โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning : PBL)


บทที่ 1 

บทนำ
หลักการและเหตุผล

              การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning : PBL) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญวิธีการหนึ่งที่จะช่วย พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้และทักษะผ่านการทำงานที่มีการค้นคว้าและการใช้ความรูในชีวิตจริงโดยมีตัวผลงานและการแสดงออกถึงศักยภาพจากการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยโครงงานจะถูกขับเคลื่อนโดยมีคำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้ที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานการเรียนรูกับทักษะการคิดขั้นสูงเข้าสู่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง หน่วยการเรียนรู้บูรณาการจะใช้ได้ดีกับแบบโครงงานจะประกอบไปด้วยกล วิธีการสอนที่หลากหลายที่จะทำให้ผู้เรียนทั้งหมดเกิดการเรียนรู้ แม้จะมีวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกันก็ตาม นักเรียนสามารถขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกหรือชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหรือเนื้อหาความรู้ที่ลึกซึ้งการบูรณาการเทคโนโลยีและกระบวนการประเมินที่หลากหลายก็จะเป็นตัวช่วยเสริมให้ผลงานของนักเรียนมีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นวิธีสอนที่จะนำนักเรียนเข้าสู่การแก้ปัญหาและสร้างชิ้นงานได้สำเร็จด้วยตนเอง โครงงานที่จะมาช่วยสร้างสภาวะการเรียนรู้ภายในชั้นเรียนจะเกิดได้ในหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงงานจะเกิดขึ้นบนความท้าทายจากคำถามที่ไม่สามารถตอบได้จากการท่องจำ โครงงานจะสร้างบทบาทหลากหลายขึ้นในตัวนักเรียนเป็นผู้แก้ปัญหา คนที่ตัดสินใจ นักค้นคว้า นักวิจัย โครงงานจะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์้ที่เฉพาะเจาะจงทางการศึกษา ด้านความหมายของ PBL มีนักวิชาการหลายท่านทั้งนักวิชาการต่างประเทศและของไทยที่ได้ให้ความหมายไว้มากมาย ดังนี้

             William N. Bender (2012) กล่าวถึงการเรียนด้วยวิธีนี้ว่าผู้เรียนจะเป็นผู้ที่ เลือกปัญหาที่ต้องการหาคำตอบ ซึ่งเป็นปัญหาที่เลือกปัญหาที่ต้องการหาคำตอบ ซึ่ง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและมีความสำคัญ จากนั้นทำการพัฒนาโครงงานขึ้นมาเพื่อหา คำตอบในการแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อสื่อสารให้คนอื่นรับรู้

             สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า (2552) กล่าวถึงวิธีนี้ว่าผู้เรียนจะเป็นผู้ที่เลือก ปัญหาที่ต้องการหาคำตอบให้ปัญหา หรือการศึกษาหาความรู้ได้หลากหลาย เช่น การศึกษาหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้งการศึกษาเชิงสำรวจ การสร้างสรรค์ หรือประดิษฐ์สิ่งต่างๆ การทดลองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการสร้าง ทฤษฎีขึ้นมาใหม่จากการทดลองหรือค้นคว้าด้วยตนเอง แนวคิดที่ได้จาก Project Based Learning คือ ความหลากหลายในการเรียนรู้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “โครงงาน” เป็นการ บูรณาการความรู้ และลงมือทำหรือค้นคว้าด้วยตัวเอง

             สุชาติ วงศ์สุวรรณ (2542) กล่าวถึงความหมายของ การเรียนรู้โดยใช้โครงการ ว่าหมายถึง การจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงใน ลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

             วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2545) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบโครงการว่า โครงการ เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างห้องเรียน กับโลกภายนอก ซึ่งเป็นชีวิตจริงของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะว่า

– ผู้เรียนต้องนำเอาความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่จะกระทำเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ๆ ด้วยกาสร้างความหมาย การแก้ปัญหา และการค้นพบตัวเอง

– ผู้เรียนต้องสร้าง และกำหนดความรู้จากความคิดและแนวคิดที่มีอยู่กับความคิดและแนวคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ให้เป็นเครื่องมือ ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเรียนแบบ PBL ผู้เรียนอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการ ปรับตัวช่วงแรกเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ในลักษณะนี้แต่ การปรับตัวก็จะใช้เวลาไม่นาน เมื่อผู้เรียนมีความคุ้นชินก็จะเริ่มสนุกไปกับการเรียนรู้ รูปแบบ PBL

             สรุป การเรียนแบบ Project-based Learning เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้ลงเมื่อปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นจนสุดท้าย เกิดองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ไม่ใช่ เพียงแต่จากการอ่านตำรา ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ จึงมิใช่แค่ตัวความรู้ (knowledge) หรือวิธีการหาความรู้ (searching) แต่เป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ทักษะชีวิตและประกอบอาชีพ (Life and Career skills) ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารและ เทคโนโลยี (Information Media and Technology Skills) การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ และแก้ปัญหา (critical thinking & problem solving) ทักษะการสื่อสาร (communicating) และทักษะการสร้างความร่วมมือ (collaboration) ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็น การพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้ว ยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย

สถานการณ์ปัจจุบัน

การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจมากในปัจจุบัน ที่โรงเรียนเอื้ออำพน (รางวัลชมเชยพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา) ได้จัดหลักสูตรอนุบาลของโรงเรียนขึ้นโดยอิงสาระการเรียนรู้จากกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนั้นยังจัดให้มีการเรียนการสอนแบบ "Project-Based Learing การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน" ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ Child- centered Approach ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้ในหัวข้อที่สนใจ จึงเกิดความสนุกระหว่างเรียนรู้ได้รับประสบการณ์ชีวิตขณะที่เรียน มีผลงานเป็นรูปธรรมเกิดทักษะที่สามารถเชื่อมโยงความรู้ในห้องเรียนกับชีวิตจริง สิ่งแวดล้อมจริงได้ และ“การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning : BBL)” เข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอนโดยนักเรียนชั้นอนุบาลจะได้ฝึกการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ เรียนรู้ที่จะปรับตัวจากการใช้ชีวิตที่บ้านมาสู่โรงเรียน จะทำให้นักเรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม รู้จักแบ่งปัน และรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม

อ้างอิง

สำนักงานบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2557). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21ST Century Skills), หน้า 110. ค้น                    เมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จากhttps://webs.rmutl.ac.th/asset...

บัญญัติ ชำนาญกิจ. (2559). วารสารจัดการความรู้ พ.ศ. 2559, หน้า 131. ค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561, 

                จาก http://apr.nsru.ac.th/KM/myfil...

ปรียานุช พรหมภาสิตและคณะ. (2557). สร้างเกลียวความรู้พัฒนาการเรียนการสอนแบบ Problem-Based Learning และ Project                          Based Learning, หน้า 12 – 13. ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก https://huso.kpru.ac.th/File/A...

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องรายชื่อนักเรียน นักศึกษาและสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลชมเชย กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีการศึกษา 2558.                    หน้า 18. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2561, จาก http://www.moe.go.th/moe/uploa...

โรงเรียนเอื้ออำพน. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2561, จาก https://www.euaumponschool.com...

หมายเลขบันทึก: 658309เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2018 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2018 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท