๗๖๗. สมรรถนะ (Competency)


สมรรถนะ (Competency)

สมรรถนะ (Competency) หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสร้างผลได้โดดเด่นในองค์กร หากเปรียบเทียบกับสมัยก่อนนั้น การสอบเข้าทำงาน การแข่งขันในด้านต่าง ๆ จะใช้วัดความรู้กันมามากกว่า...แต่มา ณ ปัจจุบัน สิ่งที่จะเข้ามาวัดควบคู่กับความรู้ นั่นคือ ทักษะ ความสามารถและลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นเฉพาะของคน ๆ นั้น...ทำให้เห็นถึงการแตกต่างของแต่ละบุคคล

ดังนั้น ในการสอนของครูในปัจจุบันนี้ จึงจำเป็นต้องนำเรื่องพฤติกรรมการของแต่ละบุคคลเข้ามามีส่วนช่วยให้เห็นถึงความแตกต่างของบุคคลด้วย...ซึ่งจะต้องมีทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะ เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงถึงความเก่งของบุคคล...หากมองความเก่งของบุคคลในแต่ละคนแล้ว ตามคิดเห็นของผู้เขียน คิดว่า ทุกคนมีความเก่ง ความรู้ ความสามารถที่แตกต่างกันเท่านั้น...แต่สิ่งสำคัญนั้น เราจะอยู่และทำงานร่วมกันได้อย่างไรเท่านั้นเอง...แต่ละคนเกิดมาจากครอบครัวที่มีความต่าง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน การอบรมสั่งสอนจากพ่อ - แม่ ครู - อาจารย์ของแต่ละคนก็แตกต่างกัน แล้วจะให้มาวัดในมาตรฐานเดียวกันนั้นได้อย่างไร

แต่ในความเป็นจริง ความเก่งของมนุษย์จะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ได้มีความรู้ ได้ศึกษามาว่ามีโอกาสที่ได้เรียนรู้นั้นได้อย่างไร...แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เห็นถึงความต่างของบุคคล นั่นคือ พื้นฐานซึ่งอาจติดกับตัวของบุคคลมาก็ส่วนหนึ่ง...อาจเป็นพฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ในตัวของบุคคล ไม่ว่าความสนใจ ใส่ใจ อุปนิสัย ภาพลักษณ์ภายใน บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม และแรงผลักดันเบื้องลึก เช่น มีจินตนาการ แนวโน้มวิธีคิด วิธีปฏิบัติตนอันเป็นไปโดยธรรมชาติของแต่ละบุคคล เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เราจะเห็นคน ๆ หนึ่งที่มีความเก่งด้านหนึ่ง แต่ถ้าเทียบกับบุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งเขาอาจจะไม่เหมือนกันคนแรก แต่เขาจะมีความสามารถที่เด่นกว่าคนแรก โดยมีจุดเด่นอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้...จำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบคนที่มีลักษณะที่มีคล้าย ๆ กัน กลุ่มเดียวกันนำมาเปรียบเทียบกัน...

แต่ที่เห็นกันมาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในสมัยก่อน นั่นคือ การวัดความรู้ ความสามารถ เรียกว่าเป็นองค์ความรู้และทักษะต่าง ๆ เช่น มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญพิเศษในด้านต่าง ๆ ที่เรามองเห็นว่า นี่คือ ลักษณะของบุคคลคนนี้ หากเราเอ่ยชื่อเขาแล้ว เราจะทราบว่าเขาคนนี้มีลักษณะเด่นอย่างไร เก่งอย่างไร

ส่วนความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับเอกลักษณ์และคุณค่าของตน จินตนาการ วิธีคิด อุปนิสัย นั้น เป็นเรื่องที่อยู่เบื้องลึก ไม่สามารถแสดงออกมาให้เห็น ณ เวลาเริ่มแรกที่เราได้รู้จัก สิ่งต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยเวลาเข้ามามีส่วนช่วยให้เราได้รู้จักคน ๆ นั้น จริง ๆ

ในความจริงแล้ว สมรรถนะของแต่ละคน ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนนั่นคือ ความต่างของแต่ละคนที่แตกต่างกัน แต่ทำอย่างไรที่เราจะอยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัว และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ต่อสังคมให้ได้นั่นเอง สำหรับเครื่องมือในการวัดสมรรถนะ จำเป็นต้องหาเครื่องมือที่ละเอียดและเป็นกลางให้มากที่สุด จะทำให้ได้คนที่มีพฤติกรรมที่โดดเด่นกว่าคนอื่น ใช่ว่าจะโดดเด่นเลยที่เดียว ในความโดดเด่นนั้น อาจมีความไม่โดดเด่นแฝงอยู่ก็ได้ เช่นกับคำว่า ในดีมีเสีย และในเสียก็มีดีเช่นกัน แต่ทำอย่างไรที่เราจะใช้ประโยชน์จากสิ่งดีและเสียนั้นได้อย่างไร

ณ ปัจจุบัน สิ่งที่ใช้วัดมนุษย์ในการทำงาน นั่นคือ "เครื่องมือ" ที่ใช้วัด ซึ่งเครื่องมือนั้น อาจมีทั้งใช่และไม่ใช่ก็ได้ สำหรับมนุษย์ยุคใหม่ ต้องคำนึงกระบวนการสอนเด็กในปัจจุบันนี้ ว่าควรสอนให้เด็กทราบเกี่ยวกับเรื่องใด เพราะยิ่งสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เห็นถึงความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างจะมาก ยิ่งสมัยยุค Digital ด้วยแล้ว เพราะความคิดของเด็กยุคใหม่ เขาจะมีจินตนาการ กระบวนการคิดที่แตกต่างจากความคิดของคนรุ่น Gen X Gen Y

ขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑

หมายเลขบันทึก: 658067เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2018 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2018 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท