ประชาธิปไตย "ไม่มีในตำรา" แม้แต่คำว่า "เสียงส่วนใหญ่" ก็มีความหมายต่างกัน


ขออภัยเพื่อน ๆ ครู อาจารย์ นิสิต และผู้ตามอ่านบันทึกทำงานนะครับ ที่ช่วงนี้ เขียนสะท้อนคิดเรื่อง "๓ เสาหลัก" บ่อยเป็นพิเศษ  เพราะในห้วงใจแห่งความห่วงใยในจิตของผม รู้สึกว่านี่คือจุดของหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ เป็นทางสองแพร่งว่า "๓ เสาหลัก" จะยังมั่นคงต่อไป หรือจะเริ่มถูกบ่อยทำลายไปในไม่ช้านี้ 

ประชาธิปไตย

ประชาธิปไตย = เสียงส่วนใหญ่ .... ไม่สิ.... ต้องบอกว่า ประชาธิปไตย = เสียงส่วนใหญ่ ที่เคารพเสียงส่วนน้อย

เหตุการณ์

พรรคการเมือง ก. ประกาศจุดยืนว่าจะสืบทอดเจตนารมณ์ของการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้รับคะแนนเสียงทั่วประเทศถึงกว่า ๕ ล้าน ๘ แสนเสียง ได้จำนวน ส.ส. จำนวนมาก ผมมั่นใจว่า ประชาชนที่เลือกพรรคนี้ส่วนใหญ่ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของการสลาย "๓ สามหลัก" ออกจากกัน เท่าที่คุยกับเพื่อน ๆ และฟังทัศนะของนิสิตที่เลือกพรรคนี้ เพราะต้องการการเปลี่ยนแปลงออกจากสถานการณ์ปัจจุบัน และชอบนโยบาย ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร เฉพาะนโยบายนี้อันเดียว ก็ได้เเสียงคนมีลูกชายที่อายุต่ำกว่า ๒๑ ไปมากโขแล้ว 

พรรคการเมือง ข. ได้คะแนน ๙ ล้าน ๕ แสนเสียง ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับ ๒ ประกาศว่า พรรคได้คะแนนเป็นอันดับ ๑ เพราะว่าได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด โดยให้เหตุผลว่า ประชาธิปไตยของไทยเป็นระบบรัฐสภา ต้องนับจำนวน ส.ส. ไม่ใช่ระบบประธานาธิบดีที่นับเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนทุกคน และอ้างว่าต้องเป็นไปตามประเพณีทางการเมืองที่เคยปฏิบัติมา 

พรรคการเมือง ค. ได้คะแนน ๙ ล้าน ๙ แสนเสียง มากเป็นอันดับ ๑ ได้จำนวน ส.ส. เป็นอันดับ ๒ บอกว่า ต้องเคารพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ที่ให้ความสำคัญกับทุกเสียง (ไม่มีเสียงใดทุกละทิ้งเลย อ่านที่นี่) จึงประกาศตั้งรัฐบาลเช่นกันกับพรรค ข. 

ตีความ

ขณะที่ผมเขียนบันทึกนี้ (๒๗ มีนาคม  ๒๕๖๒) พรรคการเมือง ข. ประกาศ (ลงนามในสัตยาบันจะ) จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ พรรคการเมือง ก. และมีอีก ๔ พรรคการเมืองย่อย ๆ  และเรียกฝ่ายตนเองว่า "ฝ่ายประชาธิปไตย" โดยใช้นิยาม "เสียงส่วนใหญ่" ส่วนพรรคการเมือง ค. รอที่จะประกาศจัดตั้งรัฐบาลเช่นกัน (หลัง กกต.ประกาศอย่างเป็นทางการ) โดยใช้นิยาม "เสียงส่วนใหญ่ ที่เคารพเสียงส่วนน้อย" 

เหตุการณ์นี้ ทำให้เราตีความได้ว่า 

  • ประชาธิปไตย ไม่มีในตำรา 
  • แม้แต่คำว่า "เสียงส่วนใหญ่" ก็มีความหมายไม่ตรงกัน 

โปรดช่วยกัน "ธำรง ๓ เสาหลัก คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" เพราะสามเสาหลักนี้เองที่คงความเป็น พุทธศาสนิกชนไทย ให้สืบต่อเนื่องมากว่า ๒,๕๐๐ ปี 

คำสำคัญ (Tags): #๓ เสาหลัก
หมายเลขบันทึก: 660754เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2019 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2019 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เริ่มงงกับคำว่า “ประชาธิปไตย”

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท