๗๕๖. การ์ตูนช่อง..,มุมมองใหม่ของครู


ผมเรียนรู้นิยามและความหมายของ”การ์ตูนช่อง”ก่อนลงมือทำกิจกรรม พบว่า..ถ้าจะให้นักเรียนสรุปเนื้อหาบทเรียน จนเกิดความคิดรวบยอดที่เข้าใจฝังลึก นอกจากจะใช้วิธีการเขียนแผนภูมิความคิดแล้ว..จะใช้การ์ตูนช่องนำร่องก่อนก็ได้

        ครูในที่นี้หมายถึงผม..ครุท่านอื่นอาจซาบซึ้งถึงเทคนิคการสอนแบบนี้กันมาบ้างแล้ว..ส่วนผมเองเสมือนเด็กได้ของเล่นใหม่ ให้รู้สึกตื่นเต้นกับการเรียนการสอนในวันนี้..

    เพื่อนที่เป็นนักวิชาการแนะนำผม เพราะเห็นว่านักเรียนของผมชอบวิชาศิลปะและรักการอ่าน ตลอดจนมีความสนใจในด้านการเขียน

        จึงให้ผมทดลองใช้ “การ์ตูนช่อง” ผมเกือบถามไปว่า..ช่องไหน..เพราะทุกวันเด็กก็ดู DLTV ไม่เคยได้ดูทีวีช่องอื่นๆเลย

        จากคำอธิบายของเพื่อนกับที่ผมทดลองสอน..ก็ได้บทสรุปที่เกี่ยวกับการ์ตูนช่องเป็นเรื่องของ “วิธีการสอน” แบบง่ายๆแต่มากมายด้วยคุณค่า ใช้ได้กับทุกวิชา พัฒนาผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย..

        ส่วนประกอบที่ต้องใช้ใน “การ์ตูนช่อง..”มีไม่มาก อาทิ กระดาษเอสี่ ปากกา ดินสอ สีไม้ และที่สำคัญที่สุดก็คือ “หัวใจ” แค่ครูสนใจและรักในการสอนก็เพียงพอแล้ว..

        ผมเรียนรู้นิยามและความหมายของ”การ์ตูนช่อง”ก่อนลงมือทำกิจกรรม พบว่า..ถ้าจะให้นักเรียนสรุปเนื้อหาบทเรียน จนเกิดความคิดรวบยอดที่เข้าใจฝังลึก นอกจากจะใช้วิธีการเขียนแผนภูมิความคิดแล้ว..จะใช้การ์ตูนช่องนำร่องก่อนก็ได้

        เพราะการ์ตูน..ช่วยกระตุ้นความสนใจ ให้เด็กนิ่งและมีสมาธิ มีจิตใจจดจ่ออยู่กับงาน..ที่เป็นบทสรุปหลักการและความเข้าใจของเขา..

        ผลงานจะออกมาในรูปของกระดาษแผ่นเดียว มีเรื่องราวและภาพอยู่ในช่อง มีบทสนทนาและฉากแตกต่างกันไป เป็นงาน “ทำมือ”ของเด็กอย่างแท้จริง

        ชิ้นงาน..จะช่วยให้เด็กฝึกทักษะการคิดและวิเคราะห์ เข้าใจในการลำดับเรื่องราวและสรุปบทเรียน ตลอดจนรู้จักที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

        วันนี้..ผมสอนแทนครูชั้น ป.๖ ทั้งวัน..จึงมีโอกาสใช้ “การ์ตูนช่อง..”ได้อย่างเต็มที่ โดยตั้งโจทย์ที่เป็นอัตลักษณ์คุณธรรมของโรงเรียน..

        ให้นักเรียนเลือกคนละ ๑ คุณธรรม จาก ๓ คุณธรรมหลักๆ ประกอบด้วย ความสามัคคี ความมีวินัย และความพอเพียง..

        เมื่อเลือกแล้ว..ก็ลงมือเขียนเรื่องสั้น..จากจินตนาการ ให้สอดคล้องกับหัวข้อคุณธรรมที่นักเรียนเลือก..ตั้งชื่อเรื่องด้วย

        ให้เขียนลงสมุดก่อน..เล่าเรื่องโดยไม่มีภาพ จากนั้นผมแจกกระดาษให้คนละ ๒ แผ่น แผ่นแรกให้วางแผนว่าเรื่องที่เขียนมีตัวละครเป็นใคร ทำอะไรที่ไหน จะมีบทสนทนามากน้อยแค่ไหน? แต่ละช่องแต่ละฉากจะให้มีอะไรบ้าง?

        เสร็จแล้ว..กำหนดช่อง(ตาราง) ลงในกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง แล้วลงมือเขียนเรื่องและวาดภาพการ์ตูนที่เป็นตัวละครในเรื่อง สุดท้ายก็ระบายสี ก็จะได้ผลงานที่เป็นการ์ตูนช่อง..ที่นักเรียนภูมิใจ

        นับเป็น..วิธีการสอน..อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งการอ่านและการเขียน..ทุกเรื่องที่นักเรียนนำเสนอจะจบอยู่ในใจเด็กอย่างมีความสุข ครูไม่ต้องยัดเยียดการสอน..เด็กจะเกิดความคิดจากการสื่อความของเขาเอง...

        ผมจึงเกิดแนวคิดว่า..การ์ตูนช่อง..เป็นมุมมองใหม่ของครูอย่างผม ที่จะใช้บูรณาการสาระความรู้คู่คุณธรรม..นำนักเรียนออกนอกกรอบการสอนเดิม เติมความคิดให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออก..ด้วยภาษาภาพที่เขาสนใจและมีความถนัด

        ขอบคุณการ์ตูนช่อง..ที่ทำให้ผมและเด็กไม่รู้สึกอึดอัด..ที่จะเรียนรู้..

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๑๙  ธันวาคม  ๒๕๖๑

หมายเลขบันทึก: 658852เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2018 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2018 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมชอบ จินตนาการและภาพวาดของเด็กๆ ลายเส้นการ์ตูน สวยงาม ท่าน ผอ.ไอเดีย เยี่ยมมาก ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท