มาดูกันค่ะว่า R2R ในงาน UC เขาทำอะไรกัน (ตอนที่ 2) : การฟอกไตในผู้ป่วยสิทธิ์ UC


มาดูกันค่ะว่า R2R ในงาน UC เขาทำอะไรกัน (ตอนที่ 2) : การฟอกไตในผู้ป่วยสิทธิ์ UC

จากที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้ที่ [1]

ดีใจได้เจอพี่แหม่มอีกครั้ง ล่าสุดเจอกันแว้ปๆ ในงาน NCD Forum (non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) ที่อิมแพคเมืองทองธานี พี่แหม่มทำงานใน Custer 3 ภารกิจเกี่ยวกับการสนับสนุนการเข้าถึงระบบบริการ ก่อนหน้านี้ทราบว่าพี่แหม่มจับงานเรื่องผู้ป่วยไต ส่วนตัวกำลังสนใจเรื่องนี้อยู่พอดี จึงได้ตั้งคำถามหลายประเด็นเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานและการเข้าถึงสิทธิการรักษาฟอกไตของผู้ป่วยในกลุ่ม UC (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : Universal Coverage : UC)

จากการคลุกคลีกับคนทำงานในหน่วยบริการต่างๆ ของสาธารณสุข เราพบช่องว่าง “ผู้ป่วยโรคไตที่ใช้สิทธิ์ UC มักปฏิเสธการฟอกไตแบบ CAPD [1] และต้องไปจ่ายเงินเองกับการฟอกแบบ HD [2] และเมื่อเงินหมดจึงได้กลับมาใช้สิทธิ์ UC

[1] CAPD : Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis = บริการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

[2] HD : Hemodialysis = บริการฟอกเลือดด้วยไตเทียม

จากข้อมูลสะท้อนให้เห็นได้ว่ามีช่องว่าง Knowledge Gap เกิดขึ้น สาเหตุวิเคราะห์กันแบบอย่างรวดเร็ว อาจมาจาก “ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ ความไม่ไว้วางใจในกระบวนการรักษาหรือเปล่า” ซึ่งอาจนำมาสู่การตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมต่อการเข้ารับการรักษา ถ้าสืบเสาะสาเหตุที่ลึกกว่านั้น ก็สะท้อนให้เห็นถึงการเข้าไม่ถึงข้อมูลและความรู้ในเรื่องสิทธิการรักษาในการฟอกไต อาจจะต้องไปเตรียมพร้อมในการให้เข้าถึงความรู้ตั้งแต่กลุ่มเสี่ยง

จากข้อมูลที่มีเรานำมาวิเคราะห์กันเล่นๆ ทำให้เห็นภาพสะท้อนถึง GAP ของแต่ละพื้นที่ได้ชัดเจน บางพื้นที่จังหวัดผู้ป่วยฟอกไตเยอะก็จริง แต่อัตราการเสียชีวิตน้อย หรือจำนวนผู้ป่วยน้อยแต่เสียชีวิตมาก ตัวเลขเหล่านี้บอกอะไรแก่คนทำงานได้บ้าง และทำให้สามารถเจาะจงลงไปร่วมศึกษากระบวนการพัฒนาได้อย่างมีเป้าหมายแบบไม่เหวี่ยงแห หรือไร้เป้าหมาย เช่น ถ้ามี 8 จังหวัด จัดกลุ่มที่มีปัญหาซับซ้อนสูง ระดับกลาง หรือต่ำ การทำงานก็จะไม่เหนื่อยมาก

จากสภาพที่จำนวนผู้ป่วยปฏิเสธการฟอกไตแบบ CAPD เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจจะไม่ใช่ภาระใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะต้องแก้ไขปัญหา ถ้าทุกภาคส่วนเข้าร่วมกันขับเคลื่อนโดยใช้ข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ การแก้ไขและการพัฒนาจะตรงจุดมากขึ้น 

การได้เจอได้คุยกับพี่แหม่มทำให้เกิดการสะท้อนคิดในตนเองว่า

“การมีข้อมูลจำนวนมาก สามารถนำมาสู่ประเด็นการศึกษาวิจัยและพัฒนาได้”

การนั่งทับข้อมูล จากคำพูดของอาจารย์ท่านหนึ่งทางเภสัชกรรมที่เคยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงาน R2R ดีเด่นในงาน R2R Forum เมื่อหลานปีก่อนผุดขึ้นมา สะท้อนในใจเลยค่ะว่า เราคนทำงานมีข้อมูลอยู่มากในมือ ถ้าเราได้ฝึกฝนให้คุ้นชินถึงการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เราจะพบคำถามการวิจัยที่ซ่อนอยู่มากมาย และเห็นโอกาสของการพัฒนาอย่างมีเป้าหมายชัดเจนขึ้น

ได้เชียร์พี่แหม่ม เขียนเสนอผลงาน R2R ที่ได้จากการพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือที่ผ่านกลไกของคณะกรรมการที่ส่งผลต่อการเข้าถึงระบบบริการและอัตราการรอดชีวิต ของผู้ป่วยที่เข้ารับการฟอกไตแบบ CAPD ที่ใช้สิทธิ UC ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเกิด Impact ที่สะท้อนถึงความสำเร็จของการฟอกไตแบบ CAPD นำไปสู่การคืนข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและสื่อสารผลการวิจัยในเชิงสาธารณะได้ด้วย

ตามรอย 21-03-62

ยกตัวอย่าง จากภาพจังหวัดที่ 3 มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าจังหวัดอื่น ถ้าเราดูเพียงแค่ชุดข้อมูลอาจสรุปไปก่อนว่าเป็นเพราะผู้ป่วยเข้ารับบริการเยอะ อัตราตายจึงสูง แต่ถ้าข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ทางสถิติจะเห็นข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้น หรือจังหวัดที่ 5 ผลลัพธ์การทำงานค่อนข้างดีน่าไปถอดบทเรียนเพราะอัตราการรอดชีวิตสูงเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่เริ่มต้นการรักษา หรือในจังหวัดที่ 7 เองก็เช่นเดียวกัน

คำสำคัญ (Tags): #km#r2r#uc#สปสช.เขต 4
หมายเลขบันทึก: 660686เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2019 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2019 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท