มาดูกันค่ะว่า R2R ในงาน UC เขาทำอะไรกัน (ตอนที่ 3) : สปสช.เขต 9 เคลื่อนทั้งองค์กร


มาดูกันค่ะว่า R2R ในงาน UC เขาทำอะไรกัน (ตอนที่ 3) : สปสช.เขต 9 เคลื่อนทั้งองค์กร

เขียนไปแล้วสองตอน [ตอนที่ 1] และ ตอนที่ [2] และเคยเขียนเรื่อง 

R2R UC ความท้าทายที่น่าสนใจ

 [3] เป็นการเขียนเพื่อทำความเข้าใจในการเรียนรู้ของตนเอง สองตอนแรกเป็นการขับเคลื่อน R2R แบบ Informal ของ สปสช.เขต 4 สระบุรี น่าสนใจเพราะมีผู้สนใจนำเครื่องมือ R2R มาพัฒนางานและนำไปสู่ Impact ระดับกว้างมากขึ้น

และเมื่อย้อยกลับมามองรูปแบบการขับเคลื่อนที่เป็นเชิงระบบ มีความชัดเจนของการเชียร์อัพจากผู้นำในเรื่องการทำ R2R แต่ไม่ใช้การสั่งการ ผู้บริหารทำหน้าที่ชวนคิดชวนมอง และสะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงของปัญหาหรือ GAP ที่มี ให้ชัดเจน  มี R2R Facilitator ในองค์กรช่วยกันเติมเต็มดั่งเช่นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในองค์กร สปสช.เขต9 นครราชสีมา

ตัวอย่างผลงาน R2R ได้แก่

  • การรับฟังความคิดเห็นของผู้ให้บริการและผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพช่องทางใหม่ โดยการประยุกต์ใช้ “นครชัยบุรินทร์ออนไลน์”
  • การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อลดข้อผิดพลาดในการจัดประชุม
  • การจัดการข้อมูลสารสนเทศต่อการบริหารกองทุนระดับเขต
  • ประสิทธิผลการใช้แนวทางการยืมเงินเพื่อลดเงินเหลือจ่าย
  • สถานการณ์การเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขต่อการพัฒนาระบบบริการตามระดับหน่วยบริการ
  • การพัฒนาโปแกรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้ให้บริการที่ได้รับเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
  • การพัฒนาเครื่องมือ Red Alert Tool ต่อการเฝ้าระวังความเสี่ยงในการดำเนินงานกองทุนตำบล
  • การพัฒนารูปแบบการบริหารงบ CA Colon ระดับเขตต่อการเพิ่มประสิทธิผลการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธี FIT Test
  • การพัฒนาระบบการลงทะเบียนสิทธิของผู้ต้องขังสิทธิ UC ภายใต้การยกระดับหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิในทัณฑสถาน เขตนครชัยบุรินทร์

นี่เป็นเพียงบางส่วนจากผลงานที่มีที่น่าสนใจ เป็นการพัฒนางานประจำด้วยเครื่องมือ R2R ครอบคลุมการทำงานทั้ง 5 Cluster คือ

Cluster 1 กลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์และประเมินผล

Cluster 2 กลุ่มภารกิจบริหารกองทุน

Cluster 3 กลุ่มภารกิจสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ

Cluster 4 กลุ่มภารกิจระบบสนับสนุน

และ Cluster 5 กลุ่มภารกิจคุ้มครองสิทธิ์ การมีส่วนร่วม และประชาสัมพันธ์

จากการได้เรียนรู้ร่วมกับ สปสช.เขต9 ทำให้เห็นภาพของการขับเคลื่อนและพัฒนาอย่างเป็นระบบภายในองค์สะท้อนถึงความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีกระบวนการที่เป็นเหตุเป็นผลตามหลักการวิทยาศาสตร์ชัดเจนในรูปแบบของวิทยาการวิจัยมาพัฒนางานประจำที่ทำ และมุ่งขยับขับเคลื่อนปิดช่องว่างการทำงานที่นำไปสู่การเข้าถึงระบบหลักประสุขภาพให้ได้มากที่สุด

กลไกของการนำทีมของผู้บริหารมีความชัดเจน ไม่ใช้การสั่งการ แต่แสดงบทบาทหน้าที่ของ R2R Facilitator และ Lead นำบุคลากรในองค์กร แม้ว่าการพัฒนาของ สปสช.จะถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัดให้ทำ PDCA หรือ R2R แต่สปสช.เขต 9 นำโดยอาจารย์หมอกระแต ก็มีมุมมองและทัศนคติที่ดีต่อเครื่องมือ R2R และนำมาใช้เนียนเนื้อเข้าไปในวิถีการทำงาน ดั่งเช่นงานของพี่น้อย เรื่อง สถานการณ์การเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขต่อการพัฒนาระบบบริการตามระดับหน่วยบริการ ซึ่งมีข้อมูลในมืออยู่มากหลายประเด็น การนำมาศึกษาวิจัยผลลัพธ์ที่ได้จะไปสู่การตัดสินใจในการพัฒนางานร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น และเป็นตัวอย่างของการจัดการข้อมูลให้เกิดคุณค่า

หรือผลงานเรื่อง การพัฒนาเครื่องมือ Red Alert Tool ต่อการเฝ้าระวังความเสี่ยงในการดำเนินงานกองทุนตำบล ของพี่ป๋องที่มีความซับซ้อนและ Knowledge GAP ค่อนข้างมาก ภาระเงินเยอะ คนทำงานน้อย กองทุนมีจำนวนมาก พี่ป๋องจึงต้องพัฒนาเครื่องมือมาช่วยเพื่อให้การทำงาน LEAN มากขึ้นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

หรือในงานของ Cluster 5 ของพี่ยุ้ย นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาต่อยอดจากฐานคิดของส่วนกลางร่วมกับกลวิธีทางการวิจัยเพื่อให้เกิดการกระจายของข้อมูลและเข้าถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียให้ครอบคลุม 

ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น

เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนได้เลยว่า เครื่องมือ R2R จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้ในการจัดการการทำงานให้มีความซับซ้อนน้อยลง ยุ่งยากน้อยลง แต่ได้ผลลัพธ์ของงานมากยิ่ง

รอติดตามและเรียนรู้ เป็นกำลังให้นักพัฒนางาน R2R สปสช.เขต9 ทุกท่านค่ะ

26-03-62

หมายเลขบันทึก: 660710เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2019 07:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2019 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท