คุณลิขิตลงสนาม


Key Success Factor(KSF) เส้นทางของนักวิจัยอาชีพ

วันที่ 7 ธันวาคมนี้ ทีมงาน MSU-KM  ลงสนามในงาน  โครงการพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ ห้องประชุมโรงแรมตักสิลา  วันนี้เราแทคทีม 5 คนโดยมี อ.panda(ยกให้ท่านเป็นกุนซือ)  พี่หนิง  คุณสวัสดิ์  คุณกล้วยและ อ้อค่ะ    เรามาในนามคุณลิขิตค่ะ  ดิฉันขอนำเสนอ Key Success Factor  จากวิทยากรที่มากล้นด้วยความสามารถ ดีกรีศาสตราจารย์ที่มีอายุเพียง 34 ปี ท่านคือ ศ.ดร.ณรงฤทธิ์  สมบัติสมภพ จาก คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี   ในหัวข้อ  เส้นทางของนักวิจัยอาชีพ   ท่านสามารถสะกดให้ที่ประชุมนิ่งเงียบแบบใจจดใจจ่อ  ด้วยลีลาการพูดที่เฉียบมาก  และนำเสนอที่มองเห็นเป็นรูปธรรม ดิฉันขอยกนิ้ว และบอกว่าขอชื่นชมท่าน  และทึ่งมากค่ะ  Key Success Factor เส้นทางของนักวิจัยอาชีพของท่านนั้น  ดิฉันได้มามี 5 ข้อดังนี้ค่ะ

        1.   ศึกษาจากเวปไซต์ด้วยความตั้งใจ  

         2.   เข้าพบและพูดคุยกับอาจารย์ผู้ใหญ่

         3.  2-3 ปี เก็บข้อมูลเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการจัดตั้งกลุ่มวิจัย

         4.  ออกไปหาความรู้นอกมหาวิทยาลัย

         5.  อ่าน และศึกษา จนเกิด Basic Research อยู่ในสมอง 

ภารกิจของดิฉันยังไม่เสร็จสิ้นค่ะ พรุ่งนี้จะทำหน้าที่คุณลิขิตต่อ และจะนำมาถ่ายทอดอีกนะคะ  อยากชมภาพถ่ายของท่าน ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์  สมบัติสมภพและภายในงาน ติดตามได้ที่blog อ.panda นะคะ

หมายเลขบันทึก: 65810เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • โอโหเป็นเรื่องที่ดีมากเลยครับ
  • แต่ งงมาก ว่าทำไมอายุอาจารย์น้อยจัง
  • คงต้องแข่งกับอาจาย์บ้างแล้วละ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีคะ อ.ขจิต
  • ตอนนี้อาจารย์อายุ 36 ปีค่ะ แต่ได้เป็นศาสตราจารย์ตอนอายุ 34 ค่ะ  อายุน้อยมากค่ะ อาจารย์เก่งมาก
  • ขอเชียร์ อ.ขจิตนะคะ
  • สวัสดีค่ะ อ.panda
  • ขอบคุณค่ะที่นำภาพมาให้ชมค่ะ

ส่งกำลังใจให้ทีม MSU-KM ครับ ...ผมติดภารกิจ เรื่อง "วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติฯ ในหลวง ที่ กทม. ครบั"

วิชิต ชาวะหา
ณ หอสมุดแห่งชาติ
8 ธ.ค. 2549

มาเยี่ยม...

ได้ความรู้เพื่อไปสานต่องานวิจัยครับ

ขอบคุณครับ...

  • คุณวิชิตคะ ทีมงานเราทำงานกันอย่างเข้มแข็งค่ะ 
  • สวัสดีค่ะ อ.umi
  • ขอบคุณค่ะ และยินดีมากเลยค่ะที่บันทึกนี้จะมีประโยชน์ต่อท่านค่ะ
  • วันนั้นได้นั่งอยู่ติดกับคุณอ้อ  โอ้โห...คุณอ้อจับประเด็นเก่งมากค่ะ  ขยันมากเลยค่ะ ^__^
  • และก็ดีใจมาก  แอบแว่บบบ ไปนั่ง MU-7 สีขาว คันที่จอดที่ตึกบรมฯ ^__^  ที่คุณบอน  บอกว่า จะตามไปดูอ่ะค่ะ

 

ที่พี่หนิงได้  ก็คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เน้นวิจัย นั้นจะต้องมีความรู้  ทั้ง 3 ดังนี้

  1. การสร้างและผลิตความรู้  เช่นการวิจัย  ซึ่งการวิจัยก็คือการสร้างความรู้ใหม่ๆ
  2. การกระจายความรู้  เช่น  การสอน
  3. การจัดการความรู้  เช่น  การนำเอาไปใช้ได้จริงต่างๆ  หรือการนำเอาไปต่อยอดความรู้อื่นๆ

 

 

มาอ่านค่ะ....คุณอ้อ...รอตามตอนต่อไปด้วยนะคะ
  • ขอบคุณค่ะพี่หนิง  (ทีมงานชมกันเองซะแล้ว)
  • พี่หนิงก็เก่งเหมือนกันนะคะ 
  • พี่หนิงอยากนั่ง MU-7 อีกไหมน้อ อ้อจะไปรับ
  • ขอบคุณที่เข้ามาต่อยอดค่ะ
  • พี่เมตตา ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมblog

สวัสดีคะคุณอ้อ...

แวะเข้ามาเก็บเรื่องราว...คะ

และก็ขอชม...ภาพใหม่น่ารักมากคะ...

(^_______^)

กะปุ๋ม

 

 

  • พี่อ้อ  เวิร์คมากค่ะ   :)

 

 

 

เยียมยอดค่ะ...คุณอ้อ..(work จริงๆ..)
  • คารวะ ดร.ka-poom
  • ภาพในblogเปลี่ยนมาเป็นครั้งที่ 3 แล้วค่ะ(ตามคำเรียกร้องค่ะ)
  • คราวนี้น่าจะถูกใจเพื่อนblogนะคะ
  • ขอบคุณมากค่ะที่ชมมา เขินแย่เลยค่ะ
  • ขอบคุณน้องดาวที่ให้กำลังใจค่ะ
  • สวัสดีค่ะ อ.ไปรยา พยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุดค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

  • หาจนเจอครับ เพราะ เป็นทีมที่ไปด้วยกัน
  • ผมมี presentation ของท่านอาจารย์ด้วยครับ <ตรงนี้>
  • อย่าลืมติดตาม "คุณลิขิต" ท่านอื่นๆเพื่อ ลปรร. น่ะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท