ชีวิตที่พอเพียง 3316a. ความสามารถยืนหยัดต่อการเปลี่ยนแปลง (Allostasis) กับสุขภาพ


คนที่มีชีวิตที่ดี คือคนที่สามารถจัดการ allostatic loadในชีวิตประจำวัน และในยามวิกฤติในชีวิตของตนได้ จัดการให้อยู่ในระดับที่ต่ำ

 มนุษย์เกิดมาย่อมตกอยู่ใต้ความจริงแห่งชีวิต “เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย”  แต่บางคนแก่เร็ว  บางคนแก่ช้า    

คำอธิบายเริ่มในปี ค.ศ. 1998  โดย Bruce S. McEwan (1) โดยใช้คำว่า allostasis (stability through change)   และต่อมาในปี 2000เขาเขียน review (2) ชี้ให้เห็นว่า ความเครียดก่อความสึกหรอของร่างกายทีละน้อย    อ่านเรื่องฮอร์โมนเครียด  (glucocorticoids & catecholamines)แล้ว    เห็นว่าคุณกับโทษอยู่ที่กลไกเดียวกัน   ต่างกันที่เวลา    ในเวลากะทันหันสั้นๆ ฮอร์โมนเครียดเป็นคุณ หรือเป็นผู้คุ้มครอง หรือสร้างความจำฝังใจ (ผ่านสมองส่วน amygdala)    แต่หากเกิดเรื้อรัง ฮอร์โมนเครียดเป็นโทษ หรือเป็นผู้ทำลาย     เรียกว่าทำให้เกิด allostatic load คือเกิดความสึกหรอของร่างกายทีละน้อย     

ศูนย์ควบคุม allostasis อยู่ที่สมอง    ที่จะเปิดสวิตช์ให้ฮอร์โมนเครียดทำหน้าที่ตอนที่ต้องการทันที    แล้วปิด (หรือหรี่) สวิตช์ โดยเร็วที่สุด   เพื่อไม่ให้เข้าสู่ระยะเวลาทำลาย ก่อความสึกหรอ     

บทความ (2)มีรายละเอียดมาก    และน่าอ่านมาก    ผมตีความว่า เป็นการมองคุณภาพชีวิตของคนผ่านชีววิทยาเชิงระบบ  ที่สามารถวัดระดับได้ ดังแสดงในตารางที่ ๑ ที่มีตัววัด ๙ ตัว    ตัวแปรประสบการณ์ในชีวิต ที่มีผลต่อ allostatic load ที่สำคัญมี ๙ ตัว ได้แก่ พันธุกรรม,  ประสบการณ์ในวัยเยาว์,  ระดับการศึกษา,  สภาพแวดล้อมในชีวิตและงาน,  ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น,  อาหาร, การออกกำลัง,  การนอนหลับ,  และลีลาชีวิต      ปัจจัยทั้ง ๙ นี้มีผลต่อเคมีในร่างกาย,  โครงสร้าง และการทำหน้าที่ต่างๆ ภายในร่างกาย  

อ่านแล้วผมคิดว่า นักวิชาการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD – Non-Communicable Diseases) น่าจะได้เอาใจใส่    และหาทางสร้างสภาพแวดล้อมทั้งในระดับบุคคล และระดับสังคม    ให้ลด allostatic load 

ที่จริงในบทความ เขาก็บอกว่า  ตัวแปรที่เขาวัดระดับเป็นตัวแปรเชิงวัตถุ   ที่จริงยังมีตัวแปรทางด้านจิตใจที่เขายังไม่ได้แตะ  ผมจึงขอเพิ่มตัวแปรประสบการณ์ในชีวิตที่จะมีผลลด allostatic load คือการปฏิบัติภาวนา    ซึ่งเป็นการฝึกความเข้มแข็งด้านจิตใจ    

ดังนั้น การที่โรงเรียนฝึกให้เด็กทำสมาธิตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ทำวันละหลายครั้ง    และทำสม่ำเสมอตลอดชีวิต    น่าจะมีคุณอย่างยิ่งต่อการมีชีวิตที่ allostatic load ต่ำ    ตัวอย่างโรงเรียนเหล่านี้คือ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  และโรงเรียนในเครือข่าย ๒๐๐ โรงเรียน    โรงเรียนสัตยาไส   โรงเรียนรุ่งอรุณ   โรงเรียนเพลินพัฒนา เป็นต้น 

คนที่มีชีวิตที่ดี คือคนที่สามารถจัดการ allostatic loadในชีวิตประจำวัน และในยามวิกฤติในชีวิตของตนได้   จัดการให้อยู่ในระดับที่ต่ำ   

วิจารณ์ พานิช 

๓ ธ.ค. ๖๑

หมายเลขบันทึก: 658616เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2018 06:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2018 06:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you for this ‘insight’.

Definitely a useful basis to reflect on ‘what we have done and what we should do more’.

เคยสงสัยว่าคนที่เจ็บป่วย ทั้งร่างกายและจิตใจมาจากการปรับสมดุลย์ไม่ได้ ตอนนี้ได้คำตอบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท