"การเกษตรยั่งยืน" สู่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)


วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ผมถูกหนีบไปเรียนรู้เรื่องเกษตรยั่งยืน ในการประชุมภาคประชาสังคมที่จัดโดยเครือข่าย "ฮักแพง เมิ่งแงง คนมหาสารคาม" (เรียกสั้น ๆ ว่า สภาฮักแพง) ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ธวัช ชินราศรี มากๆ ครับ ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรยั่งยืน ได้รู้จัก "ฅนเกษตรยั้งยืน" ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามมากกว่าอ่านหนังสือหลายเล่ม...  ผมจับประเด็นสำคัญ ๆ เพื่อทำให้ตนเองเข้าใจลึกมากขึ้น และฝากไว้ให้ผู้สนใจและเครือข่ายเรื่องนี้ในพื้นที่ต่อไป

วิทยากรสำคัญที่มาวันนี้คือ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ อ.ธีระ วงษ์เจริญ 

ท่านบรรยายโดยการเล่าเรื่องสลับตัวอย่าง จึงฟังไม่เบื่อ ใช้สไลด์เพียง ๒ อัน และความจดจำอันดีเยี่ยมจนได้รับคำชมจากพี่น้องที่เข้าร่วมหลายคน

เริ่มด้วยความร่วมมือ

  • ท่านเริ่มด้วย การเชื่อมโยงการเกษตรยั่งยืนกับเป้าหมายของการพัฒนาโลก คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs: Sustainable Development Goals) เป้าหมายที่ ๒ คือการลดความอดอยากและสร้างความมั่นคงทางอาหาร (ท่านใดยังไม่รู้อ่านได้ที่นี่ครับ) (ในช่วงปี ๒๕๕๙-๒๕๗๒) ซึ่งวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ นายกรัฐมนตรีของไทยได้ไปลงนามความาร่วมมือกับนานาชาติแล้ว 
  • ในครั้งนั้น สมเด็จพระเทพฯ ได้ส่งการปาฐกถาพิเศษส่งไปร่วมการประชุม ทรงบอกว่า เราต้องหยุดความหิวโหย ... นี่คือที่มาสำคัญประการหนึ่ง
  • การขับเคลื่อนของรัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้ครับ 
    • ได้สร้างข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกับหน่วยงานต่อไปนี้ทั้งหมด
      • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ .. ผู้รับผิดชอบโดยตรง ผู้ขับเคลื่อน
      • กระทรวงมหาดไทย ... ผู้ว่าราชการจังหวัดเอาด้วย
      • กระทรวงสาธารณสุข ... โรงพยาบาลจะรับผักปลอดสารพิษไปใช้ทำอาหาร
      • กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ... ถ้าจะทำในพื้นที่ ๆ ไม่มีโฉนด มีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์ หากจะทำต้องใช้ได้ความร่วมมือจากกระทรวงทรัพย์ฯ ใช้มาตรา ๑๙ ของอุทยานแห่งชาติ คือใช้ในลักษณะของการทำวิจัยร่วมกัน
      • กระทรวงพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม ... ภาคประชาสังคม พัฒนาชุมชน และวัฒนธรรม ภูมิปัญญา
      • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ... (จำไม่ได้ว่าเกี่ยวอย่างไร)
      • กระทรวงศึกษาธิการ ... ทุกโรงเรียนต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก จนถึงระดับมหาวิทยาลัย อย่างจริงจัง 
    • โดยลงนามความร่วมมือ ๔ ภาค  ๑๓ กลุ่มจังหวัด รวมแล้ว ๕๖ จังหวัด และ ๒๘ จังหวัดนำร่อง ระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงมหาดไทย ... จากนั้นกระทรวงต่าง ๆ ก็เริ่มเข้ามาทำ MOU ร่วมด้วย
      • จังหวัดพัทลุง ประกาศว่าจะทำเกษตรอินทรีย์ ๑,๓๐๐,๐๐๐ ไร่ ภายในปี ๒๕๖๔
      • จังหวัดสกลนคร ประกาศ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ เน้นเรื่องข้าว ภายในปี ๒๕๖๔
      • ฯลฯ
    • เกษตรกรรมยั่งยืนมีทั้งหมด ๖ รูปแบบ ได้แก่
      • เกษตรอินทรีย์ ๕๖ จังหวัด 
      • เกษตรกรรมยั่งยืน ๒๘ จังหวัด 
      • วนเกษตร
      • เกษตรผสมผสาน
      • เกษตรทฤษฎีใหม่
      • เกษตรอินทรีย์แบบอื่นๆ เช่น พุทธเกษตร ฯลฯ
        • พบว่า ดอยอินทรีย์ ที่เชียงราย มีพุทธเกษตรถึง ๘ พันกว่าไร่ 
    • เหตุที่ต้องทำ MOU คือ ต้องการให้สามารถทำงานข้ามกระทรวง สามารถสั่งงานข้ามกระทรวงโดยใช้มาตรา ๔๐ ได้เลย 
    • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตั้งเป้าว่า จะสร้างการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือนววิถี ให้ได้ ๓ เท่า
    • กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า ต่อไปจะรับเฉพาะอาหารอินทรีย์เท่านั้น ไม่เอา GAP (มาตรฐานอาหารไม่ใช้ยาฆ่าแมลงแต่ยังใช้สารเคมี)
กลไกในการขับเคลื่อน
  • กลไกของการขับเคลื่อนเรียกง่าย ๆ ว่า กลไก ๓ ๕ ๗ ได้แก่
    • ๓ กลไกระดับนโยบาย ได้แก่ 
      • ระดับชาติ คือกำหนดเป็นนโยบาย การขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นร่มใหญ่
      • ระดับจังหวัด คือ แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ 
      • ระดับพื้นที่ ต้องกำหนดเป้าหมายความสำเร็จที่ชัดเจน 
    • ๕ กลไกการขับเคลื่อน ได้แก่
      • ประสานงาน
      • แผนบูรณาการและยุทธศาสตร์ 
      • การจัดการความรู้
      • ติดตาม เยี่ยมเยือน ให้กำลังใจ 
      • สื่อสารทางสังคมสู่สาธารณะ
    • ๗ กลไก ภาคส่วนที่มาทำงานร่วมกัน โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง 
      • ภาครัฐ (หน่วยงานภายใต้การ MOU)
      • ภาควิชาการ ได้แก่ มหาวิทยาลัย ต้องหันมาสร้างงานวิจัยเพื่อชุมชนและสังคม (ไม่ใช่วิจัยขึ้นหิ้ง)
      • ภาคประชาชน/ภาคีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์
      • ภาคเอกชน/สนับสนุนด้วยใจเป็นธรรม เช่น CSR บริษัทประชารัฐ ฯลฯ
        • ท่านบอกว่า กำลังจะไปคุยกับโรงงานน้ำตาลที่ยโสธร จะเจรจาให้มาทำอ้อยอินทรีย์  
      • ภาคประชาสังคม/มูลนิธิ/สมาคม
      • ภาคการศึกษา/ศาสนา/ความเชื่อ
      • ภาคสื่อสารมวลชนสู่สาธารณะ 
วิธีการขับเคลื่อน
  • เริ่มจากการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เล็ก ๆ แคบ ๆ ชัด ๆ (Area Approach)  หน่วยงานทุกหน่วยงานมุ่งไปที่พื้นที่เดียวกัน  เช่น 
    • ปีนี้อาจจะกำหนดไปที่ อ.บรบือ มีงบขุดบ่อสัก ๒๕๐ บ่อ ...แบบนี้จะเห็นเป็นรูปธรรมืทันที  ปีนี้ที่นี้ ปีหน้าก็ไปที่อำเภออื่น  เป็นต้น 
  • ต่อไปคือ สร้างความเข้าใจให้คน  พัฒนาคน เปลี่ยนวิธีคิดของคน โดย 
    • หน่วยงานของรัฐต้องมาคุยกันเสียก่อนว่า จะทำอย่างไร จะเริ่มอย่างไร เห็นตรงกันชัด แล้วค่อยเริ่ม 
  • ค้นหาต้นแบบ (Best Practice) เอาต้นแบบที่มีเข้ามาเป็นตัวอย่าง แล้วอบรมคนที่จะเข้าร่วม  ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติอบรมโดยใช้เวลา ๔ วัน ๓ คืน เพื่อเปลี่ยนวิธีคิด  
      • ต้องมีต้นแบบของความสำเร็จ  ถ้าไม่มีต้นแบบความสำเร็จเขาไม่เชื่อ 
      • เอากลุ่มเป้าหมายแรกที่เป็นคนที่หัวไวใจสู้ก่อน  (ต้องไม่เอาที่สมัครใจแต่ไม่เอาจริง) ต้นแบบของความสำเร็จจะมาจากคนที่หัวไวใจสู้ 
  • สร้างกระบวนการรับรอง ที่จันทบุรีที่ท่านใช้คือระบบ PGS Organic (Participatory Garantee System) คือ "ชุมชนรับรองโดยชุมชน" โดยคนที่จะเป็นกรรมการตรวจสอบได้จะต้องมีประสบการณ์ทำเกษตรอินทรีย์ยอย่างน้อย ๕ ปี 
  • เริ่มผลิตเพื่อกินใช้ในครัวเรือนก่อนจะขยายผลผลิตตามทฤษฎีบันได ๙ ขั้น (อ่านที่นี่)
  • สร้างตลาดสีเขียวขึ้นรองรอง (Gree Market) จะเริ่มจากหน่วยงานของรัฐก่อน ได้แก่ โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม มหาวิทยลัย 
  • สร้างเครื่อข่ายกับส่วนต่างๆ ทั้งด้านวัฒนธรรม ชุมชน สังคม ทุน ฯลฯ  


เป้าหมายของการขับเคลื่อนภายในปี ๒๕๖๔
  • กำหนดเป้าหมาย ๕,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ 
  • ขณะนี้ มีเกษตรอินทรีย์แล้ว ๓,๓๐๐,๐๐๐ ล้านไร่ และร่วมส่วนอื่นๆ แล้ว คร่าว ๆ น่าจะมีแผนในการขับเคลื่อนแล้วกว่า ๗ ล้านไร่ 
  • มหาสารคามมีพื้นที่ทั้งหมด ๒,๐๐๐,๐๐๐ ล้านไร่  ตั้งป้าหมายไว้ที่ ๒๕,๐๐๐ ไร่ 
ความรู้รอบตัว

  • จีนประกาศแล้วว่า ปี 2020 อาหารในจีนจะเป็นอาหารสะอาด ปลอดภัย  ลำใยอบกัมมะถันที่เราทำ นำเข้าจีนไม่ได้แล้ว
  • รัฐกำลังแย่แล้ว อีก ๕ ปี ตังค์จะมาจ่ายเงินเดือนก็ลำบากแล้ว 
  • หยุดการขอ หรือรอการช่วยเหลือ  ให้พึ่งตนเอง ให้ลงมือทำด้วยตนเอง 

สมาชิกภาคประชาสังคมเครือข่ายสภา "ฮักแพง เมิ่งแงง คนมหาสารคาม" 

ผมขอบันทึกไว้เป็นข้อมูลสำหรับการขับเคลื่อนต่อไป แบบที่ท่านจะไม่สะดวกนักในการอ่าน และไม่ได้ขออนุญาตเป็นรายบุคคลในการเผยแพร่ด้วย (ขออนุญาตเจ้าหน้าที่เครือข่างผู้จัดงาน) การจัดเก็บตรงนี้มีข้อดีคือแม้ผ่านไปหลายปี ผมจะสืบค้นข้อมูลนี้กลับมาได้ง่ายมาก เพื่อประโยชน์ในการทำงานขับเคลื่อนต่อไปครับ

สรุป (สั้นที่สุด)

  • ที่ปรึกษา รมช.เกษตรฯ อ.ธีระ วงษ์เจริญ มาบอกชัดเจนว่า 
    • ระดับรัฐเขากำหนดนโยบายอย่างไร 
    • ระดับจังหวัด ผู้ว่ากับคนระดับกระทรวงและหน่วยงานเป็นคนกำหนด  และมีตัวอย่างชัดแล้ว ท่านเสนอแนวปฏิบัติชัดมากๆ ว่าจะต้องทำอย่างไร 
    • ระดับพื้นที่ หากศึกษาแนวทางของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง (ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ) จะเข้าใจทันทีเช่นกันว่า ท่านแนะนำอย่างไร 
หมายเลขบันทึก: 657893เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2018 01:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2018 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ความสำคัญทางความมั้นคงทางอาหารความปลอดภัยของผู้บริโภคสำคัญมากๆครับ

ความสำคัญทางความมั้นคงทางอาหารความปลอดภัยของผู้บริโภคสำคัญมากๆครับ

We can produce more than we need so ‘markets’ are important these days. But to use ‘markets’ (capital, demand, supply,…) effectively is difficult for most farmers/growers (leading them into ‘middleman’ framework and exploitation). Training and support for using ‘markets’ should be included to ‘sustain’.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท