กิจกรรมบำบัดจิตคิดสร้างสรรค์


Reference: Bryant W, Fieldhouse J, Bannigan K (Eds.). Creek's occupational therapy and mental health. Edinburgh: Churchill Livingstone Elsevier; 2014.

คำว่า 'Create' มาจากภาษาลาติน คือ Creare แปลว่า 'สร้างให้เกิดขึ้น' และมาจากภาษากรีก คือ Krainein แปลว่า 'เติมเต็มจิตใจ' ในพจนานุกรม Merriam-Webster แปลว่า 'ความสามารถในการนำสิ่งที่คิดมาดำรงอยู่ให้เป็นรูปธรรม - ต้นแบบ แปลกใหม่ ให้คุณค่า'

นักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) คือ หนึ่งในบุคลากรสาธารณสุข ที่มีบทบาทเพิ่มพูนศักยภาพ "ทักษะการรู้คิดสร้างสรรค์" ของผู้รับบริการตลอดทุกช่วงวัยที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือ จิตสังคม ร่วมกับสหวิชาชีพ 3 กลุ่ม ได้แก่ 

  1. กลุ่มการใช้สื่อบำบัดด้วยงานศิลปะ (Arts Therapies) ประกอบไปด้วยตำแหน่งงาน นักจิตบำบัดด้วยศิลปะ (Art Psychotherapist) นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) นักละครบำบัด (Drama Therapist) และนักดนตรีบำบัด (Music Therapist) ตลอดจนการบำบัดเยียวยาที่หลากหลายเพื่อสะท้อนการแสดงออกเชิงทัศนศิลป์ เช่น การเต้นรำบำบัด (Dance/Movement Therapy) การแต่งกวีบำบัด (Poetry Therapy) การใช้ละครจิตบำบัด (Psychodrama as arts therapies) 
  2. กลุ่มการส่งเสริมสุขภาพด้วยงานศิลปะ (Arts in Health) ประกอบไปด้วย นักดนตรีกับนักศิลปะทุกแขนงที่มีความสนใจริเริ่มช่วยเหลือผู้ที่กำลังประสบปัญหาสุขภาพระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  3. กลุ่มการขับเคลื่อนมนุษยวิทยาทางการแพทย์ (Medical Humanities Movement) ประกอบด้วย นักวิชาการข้ามศาสตร์ที่เกิดความร่วมมือกันเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งสุขภาวะด้วยทัศนคติแนวใหม่ เช่น สุนทรียศาสตร์แห่งกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยบทกวี ภาพยนตร์ วรรณกรรม 

สำหรับผมในบทบาทนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ได้สนใจในการใช้สื่อศิลปะรอบตัวทำให้เกิด "ทักษะการรู้ใจตัวเอง - ความชอบ ความสุข ความดี ความสนุก ความสงบ และความหมายเพื่อดูแลตนเองกับผู้อื่น" คลิกเรียนรู้ตัวอย่างได้ที่นี่ และที่นั่น และเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ผมก็ได้วิจัยการฝึกกิจกรรมบำบัดด้วยสื่อดนตรีในผู้สูงวัย คลิกอ่านได้ครับ 

ในแต่ละวิชาชีพที่ทำงานอย่างมีความสุขสร้างสรรค์นี้ ปัจจัยในการสื่อสารข้ามศาสตร์มีความสำคัญเพื่อตั้งเป้าหมายในการให้บริการทางสุขภาพแก่ผู้รับบริการรายบุคคลหรือรายกลุ่มคณะ ได้แก่ ทฤษฎีอ้างอิงของการพัฒนาความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการประเมินความก้าวหน้าก่อนและหลังการให้บริการทางสุขภาพด้วยสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมและมีความน่าเชื่อถือต่อการสื่อสารในระดับหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ Flow Theory และ Narrative/Digital Storytelling และ Patient Voices และ Vona du Toit Model of Creative Ability  และ Animation Therapy 

ในกรณีศึกษาท่านหนึ่งที่มีการปรับตัวจากวัยเด็กสู่วัยรุ่น ผู้ปกครองที่มีความต้องการพัฒนาทักษะชีวิตของลูกหลาน ควรปรับทัศนคติ คือ "ไม่สอนแบบเข้าหาเหมือนเด็ก แต่สอนแบบเพื่อนวัยรุ่นทำกิจกรรมแบบมีอารมณ์ดีร่วมกัน - ใจเย็น อดทน และสื่อสารด้วยภาษาท่าทางที่ง่าย ทวนซ้ำ ไม่พูดเยอะ" และเปิดใจเรียนรู้ "กระบวนการดึงความสุขความสามารถที่มีอยู่ในการรู้คิดจิตกายใจของลูกหลานให้แสดงออกมาด้วยการสื่อสารความรักความเมตตาและความท้าทายให้สมวัยจริงๆ" โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของทีมประสานงานให้บริการครบวงจรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ (Community Learning Disabilities Teams, CLDTs) ประกอบด้วย ผู้รับบริการทุกช่วงวัยที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ/หรือ จิตสังคม ผู้ปกครอง นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาลชุมชน นักกิจกรรมบำบัด และสหวิชาชีพที่จำเป็น เชิญชวนกัลยาณมิตรเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ และการจัดการรับมือพฤติกรรมเด็ก เพราะหากปล่อยไว้ก็จะมีความจำฝังใจลบๆ ในวัยรุ่นจนถึงสูงวัยได้ 

สำหรับการสื่อสารที่ป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ คลิกชื่นชมได้ที่นี่ และหลายท่านอยากอ่านใจลูกหลานผู้สูงวัยที่มีความปัญหาการสื่อสาร ก็สามารถคลิกเรียนรู้ได้ที่นี่ และที่นั่น 

นอกจากนี้ ผมเชิญชวนให้กัลยาณมิตรศึกษา ข้อมูลสหราชอาณาจักรที่น่าสนใจในการจัดการรับมือพฤติกรรมเด็กวัยรุ่นที่มีความต้องการพิเศษ ได้ดังต่อไปนี้

หมายเลขบันทึก: 661100เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2019 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2019 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท