สังคมไม่ทอดทิ้งกัน


         ในการประชุมประจำปีของมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ  เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.49   ผมฟังคุณนันทินี  จันทพลาบูรณ์   สมาชิกชมรมจิตอาสารุ่งอรุณ (เป็นแม่ของนักเรียนชั้น ป.4  โรงเรียนรุ่งอรุณ)   เล่าเรื่องทางชมรมฯ จัดเทศกาลเปิดท้าย (รถ) ขายของ (ใช้แล้ว) หาเงินได้ 4 แสนบาท   เป็นทุนไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.พระนครศรีอยุธยา   ผมฟังแล้วเกิดความสุข  ความปิติ  ว่านี่คือตัวอย่างหนึ่งของสังคมไม่ทอดทิ้งกัน   เป็นข่าวดีของสังคมไทย

         ทางชมรมฯ เขาไม่ทำอย่างที่เห็นกันทั่วไปในทีวี   ที่เอาของไปแจกตามจุดต่าง ๆ และนัดให้ทีวีไปถ่าย   แต่ชมรมฯ เขาไปหาคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ถึงบ้าน   พบว่าคนเหล่านี้มักเป็นคนแก่และคนพิการ   เป็นคนที่ลำบากจริง ๆ  ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ   แต่ไม่สามารถไปรับของแจกตามจุดแจกของพร้อมกล้องทีวีได้

         ความช่วยเหลือที่ให้แตกต่างกันในแต่ละราย   บางรายก็ช่วยอาบน้ำ  เช็ดตัว  สระผม  ตัดเล็บ    บางรายก็เปลี่ยนที่นอนหมอนมุ้งให้ใหม่

         ผู้รับความช่วยเหลือบางคนบอกว่าขอให้ไปเยี่ยมบ่อย ๆ แต่ไม่ต้องเอาของมาให้   คือการไปเยี่ยม  พูดคุย  แสดงความรักความเห็นใจ เป็นการ "ให้" ที่มีค่ากว่าสิ่งของ

         คุณนันทินีเล่ายาวกว่านี้   ผมซึ้งใจจนน้ำตาคลอ   ผู้ฟังทำตามแดง ๆ กันหลายคน

                 

             คุณนันทินี จันทพลาบูรณ์ กำลังเล่าเรื่อง

                 

                        บรรยากาศในห้องประชุม

วิจารณ์  พานิช
 7 ธ.ค.49

หมายเลขบันทึก: 65980เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขนาดอ่านก็ยังน้ำตาเอ่อ เพราะซึ้งและอินกับการ "ให้" จากจิตภายใน มากกว่าสิ่งของหรือการจัดฉาก

ขอบพระคุณคะ...และรู้สึกชื่นชมอย่างยิ่งจากจิตภายในคะ

.... 

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท