การโต้เถียงกันเรื่อง "เจตคติ" ระหว่างนักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยา


เหตุแห่งแรงบันดาลใจให้เขียนบันทึกนี้

หลายวันแล้วที่ผมแบ่งเวลามาศึกษาเพื่อหาทางวัดคุณธรรมจริยธรรม ... ยังไม่มีทีท่าว่าใจจะเข้าใจและยอมรับได้กับวิธีที่มีให้อ่านในงานการวัดเจตคติที่ทำกันอย่างกว้างขวาง ...ยากมาก 

สิ่งที่ผมพบ (ขออภัยที่เป็นเชิงลบหน่อย ๆ)

  • การวัดคุณธรรมจริยธรรมที่นักวิชาการไทยใช้ คือ วิธีที่ฝรั่งใช้ในการวัด "เจตคติ"
  • การทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ที่พบจากการสืบค้น นักวิชาการไทยเราเรียนรู้ เจตคติ จากคำว่า attitude 
  • วิธีการทวนวรรณกรรมทางการศึกษา ที่เริ่ม ด้วยการลิสท์ว่า ใครนิยามเจตคติอย่างไร ๆ  และจบสุดท้าย ด้วยการสังเคราห์คิดของผู้เขียนหนังสือหรืองาน (ส่วนใหญ่เป็นผู้เขียนปริญญานิพนธ์) และการอ้างอิงด้วยการ "อ้างถึงใน...."  ทำให้ยากจะสืบไปถึงต้นฉบับของการนิยามนั้น... 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่และทำให้มีแรงบันดาลใจจะเขียนบันทึกเก็บไว้ในวันนี้คือ ประเด็นเห็นต่างระหว่าง นักจิตวิทยา (Psychologist) กับ สังคมวิทยา (Sociologist) จากบทความนี้

ข้อถกเถียงระหว่างนักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยา ว่าด้วย "เจตคติ"

  • นักจิตวิทยา บอกว่า เจตคติ จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกมา ถ้าต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ต้องเปลี่ยนที่เจตคติ เช่น ถ้าต้องการเปลี่ยนความรู้สึกอิจฉาหรือแบ่งแยกกับใคร ต้องเปลี่ยนที่เจตคติต่อคนคนนั้น 
  • ส่วนนักสังคมวิทยา บอกว่า พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นเกิดจากความตั้งใจหรือจงใจ แต่เจตคตินั้น เป็นสภาวะภายในใจที่เกิดขึ้นหรืออารมณ์เมือได้รับรู้ข้อเท็จจริงหรือรู้สึกต่อสิ่งหนึ่ง 
  • นักสังคมวิทยา มองว่า คนสามารถลดความอิจฉาและการต่อต้านจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง 
  • คำถามคือ 
    • เราจำเป็นต้องเปลี่ยนเจตคติ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่ 
    • หรือเราสามารถเปลี่ยนพฤิกรรมได้เลย โดยไม่ต้องเปลี่ยนเจตคติ
    • หรือจะต้องเปลี่ยนท้ังสองอย่างนี้พร้อม ๆ กัน 
  • มีผลงานทางวิชาการจากทั้งสองฝั่งกว่า ๑๕,๐๐๐ ผลงาน ตลอดระยะเวลา กว่า ๘๐ ปี แต่ผู้เขียนบทความทบวนวรรณกรรมนี้ บอกว่า พัฒนาไปได้น้อยมาก 

ผลสรุปของการโต้เถียง

  • ถึงขณะนี้ที่บทความนี้ตีพิมพ์ (1998) พบว่า 
    • ไม่มีความสัมพันธ์ที่แน่นอนระหว่าง พฤติกรรม กับ เจตคติ 
    • การรู้เจตคติ มีประโยชน์ต่อการทำนายพฤติกรรม เฉพาะในกรณีต่อสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลและเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ 
    • ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเจตคติเพื่อที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ปัญหาสำคัญของการศึกษาเรื่องนี้คือ ทุก ๆ ครั้ง คือ พฤติกรรมของนักวิจัยหรือการวิจัยจะถูกแฝงไว้ด้วยเจตคติของนักวิจัยด้วยเสมอ 

ข้อสังเกต (ผมตีความ)

  • การศึกษาและการวัดเจตคติ เป็นการวัดจากการ"เร้า" แล้วดูผลตอบสนอง ด้วยวิธีการต่าง ๆ  เช่น คำถาม สถานการณ์ ฯลฯ หรือสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออก ....นั่นคือ การสร้างสิ่งเร้าจากภายนอกไปวัดภายใน
  • เป็นการวัดทางอ้อม ไม่ใช่วัดทางตรง ไม่ได้วัดด้วยประสบการณ์ตรง   
  • เข้าใจว่าการวัดสิ่งนามธรรมนี้มีข้อจำกัด....พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่า 
    • สันทิฏิโก  ... ผู้ปฏิบัติรู้เห็นเอง
    • ปัจจัตตัง ... เห็นได้เฉพาะตน 

ศึกษามาถึงตรงนี้ ผมตัดใจว่า จะวางเรื่องการศึกษาวิธีวัดแบบฝรั่งไว้ก่อน ก้าวไปนำเอาแนวคิดที่เสนอไว้เรื่อง "เจตสิก" มาพัฒนาเป็นเครื่องมือวัดของเราเองไปเลย 

หมายเลขบันทึก: 659112เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2019 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2019 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามประสบการณ์ในการทำงาน คนมีเจตคติดี มักจะมีพฤติกรรมดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท