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เยี่ยม

กลุ่ม 4 นำเสนอบทที่ 5 Google

Google เป็น Big Data ที่ให้บริการทั่วโลก ในหลายรูปแบบ มรภ.ต้องมี big data ให้นักศึกษาหาอะไรก็เจอ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตรงประเด็นดี

Google ท้าทายที่สุด เป็น search engine อาจารย์ที่นี่มีภูมิปัญญาที่เป็นเลิศ

กลุ่ม 4

มรภ.ควรมีฐานข้อมูลแบบ One-stop Service ให้นักศึกษาหาข้อมูลทุกอย่างก็เจอ

Google หารายได้จากฐานข้อมูลได้ มรภ.ก็ควรทำแบบนี้ แต่มรภ.ก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในทุกเรื่องก่อน คนหาข้อมูลซ้ำทำให้ทราบพฤติกรรมผู้ใช้บริการนำไปสู่การทำธุรกิจเลือกส่งข่าวโฆษณาที่เหมาะสม

ถ้าสร้าง search engine ก็จะทำให้ทราบความลับนักศึกษาและจะช่วยแก้ปัญหาให้นักศึกษาได้

Google ดูเหมือนคนใจดีให้ทุกอย่าง แต่กำข้อมูลคนทั้งหมดควบคุมทุกอย่างในระบบ Website

มรภ.อาจทำระบบบริการคล้าย Google

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ที่มรภ.ควรมี Data Analyst สักคน ตอนนี้มีหลักสูตร Big Data Specialist

ตอนที่ Tim Cook เข้ามา ต้องการทำแผนที่แข่งกับ Google Map แต่ก็แพ้

Search Engine ของ Google ยังอยู่อีกนาน

อาจารย์พูดถูก

กลุ่ม 4

ต้องทำให้มรภ.มีรายได้จากการให้บริการ Search Engine

ความคิดเห็นจากกลุ่ม 5

เห็นด้วยกับการนำเสนอของกลุ่ม 4

Google เป็นขั้นเทพที่รู้ทุกเรื่อง แต่บางเรื่องเป็นความลับ เป็นปัญหาลิขสิทธิ์ เช่น เลขบัตรประชาชน

Big Data มรภ.กำลังพัฒนา และจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

Google มีทั้งข้อมูลจริงและเท็จ ต้องมีการวิเคราะห์ด้วย

กลุ่ม 5 นำเสนอบทที่ 11 Yes, and Now What?

ทุกกลุ่มกล่าวถึง ด้านบวกของสี่บริษัท

Google เปรียบเสมือนพระเจ้า ตอบได้ทุกเรื่อง แต่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม

Apple ทำให้ผู้ใช้เป็นพรีเมี่ยม

Amazon เป็นตลาดผู้บริโภค มีทุกอย่างให้สั่งซื้อ ตรงกับยุคปัจจุบัน คนมีชีวิตวุ่นวายไม่ต้องการเสียเวลาต่อแถวซื้อของ จึงสั่งซื้อผ่าน Amazon ลดค่าใช้จ่าย

Facebook เปรียบเสมือนความรักที่ทุกคนต้องมี

ทั้งสี่บริษัททำให้เกิดความสะดวกสบาย แต่เป็นธุรกิจที่มองกำไร ไม่ได้ทำให้คนมีความสุขแท้จริงจากภายใน

บทนี้นำเสนออีกด้านของสี่บริษัท มีธุรกิจเป็นแสนล้าน แต่เสียภาษีน้อย ประมาณ 10% ต้นๆ

นอกจากนี้บริษัทเหล่านี้ ทำลายตำแหน่งงาน จ้างงานน้อย เป็นการเอาเงินบริษัทอื่นมาเข้าบริษัทตน

ค่าตอบแทนต่อคนปัจจุบันจะน้อยเทียบกับผลผลิตของบริษัท

สิ่งที่ทั้งสี่บริษัทประกาศอาจมีพลังมากกว่ารัฐบาลประกาศ

ธุรกิจเหล่านี้ผูกขาด แต่คนเราหลีกเลี่ยงใช้บริการของทั้งสี่บริษัทลำบาก

การประยุกต์ใช้กับมรภ.

1.ผลิตบัณฑิตให้แตกต่างจากที่อื่น เน้นคุณภาพ ตอบโจทย์สังคม ผลิตนักศึกษาที่มีความสามารถในการทำงานธุรกิจท่องเที่ยว ใช้ 3V’s

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กลุ่มนี้นำเสนอได้ชัดมาก

มีความคิดแล้วทำได้สำเร็จ

กลุ่ม 5

การประยุกต์ใช้กับมรภ.

2.วิสัยทัศน์เน้น ความจริง ตรงประเด็น มองไปข้างหน้า Inspiration and Imagination

3.ต้องทำให้คนทั่วโลกรู้จักมรภ. อาจมีหลักสูตรให้คนทั่วโลกมาเรียนหรือแลกเปลี่ยนอาจารย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Networking กับมหาวิทยาลัยระดับโลก ผมยินดีช่วยประสานความร่วมมือ

กลุ่มนี้สรุปได้ดีมาก

กลุ่ม 5

การประยุกต์ใช้กับมรภ.

4.ทำอย่างไรให้คนรักมรภ. ก็ต้องใช้ HRDS

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอนที่ทำ workshop สี่พระยาก่อสร้าง เขาบอกว่า เขาเหมือนเป็นโรงเรียน คนทำงานแล้วไม่มีความผูกพัน ทำไประยะหนึ่งก็ลาออก ผู้นำระดับสูงควรให้ความสำคัญในสิ่งที่วัดไม่ได้ เช่น ความสุข ความรัก

มรภ.มีความผูกพันในองค์กรอยู่แล้ว มีการยกย่อง ให้เกียรติกัน

กลุ่ม 5

การประยุกต์ใช้กับมรภ.

5.การดูแลนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรให้ครบวงจร ตั้งแต่นักศึกษาแรกเข้า จนหางานให้ทำหลังจากจบแล้ว

6.เป็น smart university

7.บริหารจัดการด้วยไอที

8.แปลงสินทรัพย์ให้เป็นเงินด้วยการให้บริการด้านต่างๆ ใช้ 8K’s และ 5K’s มีทุนมนุษย์ อาจารย์ทุกคนมีความรู้และความสามารถ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทนี้ประเมินทั้ง Macro และ Micro

ความคิดเห็นจากกลุ่ม 1

ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก

เป็นการสรุปที่ดีมาก

ถ้านำมาใช้กับมรภ. เช่น กรณี Amazon ทำให้คนอยู่ไกลเป็นลูกค้าได้ มรภ.ก็น่าจะทำได้

ความงามของสินค้า Apple หัวใจคือ สร้างความภักดีในแบรนด์ ผู้นำ Apple สร้างแรงบันดาลใจให้คนในองค์กร ใช้ค่านิยม

Approach ต้อนรับอบอุ่น

Probe ทำความเข้าใจ สุภาพอ่อนโยน ทำให้ลูกค้าประทับใจ

Present สินค้าและความเป็น Apple ให้แก่ลุกค้า

Listen ฟังลูกค้าแนะนำสิ่งดี

End กล่าวลาลูกค้าแบบประทับใจแล้วกลับมาอีก

Facebook เราหลีกเลี่ยงเครือข่ายไม่ได้ ต้องตระหนักข้อมูลใดเป็นประโยชน์ จริงหรือเท็จ

Google ทำให้เห็นว่า โลกการเรียนรู้เปลี่ยนไป วิธีการสอนต้องเปลี่ยนไป ต้องใช้ประโยชน์ Google ปรับการเรียนรู้ สร้างพลังการเรียนการสอนที่เปลี่ยนโลก

มรภ.จะมี Brand loyalty แบบ Apple และจะมี Big Data ที่เกิด Value Support ทั้งลูกค้าภายในและภายนอกแบบ Google และเราจะมองลูกค้าแบบถูกต้อง  มี Innovation ชนะคู่แข่งแบบ Amazon และต้องสื่อเข้าถึงทุกครอบครัวแบบ Facebook

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจจะมองไปยังต่างประเทศ

ชื่นชมในความพยายามทุกกลุ่ม

การร่วมกันแสดงความเห็นดีมาก

กลุ่มสุดท้ายได้ยกตัวอย่างว่า สิ่งที่ใหญ่เกินไปจนครองตลาด ในต่างประเทศมีการปรับถ้ามีการผูกขาด

Google ถูกปรับมากใน EU

บริษัทใหญ่ในไทยก็เสียภาษีน้อยมาก ก็เป็นปัญหาในการสร้างความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย

อาจใช้บทเรียนได้บางส่วน

ในอนาคต โลกไอทีมี Netflix, Uber, Airbnb, Alibaba เท็นเซ็น Hua Wei

ขอแสดงความยินดี เรื่องนี้นำไปใช้ในมรภ.ภูเก็ตได้ ขอให้มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ต่อไป

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

มีบางส่วน บางประเด็นก็สำคัญ วิชาวิจารณ์หนังสือสำคัญ ที่อื่นมองว่า เป็นการเสียเวลา

ในความเป็นจริงแล้ว การอ่านหนังสือเป็นการย่อย เป็นวิชาอ่านและวิเคราะห์กรณีศึกษา

มีการนำโลโก้ 4 บริษัทมาประกอบเป็นคำว่า Four บนปก

แต่ละคนก็มีความคิดที่ต่างแต่ไม่ได้นำเสนอ เมื่อบ่มความคิดได้ที่ ก็ออกมาเป็นผลงาน

Amazon เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จข้ามยุค ไม่แค่ขายหนังสือ แต่มีการเปิดให้วิจารณ์หนังสือบนเว็บไซต์

ต้องสังเกตแล้วจะต่อยอดได้

การทำธุรกิจต้องฉีกแนว โดยดูจากสี่บริษัท

เรียนรู้แล้วพัฒนาต่อยอด สิ่งที่สี่บริษัทนำเสนอ คือ แต่ละแห่งอยู่ไม่ได้ด้วยตัวเอง ต้องพึ่งพากัน เช่น Apple ถ่ยรูปสวยแล้วก็ต้องไปเผยแพร่ผ่าน Facebook

Apple ทำให้คนฉลาด มีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างออกไป ทำให้คนใช้ดูเท่ห์

เมื่อมี Smartphone ต้องมี Google หาข้อมูล

ปฏิสัมพันธ์ทำให้เกิดเทพ The Four

มรภ.อยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องเชื่อมโยงกับสิ่งอื่น

Amazon พยายามหาความแตกต่าง ซื้อสินค้าแล้วไม่ต้องจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์

ปัจจัยความสำเร็จ

1.ความแตกต่าง เช่น apple โดดเด่น หรูหรา ฉลาด Amazon เป็นค้าปลีกและปรับตัวไปเรื่อยๆ Facebook ขายความรู้สึกและความสัมพันธ์ เป็นรายแรกที่แยกแยะและรวบรวมพฤติกรรมผู้ใช้ แล้วนำเสนอสินค้าบริการที่เหมาะสม Google เป็นเรื่องข้อมูล มีบทวิเคราะห์ใช้งานได้มาก อยากให้ลูกศิษย์ค้นหาข้อมูลเป็น อาจารย์ต้องสอนวิธีหาข้อมูล

2.วิสัยทัศน์ มรภ.ต้องเป็นสากล เป็นเรื่องการปรับตัว ไม่มีอะไรแน่นอน ต้องฝึกตนเองให้อยู่ได้ในหลายสภาวะ วันนี้บริษัทเหล่านี้เป็นเทพ อาจจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต่อยอดมาจากพวกนี้

3.มีลูกค้าทั่วโลก ต้องค้นหาจุดเด่นว่า คนทั่วโลกสามารถมาเรียนอะไรที่มรภ.ได้

4.เป็นที่รักและขาดไม่ได้ ไม่มี Google จะลำบาก ความรักเป็นความรู้สึกที่วัดไม่ได้

5.AI ใช้พัฒนาทุกธุรกิจ

ตัวเร่งความเร็วของสี่บริษัท

เทคโนโลยีเร่งความเร็ว

เรียนรู้พฤติกรรมคน

ภูมิศาสตร์ดี หนังสือ The Four สอนภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นการศึกษาผู้คนชุมชนแต่ไปปฏิสัมพันธ์ในพื้นที่ ของ The Four ศึกษาลงไปในคนด้วย มรภ.มีภูมิศาสตร์ของคนด้วย

ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทุกบริษัทมีทุกอย่างเป็นของตนเอง

สรุปคือ

แบรนด์ต้องเข้มแข็ง

ต้องมีคุณภาพ

สำคัญที่สุดคือ อำนวยความสะดวกสบาย

ต้องมีช่องทางเข้าถึง

ถ้าปลูกหรือผลิตแล้ว เก็บเกี่ยวสำคัญยิ่งกว่า

ทั้งสี่บริษัทสร้างสุข respect ทำให้คนฉลาด มี DNA dignity รากเหง้าทุกบริษัท บริษัทไม่ใช่ว่าจะยั่งยืน ต้องทำต่อไป

และต้องทำให้สำเร็จ

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562

Workshop & Coaching & Presentation

ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทุนมนุษย์ในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

และทีมวิทยากรจาก Chira Academy

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องการให้เอกสารนี้เป็น Production Flow ทุกคนมุ่งมั่นให้มรภ.เป็นเลิศ

วัตถุประสงค์คือการสะท้อน Chira Way ถ้าลงทุนเรื่องคนแล้ว ต้องได้ผลตอบแทนมากกว่าเดิม เรียนแล้วต้องนำไปใช้ประโยชน์ เก่งแล้วต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ต้องต่อยอดให้ได้

เรามี result-oriented

ถ้าเราไม่มีแรงกกดันจากภายนอก ก็ไม่มีวันเปลี่ยน หลายคนในมหาวิทยาลัยมองว่า มหาวิทยาลัยต้องปรับตัว มีนวัตกรรม ก็ต้องเน้นทุนมนุษย์เป็นหลัก เริ่มต้นที่ความต้องการลูกค้าก่อน

ต้องถามว่า ทำไมจึงจะประสบความสำเร็จ การวิจารณ์หนังสือก็สอดคล้องกับเรื่องนี้

ปัจจัยที่ท้าทายมากคือ การเป็นหุ้นส่วนกัน HR เป็นการสร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทั้งในและนอกองค์กร

CEO-HR-Non-HR ต้องทำงานร่วมกัน ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุน

ในการทำงานเป็นทีม ต้องมีสมาชิกทีมที่มีความหลากหลาย แล้วจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้

Dave Ulrich มองว่า คนสำคัญเพราะสร้างการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารต้องเห็นคนเป็นเลิศ มองคนเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

ควรมองคนนอกองค์กรเป็น Strategic Partner ด้วย

เรื่องจิตวิญญาณผู้ประกอบการไม่ได้เกิดในธุรกิจเท่านั้น การมี Demand เพิ่มแต่ Cost ลด เป็นจิตวิญญาณผู้ประกอบการทำให้ธุรกิจอยู่รอด

คนต้องมี Global and Macro Mindset คือ ติดตามเหตุการณ์ในระดับโลก แล้วจะสามารถฉกฉวยประโยชน์ได้

ผู้นำที่ต้องการให้คนมีส่วนร่วม ก็ต้องทำให้คนมีความสุขในองค์กร

จุดแข็งของมรภ.คือ ภาวะผู้นำ ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของคนในภูเก็ต ลีกวนยูมีประชุมเช้าหารือกับผู้บริหารต่างๆให้ลงทุนเรื่องคนแม้จะลงทุนอยู่แล้วก็ตาม

คนเก่งต้องรวมตัวกันเป็นทีม เวลาลูกน้องพลาด ก็ต้องอดทน ให้อภัยและปกป้องเขา ผู้นำต้องใจเย็น ต้องทำให้ลูกน้องเก่งกว่าตนเอง

Leadership, Teamwork และ Diversity เป็นจุดแข็งของมรภ.

สิ่งสำคัญคือหลังจากวันนี้ ทำอะไรต่อ หลายเรื่องต้องการการทำงานที่มีประโยชน์และต่อเนื่อง

ที่ภูเก็ตมีโรงเรียนนานาชาติน้อยเกินไป คนที่ทำงานนานาชาติก็ควรจะมีอิสรภาพในการทำงาน ทำให้ MOU เป็นประโยชน์ และสามารถแก้ปัญหาจำนวนนักศึกษาลดลงได้

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา บอกว่า คน คือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

การลงทุนที่ดีเรื่องคนเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรมและการจัดการกับโลกาภิวัตน์

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

การมาที่นี่มีแรงบันดาลใจอยากมา ส่วนหนึ่งอาจารย์จีระสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกท่าน การแลกเปลี่ยนหารือกันก็สร้างแรงบันดาลใจด้วย

อาจารย์จีระทำเรื่องปลูก คือ ปลูกฝังเหมือนปลูกต้นไม้ ต้องมีการเตรียมดินและเมล็ดพันธุ์ ตอนนี้ยุค 4.0 สามารถใช้แอพเช็คสภาพอากาศ ต้องมองการปลูกให้เป็นวิทยาศาสตร์ ทำน้อยแต่ต้องเป็นประโยชน์

กลยุทธ์เป็นเรื่องระดับสูง วิธีการและกระบวนการก็ได้เรียนมาแล้ว

เวลาที่ปลูก ต้องมองความจริงว่า มรภ.เป็นอย่างไร เพื่อให้ปลูกได้เหมาะสม แล้วจะงอกงามได้ เรื่อง Relevance เกี่ยวกับคนในองค์กรและนอกองค์กรคือ ลูกค้าและชุมชน

R ที่ 3 มาจากลูกศิษย์คือ Result

อาจารย์จีระแนะนำว่า ควรปลูกฝังจิตวิญญาณผู้ประกอบการแล้วจะต่อยอดให้ประเทศชาติได้

เรื่องการเป็นหุ้นส่วน ต้องรู้จักเลือกคนที่เป็นหุ้นส่วน คนเป็นหุ้นส่วน มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ ภาครัฐ ประชาชน เอกชน วิชาการ

Result อาจารย์จีระเน้น 3V’s คือ

Value Added คือได้ความรู้จากเพื่อน

Value Creation คือ การสร้างมูลค่า

Value Diversity ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีส่วนผสมที่แตกต่างจึงจะออกมาดี

การนำเสนอโครงการนวัตกรรมเป็นการพิสูจน์การเก็บเกี่ยวของอาจารย์จีระ

การปลูก เก็บเกี่ยวและทำให้สำเร็จเป็นหัวใจ Chira Way

การอ่าน The Four ทำให้เห็นความสำเร็จตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

การทำโครงการจะเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

----

ลิ้งค์ข่าวประชาสัมพันธ์หลักสูตร “การพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในยุค 4.0” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

บทความ

https://www.naewna.com/politic/columnist/39928

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/350/821/original_20190513111416.pdf?1557720856

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า.วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. หน้า 5

https://www.naewna.com/politic/columnist/39991

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/350/822/original_20190513111526.pdf?1557720926

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. หน้า 5


https://www.naewna.com/politic/columnist/40314

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/353/042/original_20190614110250.pdf?1560484970

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562. หน้า 5


English Articles

http://www.gotoknow.org/posts/661674

Source: Learning from Reality Column. Naewna. Saturday 4 May 2019, p.5


http://www.gotoknow.org/posts/662041

Source: Learning from Reality Column. Naewna. Saturday 8 June 2019, p.5


รายการวิทยุ

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/3222067794485321/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2562 ทาง FM 96.5 MHz.

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/3223010167724417/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2562 ทาง FM 96.5 MHz.

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/3262697340422366/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2562 ทาง FM 96.5 MHz.

https://web.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/3303982686293831/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2562 ทาง FM 96.5 MHz.

หมายเลขบันทึก: 661455เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2019 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2019 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (68)

รองศาสตราจารย์ประภาศรี อึ่งกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรี หิรัญพันธุ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชาย เพชรช่วย

รองศาสตราจารย์ประภาศรี อึ่งกุล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท