875. เรียนรู้เรื่องคุณค่า (Value) จากหนังดัง "Star Trek"


หนังที่ผมอยากวิจารณ์มากที่สุดตอนนี้ไม่เห็นจะหนีไปจากเรื่อง Star Trek เพราะตอนนี้กำลังเป็นตอนใหม่ ฉายใน Netflix ...ทำให้ผมต้องย้อนไปดูตอนเก่าๆ หลายตอนที่ยังไม่เคยดู... Star Trek เป็นหนังที่พูดถึง อนาคตของมนุษยชาติ ที่เจริญจนเดินทางไปมาระหว่างดวงดาวได้สะดวก  แถมมีเพื่อนต่างดาวเพียบ รวมตัวเป็นสหพันธ์ มีการเดินทางไปมาหาสู่ ทำงานร่วมกัน  ถึงขั้นแต่งงานกันไปจนมีลูกก็มี

เนื่องจาก Star Trek เป็นยานเอาไว้สำรวจจักรวาล การเดินทางของยานในเรื่องนี้แต่ละตอนนำพาบุคลากรหลายร่อยในยานให้ไปเจอเหตุการณ์ประหลาด เจอโลกใหม่ เจอมิตรที่ด้อยกว่า หรือบางครั้งเจอศัตรูที่เหนือกว่า บางเผ่าถึงขั้นวางแผนทำลายล้างอารยธรรมในจักรวาลไปเลย ... แต่แม้จะเจอเหตุการณ์ประหลาด ก็สามารถเอาตัวรอดกลับมาได้  

อะไรอยู่เบื้องหลังความสำเร็จอันน่าถึงของเหล่า Hero ใน Star Trek ครับ  

ถ้ามองทาง Appreciative Inquiry/Positive Pscyhology มีคำหนึ่งครับที่เราเรียกว่า “Value หรือคุณค่า...... คุณค่าคือสิ่งที่คุณให้ความสำคัญ  เป็นสิ่งที่บอกว่าอะไรเป็นสิ่งที่คุณต้องการในชีวิต  คุณค่าให้ทิศทางและความหมายในชีวิต  ถ้าเปรียบชีวิตเราเป็นเรือ ...คุณค่าคือพวงมาลัยเรือ ...ทำให้เรากำหนดทิศทางได้ถูกต้อง..ง่ายๆ ครับถ้าพายุมาก็เลี้ยวหนีซะ ถ้าเจอแหล่งปลาชุกชุม กัปตันก็ใช้หมุนพวงมาลัยขับไปหาปลาได้ ...  

ในหนัง Star Trek ความที่ต้องเจอเหตุการณ์โหดๆ ชนิดคุณอาจเก่งมาจากไหนก็ตาม คุณอาจงงงวยไปไม่ถูกและอาจสูญพันธ์ได้ตลอดเวลา ...ความรู้/ประสบการณ์ที่คุณมีเมื่อเปลี่ยนที่ เปลี่ยนวัฒนธรรม เปลี่ยนสถานะที่ได้เปรียบ มาเสียเปรียบ..บางที่ใช้ไม่ได้ ...มันเหมือนกับเรือที่หลงทาง..  แต่กลับมาได้เพราะ Value นี่เอง..

หลายครั้งจะเห็นการตัดสินใจโดยมี Value อยู่เบื้องหลัง เท่าที่วิเคราะห์กันมา ..หนังเรื่องนี้ใช้ Value อยู่สามสี่ข้อได้แก่.. 

  1. ความร่วมแรงร่วมใจ (Collboration) 
  2. การเปิดกว้างทางความคิด (Liberality)  
  3. ความเท่าเทียมกัน (Equality of Person) 
  4. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Dignity) 

(ดูอ้างอิงที่นี่  https://www.newstatesman.com/blogs/the-faith-column/2007/02/star-trek-humanist-values)

คุณจะเห็นการตัดสินใจหลายครั้งมาจาก Value เช่นเรื่องความร่วมมือ นี่จะเด่นสุด ..ไม่ว่าจะพวกกันเอง หรือแม้กับคนต่างเผ่าพันธ์ ทุกครั้งที่เจอภัยคุกคาม ทุกคนจะระดมสมองแบ่งหน้าที่กันว่าจะทำอะไร ...ในขณะเดียวกัน ก็จะพยายามตั้งคำถาม จะทำอย่างไรให้ศัตรูกลายมาเป็นมิตร จะได้ร่วมมือกันต่อไป ... ถ้าไม่ได้อย่างน้อยก็ร่วมมือทำให้ศัตรูหมดพิษสงไป ..

เช่นมีตอนนี้ยานเอ็นเตอร์ไพรซ์ผ่านไปดาวหนึ่ง ซึ่งเป็นดาวที่มนุษย์เคยไปตั้งรกรากนอกสุริยจักวาลของเราเป็นครั้งแรกเมื่อ 90 ปีก่อน แต่อยู่ดีๆ ก็สูญเสียการติดต่อไปหลายสิบปี เชื่อกันว่าอาจเจอภัยพิบัติอะไรบางอย่างทำให้สูยหายไป ... เลยลองไปแวะดู ปรากฏเจอว่ายังมีคนอยู่ แต่เนื่องจากดาวนี้เคยเจออุกาบาตขนาดยักษ์ ทำให้โลกส่วนที่อาณานิคมนี้ตั้งอยู่มีบรรยากาศที่เป็นพิษ...  ตอนนี้ทุกคนเลยกลายเป็นมนุษย์ถ้ำ ผ่านไป 90 ปี เลยกลายเป็นคนประมาณรุ่นที่ 3 ที่ไม่รู้เทคโนโลยี หรือมีความเจริญอะไรอีก ที่สำคัญในสองปีข้างหน้า ความเป้นพิษจะเข้มข้นขึ้นจนเผ่านี้จะสูญพันธ์ภายในสองปี 

 .. จะทำอย่างไรล่ะ ..ทุกคนก็แบ่งหน้าที่กันทำ.. มีการเสนอ Idea อย่างเปิดกว้าง (Liberality)  .. เช่นเสนอให้พากลับโลก (นี่เป็นกัปตันพูด)  ...  แต่มีคนแย้งบอกว่า..จะทำยังไง ให้พวกเขาไปเริ่มต้นใหม่เหรอ ไปเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ .. แต่ที่สุดจากการแบ่งงานกันทำ  (Collaboration) ก็มีนักวิทยาศาสตร์บนยานค้นพบว่าซีกดาวด้านใต้ยังไม่เป็นพิษ.. เลยมีการนำเสนอว่า พวกเขาคือคนเหมือนกับเราต้องเคารพเขา เขามีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนเรา (Dignity)  อาจเสนอให้เขาย้ายไปซีกโลกใต้ .. ก็เลยไปพูดบอก พูดอย่างให้เกียรติ ยกระดับว่าทุกท่านที่นี่เป็นลูกหลานคนจากโลก (Equality of Person) ... จะให้เลือกว่าจะอยู่หรือไป ...ให้ข้อมูลชัด จากระแวงมนุษย์ด้วยกันตอนแรก ก็หันกลับมาเป็นมิตร จากไม่ยอมย้าย  ที่สุดทุกคนนั่นก็ย้าย... และนี่คือวิธีการแก้ปัญหายากๆ ที่ไม่เคยแก้มาก่อน โดยเอา Value เป็นตัวตั้ง...

เพราะฉะนั้นโดยสรุป

Value เป็นที่มาของคำตอบ ในสถานการณ์ที่คุณมิอาจใช้ขั้นตอนปรกติมาใช้ได้ ...

Value ทำให้เกิดนวัตกรรม ทางเลือก  

Value ทำให้คนที่อยู่ระยะไกล ตัดสินใจได้อย่างสร้างสรรค์อิสระ แต่ถูกทิศทาง..

ผมว่าในยุค Disruption นี้ เราควรต้องพัฒนา Value และเอา Value มาใช้อย่างเต็มที่ เพราะแต่ละวันจะความท้าทายเข้ามา เรียกว่าอาจแรงจนองค์กรคุณไปเลยก็ได้ ..เราไม่สามารถทำอะไรตามขั้นตอนที่ทำๆกันมาได้  

ย้อนกลับมาในชีวิตความเป็นจริง

Value ในชีวิตจริงก็คือสิ่งที่เราให้ความสำคัญ  มันคือส่ิงที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของทุกเรื่อง เช่นบริษัท SENA Development เจ้าของถือ Value ตัวหนึ่งคือการให้คุณค่ากับการจ่ายหนี้ก่อนเวลา...  ทั้งหมดนี้เป็นที่มา

สมัยนานมาแล้ว SENA Development เป็นร้านวัสดุก่อสร้าง เจ้าของถือคติอย่างเดียวคือเป็นหนี้ต้องจ่าย และต้องจ่ายก่อนด้วย เข้าใจว่าประมาณ 2 วัน ก็ไม่คิดอะไร ทำมาตลอด ต่อมามีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อเสนา..เจ้าของเดิมทำไม่รอด..ธนาคารเลยยึด ยึดมาก็ต้องทำต่อ ..ก็เลยต้องหาคนทำ ผู้บริหารธนาคารก็ตามหาคนมาสานต่อ ...หาไปหามาเจอลูกหนี้รายหนึ่งซึ่งแปลกมากๆ คือใช้หนี้คืนก่อนใคร มีรายเดียวในประเทศ ไม่เหมือนใคร ที่สุดไปคุยมา ขอให้ช่วยทำต่อ ..เจ้าของร้านวัสดุรายนั้นบอก ผมเงินไม่ถึง..ไม่เป็นไร เดี๋ยวธนาคารจัดให้..ที่สุด ก็มารับทำและก็ถือ Value คือ...จ่ายหนี้ก่อน ..ที่สุดเสนาก็เติบโตมากลายเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ นี่ครับ Value ทำให้คุณเติบโต .. เท่าที่ผมรู้ปัจจุบันผู้บริหาร พนักงานก็จะ ตอกย้ำ Value ตัวนี้เสมอ การจ่ายหนี้ตรงเวลาเป็นเรื่องที่ผู้บริหาร Serious เอาเป็นเอาตายมากๆ

สำหรับผมอยู่ในแวดวงการศึกษา Value เรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญ และทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต นั่นคือ การให้คุณค่ากับคำว่า “ความเป็นต้นฉบับ (Original)”  และ “ความชื่อสัตย์ ไม่ลอกงานใคร (Plagirization)”  หมายความว่าอย่างไรครับ สมัยผมไปเรียน MBA ที่อเมริกา และแม้จะมาเรียนต่อปริญญาเอกที่ ABAC ซึ่งก็เรียนแบบ Inter เหมือนกัน ...เขาให้คุณค่ากับเรื่องความเป็นต้นฉบับมากครับ ...เช่นจะเอาความรู้ใครมาคุณต้องอ้างอิงครับ จะเอามามั่วๆ ไม่ได้ ยิ่งเวลาจะเขียนงานเพื่อแสดงความคิดของตนเอง ก็ต้องดูก่อนว่ามันมีคนอื่นคิดมาก่อน เรื่องนี้เอาเป็นเอาตายมาก ...มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งตอนผมเรียนไล่คนไทยออกไปสามสิบคนเพราะลอกการบ้านไปส่ง..   การอยู่ในระบบแบบนี้ทำให้คนเรียนต้องค้นคว้ามากๆ ค้นว่าใครเป็นคนพูด จะต่อยอดอะไรจะคิดอะไร คิดได้แล้วต้องดูว่าซ้ำใครไหม ไม่ใช่แอบอ้าง ... ระบบแบบนี้ทำให้คนต้องค้นคว้ามากๆ ตัดแปะไม่ได้ ยิ่งค้นคว้าจะยิ่งเห็นโอกาส รู้เลยว่ายังไม่ช่องว่างอะไรอยู่ ที่สำคัญวัฒนธรรมแบบนี้ส่งเสริมให้เกียรติคนคิด ทำให้คนคิดก็สนุก มีความสุข ที่สำคัญเป็นการส่งต่อโอกาส  ทำให้เกิดเครือข่าย เกิดการเติบโตของศาสตร์นั้นๆ  ไม่แปลกที่โลกตะวันตกเติบใหญ่ทางวิทยาการอย่างก้าวกระโดด. จะว่าไปนี่คือศีลสองข้อคือไม่ลักโขมย และไม่โกหกใครนี่เอง ผมเองจากที่เคยผ่านการศึกษาระบบนี้มา ทำให้เราเรียนรู้ พัฒนาตนเอง อ่านมากเสมอไปตลอดชีวิต จะเขียนอะไรจะทำอะไรก็ต้องอ่านให้พอ  เรียกว่ากลายเป็นนิสัยเลย นิสัยนี้ทำให้ค้นพบเทคนิคใหม่ๆ ในการทำงานหลายอย่าง

นี่ครับ Value การให้ความสำคัญกับบางเรื่องขององค์กร ทำมากๆ ไอ้คนที่ไปมีส่วนได้ส่วนเสียได้ เลยติดนิสัยดีๆ แบบนั้นออกมา

เอาหล่ะครับ เพราะฉะนั้นอยากให้องค์กรไปไกล ก็ต้องมี Value ...

คำถามอาจารย์นี่มันแค่หนังนะ..ใจเย็นครับ ด้วยหลักคิดแบบ Star Trek ดูเป็นละครที่แสดงถึงโลกอุดมคติก็จริง แต่หนังที่มามานานหลายสิบปีนี่กลับกลายเป็นหนังที่สร้างแรงบันดาลใจให้บุคลสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์มากมาย เช่นนักบินอวกาศผิวสีคนแรกของโลก อยากเป็นนักบินอวกาศก็เพราะหนังเรื่องนี้ อุปกรณ์ทางเทคโนโลยี ปัจจุบันหลายอันได้รับแรงบันดาลใจจากหนังเรื่องนี้ เช่นมือถือเครื่องแรกของโลก คนออกแบบบอกเลยว่าได้รับแรงบันดาลใจจากมือถือที่ใช้ในหนัง Star Trek  ผลิตภัณฑ์  Apple ก็ด้วย ลองดูบทความอ้างอิงได้ที่นี่ https://medium.com/@atomicnetworktv/5-great-tech-innovators-who-were-inspired-by-star-trek-939a57eaa259

เอาเป็นว่าจะหนัง จะเรื่องจริง จะในไทย ตปท. Value เป็นเรื่องใหญ่มากครับ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ...

แล้วจะทำอย่างไรให้เกิด Value 

ผมจะใช้วิธีการทาง Appreciative Inquiry ซึ่งเป็นศาสตร์ในการพัฒนาองค์กรครับ  ศาสตร์นี้มาหา Value ได้ ทำอย่างไรครับ ...ต้องค้นหา อย่างที่สองขยายผล ขยายผลผลก็มีสองแบบ คือบูรณาการเข้าไปในกระบวนการการทำงาน  สร้างนิสัยใหม่ สุดท้ายมาประเมิน ปรับเปลี่ยน 

  1. การค้นหาก็ใช้คำถามครับ ตั้งคำถามว่า ตั้งแต่ทำงานมาภาคภูมิใจอะไรที่สุด  ที่มาของความสำเร็จคืออะไร ...เช่นไปบริษัทหนึ่งเป็นด้านวิศวกรรม ผมไปทำเรื่องนวัตกรรม ไปมากๆ ทุกความภูมิใจเรื่องการสร้างนวัตกรรม มาจากสองเรื่องครับ คือครั้งไหน มีปัญหา แล้วคนมาคุยกัน (Communication) และร่วมมือกันแก้ปัญหา (Collaboration) ...จะสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆได้..
  2. เอา Value มาฝังตัวลงในกระบวนการการทำงาน ตัวนี้ถ้ามีอยู่แล้ว ให้เอาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน... ทำอย่างนี้ครับ ยกตัวอย่างให้ดู  เรื่องนี้ต้องใช้ Dialogue ค่อยๆ ระดมสมอง คุยกันดีๆ ว่าจะเอามาผสมผสานเข้าไปในระบบอย่างไร เช่นการร่วมมือ 
  3. ประเมินปรับเปลี่ยน ไปเรื่อย จนลงตัว ดูว่าพัฒนาเป็นนิสัยไหม เพราะทำมากๆ จะกลายเป็นความเคยชิน มันจะกลายเป็นนิสัย ...เช่นจะทำงานทีไร มาประชุมกันก่อน สื่อสาร เอาขุดแข็งมาใช้ก่อน...ไม่ต้องสั่ง 
  4. บางเรื่องอาจปลูกฝังเป็นนิสัยตั้งแต่ Day 1 เช่นเจอหน้าลูกค้าต้องยิ้มๆ ไม่ยิ้มก็ต้อง Feedback
  5. เวลาหาคนมาใหม่ ต้องถามหา Background เช่นศูนย์วิจัยแห่งหนึ่งต้องการได้นักวิจัย เราก็ไปถามว่านักวิจัยสมัยเรียนเป็นอย่างไร ...ได้คำว่าอยากรู้อยากเห็นไปหมด...เอาคำถามนี้ไปหา และคัด Spec คนแต่แรก เช่นเราไปหาที่คณะแพทย์แห่งหนึ่งว่าตอนนี้มีนักศึกษาแพทย์คนไหนที่มีบุคลิกอยากรู้อยากเห็นไปหมด เรียกว่านอกกรอบเลย...ก็มีเจอครับ ..ได้คนมี Value เดียวกันเข้ามาจะง่ายหน่อย
  6. ก็ประเมินอีกทำจนเป็นนิสัยไหม ถ้าไม่ทำต่อ และอย่าหยุด
  7. ที่มาควบคู่กัน Innovation ความเติบโตขององค์กรต้องมากขึ้น 

อันนี้คร่าวๆนะครับ 

และนี่คือเรื่อง Value ครับ ดีเสมอ ควรรู้ว่ามันเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ทำให้คนในองค์กร  และควรคิดค้นหาเอามาส่งเสริมในกระบวนการตัดสินใจ เป็นนิสัย องค์กร เติบโตไปไกลแน่นอน

Value ที่ดี สร้างคน สร้างองค์กร สร้างสังคม สร้างโลก ได้เลย...

ตอนต่อไปผมจะเขียนละเอียดมากขึ้นว่าจะทำโครงการพัฒนา Value ในองค์กรอย่างไร เอาแบบละเอียดเป็นคู่มือเลย 

วันนี้พอเท่านี้ก่อน

คุณล่ะคิดอย่างไร 

บทความโดยภิญโญ รัตนาพันธุ์

www.aithailand.org

คำสำคัญ (Tags): #star trek#value#appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 659487เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2019 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2019 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท