Executive Functions เด็กปฐมวัย


1. ความหมายและความสำคัญของExecutive Functions    

Cooper-Kahn and Foster (2013)  กล่าวว่า   EF คือ ร่มใหญ่สำหรับกระบวนการทางสติปัญญาที่มีบทบาทเกี่ยวกับการดูแลตรวจตราการคิดและพฤติกรรม ซึ่งทำงานร่วมกับระบบประสาทเป็นฐานของการดำเนินการที่ทำงานร่วมกันทั้งโดยตรงและทำงานไปพร้อม ๆ กัน เพื่อไปสู่เป้าหมายอย่างประสบความสำเร็จ ประกอบด้วยทักษะต่าง ๆ 5 ด้าน (ดุษฎี อุปการ.2561: ออนไลน์)  ได้แก่ 

1. การสลับ (Shift) คือ ความสามารถในการเปลี่ยนความสนใจจากสถานการณ์หนึ่งไปยังอีกสถานการณ์หนึ่ง เช่น ไม่รู้สึกเสียใจเมื่อต้องเปลี่ยนกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น

2. การยับยั้งชั่งใจ (Inhibit) คือ ความสามารถในการตอบสนองหรือการกระทำจากสิ่งที่มากระตุ้น และหยุดพฤติกรรมได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น หยุดเล่นของเล่นเมื่อครูบอกว่าหมดเวลาเล่น เป็นต้น

3. การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) คือ ความสามารถในการตอบสนองทางอารมณ์ระดับกลางที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป เช่น ร้องไห้เสียใจเมื่อถูกเพื่อนแกล้ง ยิ้มดีใจเมื่อได้รับของขวัญ เป็นต้น

4. ความจำขณะทำงาน (Working Memory) คือ ความสามารถในการทำให้ข้อมูลใหม่อยู่เสมอและคงอยู่ตลอดการทำงาน เช่น สามารถพูดคุยในหัวเรื่องเดิมได้ จดจำสิ่งที่เพิ่งฟังจบ เป็นต้น

5. การวางแผน (Plan/Organize) คือ ความสามารถในการคิดวางแผน นำไปใช้ ดูผลการดำเนินการ และตรวจสอบผลการดำเนินการตามแผน เช่น ทำงานเสร็จอย่างรวดเร็วตามแผนที่วางไว้

Center on the Developing Child at Harvard University (2011: 2-3) กล่าวว่า EF เริ่มพัฒนาหลังจากคลอด โดยเฉพาะเด็กอายุ 3 – 5 ปี ถือเป็นช่วงเวลาของหน้าต่างแห่งโอกาสสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาของ EF และจะพัฒนาต่อเนื่องไปจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งการพัฒนา EF ช่วงปฐมวัย จะส่งผลต่ออนาคต คือ

1. ถ้าเด็กมีโอกาสพัฒนา EF และการควบคุมตนเองได้ประสบความสำเร็จ จะทำให้เด็กได้รับประโยชน์ในการดำเนินชีวิตระยะยาวในสังคม ทั้งด้านความสำเร็จทางการเรียน พฤติกรรมที่ดี สุขภาพดี และประสบวามสำเร็จในการทำงาน

2. องค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาพื้นฐานของทักษะที่จำเป็นในการสร้างการปฏิสัมพันธ์ของเด็ก กิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสเข้าร่วม และสถานที่ที่เด็กอาศัย เรียนรู้ และเล่น

3. ถ้าผู้ใหญ่ไม่พัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กในเวลานี้ หรือถ้ายิ่งเกิดสถานการณ์เลวร้ายคือมีสาเหตุทำให้เด็กเกิดความเครียด พัฒนาการของเด็กอาจจะช้าหรือบกพร่อง  EF จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสที่จะพัฒนาเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ เนื่องจากการพัฒนาทักษะ EF เป็นสิ่งที่ง่ายและได้ผลที่สุดเมื่อพัฒนาตั้งแต่แรกเริ่ม

ปาณิสรา ฤทธิ์เรืองเดช (2559)   กล่าวไว้ว่า   EF คือ การทํางานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสําเร็จในชีวิต โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนการปฏิบัติ (  goal-directed behavior) การจดจํา ความยืดหยุ่นทางปัญญา ( ่ cognitive flexibility)  จาก วิจัยเรื่องการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดทักษะเชิงบริหารทางสมอง( Executive Function)ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วีดีทัศน์บทบาทสมมุติ

Diamond (2556 อ้างถึงใน Miller& Jones . 2547)   กล่าวไว้ว่า   EF คือ การคิดเชิงบริหาร เป็นการทำงานของสมองที่ช่วยให้เราบริหารจัดการงานจนสำเร็จตามเป้าหมาย แบ่งออกเป็นส่วนคือ

1. ด้าน metacognition เช่น การตั้งเป้าหมาย วางแผน จัดลำดับ ความสำคัญของงาน เริ่มต้นลงมือทำ การคิดแก้ปัญหา การประเมินและปรับปรุงการทำงาน ความจำขณะทำงาน

2. ด้านการควบคุมพฤติกรรม เช่น การยับยั้งควบคุมอารมณ์ ความคิดและการกระทำ ให้มุ่งมั่นจดจ่อกับงานจนเสร็จ ไม่วอกแวกไปตามสิ่งล่อใจจนทำงานไม่เสร็จ คิดไตรตรวจก่อนทำ ไม่หุนหันพลันแล่น

THOSAPHORN SRANGNANOK (2561)  กล่าวไว้ว่า   EF คือ ชุดกระบวนการคิดที่ช่วยให้เราวางแผน มุ่งใจจดจ่อ จำคำสั่ง และจัดการกับงานหลายๆ อย่างให้ลุล่วงเรียบร้อยได้ สามารถจัดลำดับความสำคัญของงาน วางเป้าหมายและทำไปเป็นขั้นตอนจนสำเร็จ รวมทั้งควบคุมแรงอยาก แรงกระตุ้นทั้งหลายไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง

รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล (2559)  กล่าวไว้ว่า   EF คือ กระบวนการทางความคิดในส่วน "สมองส่วนหน้า" ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักการวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ สามารถยั้งคิด ไตร่ตรอง ควบคุมอารมณ์ได้ ยืดหยุ่นความคิดเป็น สามารถจัดลำดับความสำคัญในชีวิต รวมทั้งรู้จักริเริ่มและลงมือทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่ ทุกคนต้องใช้และมีผลต่อความสำเร็จในชีวิต ทั้งการงาน การเรียน และการใช้ชีวิต

2. องค์ประกอบของทักษะ Executive Functions

EF มีองค์ประกอบ 9 ด้าน จัดเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะพื้นฐาน กลุ่มทักษะกำกับตนเอง กลุ่มทักษะปฏิบัติ รวม 9 ทักษะ (3 X 3) ได้แก่

กลุ่มทักษะพื้นฐาน

1. Working memory = ความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2. Inhibitory Control = ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรองควบคุมแรงอยาก หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูด

3. Shiftingหรือ Cognitive Flexibility = ความสามารถในการยืดหยุ่น พลิกแพลง ปรับตัว เป็นจุดตั้งต้นของการคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์

 กลุ่มทักษะกำกับตนเอง

4. Focus Attention = ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก

5. Emotional Control = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียว ขี้หงุดหงิดง่าย

6. Self-Monitoring = คือ การประเมินตนเองรวมถึงสะท้อนผลการทำงาน เพื่อหาจุดบกพร่อง แล้วแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น

กลุ่มทักษะปฏิบัติ

7. Initiating = ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

8. Planning and Organizing = การวางแผนและดำเนินการตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย เห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ จนถึงการดำเนินการ และประเมินผล

9. Goal- Directed Persistence = ความพากเพียรให้บรรลุเป้าหมายมุ่งมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคและล้มแล้วลุกได้

3. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ Executive Functions 

  ModernMom Focus กับ Hot Issue Executive Functions หรือ EFนั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเด็กเล็กตั้งแต่วัย 3 ขวบเป็นต้นไปจนถึงวัย 6 ขวบ EF คือเครื่องมือที่จะทำให้เด็กได้เติบโตเป็นมนุษย์ผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าเด็กๆ จะไม่ได้เกิดมาพร้อมกับทักษะEF ตั้งแต่เกิด แต่พวกเขาก็เกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะเรียนรู้ EF ได้เป็นอย่างดีในทางวิทยาศาสตร์นั้น มีความเชื่อมโยงให้เห็นระหว่างสมองของเด็กวัย 3 ขวบกับการพัฒนาด้าน EFด้วยว่า สมองของเด็กวัย 3 ขวบเป็นสมองที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างมีระบบทุกด้าน เป็นวัยที่เหมาะสมสำหรับ

การพัฒนามอง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นฐานทางด้านอารมณ์พัฒนาประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว พัฒนาการรับรู้ตนเองพัฒนาการรับรู้ผู้อื่น และพัฒนากระบวนการรู้คิด ซึ่งใช้เทคนิคการสอนแตกต่างกันออกไปตามช่วงวัยของเด็กเด็กวัย 3-6 ขวบจึงถือว่าเป็นวัยที่สำคัญที่สุด เป็นโอกาสดีมากที่จะปลูกฝังทักษะ EF และเมื่อปลูกฝังไว้แล้ว ทักษะนี้จะอยู่ไปกับเด็กจนเติบโต กระทั่งไปเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น แต่หลังจากพ้นวัย 6 ขวบไปแล้ว อัตราการเรียนรู้ก็จะลดลง โดยปกติแล้ว สิ่งที่เด็กควร ได้รับการพัฒนาในช่วงวัย 3-6 ขวบเป็นอย่างแรกคืออาหารที่อุดมไปด้วยโภชนาการที่ดี และการกระตุ้นพัฒนาการเพื่อพัฒนาสมอง ไม่ว่าจากพ่อแม่ ครู หรือโรงเรียน หากไม่มีการส่งเสริมศักยภาพของเด็กในช่วงนี้ สมองจะพัฒนาไม่ได้เต็มที่ข้อมูลที่เคยจดจำเก็บไว้ก่อนหน้านี้จะหายไปอย่างสิ้นเชิงดังนั้นในช่วงวัย 3-6 ขวบหากเด็กไม่ได้รับการฝึกฝนเท่าที่ควร ไม่ว่าจะจากสิ่งแวดล้อมหรือจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ก็ตาม จะกลายเป็นข้อเสียอย่างมากต่อเด็ก เพราะหลังจากวัย 6 ขวบไปแล้ว เด็กจะไม่สามารถรับการเรียนรู้ได้อย่างมีศักยภาพเท่าเดิมได้อีกนอกจากนี้ ในวัย 3-6 ปี หากพ่อแม่ละเลย ทอดทิ้งเด็ก ใช้ความรุนแรง หรือละเมิดสิทธิของเด็กก็จะยิ่งเป็นการปิดกั้นการพัฒนาของศักยภาพสมอง ซึ่งทำให้การพัฒนา EF ด้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัดและยังกระทบกับโครงสร้างการทำงานของสมองและการพัฒนา EF ที่มีอยู่แล้วให้เสียหายมากขึ้นไปด้วย

หลักการสร้างนั่งร้านที่ดี 3 ข้อ

กระบวนการสร้างทักษะ Executive Functions หรือ EF ให้แข็งแรงนั้นมีการเปรียบเทียบไว้ว่า เป็นเสมือนการ “สร้างนั่งร้าน” ให้เด็ก อันหมายถึงการเริ่มต้นสร้างรากฐานอันมั่นคงแข็งแรงก่อนที่พวกเขาจะสามารถใช้ทักษะเหล่านี้ได้ตามลำ พังเมื่อโตขึ้น คือ 1. การดูแลสุขภาพสมอง 2. การสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่เด็ก 3. การจัดการสิ่งแวดล้อม (สิริยากร กองทอง. 2559 : ออนไลน์).

วิธีการสร้างเสริมทักษะการคิด

1. สร้างกิจวัตรประจำ วันที่เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางบวก เช่นการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการเจริญเติบโตที่ดี บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกัน

2. เน้นความสำคัญและฝึกฝน5 ด้าน อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะโดยพ่อแม่ ครู หรือโรงเรียน คือ

• การสร้างพื้นฐานอารมณ์

• ส่งเสริมประสาทและการเคลื่อนไหว

• การเรียนรู้ตัวเอง

• การเรียนรู้ผู้อื่น

• การส่งเสริมกระบวนการรู้คิดเพิ่มศักยภาพสติปัญญาและการคิดวิเคราะห์

3. การสร้างวินัยให้เด็กในชีวิตประจำ วัน ใ

ห้รู้จักรอคอย ให้รู้จักการเข้าคิว

4.  ฝึกเด็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง และสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม

5. สอนเด็กให้เข้าใจความรู้สึกของตนเอง และเพื่อนๆ รวมทั้งเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นๆ

6. ส่งเสริมกิจกรรมที่ฝึกความจำและฝึกสมาธิอยู่เสมอๆ เช่น กิจกรรมเล่นดนตรี วาดรูป ระบายสี หรือทำงานศิลปะอื่นๆ การฟังเพลง อ่านหนังสือเขียนหนังสือ

7. ส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมจินตนาการ เช่น การเล่นบทบาทสมมุติการเล่านิทาน เล่าเรื่องประสบการณ์

สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมผ่านตัวละครในนิทาน

8. เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งแวดล้อม ได้ท่องเที่ยวสำรวจโลกกว้าง ได้พบเจอคนใหม่ๆ

9. หลีกเลี่ยงของเล่นสำเร็จรูปที่เด็กไม่ได้ฝึกแก้ปัญหา ส่งเสริมกิจกรรมหลากหลายที่เด็กได้ลงมือทำ

ด้วยตนเอง (Leaning by Doing) ซึ่งมีกระบวนการ วางเป้าหมาย จัดลำดับก่อนหลัง อดทน ช่างสังเกต และเรียนรู้ขั้นตอน เมื่อเจอปัญหาให้คิดทางออกใหม่ๆ และเมื่อเสร็จแล้วควรประเมินผลที่ได้ว่าดีพอหรือไม่

10. ให้กำลังใจเด็กๆเสมอเมื่อทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ก็ตาม

4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Executive Functions

ดุษฎี อุปการ และ อรปรียา ญาณะชัย (2561 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใช้หลักการใด:“การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร”What Principle Should We Use to Enhance Learning Development of Early Childhood Children: “Brain Based Learning” or “Executive Functions” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ให้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะและความสามารถในระดับที่สูงขึ้นต่อไป การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการคิดเชิงบริหารเป็นหลักการที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้เกี่ยวกับสมองทั้งองค์ประกอบและกลไกหน้าที่การทำงานของสมองแต่มีจุดเน้นที่ต่างกันจึงทำให้เป้าหมาย หลักการ และการปฏิบัติแตกต่างกันไป ดังนั้นการนำหลักการ“การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร” สู่การปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงขึ้นอยู่กับครู ผู้ปกครองเลือกให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยอย่างเต็มศักยภาพ และเป็นการวางรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากร มนุ

ษย์ที่จะเป็นกำลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

กชกร ชูโตและคณะ (2558 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการศึกษาผลของกิจกรรมการชมภาพยนตร์ การ์ตูนต่อการทํางานของสมองส่วนบริหารในเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของกิจกรรมการชมภาพยนตร์การ์ตูนต่อการทํางานของสมองส่วนบริหารในเด็กปฐมวัย (5-6 ปี) และ เปรียบเทียบระดับของการทํางานของสมองส่วนบริหาร ระหว่างกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมชมภาพยนตร์การ์ตูน (กลุ่มทดลอง) กับกลุ่มที่ไม่ได้รับกิจกรรม (กลุ่มควบคุม) และเปรียบเทียบระดับการทํางานของสมองส่วนบริหารในกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการชมภาพยนตร์การ์ตูนระหว่างก่อนและหลังได้รับกิจกรรม การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยการใช้วิธีการศึกษาแบบกึ่งทดลอง โดยทําการศึกษาภายในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลจํานวน 30 คน  แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน เท่ากัน โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นทั้งสิ้นจํานวน 10 ครั้ง แต่ละครั้งประกอบด้วยเกมส์ และการชมภาพยนตร์การ์ตูนที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทํางานของสมองส่วนบริหาร แล้วให้เด็กในกลุ่มทดลองทําการอภิปรายเนื้อหาของการ์ตูนที่ได้ชม และวัดระดับการทํางานของสมอง

ส่วนบริหารด้วยแบบประเมินพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการทํางานของสมองส่วนบริหาร ที่ผู้วิจัยได้ดัดแปลงมากจาก แบบแบบประเมินเช็คลิสต์ของ North Shore Pediatric Therapy โดยมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.63 และ แบบวัดระดับการทํางานของสมองส่วนบริหารที่เป็นซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ โดยเป็นแบบ   วัดเป็นมาตรฐานที่ใช้ในคลินิกทางจิตประสาทวิทยา (Task of executive control : TEC) โดยการวัดระดับการทํางานของสมองส่วนบริหารจะวัดทั้งก่อนที่จะเข้าร่วมกิจกรรม และหลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมจนครบ 10 ครั้งทั้งในกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมและไม่ได้รับกิจกรรม

สิริยากร กองทอง (2558 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษากลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากรอบแนวคิดระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ 2. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ของระบบการประกันคุณภาพภายในภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ 3. นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ

5. บทความที่เกี่ยวข้องกับ Executive Functions

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ (2560)  กล่าวว่า   Executive Function (EF) หมายถึงความสามารถระดับสูงของสมองที่ใช้ควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายEFจะเกิดได้เมื่อเด็กเผชิญสถานการณ์ท้าทายที่ต้องการการวางแผนซับซ้อนEFประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การควบคุมตนเอง ความจำใช้งาน และการคิ

ดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่นองค์ประกอบที่หนึ่ง การควบคุมตนเอง(Self Control:SC) หมายถึงความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์และการกระทำของตนเองเพื่อปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วง ประกอบด้วย 3 ส่วน

1. สามารถจดจ่องานที่ทำเป็นเวลานาน (Focus) การดูหนังหรือเล่นเกมได้นานๆมิได้แสดงว่าเด็กมีจิตใจจดจ่อตั้งมั่นได้นานพอ เพราะหนังและเกมเปลี่ยนภาพทุกวินาที งานบ้านจึงเป็นงานที่เหมาะแก่การฝึกฝนความสามารถนี้เพราะงานบ้านมักเป็นงานที่สนุกในตอนแรกแต่ไม่สนุกและน่าเบื่อในตอนหลัง งานอ่านหนังสือเล่มหนาๆก็ต้องใช้ความสามารถนี้ในตอนแรกๆเช่นกัน

2. ไม่วอกแวกง่าย (Distraction) ความสามารถในการโฟกัสมักถูกรบกวนได้จากสิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายใน เช่น เสียงผู้คนรบกวน เสียงเยาะเย้ยถากถาง ความสนุกอื่นๆที่มาล่อให้ละทิ้งงาน ความหวาดกลัว ความประหม่า หรือความใจร้อนของตัวเอง เป็นต้น และที่มักรบกวนสำเร็จอีกข้อหนึ่งคือตัวเป้าหมายของงานเอง ความคาดหวังที่สูงหรือต่ำเกินไปก็เป็นตัวกวนแบบหนึ่ง

3. สามารถประวิงเวลาที่จะมีความสุข (Delayed Gratification) คือความสามารถที่จะอดทนทำงานที่น่าเบื่อและยากติดต่อกันเป็นเวลานานจนสำเร็จเพื่อที่จะได้สัมผัสความสุข ความสนุก หรือความภูมิใจเป็นรางวัลในภายหลังนี่คือสามวิชาสำคัญที่เด็กๆต้องฝึกฝน คือ วิชาอดทนทำงานที่น่าเบื่อให้เสร็จ วิชาถอนตัวจากความสนุก และวิชาลำบากก่อนสบายทีหลัง

องค์ประกอบที่สอง ความจำใช้งาน (Working Memory : WM)

ความจำใช้งานมิใช่ความจำระยะสั้น (recent memory) ตัวอย่างของความจำระยะสั้น เช่น หากเราอ่านหมายเลขโทรศัพท์ 10 หลักให้ฟัง แล้วให้ผู้ฟังพูดตามในทันที นี่คือความจำระยะสั้นแต่ถ้าเราขอให้ผู้ฟังพูดตัวเลขทั้ง 10 หลักถอยหลัง เช่นนี้ผู้ฟังต้องใช้ความจำใช้งาน

ความจำใช้งานคือความจำพร้อมใช้เมื่อเผชิญสถานการณ์ และบางสถานการณ์ต้องการความเร็วของความจำใช้งานพอสมควรทุกครั้งที่ความจำใช้งานถูกกระตุ้นจะมีการทำงานของสมองส่ว

น dorsolateral prefrontal cortex เพิ่มมากขึ้น การทำงานรวมทั้งการทำงานบ้านจะเป็นการฝึกฝนและบริหารความจำใช้งานดีที่สุด ดีกว่าการเรียนหรือท่องหนังสือโดยมิได้ลงมือทำงานจริงๆ(action)

องค์ประกอบที่สาม การคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility:CF)

การคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่นเป็นส่วนที่จะมาทีหลัง เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันอย่างดีระหว่างการควบคุมตนเอง(SC)และความจำใช้งาน(WM) ซึ่งก็ต้องได้มาจากการฝึกฝนทำงานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีตั้งแต่เล็กจนโต คืองานบ้านและการศึกษาที่มุ่งเน้นโจทย์ปัญหาเป็นฐานนั่นเองการคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น(CF) แบ่งง่ายๆเป็น 2 ระดับ

ระดับแรกคือความสามารถในการเปลี่ยนมุมมอง การเปลี่ยนมุมมองเป็นความสามารถที่เด็กค่อยๆเรียนรู้ตามธรรมชาติของพัฒนาการที่เรียกว่า decentration คือมองวัตถุได้หลากหลายมิติตัวอย่างที่ดีเช่นการเล่นบล็อกไม้ในเด็กเล็ก เวลาเด็กเล็กต่อบล็อกไม้ขึ้นสูงหรือต่อเป็นปราสาทสักหลัง เด็กเล็กจะลุกขึ้นยืนดูหรือเดินดูโดยรอบเสมอ นี่คือการเปลี่ยนมุมมองทางกายภาพซึ่งเกิดขึ้นในช่วงพัฒนาการคิดเชิงรูปธรรม (concrete operation) อันจะเป็นรากฐานของการเปลี่ยนมุมมองของปัญหาซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงพัฒนาการคิดเชิงนามธรรม (abstract operation)

ระดับที่สองคือความสามารถในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ต่ออุปสรรคหรือปัญหาใดๆเป็นได้ตั้งแต่การเปลี่ยนเป้าหมาย เปลี่ยนแผน เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ เปลี่ยนตัวชี้วัด และดีที่สุดคือเปลี่ยนตัวแปร (parameter) การเปลี่ยนตัวแปรเป็นความสามารถที่เด็กค่อยๆเรียนรู้ตามธรรมชาติของพัฒนาการที่เรียกว่า seriation คือการจำแนกวัตถุด้วยตัวแปรที่กำหนด เช่น ให้เด็กแยกสัตว์สี่เท้าออกมาจากภาพสัตว์หลายๆชนิด หรือแยกสัตว์ที่วางไข่ออกมาจากภาพสัตว์หลายๆชนิด หรือแยกสัตว์ที่ว่ายน้ำได้ออกมาจากภาพสัตว์หลายๆชนิด เป็นต้น จะเห็นว่าเมื่อตัวแปรเปลี่ยน ผลลัพธ์ก็จะเปลี่ยนตามทุกครั้งไป

การคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่นเป็นปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน และ EF ทั้งสามองค์ประกอบ คือความสามารถในการควบคุมตนเอง ความจำใช้งาน และการคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น เป็นปัจจัยชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินชีวิต

Executive Functions ทักษะการคิดเพื่อความสำเร็จของลูก ที่พ่อแม่สร้างได้

Executive Functions หรือ EF คือ ทักษะการบริหารจัดการชีวิตซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด การรู้สึก และการสั่งการให้ตนเองลงมือทำ ซึ่งมีองค์ประกอบทั้งสิ้นอยู่ 9 ด้าน นั่นก็คือ

1. Working Memory คือ ความจำใช้งาน เป็นความสามารถที่ช่วยให้เด็กสามารถเก็บข้อมูล เชื่อมโยง ประมวล และดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กที่มี Working memory ดี จะสามารถเรียน และคิดตามที่ครูสอนได้ทัน คิดเชื่อมโยงระหว่างบทเรียนที่เรียนไปแล้ว กับบทเรียนใหม่ได้ สามารถคิดและกำหนดขั้นตอนในการแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง รู้ว่าอะไรต้องทำก่อน อะไรต้องทำทีหลัง เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาที่เรียนได้เป็นอย่างดี

2. Inhibitory Control คือ ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ มีสติไตร่ตรองก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป สามารถใช้เหตุผลทานซ้ำในการควบคุมความต้องการของตนเองได้

3. Cognitive Flexibility คือ ความสามารถในการคิด และแยกแยะในมุมมองที่มีมากกว่า 1 มิติ เช่น รูปทรง สี จำนวน เด็กจะต้องรู้ หากพิจารณาจากมุมมองใดมุมมองหนึ่งแล้ว อะไรที่เข้าพวก อะไรที่ไม่เข้าพวก และเมื่อเปลี่ยนมุมมองแล้ว อะไรที่เข้าพวก อะไรที่ไม่เข้าพวก

4. Attention คือ การมีสมาธิ และการจดจ่อในการเรียนรู้ เวลาที่ต้องค้นหาข้อมูล หรือความรู้อะไร หรือต้องลงมือทำอะไรสักอย่าง ก็จะทำมันให้แล้วเสร็จอย่างตั้งใจ

5. Emotional Control คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เบื้องต้นเลยเด็กจะต้องบอกได้ว่าตนเองมีความรู้สึกอย่างไร ไม่เก็บกด เวลาโกรธ เครียด หงุดหงิด ฯลฯ เด็กจะต้องมีความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกเชิงลบของตัวเองให้เร็วที่สุด โดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อ

6. Planning & Organizing คือ ความสามารถในการวางแผนงาน สามารถแตกงานได้ว่าต้องทำอะไรก่อน อะไรหลัง ต้องทำอะไรบ้าง ต้องทำแค่ไหน สามารถวางกำหนดการ และ Due date ได้อย่างสมเหตุสมผล มั่นใจว่างานต่างๆ ที่วางเอาไว้ถ้าทำเสร็จแล้ว จะตอบโจทย์กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

7. Self-Monitoring คือ การมีกระจกสะท้อนตน

เอง ประเมินตนเองว่ามีอะไรที่ตนเองควรจะต้องปรับปรุงบ้าง สามารถมองตัวเองในมุมของคนอื่น ในลักษณะเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อที่จะได้ปรับท่าทีในการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ กล้าหาญที่จะยอมรับ และขอโทษเมื่อทำให้คนอื่นไม่สบายใจ กล้าที่จะรับผิดชอบกับความผิดพลาดที่ตนเองก่อขึ้น พร้อมกับอาสาที่จะเข้าไปแก้ไข โดยไม่ปัดความรับผิดชอบ หรือโทษคนอื่น

8. Initiating คือ ความสามารถในการสั่งตัวเองให้เป็นคนที่ลงมือทำ ลงมือแก้ปัญหา ไม่ทำตัวเป็นคนที่คิดอย่างเดียว พูดอย่างเดียว แต่ไม่ลงมือทำ

9. Goal-Directed Persistence คือ ความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาเฉพาะหน้าที่เจอ หรือความล้มเหลวที่พบ ไม่ยอมล้มเลิก หรือละทิ้งความพยายามโดยง่าย ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก เด็กจำนวนไม่น้อย เวลาเจออะไรยากๆ ที่ตนเองทำไม่ได้ ก็จะไม่พยายามทำ โดยมักจะอ้างว่า “ไม่ชอบ” พอคุณพ่อคุณแม่ได้ยินคำว่า “ไม่ชอบ” จากปากลูก หลานท่านก็จะยอมให้ลูกเลิกทำสิ่งนั้น เลิกเรียนวิชานั้น เลิกฝึกฝน แล้วอนุญาตให้ลูกเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นอยู่เรื่อยๆ เพราะคิดว่า การเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แบบนี้ เป็นการค้นหาสิ่งที่ลูกชอบ

6. หนังสือที่เกี่ยวข้องกับ Executive Functions

การจัดการเรียนรู้ EF (Executive Function) ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จสำหรับเด็กปฐมวัย

เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้ามีหน้าที่เกี่ยวกับ การคิด ความรู้สึก การกระทำ เช่น การยั้งใจไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆอย่างเป็นขั้นตอนจนบรรลุความสำเร็จ

ทั้งนี้มีวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการ

พัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นช่วงนี้ไปถึงวัยเรียน วันรุ่น แม้จะพัฒนาได้ ก็ได้ไม่ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย

EF มีองค์ประกอบ 9 ด้าน (พิทยาภรณ์ สิงหกานตพงศ์. 2560 : ออนไลน์).  ได้แก่

1. Working memory = ความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2. Inhibitory Control = ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรองควบคุมแรงอยาก หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูด

3. Shiftingหรือ Cognitive Flexibility = ความสามารถในการยืดหยุ่น พลิกแพลง ปรับตัว เป็นจุดตั้งต้นของการคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์

 กลุ่มทักษะกำกับตนเอง

4. Focus Attention = ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก

5. Emotional Control = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียว ขี้หงุดหงิดง่าย

6. Self-Monitoring = คือ การประเมินตนเองรวมถึงสะท้อนผลการทำงาน เพื่อหาจุดบกพร่อง แล้วแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น

กลุ่มทักษะปฏิบัติ

7. Initiating = ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

8. Planning and Organizing = การวางแผนและดำเนินการตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย เห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ จนถึงการดำเนินการ และประเมินผล

9. Goal- Directed Persistence = ความพากเพียรให้บร

รลุเป้าหมายมุ่งมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคและล้มแล้วลุกได้

      นักวิจัยพบว่า นอกจากจะเชื่อมโยงกำกับควบคุมตนเองแล้ว การเล่นละครที่แบบสร้างสรรค์และมีจุดมุ่งหมาย จะส่งผลบวกช่วยให้พัฒนาความจำ เพราะขณะที่เด็กแสดงละครนั้น เด็กจะค้นพบว่า มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีความหมายทำให้พวกเขาจัดจำได้ ยังพบอีกว่าการเล่นละครของเด็ก ต้องใช้ EF ทุกด้านอย่างฉับพลัน นอกจากจำบทตนเองได้ยังต้องจำบทคนอื่นอีกด้วย ระหว่างที่เล่น เด็กจะต้องคิดว่าถึงเวลานั้นเด็กจะต้องพูดอะไร โต้ตอบอย่างไรให้เรื่องเดินไปได้ ครูจะส่งเสริม EF เด็กโดยการตั้งใจฟัง เสนอไอเดีย หรือช่วยจัดอุปกรณ์ละครให้ และท้าทายกระตุ้นให้เด็กใช้จินตนาการและทักษะการแก้ปัญหา หากครูเข้าไปเล่นละครให้เด็กเข้าใจ จะเป็นนั่งร้าน ช่วยยกระดับการเรียนรู้และภาษาของเด็ก

7. การประเมิน Executive Functions 

รศ.ดร.นวลจันทร์ (2560)  กล่าวว่า   ในประเทศไทยยังไม่เคยมีการประเมินการคิดเชิงบริหาร (EF) ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย แต่ในต่างประเทศได้มีการใช้อย่างแพร่หลายและผ่านเกณฑ์มาตรฐานแล้ว โดยเครื่องมือที่มีชื่อว่า Behavioral Rating Inventory of Executive Functions หรือ BRIEF-P ถูกนำมาใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อประเมินพฤติกรรมที่เกิดจากความบกพร่องของ EF ในเด็กอายุ 2-6 ขวบ ตามค่ามาตรฐานของกลุ่มเด็กอเมริกัน โดย BRIEF-P ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการแปรผล มีความซับซ้อน หากเราจะใช้เครื่องมือประเมินนี้จะต้องซื้อเข้ามาจากต่างประเทศ โดยใช้เวลา 2 ปี ในการศึกษา โดยปีแรก เป็นการพัฒนาแบบประเมินให้มีคุณภาพ มีความเที่ยงตรง มีความถูกต้องเชิงเนื้อหาและตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบวัดจนเป็นที่ยอมรับตรงตามโครงสร้างเทียบเคียงสัมพันธ์กับ BRIEF-P และจากการทดสอบซ้ำให้ค่าคงที่ จนเกิดเป็นแบบประเมิน 2 ชิ้น คือ 1) แบบประเมินพัฒนาการด้านการ

คิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กก่อนวัยเรียน (MU.EF-101) และ 2) แบบประเมินปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กก่อนวัยเรียน (MU.EF-102) ที่สามารถนำไปใช้หาค่าเกณฑ์มาตรฐานของพัฒนาการด้าน EF ในเด็กปฐมวัยได้ จากนั้นในปีที่ 2 ได้มีการนำลงไปใช้เก็บข้อมูลกับกลุ่มเด็กตัวอย่างชายและหญิง จำนวน 2,965 คน จากทุกภาค เพื่อที่จะหาค่าเกณฑ์มาตรฐานของแบบประเมินทั้ง 2 ชุด ทั้งนี้ จากการทดสอบคุณภาพของเครื่องมือคัดกรองความบกพร่อง EF ในเด็กปฐมวัย จนเป็นที่น่าพอใจสามารถที่จะนำไปใช้ในงานวิจัยที่เป็นการทดสอบแบบ Pre-Test, Post-Test ได้”

ตัวอย่าง แบบประเมิน EF ฉบับภาษาไทย

สำหรับแบบประเมินพัฒนาการด้าน EF ฉบับภาษาไทย ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมา มีตัวอย่างเนื้อหาดังนี้ แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กก่อนวัยเรียน (MU.EF-101) ใช้สำหรับประเมินในเด็กอายุ 2-6 ขวบ มีคำถามทั้งหมด 32 ข้อ สำหรับให้ครูผู้ดูแลเด็ก/ครูอนุบาล ใช้ประเมินพฤติกรรมเด็กในชั้นเรียนที่รู้จักและคุ้นเคย แบ่งเป็น

- ตัวบ่งชี้ถึงพัฒนาการด้านการยับยั้งพฤติกรรม เช่น เข้าคิวอดทนรอคอยได้ รู้จักรอที่จะพูดไม่พูดแทรกผู้อื่น เมื่อขัดแย้งกับเพื่อนไม่ใช้กำลังในการแก้ปัญหา เป็นต้น

- ตัวบ่งชี้ถึงพัฒนาการด้านการเปลี่ยนหรือยืดหยุ่นทางความคิด เช่น เมื่อถูกเพื่อนปฏิเสธที่จะเล่นหรือถูกแย่งของเล่นก็สามารถไปเล่นอย่างอื่นโดยไม่หงุดหงิด เป็นต้น

- ตัวบ่งชี้ถึงการควบคุมอารมณ์ เช่น เมื่อเจอปัญหาสามารถสงบสติอารมณ์หาทางแก้ปัญหาโดยไม่โวยวาย เมื่อผิดหวังเสียใจสามารถคืนอารมณ์หลังการปลอบโยนให้เป็นปกติในเวลาไม่นาน เป็นต้น

- ตัวบ่งชี้ถึงพัฒนาการด้านความจำขณะทำงาน เช่น การจำได้และไม่ทำผิดในเรื่องซ้ำเดิม สั่งงาน 2-3 อย่าง สามารถจำได้และปฏิบัติครบถ้วน เป็นต้น

- ตัวบ่งชี้พัฒนาการด้านการวางแผนจัดการ เช่น เก็บของเล่นเข้าที่เมื่อเล่นเสร็จไม่ทิ้งเกลื่อนกลาด รู้จักแก้ปัญหาเมื่อทำน้ำหกรู้จักเช็ด ทำงานเสร็จโดยไม่ติดกับรายละเอียดเล็กน้อยที่ไม่สำคัญมากเกินไป เป็นต้น   

แบบประเมินข้างต้น ทางครูผู้ดูแลเด็กหรือครูอนุบาล จะนำใช้ไปสังเกตเด็กในชั้นเรียนตามหัวข้อ ว่ามีพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร เป็นไปตามวัยหรือไม่ หรือมีปัญหาพฤติกรรมด้านใดที่พบว่าบกพร่อง  

8. ประโยชน์ของ Executive Functions

Executive Functions  (EF) มีประโยชน์ ดังนี้(พิมลักษณ์ อัศวพลังชัย. 2560 : ออนไลน์)

1. มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ

2. รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้ และจัดการกับกระบวนการทำงาน จนเสร็จทันตามกำหนด

3.  นำสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนในประสบการณ์มาใช้ในการทำงานหรือกิจกรรมใหม่ได้

4. สามารถปรับเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อเงื่อนไข

หรือสถาน

การณ์เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดตายตัว จนถึงขั้นมีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้

5.รู้จักประเมินตนเอง นำจุดบกพร่องมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นได้

6.รู้จักยับยั้งควบคุมตนเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมแม้จะมีสิ่งยั่วยวน

7. รู้จักแสดงออกในครอบครัวในห้องเรียน กับเพื่อน หรือในสังคมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การรู้จักเคารพผู้อื่น อยู่กับคนอื่นได้ดี ไม่มีปัญหา

8.เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น มีความมุ่งมั่นพร้อมความรับผิดชอบ

ที่จะไปสู่ความสำเร็จ

การนำไปใช้

          เราสามารถต่อยอด EF (Executive Functions)เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่เด็กปฐมวัย เมื่อเด็กที่ถูกผู้ใหญ่กระตุ้น เด็กจะเกิดพัฒนาการที่ดี เด็กจะมีความคิด ความจำที่ดี ประโยชน์ของEF นั้นดีและมีมาก เราจึงต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก เมื่อเรารู้และศึกษาอย่างลึกซึ่ง เราสามารถนำความรู้และประโยชน์ที่มีไปบอกผู้ปกครองได้ หรือเมื่อเราเป็นครูเราสามารถคิดหรือหากิจกรรมที่กระตุ้นEF เด็กได้ และเมื่อเด็กได้รับการกระตุ้น เด็กจะมีทักษะการคิดและใช้ชีวิตที่ดี

บรรณานุกรม

คมชัดลึก. (2561) . EF พัฒนาเด็กไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0.  [ระบบออนไลน์]. จาก
         http://www.komchadluek.net/new... ( 27  ตุลาคม 2561).

พิทยาภรณ์ สิงหกานตพงศ์. (2560) .  สัมมนาการศึกษาปฐมวัย.   ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราพฟิคไซท์:
         ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราพฟิคไซท์.หน้าที่ 114-115

พิมลักษณ์ อัศวพลังชัย. (2560) . ทักษะ EF (Executive Functions) คืออะไรในเด็กเล็ก ?. [ระบบออนไลน์].          
         จาก https://moneyhub.in.th/article... (7ตุลาคม 2561).

รักลูก. (2561) . EF คืออะไรทำไมถึงสำคัญกับลูกมากกว่า EQ และ IQ [ระบบออนไลน์]. จาก  
       http://www.rakluke.com/article/24/128/4351/ef  (5 พฤศจิกายน 2561).

Johny. (2560) . Executive Functions ทักษะการคิดเพื่อความสำเร็จของลูก ที่พ่อแม่สร้างได้. [ระบบ
       ออนไลน์]. จาก  http://www.thailandparents.com... (5 พฤศจิกายน 2561).
        

KruMumKids. (2560) . Executive Functions ช่วงวัย 3-6 ปี โอกาสทองปั้นอนาคตให้ลูก. [ระบบออนไลน์].           
         จาก http://krumamkids.com/2017/12/13/executive-functions  ( 27  ตุลาคม 2561).

ModernMom Focus. (2558) . EF=Executive Functions [ระบบออนไลน์]. จาก
         http://www.modernmommag.com/download/mmfocus_june2015_2.pdf. (2ตุลาคม 2561).       
          

theAsianparent thailand.  (2561) . 16 วิธีพัฒนา EF ช่วยให้ลูกเก่ง ฉลาด เสริมสร้างทักษะการคิด.    
        [ระบบออนไลน์].  จาก  https://th.theasianparent.com(27  ตุลาคม 2561).



หมายเลขบันทึก: 658074เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2018 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2018 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท